เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
อ่าน: 54835 นอนอยู่กับแผ่นดินไหว(2)
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 09 ก.พ. 23, 19:22

มีศัพท์ภาษาอังกฤษอยู่คำหนึ่งว่า Mitigation  ในภาษาไทยดูจะใช้คำว่า การบรรเทา    หมายความว่าการบรรเทานั้นๆจะกระทำได้ตั้งแต่ที่ตัวที่เป็นต้นเหตุ ก็คือการลดสิ่งที่อาจจะเกิดเป็นต้นเหตุ    กระบวนสิ่งต่างๆที่เกิดจากเหตุนั้นๆ ซึ่งโดยหลักก็คือการบรรเทาความรุนแรง    และผลที่เกิดจากเหตุและกระบวนสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นมาจากเหตุนั้นๆ ซึ่งก็คือการบรรเทาความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นๆให้มีน้อยที่สุด 

โดยนัย   mitigation ก็คือ ลักษณะของความพร้อมที่เหมาะสมในการตอบสนองต่อลักษณะและสภาพของพลวัติต่างๆที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากเหตุนั้นๆ

มาตรการต่างๆในบริบทเรื่องของ Mitigation ของหน่วยงานของรัฐ จะมีเป้าประสงค์โดยหลักเพื่อความอยู่ดีมีสุข ความมั่งมีศรีสุข และความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน   ซึ่งพอจะแยกออกเป็นมาตรการในส่วนที่เกี่ยวข้องในเชิงแต่ละบุคคล  และในในเชิงมวลผู้คนในลักษณะสาธารณะ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 09 ก.พ. 23, 20:11

Mitigation ในเชิงที่เป็นลักษณะสาธารณะนั้น ในชุมชนเมืองก็จะมีเรื่องที่เป็นเหตุตามปกติ เช่น เหตุไฟใหม้ เหตุระบบน้ำประปา เหตุระบบสื่อสารล่ม ...ฯลฯ   กำหนดหัวเรื่องและการศึกษาให้ถูกต้อง เช่น Earthquake mitigation, Flood mitigation, ...ฯลฯ  ศึกษาหาความเป็นจริงของสภาพที่เป็นอยู่จริงๆ  ก็จะทำให้เกิดมาตรการที่จะใช้อย่างเหมาะสมกับสภาพความเป็นจริงที่เป็นอยู่และตามสภาพของพลวัตที่น่าจะเกิดขึ้นจริงในพื้นที่นั้นๆ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 10 ก.พ. 23, 19:04

ยกประเด็นเรื่องการบรรเทาขึ้นมาก็เพราะว่า ส่วนมากมักจะนึกถึงในเรื่องของคุรุภัณฑ์ที่จะต้องใช้หลังจากได้เกิดเหตุขึ้นแล้ว ก็คือมุ่งไปที่การจัดการกับความเสียหาย  แนวคิดเช่นนี้ดูจะเกิดมาจากภาพที่เห็นจากการกู้ภัยที่กระทำกันในบรเวณพื้นที่ๆเกิดหายนะ
 
Mitigation มีความหมายที่หมายถึงกระบวนมาตรการจำเพาะเพื่อการลดความเสียหายต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นจากเหตุแต่ละเหตุ  ในเรื่องเช่น การเงินการคลัง การสาธารณะสุข การคมนาคมทางน้ำ สาธารณภัยจากการเหตุกระทำของคน ...ฯลฯ  เหล่านี้ เป็นเรื่องปกติที่มีการดำเนินการกันค่อนข้างครบกระบวนการตั้งแต่การป้องกันและการลดปัจจัยเสี่ยงที่จะทำให้เกิตเหตุ ไปจนถึงการกู้สภาพกลับให้ให้เป็นปกติ   

