naitang
|
ความคิดเห็นที่ 60 เมื่อ 30 พ.ค. 15, 20:49
|
|
มาถึงตรงนี้ ทำให้นึกถึงอีกเรื่องหนี่ง เกี่ยวกับน้ำและสุขภาพ ที่ผมมีข้อกังขาอยู่ ก็จะขอออกนอกเรื่องไปนิดนึงครับ ในปัจจุบันนี้ มีการใช้เครื่องกรองน้ำที่เรียกว่าระบบ RO (Reverse osmosis) ซึ่งจะกรองเอาสารละลายในน้ำที่มีขนาดใหญ่กว่าประมาณ 3 - 5 ไมครอน (ตามที่เขียนไว้ที่เครื่องกรอง) สุดท้าย น้ำที่กรองแล้วก็จะไปผ่าน resin ที่ทำให้น้ำกระด้างกลายเป็นน้ำอ่อน (ยังไม่โฆษณาว่าได้เป็นน้ำด่าง ที่มีคุณสมบัติต้านโรคร้ายแรง) ประเด็นอยู่ตรงที่ว่า ในทางสาธารณสุขของเรา เราขอให้ผู้คนลดกินเค็ม ลดบริโภคเกลือ แต่ในระบบการเปลี่ยนน้ำกระด้างให้เป็นน้ำอ่อนนั้น มันก็คือการแลกเปลี่ยนธาตุระหว่างแคลเซียมในน้ำ (ซึ่งทำให้น้ำกระด้าง) กับโซเดียมในแท่ง resin (ซึ่งเป็นตัวเกลือที่ประสงค์จะให้ผู้คนลดการบริโภค) ตกลง ลดกินเกลือในอาหารแต่ได้รับทดแทน (หรือเพิ่มเติมมากกว่า) จากน้ำดื่ม ผมไม่รู้จริงๆ คุณหมอและท่านผู้รู้ทั้งหลายช่วยกรุณาให้ความรู้ด้วย ครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 61 เมื่อ 01 มิ.ย. 15, 19:09
|
|
กาซที่ถูกกักขังอยู่ในรูพรุนระหว่างเม็ดดินทรายนั้น ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่เป็นตัวบ่งชี้ว่ามีการเปลี่ยนแปลงใดๆเกิดขึ้นอยู่ลึกลงไปใต้ผิวดิน กาซเหล่านี้มีได้หลากหลายส่วนผสม ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมทางเคมีฟิสิกส์
เมื่อรอยเลื่อนเริ่มขยับ เม็ดดินทรายก็อาจจะขยับทำให้เกิดรอยแยกเล็กๆเชื่อมกันระหว่างรู เกิดการปล่อยกาซขึ้นสู่ผิวดิน สัตว์หลายชนิด (โดยเฉพาะพวกแมลง_Arthropods_ทั้งหลาย) มีความไวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม (บ้างก็อากาศ บ้างก็น้ำ ฯลฯ) จึงมักแสดงพฤติกรรมแปลกๆ ดังนั้น หากมีความสังเกต เราก็อาจจะพอรู้ได้จากพฤติกรรมของสัตว์ต่างๆในธรรมชาติในพื้นที่นั้นๆว่า อาจจะมีอะไรที่ไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้นในระยะเวลาอันใกล้ ส่วนจะเดาว่าเป็นอะไรนั้น ก็คงจะไปอยู่ที่ความรู้จักและความเข้าใจธรรมชาติรอบๆตัวเราในพื้นที่ๆตัวเราเองไปอาศัยดำรงชีพอยู่นั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 62 เมื่อ 01 มิ.ย. 15, 19:30
|
|
เรื่องกาซที่อยู่ในดินนี้ ในบางกรณีหรือในบางพื้นที่ก็เป็นเรื่องใหญ่อยู่เหมือนกัน
กล่าวคือ เมื่อเกิดแผ่นดินไหว กาซในดินเหล่านี้จะถูกปลดปล่อยออกมาพร้อมๆกับจุลินทรีย์มากมายหลากหลายชนิด จึงมักมีกรณีที่ผู้คนมากมายในพื้นที่แผ่นดินไหวได้เกิดอาการป่วยในโรคเดียวกัน เคยอ่านพบว่ามีกรณีที่ผู้คนในพื้นที่ๆแผ่นดินเกิดการไหวสะเทือน ผู้คนเเกิดอาการป่วยเฉียบพลันแบบไม่ทราบสาเหตุและมีคนตาย ซึ่งในที่สุดก็พบว่าต้นเหตุมาจากเรื่องของกาซและจุลินทรีย์ที่ฟุ้งกระจายออกมาจากใต้ดินนั้นเอง
