เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 54785 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 12 พ.ค. 15, 18:24

ที่เนปาลเมื่อเวลาประมาณบ่ายสองที่บ้านเราแผ่นดินไหวอีกแล้ว คราวนี้ความรุนแรง ๗.๓ ไม่น้อยทีเดียว

http://youtube.com/watch?v=lBXFMQy3kfg#ws

บีบีซีแจ้งว่า ศูนย์กลางแผ่นดินไหวรุนแรงเขย่าเนปาลล่าสุดเกิดขึ้นทางตะวันออกเฉียงเหนือของกรุงกาฐมาณฑุ เมืองหลวง โดยห่างออกไปเป็นระยะทาง ๘๓ กม. ใกล้กับชายแดนเนปาลด้านติดกับทิเบต และมีความลึก ๑๘.๕ กม. เมื่อเวลา ๑๒.๓๕ น. ของวันที่ ๑๒ พ.ค. ๕๘ ตามเวลาท้องถิ่น (เวลาที่เนปาลช้ากว่าไทย ๑ ชั่วโมง ๑๕ นาที เวลาที่ไทยคือ ๑๓. ๕๐ น.)  ขณะที่ศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ใกล้กับเมืองนัมชี บาซาร์ ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากยอดเขาเอเวอเรสต์บนเทือกเขาหิมาลัยเท่าใดนัก  แต่ความรุนแรงของแผ่นดินไหวสามารถทำให้ประชาชนในกรุงกาฐมาณฑุ รู้สึกสั่นสะเทือนอย่างรุนแรง พากันรีบวิ่งออกจากอาคารบ้านเรือนมาอยู่กลางแจ้ง จนถึงกับมีชาวเนปาลคนหนึ่งในเมืองหลวงกล่าวด้วยความตื่นตระหนกว่า แผ่นดินไหวครั้งนี้ เป็นแผ่นดินไหวใหญ่ ระดับ ‘บิ๊ก วัน’ (Big One) อย่างแท้จริง

ข่าวจาก ไทยรัฐ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 12 พ.ค. 15, 19:40

ฟังแล้วน่ากลัวนะครับ  เพราะมันจะทำให้สิ่งก่อสร้างและอาคารที่บอบช้ำจากการถูกเขย่าครั้งก่อน แต่ยังสามารถยืนอยู่ได้นั้น มีโอกาสที่จะยืนต่อสู้อยู่ต่อไปไม่ได้อีก

ความเสียหายในครั้งนี้ ในเบื้องแรกจะหนักไปในเรื่องของทรัพย์สินมากกว่าในเรื่องของชีวิต แต่จะส่งผลกระทบต่อการการดำรงชีวิตในระยะหลังต่อๆไป ซึ่งบ้างก็จะเปลี่ยนจากสภาพของความพอที่จะเอาตัวรอด ไปเป็นสภาพของการต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้ตนเองยังสามารถรักษาการมีชีวิตของตน
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 12 พ.ค. 15, 20:46

ผมมีความเห็นที่อยากจะกล่าวถึงในบางเรื่อง ดังนี้ครับ

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้น ข้อมูลจากหน่วยงานรับผิดชอบที่เผยแพร่ออกมา จะออกมาใน 3 เรื่องเป็นหลัก คือ ขนาดของแผ่นดินไหว  ความลึกของจุดกำเนิดจากผิวดิน  และผนวกด้วยความเสียหายในเบื้องต้น

ขนาดของแผ่นดินไหว บ่งบอกในเชิงของแรงหรือพลังที่ปล่อยออกมา    ซึ่งระดับของความแรงนี้ มิได้มีความสัมพันธ์แบบตรงๆกับระดับความเสียหายที่จะเกิดขึ้น   ระดับของความเสียหายที่เกิดขึ้น มักจะเกี่ยวข้องกับด้านคุณภาพของวัตถุที่เกิดความเสียหายนั้นๆ

ความลึกของจุดกำเนิดแผ่นดินไหว เป็นเรื่องของข้อมูลที่มีประโยชน์ในทางวิชาการ   สำหรับบุคคลทั่วไป ก็อาจเพียงเป็นการช่วยเสริมความรู้สึกที่น่าสะพรึง

ความเสียหายในเบื้องต้น  เป็นรูปแบบของการรายงานข่าวต่อสาธารณะ  และเป็นการรายงานเฉาะในพื้นที่รอบวงเล็กๆเหนือจุดกำเนิดแผ่นดินไหว