ในเรื่องของภัยอันตรายที่เกิดจากเหตุที่เป็นธรรมชาติ เช่น ฝนตก น้ำท่วม พายุ ดินถล่ม ...ฯลฯ เหล่านี้เป็นเรื่องของกระบวนการทางธรรมชาติที่พอจะคาดล่วงหน้าได้ทั้งช่วงเวลาและความรุนแรงของความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้น กระบวนการ mitigation ทำได้มากบ้างน้อยบ้างตั้งแต่การเบี่ยงเบนและการตั้งรับความเสียหาย ซึ่งก็มักจะไปเน้นในเรื่องของการกู้ภัย (salvation)     

ภัยพิบัติจากแผ่นดินไหว เป็นเรื่องที่คาดไม่ได้เลยว่ามันจะเกิดขึ้นที่ใด จุดใด วันใหน ปีใหน เวลาใด ความรุนแรงมากน้อยเพียงใด ..ฯลฯ  ความรู้ทางวิชาการที่มีก็เพียงแต่พอจะบอกได้ เช่น วงรอบตามสถิตการเกิดขึ้นอย่างรุนแรงของมัน  พื้นที่ใดเป็นพื้นที่อันตรายมากน้อยเพียงใด...  คือบอกได้ในเชิงคุณภาพ (Qualitative) มิใช่ในเชิงปริมาณ (Quantitative)    การป้องกันที่ดีที่สุดก็คือการรู้ว่าอะไรคือจุดอ่อนในส่วนของเรา แล้วทำจุดอ่อนนั้นให้แข็งแรง เบี่ยงเบนผลกระทบและความเสียหายที่จะเกิดขึ้ันให้ดีที่สุด 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 11 ก.พ. 23, 11:44

ในข่าวร้ายก็ยังมีข่าวดี(เล็กๆ) อยู่บ้าง

ทารกน้อยที่มารดาคลอดออกมาระหว่างแผ่นดินไหว  อยู่รอดปลอดภัยดีแล้ว   เพราะนำส่งโรงพยาบาล หมอช่วยไว้ทัน
คุณหมอใจดีมีภรรยาที่มีลูกสาวอายุ 4 เดือน   จึงสามารถให้นมแก่หนูน้อยผู้รอดตายราวปาฏิหาริย์ได้
เธอชื่อ อายา (Aya)  ภาษาอาหรับแปลว่า ปาฎิหาริย์

อายาสูญเสียพ่อ แม่ และพี่ๆ 4 คนไปจนหมดเมื่อตึกถล่มลงมา    แต่เธอรอดทั้งๆสายสะดือยังติดอยู่กับศพแม่   นอนอยู่ในซากปรักหักฟังและความหนาวเหน็บ   จนกระทั่งมีผู้เจอแล้วพาตัวไปส่งโรงพยาบาลได้ทันเวลา   อายาได้รับบาดเจ็บฟกช้ำดำเขียวหลายแห่ง  ไม่มีเสื้อผ้าให้ความอบอุ่น  จนอาการน่าเป็นห่วง  แต่ก็กระเตื้องขึ้นมาได้จนเป็นปกติ

เมื่อข่าวแพร่ออกไป มีผู้ยื่นความประสงค์นับพันๆรายขออุปการะหนูน้อย   แต่โชคดีที่ญาติผู้ใหญ่ของอายายังมีชีวิตอยู่  ยืนยันว่าจะรับอายาไปเลี้ยงเอง

https://www.bbc.com/news/world-middle-east-64588133


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 11 ก.พ. 23, 18:00

เป็นข่าวดีมากๆเลยครับ  เหตุการณ์ลักษณะตึกถล่มทลายเช่นนี้ เด็กๆดูจะมีโอกาสรอดชีวิตแบบปาฎิหาริย์ได้มาก  ด้วยความที่ตัวเล็ก ก็จึงมีโอกาสหลุดเข้าไปอยู่ในจุดที่เป็นโพรงที่เกิดจากการที่ส่วนที่เป็นโครงสร้างที่แข็งแรงของอาคารทับเกยกัน  แต่ในกรณีเด็กน้อยคนนี้น่าจะเป็นสุดยอดของปาฏิหาริย์เลยทีเดียว
 
