เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
อ่าน: 54839 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 28 เม.ย. 15, 19:12

เห็นภาพแล้ว รู้สึกหดหู่ก้บสำนึกของความเป็นมนุษย์ของผู้คนบางพวกในสังคม IT ในปัจจุบัน
 
การถ่ายรูปตนเองกับสิ่งปรักหักพังที่เป็นวัตถุในประวัติศาสตร์นั้น จะด้วยเหตุผลใดๆก็ไม่ใช่เรื่องแปลก  แต่การตั้งใจถ่ายรูปตนเองกับภาพความเสียหายจากเหตุการณ์ภัยพิบัติใดๆ (แบบ first hand) เพื่อการโพนทะนาตนเองนั้น  พูดไม่ออกจริงๆครับ   ยิ่งยิ้มระรื่น สรวลเสเฮฮา กระเซ้าเย้าแหย่กันในสถานที่ๆผู้อื่นกำลังมีทุกข์อย่างแสนสาหัสนั้น.....(นึกไม่ออกว่าเลยจะเขียนต่อไปอย่างไร)     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 28 เม.ย. 15, 19:55

อีกแล้วครับ เขียนแล้ว หลงลืมไปกดผิดที่เลยหายไป หาไม่เจอ เลยขอพอก่อนครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 09:35

เห็นภาพแล้ว รู้สึกหดหู่ก้บสำนึกของความเป็นมนุษย์ของผู้คนบางพวกในสังคม IT ในปัจจุบัน    

อีกสิ่งหนึ่งที่น่าหดหู่คือ การนำเอาการฆ่าสัตว์บูชายัญด้วยการฟันคอจำนวน ๕๐๐,๐๐๐ ตัว มาโยงเข้ากับการตายของชาวเนปาลในเหตุการณ์แผ่นดินไหวว่าเป็นเรื่องบาปกรรมของคนเหล่านั้น นับเป็นการซ้ำเติมผู้ที่ตกอยู่ในความทุกข์อันใหญ่หลวง ใน เฟซบุ๊กเพจหนึ่ง และมีผู้นำไปเผยแพร่ต่อจนถูกประณามอยู่ในขณะนี้  เศร้า

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 09:45

เห็นด้วยกับคุณหมอเพ็ญ ว่าควรประณาม เป็นการซ้ำเติมผู้ตายโดยแท้
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 18:32

มีเรื่องที่เกี่ยวกับแผ่นดินไหวครั้งนี้ที่ไม่อยากจะเขียนอยู่เรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องเกี่ยวกับความเสียหายต่อชีวิตครับ

เคยเล่ามาแล้วว่า คลื่นแผ่นดินไหวในพื้นที่ละแวกจุดกำเนิดนั้น จะเป็นคลื่นประเภทความถี่สูง ซึ่งเมื่อผนวกกับระยะห่างของเวลาที่คลื่น P-wave และ S-wave จะเดินทางมาถึง ณ พื้นที่นั้นๆ สั้นมากๆๆ   ก็หมายความว่า ณ พื้นที่นั้นๆ ถูกกระทำในลักษณะของการถูกขย่มจนกระดอนแล้วถูกกระชากไปทางด้านข้างในเกือบจะทันที  ก็ไม่ต่างไปจากสภาพของการถูกเตะตัดขาในจังหวะที่กำลังกระโดดลอยขึ้นไป

กลับมาดูภาพของอาคารบ้านเรือนที่ปลูกกันตามนิยมของผู้คนที่อยู่ในพื้นที่ภูมิภาคนี้ของเอเซีย
 
เมื่อไม้หายาก ก็สร้างบ้าน/อาคารด้วยการก่ออิฐ    สำหรับพวกพอมีกำลังเงิน โครงของบ้าน/อาคาร (เสา คาน ขื่อ แป ฯ) ก็ใช้ไม้โยงยึดกัน แล้วก่ออิฐปิดช่วงระหว่างเสา หรือหากจะใช้อิฐก่อล้วนๆ ก็เป็นการก่อแบบกำแพงหนา หรือไม่ก็เป็นแบบกำแพงสองชั้น
 
