เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 54933 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 03 พ.ค. 15, 19:16

ดังภาพที่เล่านำทางมา  ก็คงพอจะเห็นภาพในภายหน้าได้พอควรแล้วนะครับว่าอะไรจะเกิดขึ้น

 - ผมเองเห็นภาพ โครงการสร้างที่พักอาศัยแบบกึ่งถาวรในช่วงที่กำลังเก็บกวาด ฟื้นฟู ซึ่งหากบริหารจัดการไม่ดี มันก็จะกลายเป็นชุมชนถาวรต่อไป  ภาพเช่นนี้ ผมเห็นที่ญี่ปุ่นหลังจากการเกิดแผ่นดินไหวแถว Joetsu  เพียงแต่เป็นภาพในอีกคุณภาพหนึ่งของชีวิตเท่านั้นเอง  อยู่กันจนคล้ายเป็นหมู่บ้าน นานพอที่จะมีรถเมล์ให้บริการ นานพอที่มีการต่อพื้นที่หลังห้องพักเพื่อทำสวนครัว
 - เห็นภาพของระบบไฟฟ้าแบบ Solar cell ขนาดพอใช้ประจำแต่ละชุมชนเล็กๆ หรือแต่ละบ้าน แบบที่เคยมีโครงการทำในมองโกลเลีย
 - เห็นภาพอาคารในสถาปัตยกรรมผสมระหว่างในวัฒนธรรมของถิ่นกับของประเทศผู้สนับสนุนโครงการ
 - เห็นภาพโทนสีของเมืองอาจจะเปลี่ยนไปจากโทนสีแดง
   ฯลฯ 

ครับ ก็เป็นภาพในมโนของผมครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 04 พ.ค. 15, 18:16

ผมอยากจะให้ติดตามดูภาพและข้อสนเทศทั้งหลายที่ปรากฎตามสื่อ online ต่างๆ ที่เกี่ยวกับแผ่นดินไหวที่เนปาลในครั้งนี้  แล้วลองนำมาวิเคราะห์ดูในแง่มุมต่างๆ

ผมคิดว่า เมื่อได้เห็นข้อมูลมากขึ้น ได้รับรู้ข่าวสารมากขึ้น มีรายละเอียดของเรื่องราวต่างๆมากขึ้น   มากจนถึงระดับที่ตนเองคิดว่าพอจะเห็นเป็นภาพรวมของเหตุการณ์ทั้งหมดแล้ว    เมื่อนั้น ก็จะไปสู่ความคิดที่เป็นด้านของปุจฉามากมาย ด้วยคำถามที่นำด้วยคำว่า "ทำไม"

ซึ่ง...ผมก็อยากจะไห้ล้วงลึกลงไปถึงเหตุผลที่ไม่มีการดำเนินการหรือไม่มีการกระทำใดๆในข้อปุจฉาว่า "ทำไม..." หัวข้อนั้นๆ    ซึ่งก็จะพบว่า ไม่ว่าเป็นตัวเราเอง เป็นสังคมรอบตัวเรา เป็นฝ่ายปกครอง หรือเป็นรัฐในองค์รวม ฯลฯ ต่างก็ไม่ได้คำนึงถึง หรือเตรียมความพร้อมในรูปแบบที่หลากหลายเพื่อการรับมือกับภัยหรือพิบัติภัยที่เป็นลักษณะครอบคลุมพื้นที่กว้างและที่เป็นลักษณะของ mass destruction   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 04 พ.ค. 15, 18:47

ผมเองสนใจในภาพหนึ่ง  มีอาคารคอนกรีตหลายหลังที่ไม่ได้รับความเสียหายถึงระดับที่พังลงมา และซึ่งก็ยืนตระหง่านอยู่ท่ามกลางอาคารบ้านเรือนที่พังทลายแบบสลายลงมากอง อาจจะเอียงซวนเซ ถลอกปอกเปิกบ้าง แต่ก็ยังคงสามารถยืนอยู่ได้

ภาพเช่นนี้ในมุมหนึ่งก็คงไม่หนีที่จะเป็นเพราะโครงสร้างอาคารมีความแข็งแรงต่างกัน หรือไม่ก็มีการออกแบบอาคารแบบกันแผ่นดินไหวเอาไว้   แต่ก็อีกแหละครับ ในเมื่อก็ยังมีอาคารคอนกรีตในเขตชานเมืองและในชนบทที่ยังสามารถยืนอยู่ท่ามกลางซากปรักหักพังทั้งหลายอยู่ได้   

ลักษณะเช่นนี้ สำหรับผมนั้น สื่อว่าการก่อสร้างอาคารนั้นๆเป็นไปอย่างมีคุณภาพ คือ สมกับศักยภาพอันพึงมีของความเป็นอาคารคอนกรีต