ข่าวล่าว่ามีผู้คนเสียชีวิตไปแล้วในระดับ 23,000+ คน   ไม่ทราบตัวเลขผู้บาดเจ็บ แต่เมื่อรวมกับการไร้ที่อยู่อาศัย ตัวเลขน่าจะไปอยู่ในระดับ 100,000+ คน

เรื่องที่น่ากลัวตามมาก็คือ รอดชีวิตมาแล้วก็ยังอาจจะมีการเสียชีวิตเพิ่มขึ้นได้อีกด้วยเรื่องของการขาดน้ำ ขาดอาหาร เรื่องของโรคภัยไข้เจ็บและโรคระบาด   การบรรเทาภัยจึงยังไม่จบที่เพียงแต่การช่วยเอาชีวิตออกมาจากซากความเสียหายนั้นๆ แต่หมายรวมไปถึงการช่วยรักษาชีวิตผู้เคราะห์ร้ายให้อยู่ได้ยืดยาวต่อไป 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 11 ก.พ. 23, 19:33

สาธารณะภัยที่เกิดจากธรรมชาตินี้ ส่วนมากจะเกิดความเสียหายในวงกว้าง  หลายๆกรณีก็เกิดในพื้นที่ๆเป็นเมืองมีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น   พื้นที่เมืองก็มีสาธารณะภัยที่เกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการกระทำของคนซึ่งทำให้เกิดความเสียหายได้เป็นวงกว้างเช่นกัน 

การบรรเทาภัยในด้านที่เป็นต้นทางของเหตุที่ทำให้เกิดความเสียหายนั้น เกือบทั้งหมดจะเป็นงานอันพึงกระทำในสำนึกของนักวิชาการสาขาวิชาการต่างๆ  ส่วนในด้านที่เป็นผล(ความเสียหาย)นั้น เกือบทั้งหมดจะเป็นงานอันพึงกระทำโดยฝ่ายเมือง _ผู้บริหารพื้นที่/ท้องถิ่น    ที่เคยรู้มา เรื่องสำคัญที่พึงพิจารณาเตรียมการเพื่อการจำกัดขอบเขตของความเสียหาย ก็จะมีเรื่องในบริบทของคำว่า การสื่อสาร (Communication) การตอบสนอง (Responsiveness)  การเข้าถึง (Accessibility)  การกู้ภัย (Salvation) และการลดความเสียหายต่อเนื่อง (Relief)

ก็เป็นเรื่องที่ไทยเราทำกันอยู่แล้ว ก็ดูจะมีทั้งแบบประสานงาน ประสานงา สถานการณ์บังคับ อาสา และแบบเพื่อประโยชน์อื่นใด
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 12 ก.พ. 23, 18:48

บริบทเพื่อการจำกัดขอบเขต/ระดับของความเสียหาย ไม่ว่าจะเป็นส่วนต้นทางหรือปลายทาง ต่างก็มีความสัมพันธ์และเกี่ยวโยงซึ่งกันและกัน

ธรรมชาติมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ช้าบ้าง เร็วบ้าง แบบกระทันหันบ้าง  มนุษย์เราเป็นฝ่ายที่พยายามเอาตัวเองแทรกเข้าไปอยู่กับมันในระหว่างที่กระบวนการทางธรรมชาติกำลังทำงานของมัน  ไปขวาง ไปเปลี่ยงแปลง หรือพยายามไปหยุดมัน ไปดำเนินการใดๆเกินกว่าศักยภาพที่มีอยู่ ไม่นิยมจะยอมอยู่ในสภาพที่สอดคล้องไปกับสภาพของธรรมชาตินั้นๆ (living in harmony with nature)  ความเสียหายจึงย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ แต่ก็จะมีผลกระทบน้อยมากหากได้มีการเตรียมการตอบสนองไว้ในระดับที่ดีพอสมควร ส่งผลต่อมาถึงขนาดของความเสียหายที่จะเกิดที่ปลายทาง
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 12 ก.พ. 23, 19:22

ในบริบทของการเตรียมความพร้อมรับความเสียหายที่ปลายทางนั้นมีรายละเอียดมากมาย น่าจะนึกออกกันได้ไม่ยาก     ส่วนมากก็จะนึกถึงในบริบทของการต่อชีวิตบนหลักของปัจจัยสี่ (อาหาร ที่อยู่อาศัย เครื่องนุ่งห่ม และยา)  ที่มักจะลืมนึกไปจะเป็นเรื่องในบริบทด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ซึ่งเป็นงานในด้านของการบริหารจัดการโดยฝ่ายเมือง  ก็มีเรื่องมากมายที่พึงสำนึกและพึงเตรียมการ/ดำเนินการอยู่พอสมควร ที่สำคัญก็มีอาทิ เรื่องของสถานที่ เรื่องของระบบระบบสาธารณูปโภค เรื่องของข้อมูลข่าวสาร   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 13 ก.พ. 23, 18:28

หลักการก็มีอยู่ว่า จะต้องมีพื้นที่โล่งกว้างกระจายอยู่เป็นหย่อมๆตามย่านที่มีผู้คนอาศัยอยู่ค่อนข้างหนาแน่น  มีความกว้างพอที่จะรองรับปริมาณผู้ประสบภัยในระดับหนึ่งจากอุบัติภัยหนึ่งใดที่มีโอกาสจะเกิดขึ้นและสร้างความเสียหายในระดับใดกับพื้นที่นั้นๆ  พื้นที่นี้โดยนัยก็คือพื้นที่เพื่อการช่วยยืดต่อชีวิตให้กับผู้ประสบภัยหลังจากที่ได้รับการช่วยให้รอดชีวิตออกมาจากความเสียหายนั้นๆแล้ว      คุณสมบัติสำคัญของพื้นที่นี้ก็จะมีเช่น มีลักษณะเป็นพื้นที่ๆเป็นหรือใกล้ชุมทางย่อยของสาธารณูปโภคต่างๆ (น้ำ ไฟ ถนน ระบบขนส่ง การสื่อสาร โรงพยาบาล ..ฯลฯ) และควรจะเป็นพื้นที่ๆมีโอกาสได้รับผลกระทบและได้รับความเสียหายน้อยมากๆ  อาคารในพื้นที่นี้ก็จึงควรจะเป็นเป็นอาคารชั้นเดียวในลักษณะหรือปรับเป็นโถงกว้างได้ 

ก็คงพอจะมองเห็นว่า คนกรุงเทพฯนั้นโชคดีมากน้อยเพียงใด เรามีพื้นที่สวนหลายแห่ง แต่ละสวนมีแหล่งน้ำของตนเอง แต่ละสวนมีโรงพยาบาลตั้งอยู่ใกล้ๆ เกือบทุกแห่งเป็นจุดร่วมเส้นทางรถเมล์หลายสาย มีรถไฟฟ้าผ่าน และมีคลองที่พอจะยังใช้สัญจรอยู่ได้บ้างอยู่ใกล้ๆ ฯลฯ  พื้นที่ๆมีคุณภาพพื้นฐานดีๆเช่นนี้ ค่อนข้างจะหาได้ยากในประเทศต่างๆ  หากของกรุงเทพฯเราได้รับการดูแลรักษาและได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์ร่วมที่หลากหลายในบริบททาง Mitigation ก็จะเป็นเรื่องที่น่าดีอย่างยิ่ง  ก็ดูจะมีในบางช่วงเวลาที่การพัฒนาอยู่ในกรอบแนวคิดบนฐานของ profit  มิใช่บนฐานของ benefit
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 13 ก.พ. 23, 19:20