ส่วนสำหรับชาวบ้านนั้น หากมีเงินไม่ถึงระดับหนึ่ง บ้านที่สร้างขึ้นมาจะคงจะไม่หนีไปจากลักษณะของ shelter แบบกึ่งถาวร  เราจึงได้เห็นภาพของบ้านเรือนที่ก่อด้วยอิฐหรือเอาก้อนหินมาวางต่อกัน เชื่อมด้วยโคลนหรือปูนเล็กน้อย             
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 18:59

เมื่อเกิดแผ่นดินไหวขึ้นมา จึงได้เห็นว่ามีบ้านที่อยู่อาศัยพังราบบ้างหรือเสียหายต่างกันในระดับต่างๆ (นอกเหนือไปจากเรื่องของคลื่นแผ่นดินไหว และอื่นๆ)

จากที่เล่ามานี้ ลองย้อนกลับไปดูภาพความเสียหายของทรัพย์สินและจำนวนผู้เสียชีวิตจากแผ่นดินไหวที่เรียกว่าครั้งร้ายแรงที่เคยเกิดขึ้นมาในพื้นที่ต่างๆ เช่น ในจีน ในพื้นที่อัฟกานิสถาน/ปากีสถาน อิหร่าน ฯลฯ

ประเมินกันเอาเองนะครับว่า ความเสียหายในครั้งนี้จะเป็นเช่นใด  เรายังเกือบจะไม่ได้รับหรือแทบจะไม่มีข้อมูลข่าวสารใดๆเลยที่เกี่ยวกับชาวบ้านที่อยู่นอกเขตเมืองและที่อยู่ในชนบทเลย  เส้นทางคนนาคมก็มีจำกัด แถมได้รับความเสียหาย พาหนะสำหรับการสัญจรก็จำกัด ฯลฯ    ก็จำกัดแบบจำกัดจริงๆในแทบจะทุกเรื่องเลยครับ ทั้งสาธารณูปโภค เครื่องอุปโภค เครื่องบริโภค....just name it

ขนาดญี่ปุ่นเอง ที่ว่าครบเครื่องในแทบจะทุกเรื่องและในทุกรูปแบบ  เมื่อครั้งเกิดแผ่นดินไหวในแถบฝั่งทะเลญี่ปุ่น ที่เรียกว่าแถบ Joetsu นั้น ก็ยังแย่เลยครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 19:39

มีเรื่องหนึ่งที่ผมอยากจะกล่าวถึง ก็คือ  เมื่อเกิดแผ่นดินไหว เกิดความเสียหายหลากหลาย    สาระสนเทศที่พึงฟุ้งกระจายให้ผู้คนได้ยินได้ฟังกันนั้น น่าจะนำด้วยเรื่องในมิติของ mitigation  เนื่องจากมันเป็นเรื่องทางธรรมชาติที่มิอาจหลีกเลี่ยงหรือจำกัดมิให้มันเกิดขึ้นได้    มิควรจะเป็นเรื่องที่เน้นไปในมิติของต้นตอ/สาเหตุ เหมือนกรณีที่อุบัติขึ้นด้วยน้ำมือของมนุษย์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เราสามารถจำกัดมิให้มันเกิดขึ้นหรือลดการเกิดขึ้นได้

ก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่า ในขณะที่ผู้คนทั้งโลกเขากำลังสาละวนอยู่กับสาระในเรื่อง mitigation  รัฐบาลไทยก็อยู่ใน mode นี้   แต่ดูเหมือนว่าหน่วยงานและนักวิชาการของเรา ไปอยู่ในอีก mode หนึ่ง ไปพูดถึงเรื่องแผ่นดินไหวในไทย ที่มาที่ไปของมัน แถมอนาคตอีกด้วย   
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 29 เม.ย. 15, 21:13