ก็เป็นอีกหนึ่งเรื่องนะครับ เตรียมพร้อมผ้าปิดจมูกไว้ด้วย อย่างน้อยก็ใช้ปิดจมูกเราหลังจากเกิดแผ่นดินไหวในขณะที่ออกเดินสำรวจรอบๆบ้านและพื้นที่ของเราว่าอะไรเป็นอะไร ลดความเสี่ยง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 63 เมื่อ 02 มิ.ย. 15, 19:00
|
|
สิ่งบอกเหตุอีกหนึ่งเรื่องต่อมาก็คือ ตัวแผ่นดินไหวนั่นเอง
ตามที่ได้มีการติดตามศึกษากันมานาน ได้พบว่าลักษณะการเกิดของแผ่นดินไหวนั้น มันจะมีการไหวเตือนล่วงหน้า (fore shock) ก่อนที่จะเกิดการไหวใหญ่ (main shock) แล้วก็มีการไหวตามหลัง (after shock) ซึ่งทุกคนทราบกันดีในเรื่องนี้ แต่ที่ไม่ทราบและต้องก้าวเข้าไปสู่พื้นที่ของการเดาก็คือ แผ่นดินไหวครั้งใดที่เป็นตัวเตือน เป็นตัวจริง และเป็นตัวอำลา ซึ่งทุกผู้คนต่างก็ให้ความสนใจไปที่ตัว main shock กันทั้งนั้น
เรื่องนี้พอจะทราบได้ก็ด้วยการอาศัยความรู้ทางวิชาการในหลายสาขา ผนวกกับการคาดคะเน (เดา) อย่างมีเหตุผล จึงมีการใช้คำศัพท์ที่ใช้ต่างๆกันเมื่อมีการกล่าวถึง อาทิ return period, likelihood, possible, probably, indicate ฯลฯ ก็คงไม่ต้องเข้าไปทราบอย่างลึกในเรื่องทางวิชาการเหล่านี้นะครับว่าเขาศึกษากันอย่างไร เอาเป็นว่าขนาดประเทศที่ได้รับผลกระทบแผ่นดินไหวอย่างมากเช่นญี่ปุ่นนั้น ซึ่งเขามีข้อมูลมากมาย และเตรียมการไว้ในระดับที่ดีมากๆแล้ว เขายังต้องปรับปรุงแก้ไของค์ความรู้ (รวมทั้งกฎระเบียบต่างๆ) หลังการเกิดแผ่นดินไหวที่เมืองโกเบเมื่อ พ.ศ.2538 ซึ่งก็ยังไม่พอที่จะรับมือแผ่นดินไหวและซึนามิครั้งใหญ่ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ คาดไม่ผิดนะครับว่าเกิดแน่ๆ คาดไม่ผิดในช่วงเวลาและพื้นที่ทางภูมิศาสตร์อีกด้วย แต่คาดผิดในเรื่องของขนาดและผลกระทบที่ตามมา _ ซึนามิ ซึ่งได้ทำเขื่อนกันตลอดชายฝั่งในระดับสูงประมาณ 5 เมตรจากระดับน้ำทะเล
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 64 เมื่อ 02 มิ.ย. 15, 19:18
|
|
แต่...แต่เราก็พอจะคาดการณ์ได้ด้วยความรู้ของตัวเราเอง แม้จะห่างไกลจากฐานทางวิชาการไปมากก็ตาม
ดังนี้ครับ ตั้งอยู่บนหลักการเสมือนหนึ่งเราตั้งกาต้มน้ำบนเตาไฟ เมื่อน้ำเดือดเราจะได้ยินเสียงฝาของการต้มน้ำสั่นกระแทกกับตัวกาน้ำ แต่หากเราปิดฝากาให้แน่น ไอน้ำก็จะดันให้ฝาระเบิดกระเด็นออกมา
ฉะนั้น เกิดแผ่นดินไหวเล็กตลอดเวลา ก็เสมือนหนึ่งเป็นการระบายพลังออกมา ย่อมดีกว่าพลังถูกกักเก็บอัดไว้จนแน่นจนถึงระดับที่ต้องระเบิดออกมา เป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 65 เมื่อ 02 มิ.ย. 15, 19:40
|
|
ก็คงเป็นปรัชญาหลักๆที่เราก็รู้ๆกันอยู่แล้วใช่ใหมครับ
ก็มีเรื่องที่พึงกระทำเมื่อไปอยู่ที่ใดๆในพื้นที่ๆเราพอรู้ว่ามีแผ่นดินไหวในระดับที่น่ากลัว เราก็ควรจะทำตนเป็นคนช่างจำนรรจา เจ๊าะแจ๊ะ ถามไถ่เพื่อให้ได้ข้อมูลว่า เกิดขึ้นบ่อยใหม เกิดขึ้นเป็นประจำใหม เว้นวรรคห่างเหินจากการเกิดไปนานมากน้อยเพียงใด หรือเกิดห่างกันแต่ดูจะมีขนาดใหญ่ขึ้น
หากมันเกิดขึ้นบ่อยมาก และเกิดติดต่อกันมาเป็นช่วงเวลานานแล้ว ก็คงจะไม่ต้องมีความกังวลใดๆ นอนอยู่กับมันแบบชิลล์ๆไปเลย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 66 เมื่อ 03 มิ.ย. 15, 19:27
|
|
ก็มาถึงเรื่องว่า ทำไมในช่วงคาบเวลานี้จึงเกิดแผ่นดินไหวเกิดขึ้นบ่อยครั้งมาก คำตอบในความเห็นของผม โดยพื้นๆ มีอยู่ในสองประเด็นที่ผสมผสานกัน ก็คือ ในทางสังคมและในทางวิชาการ
ทางสังคม เรื่องแรก เพราะระบบการสื่อสารมันดีมากขึ้น จนสามารถขนถ่ายปริมาณ content ได้มากและไวมากจนเกือบจะเสมือนว่าเราเป็นผู้หนึ่งที่ได้อยู่ ได้เห็น หรือได้สัมผัสกับสถานการณ์นั้นๆด้วยตนเอง เรื่องที่สอง เพราะข้อมูลที่ลอยฟ่องอยู่ในระบบของสื่อต่างๆนั้น มันมีทั้งที่อยู่ในรูปของ data ในรูปของ information และในรูปของ purported ผู้รับจึงจะต้องมีการวิเคราะห์ (digest) ก่อนที่จะเปลี่ยนให้เป็นองค์ความรู้ของตน เรื่องที่สาม เพราะวิถีของสังคมมีความเป็น global มากขึ้นมากๆ ข้อมูลข่าวสารจึงขยายวงครอบคลุมพื้นที่กว้างขวางมากขึ้น จากภายในเขตพื้นที่ของตน ไปเป็นพื้นที่ระดับภูมิภาค และกำลังอยู่ในห้วงของเป็นพื้นที่ระดับทวีป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33421
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 67 เมื่อ 03 มิ.ย. 15, 23:30
|
|
ไม่ทราบว่าเกิดจากแผ่นดินไหวหรือเปล่า แต่ไม่เคยเห็นอะไรประหลาดอย่างนี้ อยู่ๆน้ำทะเลก็ยุบและแหวกเป็นร่องค่ะ ต้องถามนักธรณีวิทยา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 68 เมื่อ 04 มิ.ย. 15, 19:05
|
|
เห็น Mirror ก็เลยลองตามไปดูใน นสพ. The Mirror ก็เลยทราบว่าเกิดในฮ่องกง
ครั้งแรกที่เห็นภาพ เห็นวิวด้านหลังเป็นอาคารตึกสูง ผมก็นึกว่าจะต้องเกี่ยวข้องกับพื้นที่ปากแม่น้ำ เนื่องจากเห็นมวลน้ำเคลื่อนที่เข้าหากันตรงพื้นที่ๆที่เป็นแนวรอยแยก กล่าวคือ เป็นกรณี ณ ช่วงเวลาพอดีที่คลื่นจากทะเลเคลื่อนที่เข้าสู่ปากแม่น้ำได้ยกตัวขึ้นแล้วกำลังม้วนตัวกลับ (ตามกระบวนการของ surf ที่เราเห็นกันเป็นปรกติตามชายทะเลทั่วๆไป) แล้วปะทะกับมวลน้ำที่กำลังไหลลงสู่ปากอ่าว ซึ่งน่าจะเกิดในพื้นที่บริเวณที่เป็นเนินตะกอนใต้น้ำ และผมเห็นว่าน่าจะเป็นช่วงเวลาน้ำทะเลกำลังลง และก็น่าจะเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นค่อนข้างจะเป็นปรกติ จนมีการรอถ่ายคลิปดังที่เอามาเผยแพร่
แต่พอได้ทราบว่าเป็นที่ฮ่องกง และถ่ายโดยกลาสีเรือลำหนึ่ง ผมก็ถึงบางอ้อ ก็น่าจะเป็นภาพถ่ายจากทางท้ายเรือเดินสมุทรในจังหวะที่มวลน้ำที่ถูกผลักจากใบจักรเรือด้านหัวเรือ ไปกระทบกับมวลน้ำที่ถูกผลักมาจากใบจักรด้านท้ายเรือ ในขณะที่เรือกำลังหมุนตัว จึงเห็นภาพฟองขาวเหนือผิวน้ำก่อนที่จะเกิดแนว ซึ่งก็อยู่ในข่ายของเรื่องเดียวกัน คือ เป็นแนวที่เกิดจากมวลน้ำที่ไหลหมุนเวียนในแนวตั้งมาชนกัน (มุดกัน-เกยกัน) และอีกประการหนึ่ง ผมมีความเห็นว่ารอยแยกที่เห็นในคลิปนั้นน่าจะเป็นภาพลวงตาที่เกิดจากแสง
ก็เดาได้ดั่งที่กล่าวมานี้แหละครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 69 เมื่อ 05 มิ.ย. 15, 18:49
|
|
กลับมาต่อ คห. 67 ครับ
ทางวิชาการ เป็นเรื่องของผลกระทบในพื้นที่ปลายทางที่ได้รับแรงหรือพลังงานที่ถูกถ่ายทอดต่อๆมาเป็นลูกโซ่ ก็คล้ายกับความเสียหายที่เกิดจากรถชนท้ายกันต่อเนื่อง 4-5 คัน คันแรกก็จะมีความเสียหายมาก คันหลังก็จะมีความเสียหายน้อย เพราะว่าแรงหรือพลังงานมันถูกดูดซึมออกไปอย่างต่อเนื่องจนรถคันสุดท้ายอาจจะเกือบไม่รับรู้เสียด้วยซ้ำว่ามีการกระแทกใดๆที่ท้ายรถของตน ฉันใดก็ฉันนั้น แรงหรือพลังงานที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวก็เช่นกัน ต้นทางของแรงที่ทำให้เกิดแผ่นดินไหวนั้น อยู่ที่บริเวณขอบของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกันบ้าง ชนกันบ้าง และแยกออกจากกันบ้าง แรงหรือพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมานั้นก็จะกระจายออกไป ยึ่งห่างไกลจากแหล่งกำเนิด แรงหรือพลังงานนั้นก็จะถูกซึมซับและลดน้อยลง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 70 เมื่อ 05 มิ.ย. 15, 19:20
|
|
แต่แผ่นดินไหวนั้นเกิดจาก - สภาพของการครูดของหินบนระนาบหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดการสั่นสะเทือน ก็คล้ายกับการขับรถขนถนนลูกรัง บางช่วงก็รู้สึกนิ่งเรียบดี บางช่วงก็รู้สึกสั่นหรือกระดอนไปมาเล็กน้อย แล้วก็มีโอกาสตกหลุมใหญ่ เกิดการกระแทกอย่างแรง - สภาพของการขาดสะบั้น ซึ่งทำให้เกิดการกระชาก ก็คล้ายกับขับขับรถมาดีๆ แล้วเกิดรถตกหลุมหรือแอ่งที่ทั้งรถทั้งคนและสิ่งของบรรทุกถูกโยนลอยระเนระนาดไปหมด
สภาพของรอยเลื่อนมีพลังก็คล้ายกับสภาพแรก ซึ่งหมายความว่า น่าจะพอคาดได้ว่า มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ทุกๆคาบเวลาใด ส่วนสำหรับรอยเลื่อนอื่นใดที่คล้ายกับสภาพที่สองนั้น เดายาก จึงใช้คำกล่าวถึงในอีกลักษณะหนึ่งว่า มันไม่เกิดมานานแล้วเพียงใด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 71 เมื่อ 06 มิ.ย. 15, 20:17