เมื่อมีอุบัติภัยที่มีระดับความรุนแรงและมีความเสียหายเกิดขึ้นค่อนข้างมาก  ก็เป็นธรรมดาที่ผู้คนทั้งผู้ที่ประสบเหตุหรือผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นๆและผู้ที่มีความสัมพันธ์ในทางหนึ่งทางใดกับผลที่เกิดเหตุการณ์นั้นๆ เช่น ญาติ ธุรกิจ เพื่อน ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเหตุและผลของเหตุนั้นๆ... ล้วนก็อยากจะทราบเรื่องราวและสถานการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง  การสื่อสารเรื่องราวต่างๆที่ทำได้รวดเร็วที่สุด ก็ดูจะเป็นทางโทรศัพท์

ก็มีหลักคิดอยู่ว่า แม้เทคโนโลยีจะพัฒนาไปไกลมากแล้ว แต่มันก็มีข้อจำกัดที่น่ากลัวอยู่เหมือนกัน  เรากำลังอยู่ในโลกของการสื่อสารแบบไร้สาย ซึ่งระบบสนับสนุนโดยพื้นฐานก็คือพลังงานไฟฟ้า  หากระบบไฟฟ้าล้มเหลว การสื่อสารก็จะอยู่ในข้อจำกัดมากมาย   การสื่อสารในปัจจุบันมีพัฒนาการไปในด้านการใช้คลื่นความถี่สูงในระดับ UHF (Ultra high frequency)  ความถี่วิทยุที่เรียกว่าวิทยุมือถือที่ตำรวจ ที่หน่วยราชการ  ที่พนักงานส่งของ/พนักงานเสิร์ฟอาหาร ใช้กันนั้น  รวมทั้งความถี่ของคลื่นวิทยุในระบบ FM นั้น เป็นความถี่ในระดับ VHF (Very high frequency)  ความถี่ในระดับนี้ ในภาพง่ายๆก็คือ ความแรงของมันถูกดูดซับในอากาศหายไปมาก อีกทั้งจะส่งได้ไม่ไกลมากกว่าประมาณ 10++ กม. จึงส่งได้ในระยะสั้น จึงต้องมีการตั้งเสาช่วย จึงจะสามารถส่งได้ไกลมากขึ้น (ส่งเป็นเส้นตรงพ้นความโค้งของเปลือกโลก)    เมื่อเกิดเหตุเสาส่่งหรือเสาถ่ายทอดสัญญาณเสียหาย ระยะทางของคลื่นวิทยุและระบบก็จะถูกจำกัดลงไปในทันที ขอบเขตของการสื่อสารถูกจำกัดไปโดยอัตโนมัติ     
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 13 ก.พ. 23, 19:37

ที่รู้มา ก็มีบางประเทศ(น่าจะหลายประเทศ)ที่ยังสนับสนุนให้มีการพัฒนาเทคโนโลยีของระบบการสื่อสารทางสายในระดับหนึ่ง คือไม่ให้ระบบและความรู้ด้านการสื่อสารรุ่นปู่ทวดนี้หายไป  ก็เป็นเทคโนโลยีขั้นต่ำสุดที่ผู้คนทุกคนสามารถเข้าใจได้ว่าจะต่อให้มันใช้ได้ๆเช่นใด ก็เพียงต่อสายให้มันติดต่อเนื่องกันก็ทำให้มันใช้การได้แล้ว
ขยายความต่อพรุ่งนี้ครับ 
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 14 ก.พ. 23, 11:37

2-3 วันก่อน มีข่าวสุนัขช่วยชีวิตคนติดในแผ่นดินไหว ให้รอดถึง 10 ราย   ตอนนี้มีข่าวยืนยันแล้วว่าเป็นข่าวปลอม

ท่ามกลางเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่สาธารณรัฐตุรกี ที่คงสร้างความเศร้าสลดใจ ที่ส่งผลให้ขณะนี้มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 33,000 ราย คงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะมีการพยายามเสนอเรื่องราวดีๆ เพื่อคลายความเศร้า
ล่าสุดหนึ่งในนั้น คือ เหตุการณ์สุนัขสีขาวลักษณะเปรอะเปื้อน มอมแมม สามารถช่วยชีวิตผู้ประสบภัยแผ่นดินไหวตุรกี 10 ชีวิตได้ หลังจากเกิดแผ่นดินไหวความรุนแรง 7.8 ในตุรกี ซึ่งมีการเผยแพร่ และส่งต่อภาพกว่า 30,000 แชร์ไปแล้ว

ทั้งนี้ สำนักข่าวเอพี ได้ตรวจสอบความถูกต้อง พบว่า ภาพและเรื่องราวดังกล่าวเป็น “ข่าวปลอม” โดยภาพดังกล่าวนี้ เป็นเหตุการณ์ในปี 2557 บริเวณที่เกิดเหตุดินถล่ม ใกล้เมืองโอโซของรัฐวอชิงตัน และสุนัขในภาพมีชื่อว่า “ไทรออน (Tryon)” เป็นสุนัขกู้ภัยในสหรัฐฯ ที่ปฏิบัติหน้าที่ตามหาผู้รอดชีวิต

www.msn.com


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 14 ก.พ. 23, 18:43

ข่าวปลอมดูจะเป็นเรื่องปกติในปัจจุบัน  เป็นข่าวที่ปั้นออกมาโดยกลุ่มคนที่เป็นโรคทางจิตประเภทหนึ่ง  ซึ่งโดยพื้นฐานแล้ว คนเหล่านี้เป็นผู้มีความรู้และมีปัญญาในเกณฑ์ดี (Knowledgeable)  หากแต่มีจิตใต้สำนึกว่า ทำอะไรก็ได้เพื่อให้ตัวเองรู้สึกว่าตนเองนั้น 'เจ๋ง'  รู้สึกว่าตนเองเป็นผู้นำ(เป็นจ่าฝูง) และมีผู้ตามในระดับหนึ่ง(ที่ตนเองรู้สึกพอใจ)

ที่ว่าเป็นโรคทางจิตประเภทหนึ่งนั้น ก็มีที่มาที่เป็นได้ทั้งจากกรรมพันธุ์ (?)  มาจากการบ่มเพาะที่แฝงอยู่ในสังคม วัฒนธรรม และในกระบวนการศึกษา  กระทั่งที่มาจากการแสวงประโยชน์จากระบบการสื่อสารสังคมออนไลน์ที่ต้องมีแต้ม มีคะแนน  มี like   มี favorite  มี follower .....
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 14 ก.พ. 23, 20:08

ก็คงไม่เป็นที่ทราบกันทั่วไปนักว่า เมื่อมีอุบัติภัยเกิดขึ้น ณ ที่แห่งใดในโลก  ข้อมูลข่าวสารความเสียหายที่เกิดขึ้นที่เป็นเรื่องเชื่อถือได้มากที่สุดนั้น มาจากการสื่อสารระหว่างนักวิทยุสมัครเล่นที่เรียกกันว่า HAM  เป็นการสื่อสารด้วยคลื่นวิทยุในย่านความถี่  HF (High frequency)  ที่เป็นการสื่อสารทางเสียงก็อยู่ในแถบช่วงคลื่นหนึ่ง เป็นลักษณะการสื่อสารที่เด็กๆชอบเอามาเลียนแบบเล่นกัน  "ฮัลโหลๆ รู้แล้ว เปลี่ยน" นั่นแหละครับ หรือเรียกกันว่า Single side band radio      ในอีกแถบช่วงคลื่นหนึ่งก็เป็นการสื่อสารด้วยการเคาะรหัสมอร์ส (Morse code) ที่เราได้ยินเสียง ดิ๊ด ๆๆ ในคลื่นวิทยุ AM บางช่วงคลื่น  รหัสมอร์สจะเคาะผสมกันระหว่างเสียงสั้น (dit) กับเสียงยาว (da)  เช่นการขอความช่วยเหลือ SOS ก็จะเคาะ dit dit dit da da da dit dit dit  ซึ่งเป็นรหัสสากล

ยกเรื่องนี้ขึ้นมาก็เพียงเพื่อจะบอกกล่าวว่า คลื่นวิทยุย่าน HF นั้น เป็นช่วงคลื่นที่สามารถกระจายข่าวสารและรับกันได้เป็นพื้นที่กว้างและไกลมาก  HF เป็นคลื่นสำรองที่ติดตั้งอยู่ในเครื่องบิน ในเรือเดินสมุทร และในการรบ/สงครามทางทหาร   เป็นระบบที่สามารถสร้างอุปกรณ์ให้มีขนาดเล็กในทรงรูปร่างต่างๆ โดยสามารถใช้พลังงานจากถ่านไฟฉายเพียงก้อนเดียว   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 15 ก.พ. 23, 19:09

นอกจากการจัดให้มีพื้นที่กลางเพื่อรองรับผู้ประสบภัยในปริมาณมากแล้ว ก็ยังจัดให้มีพื้นที่ขนาดย่อมและย่อยที่เหมาะสมกับสภาพทางกายภาพของชุมชนและปริมาณของผู้คน ซึ่งอาจจะเป็นวัด เป็นโรงเรียน เป็นปั้มน้ำมัน เป็นสวนหย่อมในชุมชน ...ฯลฯ  ซึ่งเป็นสถานที่ๆมีสิ่งอำนวยความสะดวกในการดำรงชีพพอสมควร เช่น มีที่สำหรับนั้ง/นอน มีห้องน้ำ มีสุขา มีร่มเงาพอจะบังแดดบังฝนได้บ้าง   สถานที่ดังตัวอย่างที่กล่าวถึงนี้นิยมใช้คำว่า จุดรวมพล (assembly point) เมื่อเกิดอุบัติภัยที่ร้ายแรงใดๆ ก็ให้พยายามหาทางมารวมกันอยู่ ณ จุดๆนี้ ซึ่งจัดเป็นจุดนัดพบกับฝ่ายผู้ให้ความช่วยเหลือ(meeting point)   จุดนี้ยังใช้ประโยชน์ในด้านของการรายงานความมีอยู่(รอด)ของตัวตนและสภาพของตัวตนนั้นๆ  ซึ่งเป็นข้อมูลสำคัญที่ครอบครัวและญาติมิตรอยากจะทราบในเบื้องแรก และเป็นข้อมูลพื้นฐานสำหรับการจัดการให้ความช่วยเหลือหรือการบรรเทาความเดือดร้อนที่เหมาะสมต่อไป   เมืองไทยเราก็มีการจัดให้มีจุดรวมพลบ้างแล้วเช่นกัน มีกระจัดกระจายอยู่ทั่วไป มีทั้งแบบที่มีป้ายบอกและแบบที่เข้าใจกันเอง 

ที่น่าสนใจก็คือในรูปแบบที่เข้าใจและรู้ได้ด้วยสำนึกของตนเอง  เป็นโชคดีของคนไทย  เรามีวัดที่ตั้งกระจายอยู่(น่าจะ)ทั่วทุกชุมชน ทำให้เกิดเป็นจุดรวมพลโดยอัตโนมัติ  ฝ่ายเมืองเลยดูจะไม่มีความจำเป็นต้องทำอะไรต่อไปในเรื่องนี้ แต่แท้จริงแล้วก็ยังมีเรื่องที่พึงต้องทำ เรื่องสำคัญก็ดูจะมีเรื่องของการช่วยเหลือหรือช่วยปรับปรุงในเรื่องของสุขา ห้องน้ำ และน้ำสะอาด  ซึ่งยังช่วยส่งผลถึงชุมชนในเรื่องของสุขภาพและอนามัยในองค์รวม   
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.074 วินาที กับ 19 คำสั่ง