ในการเตรัยมความพร้อมของตนเอง ของหมู่คน ฯลฯ ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์ใดบ้าง ??
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 22:15

การเตรียมตัวของตนเองนั้น  ผมเห็นว่าเบื้องแรกสุด ก็คือ การยอมรับความจริงว่า แหล่งที่อยู่ของเรานั้น เมื่อนับย้อนหลังกลับไป เคยได้รับรู้สึกแผ่นดินไหวบ้างหรือไม่ ข้อมูลเหล่านี้จะได้มาจากปากคำของผู้เฒ่าผู้แก่วัยดึกจริงๆทั้งหลาย หากมีก็ถือว่าเป็นโชคดีของเรา เพราะมันช่วยเราให้การตัดสินใจในเรื่องต่างๆง่ายขึ้น  รู้ข้อมูลนี้แล้วก็ลองขยับวงรอบออกไปให้กว้างขึ้น เพื่อจะได้รู้ขอบเขตของการไหว ของความเสียหาย และของความรู้สึกของผู้คนต่างๆ  ซึ่งข้อมูลเหล่านี้ เมื่อนำเข้ามาประมวลเข้าด้วยกัน อ่านอีกนิด คิดอีกหน่อย  ตัวเราก็จะเริ่มเห็นภาพของสภาพตัวเราและถิ่นที่อยู่ ว่าตัวเราอยู่ในอยู่ในวงอันตรายหรือไม่
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 22:17

เว้นวรรคไว้เท่านี้ก่อนนะครับ ผมจะหายไปทำธุระที่ ตจว. จะกลับมาก็สัปดาห๋สุดท้ายของเดือนนี้ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 13 พ.ค. 15, 23:01

เสียดายคุณตั้งมีธุระจะไปอีกหลายวัน    เจอลิ้งค์นี้ค่ะ เกี่ยวกับแผ่นดินไหว

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9580000054500
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 26 พ.ค. 15, 18:53

ช่วงนี้ เกือบจะไม่มีการเล่นข่าวแผ่นดินไหวในสื่อต่างๆแล้ว  ก็ถึงเวลาที่เรามาเพิ่มเติมความรอบรู้เกี่ยวกับแผ่นดินไหวกัน

ที่ผ่านมา เราจะได้ยินแต่ข่าวสารในประเด็นเรื่อง เกิด ณ พื้นที่ใด ขนาด ความลึก ความรุนแรง และความเสียหาย แล้วก็โยงไปถึงรอยเลื่อนต่างๆที่ได้ศึกษาและจำแนกกันว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังในพื้นที่นั้นๆ หรือไม่ก็โยงไปในเรื่องของแผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่  บ้างก็หยิบยกเอารอยเลื่อนมีพลังที่พบในประเทศเรามากล่าวถึงในเนื้อหาในลักษณะที่บ่งชี้ไปในโอกาสการเกิดและความน่ากลัว     

ซึ่งเมื่อย้อนกลับไปตามข่าวเก่าๆดู ก็ดูเหมือนว่า เกือบจะไม่มี (หรือจะว่าไม่มีเลยก็ได้) ข่าวสารใดที่ให้ข้อมูลและความรู้กับสาธารณะในบริบทด้านการเตรียมการรับมือ การบรรเทา หรือการลดระดับความหายนะที่จะเกิดขึ้น (ทั้งจากหน่วยงานที่ใช้ชื่อในบริบทของการเฝ้าติดตาม ในบริบทของการบรรเทาภัย และในบริบททางวิชาการทั้่งด้าน theorethical และด้าน empirical.....causes & consequences)

     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 26 พ.ค. 15, 19:34

ได้กล่าวถึงมาแล้วว่า ที่ตัวเราเองต้องรู้เพื่อการเตรียมการใดๆสำหรับพิบัติภัยธรรมชาติก็คือ ณ พื้นที่ๆเราอาศัยอยู่นั้นเคยมีภัยธรรมชาติใดๆบ้างหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นแบบเกิดประจำปี หรือเกิดประจำตามคาบเวลา หรือที่เคยเกิดในระดับที่สร้างความหายนะอย่างใหญ่หลวงเป็นวงกว้าง

รู้จากตำนานหรือจากปากผู้เฒ่าทั้งหลายแล้ว ก็ขยายวงข้อมูลให้กว้างออกไป ซึ่งวิธีดีที่สุดก็คงจะเป็นการออกไปสำรวจตรวจสอบดูในพื้นที่ ให้กว้างขวาง คลุมพื้นที่มากที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ก็ไปจนถึงระดับที่พอจะจำกัดขอบเขตของพิบัติภัยในครั้งน้ั้นๆได้ว่ามันไปถึงใหนบ้าง ก็ถือเสียว่า เป็นการท่องเที่ยวผนวกกับการทำความรู้จักพื้นที่และผูกมิตรกับผู้คนต่างๆ   

ข้อมูลที่ได้มาจะช่วยทำให้เราสามารถพิเคราะห์ได้ว่า เรานั้นอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงอันเนื่องมาจากภัยนั้นๆในระดับใด เราควรจะเตรียมตัวรับมืออย่างไร มากน้อยเพียงใด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 26 พ.ค. 15, 19:45

เรื่องที่ตามมาติดๆก็คือ เรื่องของการสังเกตและการเรียนรู้จากภูมิปัญญาท้องถิ่นผ่านทางวิถีชีวิต ประเพณี สังคม วัฒนธรรม และความเชื่อของกลุ่มคนในพื้นที่  พร้อมๆไปกับการรู้จักลักษณะจำเพาะของพื้นที่นั้นๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 28 พ.ค. 15, 19:20

พุน้ำร้อนหรือบ่อน้ำร้อนในประเทศเรามีอยู่หลายแห่งมาก พบได้ทุกภาค ยกเว้นภาคอิสาน 
 
คำอธิบายที่เรามักจะได้ยินกันก็คือ น้ำจากผิวดินได้ซึมลงไปใต้ดิน ลึกลงไปจนถึงบริเวณที่มีหินอัคนีร้อนๆ น้ำจึงร้อนแล้วไหลย้อนขึ้นมาสู่ผิวดิน  กลายเป็นบ่อน้ำร้อนต่างๆ ในกรณีนี้น้ำคงจะต้องซึมลึกลงไปมากๆหลายกิโลเมตรเลยทีเดียว  ซึ่งก็คงจะต้องใช้เวลานานมากๆ  ซึ่งเรารู้อายุของน้ำที่ไหลซึมลงไปได้จากการวัดอายุด้วย Oxygen Isotope (O18) dating       

หรือจะคิดในอีกมุมหนึ่งก็ได้ ก็คือ  ฤๅ..จะเป็นกรณีที่จุดที่ทำให้น้ำร้อนขึ้นมานั้นเป็นผลของพลังงานที่คายออกมาในรูปของความร้อนที่เกิดมาจากการบดอัดกันของมวลหินที่เคลื่อนที่ผ่านกันตามระนาบของรอยเลื่อน ซึ่งหมายความว่ารอยเลื่อนนั้นๆจะยังคงมีชีวิตอยู่ คือมวลหินยังคงเคลื่อนที่ผ่านกันอยู่ตลอดเวลา (ก็คือ active fault ที่ศัพท์บัญญัติใช้ว่า รอยเลื่อนมีพลัง)   ซึ่งคำอธิบายนี้ดูจะเข้าท่ามากกว่า เพราะ หากอธิบายด้วยกรณีหินอัคนีแล้ว เราคงจะไม่มีโอกาสพบน้ำมันดิบได้เลย ไม่ว่าจะเป็นที่ฝาง ที่บางระกำ หรือในอ่าวไทย จะพบได้ก็คงมีแต่แก๊สอย่างเดียว (เหมือนเอากระทะใส่น้ำมันตั้งบนเตาไฟ เราจะเห็นไอน้ำมันลอยออกมา เหลือแต่น้ำมันข้นๆติดกระทะอยู่) 

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 28 พ.ค. 15, 19:35

หากย้อนกลับไปดูบรรดาแหล่งบ่อน้ำร้อนในประเทศของเรา  ก็พอจะเห็นได้ว่าตำแหน่งของพื้นที่ที่พบบ่อน้ำร้อนนั้น อยู่ในบริเวณพื้นที่ๆเขาสำรวจพบกันว่าเป็นพื้นที่รอยเลื่อนแบบมีพลัง   

แผ่นดินไหวที่เชียงรายเมื่อไม่นานมานี้ ที่มีจุดกำเนิดอยู่ที่บ้านห้วยทรายขาว อ.พาน ก็มีบ่อน้ำร้อนอยู่ในพื้นที่นั้น
   
รอยเลื่อนแม่จัน ที่ว่าหากเกิดแผ่นดินไหวแล้วจะน่ากลัวนั้น ก็พบว่ามีบ่อน้ำร้อนอยู่ในพื้นที่ตามแนวรอยเลื่อนนี้หลายแห่งเช่นกัน