ซึ่งเลยพาลให้คิดต่อไปว่า แผ่นดินไหวในไทยที่ว่ามีโอกาสจะรุนแรงนั้น หากการก่อสร้างทั้งหลายเป็นไปอย่างมีคุณภาพเต็มตาม building code ของเรา และผู้ออกแบบ/ผู้อนุญาต/ผู้ตรวจสอบ/ผู้ตรวจงานมีสำนึกเพียงพอ   ก็คงไม่น่าจะต้องมีอะไรเป็นห่วงมากนัก
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 04 พ.ค. 15, 19:10

อาคารที่ทนทานอยู่ได้ไม่พังทลาย


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 05 พ.ค. 15, 19:36

ภาพที่ อ.เทาชมพู นำมาแสดงนี้   ในความเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ผมเห็นว่าเป็นภาพที่ยืนยันว่าคุณภาพของการก่อสร้างของเขาว่าดีมากเลยทีเดียว   

แผ่นดินไหวขนาดนี้ ในระดับความเสียหายโดยทั่วไปในระดับนี้ ที่เรายังคงเห็นภาพโครงสร้างของหน้าต่าง/ประตูของอาคาร รวมทั้งอาการทรุดของอาคารต่างๆ ยังคงรูปทรงทรงสี่เหลี่ยม แม้ตัวอาคารที่ทรุดเอียงก็ยังคงรูปทรงสี่เหลี่ยม เป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมมุมฉากที่ไม่โย้เย้  อย่างน้อยมันก็ย่อมแสดงถึงการออกแบบและการก่อสร้างมีคุณภาพที่ดี    ซึ่งผมจะไม่ขอขยายความต่อนะครับ ให้วิศวกรเขาช่วยอธิบายทั้งในเชิงของแรง g ที่สัมพันธ์กับลักษณะการกระชากครั้งแรกของแผ่นดินที่ไหว ว่าจะเป็นการผลักหรือเป็นการดึง_push or pull   หรือในเชิงของ stress & strain (ในรูป ellipsoid หรืออื่นใด) ซึ่งวิศวกรเขาอธิบายได้ดีกว่าผมแน่ๆ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 06 พ.ค. 15, 06:07

ขออนญาตแทรกข่าวแผ่นดินไหวที่บ้านเราเมื่อตี ๔ วันนี้เอง ดูข่าวทีวีตอนเช้ารายงานข่าวว่าภูเก็ตสะเทือนไปทั้งเกาะ ชาวบ้านกลัวสึนามิอพยพหนีขึ้นที่สูงโดยรถยนต์กว่า ๕๐๐ คัน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 06 พ.ค. 15, 10:46

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 06 พ.ค. 15, 20:27

กำลังตามดู ประมวลดูว่า ผชช.ทั้งหลายเขาจะว่า เขาจะอธิบายกันอย่างไรบ้างครับ   ซึ่ง ณ ขณะนี้ ก็ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีการกล่าวถึงมากนัก
ทั้งๆที่ขนาดของมันอยู่ในระดับที่ต้องให้ความสนใจ (ทางวิชาการ) แล้วละครับ



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 06 พ.ค. 15, 20:57

ไม่รอผู้เชี่ยวชาญคนอื่นละค่ะ  รอนักธรณีวิทยาชื่อคุณตั้งนี่แหละ
ขนาดนี้  เป็นสัญญาณเตือนภัยที่ต้องจับตาไม่กระพริบแล้วหรือยังคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 08 พ.ค. 15, 06:24

กำลังตามดู ประมวลดูว่า ผชช.ทั้งหลายเขาจะว่า เขาจะอธิบายกันอย่างไรบ้างครับ  

เขาอธิบายว่าอย่างนี้  ยิงฟันยิ้ม

http://youtube.com/watch?v=IDnUeA_sMBQ#ws


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 08 พ.ค. 15, 19:06

ที่จริงเขียนกระทู้ตั้งแต่เมื่อวานแล้ว  ดั๊นกดผิด เลยหายไปเลย กู้ก็ไม่ขึ้น ก็เลยต้องมาเขียนเอาใหม่ในวันนี้ครับ

คำอธิบายของ ผอ.สำนักธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมนั้น อยู่ในแนวที่นักธรณีฯที่เรียนมาทาง pure geology จริงๆจะพึงตอบ  ซึ่งในรายละเอียดของเรื่องราวนั้น แต่ละคนก็อาจจะมีความเห็นบนเหตุผลที่แตกต่างกันไป  ซึ่งก็อาจจะแตกต่างกันมากจนไปถึงระดับที่อยู่บนพื้นฐานของแต่ละทฤษฎี

สำหรับความเห็นและเรื่องทางวิชาการที่ไม่ลึกซึ้งมากนักนั้น ผมจะค่อยๆเล่าความต่อไป
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 08 พ.ค. 15, 19:39

แต่ก่อนที่จะเล่าความทางวิชาการ ผมจะขอขยายความข้อปุจฉาของ อ.เทาชมพู  ซึ่งเป็นข้อสงสัยของทุกผู้คนเสียก่อนดังนี้ครับ