ทีวีให้ความรู้เรื่องความปลอดภัยขณะเกิดแผ่นดินไหวไว้หลากหลายวิธี หนึ่งในนั้นคือ แนะนำให้หลบลงใต้โต๊ะ ดูรายการทีวีญี่ปุ่นก็เห็นเขาสอนเด็กในโรงเรียนแบบนี้เหมือนกัน วิธีนี้ปลอดภัยจริงหรือคะ อดคิดไม่ได้ว่าแล้วแรงสั่นสะเทือนมิทำให้โต๊ะหักโค่นลงมาทับเอารึไง

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 พ.ค. 15, 19:57

แผ่นดินไหวในระดับที่ทำให้เครื่องใช้ที่วางไว้บนหิ้ง บนหลังตู้ หรือในชั้นวางของร่วงหล่นลงมานั้น ค่อนข้างจะเป็นเรื่องปรกติของญี่ปุ่น แม้ว่าจะเกิดขึ้นจำนวนไม่มากเท่ากับขนาดที่ทำให้เรารู้สึกว่าเกิดแผ่นดินไหวขึ้นแล้ว    การมุดลงไปใต้โต๊ะนั้น ก็เป็นเพียงการป้องกันของหล่นใส่ศีรษะ ในทำนองเดียวกันกับการใส่หมวกนิรภัยในพื้นที่ๆกำลังมีการก่อสร้างทั้งหลาย ก็คือ safety first นั่นเอง    ส่วนจะป้องกันอิฐ ปูน ขื่อคานที่หล่นลงมาได้หรือไม่ มากน้อยเพียงใดนั้น เป็นอีกเรื่องหนึ่ง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 01 พ.ค. 15, 21:03

ภัยพิบัติธรรมชาติที่สร้างความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินนั้น ในหลายๆกรณีเมื่อเกิดเรื่องใดเรื่องหนึ่งขึ้น มันก็เกิดเรื่องอื่นๆต่อเนื่องเป็นลูกโซ่   

ในกรณีเมื่อเกิดแผ่นดินไหว เรื่องทางธรรมชาติที่เกิดตามมาก็มี อาทิ การขยับเขยื้อนเคลื่อนที่ของมวลวัตถุ (mass movement) ตามแรงดึงดูดของโลก (gravity force) เช่น การถล่มทะลายของมวลวัตถุในลักษณะของ avalanche (เช่น หิมะถล่ม_snow avalanche)  ลักษณะของ slide (เข่น  ดินถล่ม_landslide)  และ flow (เช่น โคลนทะลักตามร่องห้วย_mud flow)

ด้วยความรู้ที่พอมี เมื่อเกิดแผ่นดินไหวที่เนปาลครั้งนี้ ผมก็เลยนึกไปถึงความเสียหายในรูปของ avalanche, slide, และ flow    ซึ่ง avalanche และ slide มีปรากฎเป็นข่าวแล้ว  ยังเหลือ flow ที่ยังไม่มีการกล่าวถึง ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ได้
 
โชคดีอยู่ประการหนึ่งที่ flow นี้ ไม่ว่าจะเป็น debris flow (หินไหล) หรือ mud flow (โคลนไหล) มักจะเกิดไหลไปตามร่องห้วย ซึ่งก็น่าจะมีความโชคดีอีกประการหนึ่งประเทศนี้มีประชากรน้อยและอยู่กระจัดกระจาย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงอาจจะไม่มี มีน้อยมาก หรือยังไม่ทราบเพราะยังเข้าไปไม่ถึงพื้นที่       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 01 พ.ค. 15, 21:21

ส่วนสาเหตุที่นึกถึงเรื่อง flow นี้ ก็เนื่องจาก ร่องเขาในเทือกเขาหิมาลัยเกิดมาจากการกัดเซาะของน้ำจากน้ำแข็งหรือหิมะ ซึ่งร่องเขาเหล่านี้ก็เป็นเส้นทางของการเดินทางตะกอนกรวดหินดินทรายที่ถูกกัดกร่อนผุพังจากพื้นที่ที่อยู่สูงกว่า  เมื่อหมดแรงการนำพาด้วยน้ำแข็งหรือน้ำ มันก็ตกตะกอนกองรวมกันเป็นกลายเป็นเขื่อนกั้นน้ำ   ผมไม่ทราบว่าอ่างน้ำในลักษณะนี้มีมากน้อยเพียงใด รู้ว่ามืในประเทศสิขิมหละภูฏานด้วย และรู้ว่ามีอยู่ในพื้นที่ๆมีการไหวของแผ่นดินแน่นอน   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 02 พ.ค. 15, 18:57