|
|
ต้นทางของแรงหรือพลังงานที่สะสมอยู่ตามขอบแผ่นทวีปนั้นมีอยู่สูงมาก เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นในพื้นที่เหล่านี้ เราจึงเห็นว่าเป็นแผ่นดินไหวที่อยู่ในเกณฑ์แรงทั้งในเชิงของขนาด หรือ magnitude ซึ่งก็คือ ขนาดของพลังงาน (ณ จุดหรือพื้นที่กำเนิด) ที่ถูกปลดปล่อยออกมา และในเชิงของความรุนแรง หรือ intensity ซึ่งก็คือ พละกำลังหรือความหนักแน่นของพละกำลังที่จะไปสร้างความเสียหาย
พลังงานและพละกำลังที่กระจายออกไปจากพื้นที่กำเนิดแผ่นดินไหวนี้ หากมีพลังมากพอ มันก็จะไปทำให้เกิดรอยเลื่อน รอยแตก รอยแยกในพื้นที่อื่นๆต่อไป เป็นอันดับๆไป (ตามกฎการแตกแรงทางฟิสิกส์หรือทางวิศวกรรม) ให้สอดคล้องไปกับพลังงานและพละกำลังของพื้นที่ต้นตอที่กระจายมาถึง บางรอยเลื่อนจึงมีการขยับ มากบ้าง น้อยบ้าง ทุกช่วงเวลาบ้าง ปรับตัวตลอดเวลาบ้าง ฯลฯ บางรอยเลื่อนก็นิ่งอยู่เฉยๆ หรือขยับเฉพาะบางช่วงของรอยเลื่อนเท่านั้น
ความต่างทั้งหลายก็ขึ้นอยู่กับระยะความห่างจากพื้นที่ขอบแผ่นทวีปและกลไกของกระบวนการเปลี่ยนแปลงของผิวโลก
คงจะพอเห็นภาพบ้างนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 72 เมื่อ 07 มิ.ย. 15, 19:12
|
|
มาลองสำรวจดูที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยของเรา ประเทศไทยของเรามีสภาพคล้ายกับไข่ในหินเลยทีเดียว เนื่องจากพื้นที่ต้นทางของแรงหรือพลังงานที่มีพละกำลังมากๆนั้น อยู่ห่างไกลจากเรามาก - ห่างไกลออกไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ มีบริเวณที่แผ่นทวีปชนกันจนโป่งนูนขึ้นมาเป็นทิวเขาหิมาลัย - ห่างไกลไปในทะเลทางทิศตะวันตก เป็นพื้นที่แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ผ่านกันแบบผสมผสานทั้งแบบที่มุดกัน (เกิดเป็นทิวเกาะยาว_หมู่เกาะนิโคบาร์) และเสียดสีกันด้านข้าง เกิดเป็นแนวรอยเลื่อน (transform fault) ตลอดแนวขึ้นไปทางด้านตะวันตกของที่ราบกลางประเทศของพม่า ขึ้นไปจนถึงพื้นที่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของยูนาน - ห่างไกลไปทางใต้ ก็มีแผ่นเปลือกโลกมุดกันอยู่ในพื้นที่นอกชายฝั่งเกาะสุมาตรา - ห่างไกลไปทางตะวันออกเฉียงเหนือยาวต่อเนื่องลงมาทางตะวันออกเฉียงใต้ มีแผ่นเปลือกโลกมุดกันตั้งแต่แถบหมู่เกาะญีปุ่นจนถึงฟิลิปปินส์ - ห่างไกลไปทางทิศเหนือ เป็นพื้นที่ๆกำลังออกแรงยันกันอยู่ ระหว่างแผ่นดินพม่า-ลาว-ไทย-เวียดนาม กับ แผ่นดินจีน (ยูนานและกวางสี) เกิดเป็นกลุ่มทิวเขาและรอยเลื่อน (เช่น รอยเลื่อนแม่น้ำแดงที่ผ่านฮานอย) และการยันกันนี้กำลังหมุนไปทิศทางตามเข็มนาฬิกา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 73 เมื่อ 07 มิ.ย. 15, 19:33
|
|