คำตอบต่อคำถามว่า ต้องจับตาไม่กระพริบแล้วหรือยัง    ผมเห็นว่า เมื่อมีผู้เล่นอยู่ในสนามคำถามนี้หลายกลุ่มเลยทีเดียว (ราชการ หน่วยงานสันทัดกรณี นักวิชาการ ชุมชน ผู้คน ฯลฯ)  นอกจากนั้นแล้ว ในสนามคำถามนี้ ก็ยังมีทีมผู้เล่นอยู่สองพวก คือพวกระวังหน้า (ก่อนเกิดเหตุ) และพวกระวังหลัง (หลังเกิดเหตุ)   ดังนั้น คำตอบ ก็คือ ทุกหน่วยงาน ทุกผู้คนควรจะจับตาได้แล้วครับ แต่เป็นการจับตาในเชิงของการสำรวจตรวจสอบความพร้อมของตนเองในทุกบริบทที่จะทำให้เกิดประโยชน์แก่ตนและแก่ผู้อื่นในสังคม
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 18:17

กระทู้มันคงไม่อยากให้ผมเขียนหรืออย่างไรก็ไม่รู้   เมื่อวานนี้เขียนเสร็จแล้ว กำลังจะกดส่ง อ้าว คอมพ์มันเกิดอาการวูบวาบแล้ว reboot เลย   กู้ไฟล์ไม่ได้   วันนี้เลยขอสู้กับใหม่ครับ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 19:02

อตฺตาหิ อตฺตโน นาโถ_ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน  น่าจะเป็นพุทธศาสนสุภาษิตที่ถูกต้องที่สุด และควรจะนำมาปฎิบัติสำหรับตนในเรื่องที่เกี่ยวกับภัยพิบัติทางธรรมชาตืที่เกี่ยวด้วยเรื่องของ ดิน/หิน น้ำ/ของไหล ลม/พายุ และไฟ/ความร้อน/ความเย็น  ซึ่งต่างก็เป็นภัยที่เป็นผลมาจากกระบวนการของธรรมชาติที่เกิดขึ้นในโลกมาเป็นเวลานับพันล้านปี

แล้วจะพึ่งตนเองได้อย่างไร ในเมื่อไม่มีความใดๆรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวเลย ?   

ไม่จริงเลยครับ ความรู้มีอยู่ในข้อมูลที่เผยแพร่กระจายอยู่ตามสื่อต่างๆ ซึ่งแม้จะมีจริงบ้าง เท็จบ้าง เทียมบ้าง  ผมก็เชื่อว่าด้วยสัญชาตญาณของเรา เราก็น่าจะพอสามารถจำแนกได้แต่แรกเริ่มเลยว่า พอจะรับฟังเนื้อหาใดๆได้มากน้อยเพียงใด  ซึ่งหากเราได้ให้ความสนใจติดตามอ่านมากขึ้นจากสื่อภายในและภายนอกประเทศและจากนักวิชาการหลากหลายสถาบัน  เราก็พอจะรับรู้และตัดเรื่องที่เป็นมโนออกไป เหลือแต่ส่วนที่เราเชื่อ แล้วสรุปเป็นข้อมูลสำคัญเฉพาะตัวของเรา ตามความเชื่อของเรา เป็นไปตามจริตของเรา    ซึ่ง..ก็จะนำพาไปสู่การเตรียมตัวของเราที่เหมาะสมตามจริตของเรา
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 11 พ.ค. 15, 19:30

คราวนี้ก็จะเข้าเรื่องที่ผมอยากจะเล่าถึงกรณีแผ่นดินไหวในไทยและรอบบ้านเราที่ดูจะเกิดถี่มากขึ้น

เรื่องแรก คือ ความถี่ของการเกิดแผ่นดินไหว
 
ด้วยพัฒนาการทางสื่อ กระแสสังคม เทคโนโลยี และเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆ  หนึ่งเรื่องที่มีการแข่งขันในสังคมก็อยู่ในบริบทของเรื่องความทันต่อเหตุการณ์และข้อมูล ซึ่งก็คือความสามารถและการแข่งขันกันในเรื่องของ real time 
   
แต่เดิมนั้น ผมเห็นว่า การรายงานแผ่นดินไหวที่จะออกเป็นข่าวสารนั้น จะพิจารณาในสองเรื่องควบคู่กันไปก่อนที่จะออกเป็นข่าว คือ คลื่นแผ่นดินไหวที่เครื่องตรวจวัดจับได้ กับ การรับรู้ของผู้คน (ความตื่นตระหนก) ณ พื้นที่ใดๆแห่งใดแห่งหนึ่ง   ด้วยนัยนี้ ปริมาณแผ่นดินไหวที่รายงานตามสื่อในอดีตจึงมีน้อยกว่าลักษณะในปัจจุบันที่รายงานด้วยข้อมูลแบบ real time (ตามที่เครื่องมือบ่งบอก)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.045 วินาที กับ 20 คำสั่ง