ในพื้นที่อื่นๆเช่น รอยเลื่อนคลองมะรุ่ย รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ ที่จัดว่้าเป็นรอยเลื่อนแบบมีพลังนั้น ฯลฯ ก็ทั้งนั้นแหละครับ จะพบว่ามีบ่อน้ำร้อนอยู่ในพื้นที่ทั้งนั้น

เพราะฉะนั้น...   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 30 พ.ค. 15, 19:00

เพราะฉะนั้น   การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นใดๆกับน้ำร้อน ก็อาจจะเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆที่กำลังเกิดขึ้นของรอยเลื่อนนั้นๆก็ได้ และซึ่งอาจจะเะป็นผลทำให้รอยเลื่อนนั้นเกิดการเคลื่อนตัวในทันใด ทำให้เกิดแผ่นดินไหวได้

ก็พอจะเป็นการขยับลึกลง ให้แคบลงไปจากเพียงคำที่กล่าวแต่ว่า "เป็นรอยเลื่อนที่มีพลัง ให้ระวัง มันจะเกิดเคลื่อนตัวทำให้เกิดแผ่นดินไหวเมื่อใดก็ได้"




 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 30 พ.ค. 15, 19:25

แล้วการเปลี่ยนแปลงนั้นจะมีอะได้บ้าง  มากมายเลยครับ

แบบพื้นๆง่ายๆที่ผู้ใดก็สามารถทำได้ ก็จะมี อาทิเช่น การสังเกตการเปลี่ยนแปลงใดๆในช่วงคาบเวลาสั้นๆ (เช่นในรอบเดิอนที่ผ่านมา) ของปริมาณน้ำ อุณหภูมิ และลักษณะทางกายภาพ (สี ความขุ่น กลิ่น ฯลฯ) ของน้ำร้อนที่ผุดออกมา เป็นต้น

ทั้งนี้ มันก็ย่อมต้องมีการเปลี่ยนแปลงเล็กๆน้อยของมันเป็นธรรมดา ตามฤดูกาลบ้าง จากผลของการพัฒนาใดๆในพื้นที่บ้าง ฯลฯ  แต่ด้วยระดับสมองของมนุษย์ ก็พอที่จะจำแนกออกได้ระหว่างที่เรียกว่า ปรกติ กับ ผิดปรกติ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 30 พ.ค. 15, 20:02

ขยับให้ลึกเข้าไปอีกหน่อย ก้าวเข้าไปในทางวิชาการที่ไม่ซับซ้อนมากนัก  ก็น่าจะต้องนำน้ำไปวิเคราะห์ดู ทำให้เป็นกิจวัตร จะเป็นทุกเดือน ทุกสัปดาห์ หรือใดๆก็ได้ตามที่เห็นสมควรในทางสถิติในเชิงวิชาการ  จะวิเคราะห์บนฐานของคุณภาพน้ำบริโภคหรือน้ำอุปโภคก็ได้ หรือจะลงลึกลงไปถึงระดับ minor elements หรือลึกลงไปถึงระดับ trace elements ก็ได้

การเปลี่ยนแปลงของ minor elements และ trace elements นั้น บ่งชี้ถึงสภาพทางเคมีฟิสิกส์ (physio-chemical) หลายๆประการเลยทีเดียว ทั้ง pressure, temperature, Eh, pH ฯลฯ ซึ่งทั้งหลายต่างก็บ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 30 พ.ค. 15, 20:26

ลึกลงไปอีกหน่อย   อืม์ คงไม่ต้องเข้าไปนะครับ  เพราะเป็นเรื่องที่คงจะต้องอธิบายกันยาว เป็นเรื่องในทาง geochemistry เช่น ความสัมพันธ์ระหว่างธาตุแคลเซียม (Ca) โซเดียม (Na) โปแตสเซียม (K) ใสภาพแวดล้อมที่ต่างกันของ pressure, temperature, Eh และ pH ซึ่งจะย้อนรอยบ่งบอกถึงสภาพทางกายภาพของรอยเลื่อนน้ันๆ ณ บางช่วงเวลา

ครับ เอาเพียงแต่ว่า มันก็พอมีทางที่จะใช้คุณภาพของน้ำร้อน เพื่อส่อถึงการเปลี่ยนแปลงใดๆของรอยเลื่อนนั้นๆว่า อาจจะใด้เวลาขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ จนทำให้เกิดแผ่นดินไหว 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.06 วินาที กับ 19 คำสั่ง