พละกำลังของแรงหรือพลังงานจากพื้นที่ต้นกำเนิดดังกล่าวเหล่านั้น ถูกดูดซับไปค่อนข้างมากในเส้นทางผ่านเข้ามาในพื้นที่ประเทศไทย ด้วยเพราะว่ารอยเลื่อนทั้งหลายของเรานั้นมิใช่ primary structure
ซึ่งโดยนัย ก็คือ แผ่นดินไหวที่มีต้นกำเนิดในไทย โดยทั่วๆไปก็น่าจะมีขนาดย่อมๆ ซึ่งโดยส่วนตัวของผมเห็นว่าน่าจะอยู่ในเกณฑ์ไม่เกิน magnitude 6 แต่ก็มิได้หมายความว่าจะเกิดขนาดใหญ่กว่านี้ไม่ได้นะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
naitang
|
ความคิดเห็นที่ 74 เมื่อ 08 มิ.ย. 15, 19:22
|
|
magnitude ไม่เกิน 6 ที่ผมคาดเดานี้ มีข้อพิจารณาทางวิชาการประกอบอยู่ด้วย ดังนี้ครับ
ประการแรก ข้อมูลแผ่นดินไหวทั่วโลกที่ผ่านๆมาบ่งบอกว่า บรรดาแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ๆที่มีอำนาจทำลายล้างสูงนั้น เกิดขึ้นจากรอยเลื่อนมีพลังที่มีแนวยาวมากๆ (ในหลักร้อยและหลายร้อย+) และซึ่งมักจะเป็นรอยเลื่อนที่เกิดในพื้นที่ชายขอบของแผ่นทวีปที่เคลื่อนที่ผ่านกัน (เช่น รอยเลื่อนสะแกงที่เป็นแนวยาวตั้งแต่จีนลงๆไปจนสุมาตรา ซึ่งได้ถูกจัดให้เป็น super earthquake zone คือมีขนาดใหญ่กว่า 7) แต่ตามข้อมูลทางวิชาการที่กรมทรัพยากรธรณีได้เผยแพร่นั้น บรรดารอยเลื่อนมีพลังทั้งหลายในประเทศไทย มีความยาวไม่กี่สิบกิโลเมตร แผ่นดินไหวที่จะเกิดขึ้นจึงไม่น่าจะมีพลังได้ถึงขนาด 6 ประการที่สอง พลังหรือพลังงานที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวที่เกิดจากรอยเลื่อนใดๆนั้น มันไปขึ้นอยู่กับขนาดของพื้นที่ๆมันสะดุดกันอยู่ ซึ่งโยงไปถึงปริมาณของเนื้อหินของทั้งสองฝั่งที่ได้รับและสะสมพลังงาน ___ญี่ปุ่นได้ใช้โมเดลในลักษณะที่ได้กล่าวนี้ คำนวณหาปริมาณพลังงาน แล้วเปลี่ยนมันไปเป็นขนาด แล้วเปลี่ยนมันไปเป็นอัตราเร่งที่จะเกิดขึ้นของผืนดิน แล้วก็จึงไปพิจารณาออกข้อกำหนดว่า ณ พื้นที่ใด ควรจะต้องออกแบบและก่อสร้างอาคารอย่างไรที่จะทนทานต่อแผ่นดินไหว แต่กระนั้นก็ตาม ก็ยังมีความไม่ถูกต้องและเหมาะสมเท่าที่ควร ความเสียหายที่เกิดขึ้นจากแผ่นดินไหวโกเบ ได้ทำให้ต้องปรับเปลี่ยนข้อกำหนดและกฏเกณฑ์เสียใหม่ ซึ่งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งล่าสุดและครั้งรุนแรงสุดๆ บรรดาสิ่งก็สร้างก็ดูจะยืนหยัดอยู่ได้ แต่ก็มิวายที่พบกับ tsunami ขนาดมหึมา แม้ว่าจะได้สร้างเขื่อนตลอดแนวชายฝั่งทะเลสูงประมาณ 5 เมตร ตามคาดการณ์ว่าคลื่น tsunami สูงสุดไม่น่าสูงเกิน 5 เมตร___ ฉะนั้น หากรอยเลื่อนมีพลังของไทยเรายาวเพียงไม่กี่สิบกิโลเมตร แถมข้อมูลแผ่นดินไหวบ่งบอกว่าเกิดในบริเวณลึกในหลักประมาณ 10+/- กม. พลังมันคงจะไม่มากพอที่จะปล่อยเป็นพลังงานขนาด 6
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|