เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
อ่าน: 54782 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 24 มิ.ย. 15, 19:40

 ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 20 ก.พ. 19, 19:25

ดึงกระทู้นี้ขึ้นมาถามคุณตั้งอีกครั้ง  เพราะข่าวนี้ค่ะ

พิษแผ่นดินไหว! ทำตึกอบต.ทุ่งฮั้ว-บ้านเรือนร้าวหลายแห่ง
วันพุธ ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562, 19.05 น.

20 ก.พ. 62 เกิดเหตุแผ่นดินไหวในพื้นที่ อ.วังเหนือ จ.ลำปาง ระดับการสั่นสะเทือน 4.9 ริกเตอร์ ความลึก 21 กิโลเมตร  หลังจากตั้งแต่ช่วงเที่ยงที่ผ่านมาเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมาแล้ว 13 ครั้ง  ระดับแรงสั่นสะเทือนอยู่ที่ 2-3.3 ริกเตอร์ ซึ่งจะรู้สึกได้เฉพาะในพื้นที่ อ.วังเหนือ เท่านั้น  แต่ครั้งที่ 14 ได้เกิดขึ้นแรงที่สุด 4.9 ริกเตอร์ จุดศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ  สามารถรับรู้ได้ในหลายอำเภอ เช่น  อ.เมือง อ.เกาะคา อ.แม่เมาะ อ.แม่ทะ อ.เมืองปาน อ.แจ้ห่ม

ขณะเกิดเหตุ ได้รับรายงานจากพื้นที่ อ.วังเหนือว่า ประชาชนรับรู้ได้อย่างชัดเจน  ต่างพากันวิ่งไปหลบอยู้ใต้โต๊ะและที่ปลอดภัย ข้าวของตกเสียหาย  โดยเฉพาะที่ อบต.ทุ่งฮั้ว  แรงสั่นทำให้เอกสารตกกระจัดกระจาย และยังส่งผลให้เกิดรอยแตกร้าวบริเวณอาคารหลายจุด

นอกจากนี้ ยังมีบ้านของนายวสุมิตร นุชสวัสดิ์ บ้านเลขที่ 33 ม.11 ต.ทุ่งฮั้ว อ.วังเหนือ ตัวบ้านเกิดรอยร้าว มีกระเบื้องตกแตก พื้นหินอ่อนแตกร้าว  และพระธาตุเจดีย์วัดพระเกิด บ้านแม่เลียบ  ม.8 ต.ทุ่งฮั้ว พบว่ายอดฉัตรปลายเจดีย์ มีการเอียงไปทางทิศใต้

หลังเกิดเหตุ อำเภอวังเหนือได้แจ้งองค์ปกครองส่วนท้องถิ่น เฝ้าระวังติดตามสถานการณ์ ตรวจสอบความเสียหายและเร่งให้การช่วยเหลือ หากมีข้อมูลเพิ่มเติมจะรายงานให้ทราบตามลำดับต่อไป

https://www.naewna.com/local/396767

****************
ขนาดนี้ถือว่าหนักพอสมควรไหมคะ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 20 ก.พ. 19, 20:45

บนพื้นฐานความรู้ของผม 

พื้นที่ในภาคเหนือย่านนี้ของเราอยู่ในบริเวณที่ได้รับแรงกระทำคล้ายกับเราเอากระดาษทั้งรีมมางอให้เป็นรูปตััว S  ซึ่งเราจะพบว่าที่บริเวณที่โก่งงอ กระดาษในส่วนนั้นก็จะแยกออกเป็นแผ่นๆ ซึ่งหากเราเอาดินสอขีดเส้นตรงที่ขอบรีมกระดาษ ก็จะเห็นว่าเส้นที่ขีดไว้นั้นโย้เอียงและขาดตอนไม่ต่อกันระหว่างแต่ละแผ่น คือเกิดการเคลื่อนที่บนระนาบที่กระดาษได้วางทับกัน    การเคลื่อนที่เหล่านี้ที่เกิดในชั้นหินซึ่งมีพื้นผิวไม่เรียบก็ย่อมจะต้องเกิดการครูดกันที่ยังให้เกิดแผ่นดินไหว  แผ่นดินไหวที่เกิดในพื้นที่ลักษณะนี้จัดอยู่ในพวกที่ไม่มีความรุนแรงมาก ที่แรงๆก็คงอยู่ในระดับประมาณไม่เกิน 5+/- แถวๆนี้

จากนี้ไปก็จะยังคงได้รู้สึกว่ามันยังมีมาอีกเรื่อยๆ มาแบบเบาๆพอให้ได้รู้สึกและเกิดความสงสัยว่าใช่มันหรือไม่   
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 21 ก.พ. 19, 09:32

เรื่องเล่าเช้าวันนี้

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 21 ก.พ. 19, 19:16

ผมดูภาพความเสียหายแล้วมีความเห็นว่า ใต้ผืนดินในพื้นที่นั้นน่าจะมีดินอ่อน(ดินเหนียว)วางตัวรองรับอยู่ เพราะความเสียหายที่ปรากฎตามอาคารจะเป็นลักษณะของการโยกไปมาแบบเบาๆ มากกว่าที่จะเป็นแบบมีการกระแทกขึ้นลงร่วมอยู่ด้วย เราจึงเห็นรอยแตกตามอาคารในลักษณะแนวนอนเป็นส่วนมาก และก็ยังดูจะอยู่ที่บริเวณรอยต่อระหว่างคานกับผนังอิฐก่อ หรือระว่างอิฐก่อด้วยกัน 

ที่เห็นว่าเป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าคลื่นแผ่นดินไหวจะเปลี่ยนความถี่จากสูงไปสู่ต่ำและขยายความยาวของคลื่นเมื่อเดินทางผ่านตัวกลางที่อ่อน (ขอไม่ขยายความไปในเรื่อง P-wave และ S-wave)   

กรณีที่อยู่ใกล้กับจุดกำเนิดของแผ่นดินไหวเช่นกรณีนี้นั้น และผืนดินรองรับด้วยหินแข็ง ความเสียหายจะเกิดจากการกระทำของคลื่นความถี่สูง ผลก็จะมี เช่น เสาระเบิด (เสาย่นลงมา) และร่องรอยของการกระแทก  ซึ่งในกรณีนี้ไม่เห็น เห็นแต่ว่าผนังปูนมีรอยแตกเป็นร่องลึก    หรและจะต้องเห็นรอยแตกตามผนังปูนหรือที่ตัวเสาโครงสร้าง เป็นรอยแตกทะแยงทำมุมประมาณ 45+/-องศากับแนวตั้ง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 21 ก.พ. 19, 19:33

สำหรับรอยแตกที่เป็นร่องลึกในแนวนอนดังที่เห็นในภาพนั้น  ผมเห็นว่าน่าจะมาจากเรื่องของการก่อสร้าง ซึ่งในพืนที่ในภาคเหนือนั้น สำหรับอาคารขนาดสองชั้นสามชั้นนั้นดูจะไม่มีการตอกเสาเข็มใดๆ มีแต่การใช้การขุดหลุมหล่อเสาตีนแผ่ขึ้นมาเป็นตอม่อ  เมื่อเกิดแผ่นดินไหว ผืนดินก็จะเกิดการเขย่าให้อัดตัวแน่น เกิดการหดตัวยังผลให้เกิดการทรุดของพื้นดิน  แต่ด้วยที่โครงสร้างสวนบนมีการเชื่อมยึดกันเป็นโครงอย่างดี จึงไม่ทรุดตามลงไปกับตอม่อมากนัก
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 96  เมื่อ 07 ก.พ. 23, 08:35

เกิดแผ่นดินไหวขนาด ๗.๘ ศูนย์กลางใกล้เมืองกาซีอันเท็พ ทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี ติดกับพรมแดนประเทศซีเรีย ในช่วงที่ประชาชนกำลังหลบพักผ่อน ตามด้วยแผ่นดินไหวรุนแรงอีกลูกในเวลาไม่ถึงวัน ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตอย่างเป็นทางการแล้วในตุรกีและซีเรีย กว่า  ๓,๐๐๐ คน ก่อนเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ซ้ำอีกระลอกในพื้นที่ทางตอนใต้

เมื่อวานนี้ (๖ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖) ศูนย์สำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ รายงานว่า แผ่นดินไหวมีความรุนแรงขนาด ๗.๘ เกิดขึ้นเวลา ๔.๑๗ น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือเวลา ๘.๑๗ น. ตามเวลาในประเทศไทย โดยมีความลึกลงไปใต้ดิน ๑๗.๙ กิโลเมตร ศูนย์กลางอยู่ใกล้เมืองกาซีอันเท็พ ผ่านไปไม่ถึง ๒๔ ชั่วโมง หลังแผ่นดินไหวลูกแรก ได้เกิดแผ่นดินไหวอีกครั้งทางตะวันออกเฉียงใต้ของตุรกี เมื่อเวลา ๑๐.๒๔ น. ตามเวลาท้องถิ่น หรือ ๑๗.๒๔ น. ตามเวลาในไทย โดยสำนักสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐฯ ระบุว่า แผ่นดินไหวลูกที่ ๒ มีขนาดรุนแรง ๗.๕

หน่วยงานด้านการรับมือภัยพิบัติของตุรกี ระบุว่า แผ่นดินไหวลูกที่สอง ไม่ใช่อาฟเตอร์ช็อก แต่เป็นแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นต่างหากจากลูกแรก แรงสั่นสะเทือนนั้น รู้สึกได้ถึงกรุงอังการาของตุรกี และอีกหลายเมืองทั่วประเทศ รวมถึงประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค

ประธานาธิบดี เรเจป ทายยิป แอร์โดอัน ของตุรกี เปิดเผยว่า มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย ๒,๐๐๐ คนในตุรกี ภายหลังเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ตามด้วยแผ่นดินไหวลูกที่สอง ขณะที่จำนวนผู้บาดเจ็บอยู่ที่เกือบ ๙,๗๐๐ คน ไม่เพียงเท่านั้น เขายังเปิดเผยว่า มีอาคารพังถล่มลงมาจากแรงสั่นสะเทือนอย่างน้อย ๒,๘๑๘ แห่ง

ส่วนที่ซีเรีย ซึ่งได้รับผลกระทบหนักจากแผ่นดินไหวเช่นกัน มีรายงานผู้เสียชีวิตแล้วอย่างน้อย ๑,๐๐๐ คน บาดเจ็บอีกกว่า ๒,๐๐๐ คน โดยแรงสั่นสะเทือนรู้สึกได้จากชายฝั่งทางตะวันตก ไปจนถึงกรุงดามัสกัสของซีเรีย

ข่าวจาก บีบีซี

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 97  เมื่อ 07 ก.พ. 23, 13:05

ทำไมแผ่นดินไหว "ตุรกี-ซีเรีย" จึงรุนแรง

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 98  เมื่อ 07 ก.พ. 23, 18:54

แผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่น่ากลัวกลับมาอีกครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 6 กพ. 2566 เวลาท้องถิ่น 04:17 am.  มีจุดกำเนิดอยู่ลึกลงไปใต้ผิวดินประมาณ 18 กม. magnitude ขนาด 7.8   และมี aftershock ขนาดใหญ่ magnitude 6.7 เกิดขึ้นหลังจากนั้นในช่วงเวลาประมาณ 11 นาที ซึ่งมีจุดกำเนิดอยู่ลึกลงไปประมาณ 10 กม.

จุดกำเนิดของแผ่นดินไหวอยู่ในพื้นที่ทางตอนใต้ของประเทศตุรกีย์ ซึ่งเป็นพื้นที่รอยต่อเขตแดนกับประเทศซีเรีย  ความแรงของการไหวรับรู้ได้เป็นบริเวณกว้างในรัศมีประมาณ 100 กม. ซึ่งวัดความรุนแรงได้ในระดับ 4.5 magnitude เลยทีเดียว   

ในทางธรณีวิทยา พื้นที่ที่เกิดแผ่นดินไหวนี้ตั้งอยู่ในบริเวณที่แผ่นเปลือกโลก 3 แผ่นมาชนกัน คือแผ่น Africa, Arabia และ Anatolia

ที่ว่ามานี้ เป็นข้อมูลพื้นฐานของ USGS (US Geological Survey)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 99  เมื่อ 07 ก.พ. 23, 19:47

ข่าวล่าสุดว่ามีผู้เสียชีวิตในเขตประเทศตุรกีย์ 3419 คน ในประเทศซีเรียประมาณ 1600 คน  และคาดว่ามีผู้บาดเจ็บรวมกันมากกว่า 20,000 คน

เราทุกคนคงจะมีความรู้สึกเศร้าและเสียใจก้บการสูญเสียชีวิตผู้คนเป็นจำนวนมาก และยิ่งน่าเศร้าขึ้นไปอีกเมื่อรู้ว่าเหตุเกิดในช่วงเวลาเช้ามืดในขณะที่ผู้คนกำลังนอนหลับสนิท   ในปัจจุบัน ทั้งสองประเทศนี้อยู่ในช่วงเวลาที่กำลังมี Irregularity ในเรื่องของการเมืองระหว่างประเทศ  ไม่รู้ว่ามีผล +/- ในเรื่องทาง Humanity มากน้อยเช่นใด     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 100  เมื่อ 08 ก.พ. 23, 17:50

ข้อมูลล่าสุดจาก นสพ. Washington Post ว่า   ในพื้นที่ของประเทศตุรกีย์ พบผู้เสียชีวิตแล้ว 7,108 คน บาดเจ็บ 40,910 คน  สำหรับในประเทศซีเรีย ในพื้นที่ๆอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 1,250 คน บาดเจ็บ 1,449 คน  ส่วนในพื้นที่ๆอยู่ภายใต้การควบคุมของอีกฝ่ายหนึ่ง มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 1,280 คน บาดเจ็บประมาณ 2,600 คน   

กาค้นหายังดำเนินการต่อไป ความเสียหายต่อชีวิตรวมกันแล้ว น่าจะเข้าใกล้ระดับหมื่นคน บาดเจ็บก็น่าจะอยู่ในระดับ 50,000+ คนขึ้นไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 101  เมื่อ 08 ก.พ. 23, 18:39

เป็นการสูญเสียครั้งใหญ่  ขอแสดงความเสียใจด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 102  เมื่อ 08 ก.พ. 23, 19:22

พิจารณาจากภาพและคลิปที่ปรากฎตามสื่อต่างๆ   การพังทลายของอาคารบ้านเรือนต่างๆอยู่ในลักษณะของการพังแบบทรุดเอียงทับซ้อนกันลงมา มากกว่าในรูปแบบของล้มลง  ก็เป็นลักษณะหนึ่งของความเสียหายในพื้นที่บริเวณใกล้จุดกำเนิดแผ่นดินไหวที่อยู่ไม่ลึก ซึ่งเกิดมาจากการที่เสาของอาคารแตกหักเพราะถูกแรงกระแทกอย่างแรง  คล้ายกับสภาพของเราที่ถูกกระแทก โยนไปมา เมื่อนั่งรถอยู่ในรถวิ่งไปบนถนนที่มีผิวถนนขรุขระเป็นหลุมเป็นบ่อ
 

นัยว่า พบว่า aftershock ที่เกิดแรงขนาดไล่เลี่ยกับครั้งแรกนั้น แท้จริงแล้วเกิดจากการขยับตัวของอีกรอยเลื่อนหนึ่งในพื้นที่พบปะกันของแผ่นเปลือกโลกบริเวณใกล้ๆกันนั้น (ตามปกติแล้ว aftershock จะมีความแรงน้อยกว่าครั้งแรก)    การไหวครั้งแรกจากรอยเลื่อนตัวหนึ่งก็ทำให้โครงสร้างของอาคารบ้านเรือนเสียหายไปพอสมควร แต่อาจจะยังไม่ถึงระดับพังลงมา  การไหวครั้งที่สองที่ตามหลังมาไม่นานนั้น คือตัวการที่กระชากทุกอย่างให้พังครืนลงมา ทำให้เกิดความเสียหายอย่างมากดังที่เห็น      
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 103  เมื่อ 09 ก.พ. 23, 13:35

ชะตากรรมของทารกน้อยน่าสงสารอย่างที่สุด น้องเหลือตัวคนเดียวบนโลกใบนี้ กล่าวคือ
ณ นาทีที่แผ่นดินไหวถล่มเมืองจินเดริสช่วงรุ่งสางของวันจันทร์ เป็นจังหวะเดียวกับที่คุณแม่อาบู ฮาดิยะ และสามีกับลูกๆ 4 คน กำลังวิ่งจะออกให้พ้นอาคารอพาร์ตเมนต์ แต่โครงสร้างอาคารถูกแรงสั่นสะเทือนเล่นงานอย่างจัง และยุบฮวบถล่มลงมาบนร่างกายของสมาชิกครอบครัวทั้งหกราย โดยศพของพวกเขาอยู่ใกล้จะถึงทางออกอาคาร

อ่านรายละเอียดได้ที่
https://mgronline.com/around/detail/9660000012783


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 104  เมื่อ 09 ก.พ. 23, 16:35

ขอให้เธออยู่รอดปลอดภัย ตุรกี & ซีเรีย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7] 8 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.039 วินาที กับ 19 คำสั่ง