แล้ว ณ วันนี้ ข่าวเกี่ยวกับแผ่นดินไหวในเนปาลก็ค่อยๆจางหายไปจากสื่อระดับนานาชาติต่างๆ     update มีน้อยมาก  มองในทางบวก ก็คือ สถานการณ์ต่างๆอยู่ในสภาพที่ควบคุมได้ และสามารถบริหารจัดการได้ในระดับที่ดีพอแล้ว    ซึ่งหากเป็นเช่นนั้น ก็แสดงว่าความช่วยเหลือทางมนุษยธรรมของเพื่อนร่วมโลกได้มีอย่างพอเพียงพอได้แล้ว ซึ่งหมายความว่าพ้นระยะวิกฤติในการช่วยผู้ที่ยังมีชีวิตที่ติดอยู่ในซากปรักหักพังต่างๆแล้ว และกำลังเข้าสู่ระยะแรกๆของการทำให้ผู้รอดชีวิตทั้งมวลสามารถมีหรือเข้าถึงปัจจัยสี่ได้ในระดับที่น่าพอใจ เพื่อให้ผู้คนเหล่านั้นสามารถดำรงชีวิตต่อไปได้ตามสมควรแก่เหตุจนกว่าการดำเนินการในด้านในเรื่องต่างๆการฟื้นฟูจะเสร็จสิ้นลง

ก็เรียงกันไปตามคิว  rescue --> relief --> restore --> rehab (rehabilitation)   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 02 พ.ค. 15, 19:55

แล้ว...  จากนี้ไป ตามสภาพและอิทธิพลของโลก ณ กาลเวลาปัจจุบัน  เราก็คงจะได้เห็นเนปาลในรูปร่างหน้าตาอีกแบบหนึ่ง
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 02 พ.ค. 15, 19:57

เป็นยังไงแบบไหนคะ


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 03 พ.ค. 15, 18:44

ตกภาษาไทยครับ สื่อสารก็ยังไม่ดีอีกด้วยครับ    ผมหมายถึงสภาพและอิทธิพลทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมในโลกยุคปัจจุบันครับ

เนปาลเป็นประเทศที่มีทรัพยากรธรรมชาติค่อนข้างจำกัดในเชิงของความหลากหลาย แต่ไม่จำกัดในเชิงของคุณภาพ  และซึ่งทรัพยากรฯเหล่านั้นต่างก็มีความเป็นสุดโต่ง (extreme) จนกลายเป็นที่ดึงดูดนักท่องเที่ยวจากนานาชาติให้เข้ามาสัมผัสความเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของมัน

ด้วยความที่เป็นประเทศกำลังพัฒนาในลำดับหลังๆในสายตาของประเทศอุตสาหกรรมทั้งหลาย  เมื่อเกิดพิบัติภัยในลักษณะที่สร้างความเสียหายไปทั่วและเป็นบริเวณกว้างเช่นนี้  ก็แน่นอนครับ จะต้องได้รับความช่วยเหลือ ซึ่งเกือบทั้งหมดก็จะมิใช่ในรูปของเงิน (in cash) แต่จะเป็นในรูปของ in kind (แปลเป็นไทยไม่ออกครับ) และก็มักจะต้องผ่านทางองค์กรความช่วยเหลือนานาชาติของตนเอง และ/หรือ องค์กรนานาชาติแบบพหุภาคีที่ตนเองเป็นสมาชิก และ/หรือ องค์กรนานาชาติที่เป็นสากล (ในระบบ UN) 

แต่...ความช่วยเหลือแบบให้เปล่านั้นไม่มีจริงในโลกนี้  วลี "nothing is for granted" จึงเป็นวลีเตือนใจในหมู่คนทำงานในระบบพหุภาคีทั้งหลาย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3 4 ... 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง