เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 11518 พระยศฝ่ายในตามธรรมเนียมราชวงศ์ชิง - พระนามสมเด็จพระเทพรัตน์ในภาษาจีน
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 06 เม.ย. 15, 15:41

เนื่องในปีนี้สมเด็จพระเทพรัตน์มีพระชนมายุ ๖๐ พรรษา วันนี้ข้าพเจ้าขอแทรกเรื่องพิเศษ คือลำดับศักดิ์ของเจ้านายฝ่ายในของราชวงศ์ชิง เพื่อเป็นการร่วมถวายพระพร

ในปัจจุบัน ชาวจีนเรียกพระนามเจ้านายฝ่ายในของต่างประเทศว่า “กงจู่” ทั้งหมด อาทิปัจจุบันนี้ชาวเรียกสมเด็จพระเทพรัตน์ว่า “สือหลินธงกงจู่” (诗琳通公主) โดยคำว่า “กงจู่” (公主) แปลว่าเจ้าหญิง ส่วน “สือหลินธง” (诗琳通) เป็นการออกเสียงแบบจีนของพระนาม “สิรินธร” หรือหากชาวจีนเรียกสมเด็จพระเทพรัตน์แบบพระนามเต็ม จะเรียกว่า “มา หา จัก เคอ ลี สือ หลิน ธง” (玛哈·扎克里·诗琳通)

โดยเป็นการอ่านจากพระนามว่า “มหาจักรีสิรินธร” อันเป็นพระนามที่ได้รับสถาปนาพระอิสริยศักดิ์ขึ้นจากสมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิรินธรเทพรัตนสุดา กิติวัฒนาดุลโสภาคย์ เป็น"สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารี"  โดยชาวจีนจะถือว่า “มา หา จัก เคอ ลี” หรือ “มหาจักรี” เป็นพระนามอิสริยศักดิ์ (封号)
แต่ถ้าย้อนไปในสมัยราชวงศ์ชิง การเรียกยศเจ้านายฝ่ายในของชาวจีนจะมีรายละเอียดมากกว่านี้นัก


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 15:47

ในสมัยราชวงศ์ชิงนั้น ลำดับชั้นของเจ้านายฝ่ายในเป็นไปตามพระกำเนิดว่าพระบิดามียศเช่นไร ส่วนพระบิดาซึ่งเป็นเจ้าชายฝ่ายหน้านั้น ลำดับชั้นเจ้านายจะแบ่งเป็น ๑๒ ลำดับ ในอดีตพระราชโอรสจะถูกแต่งตั้งเป็นชั้นใดก็ได้ ในสี่ลำดับนี้ แต่ว่าภายหลังจะแต่งตั้งเฉพาะสี่ลำดับแรกเท่านั้น ทั้งนี้เพื่อพระราชโอรสได้ยศลำดับใดแล้ว พระทายาทฝ่ายชาย และหญิงจะมียศต่ำกว่าพระบิดาขั้นหนึ่ง

 ตามลำดับชั้นเจ้านายฝ่ายในสมัยราชวงศ์ชิง ก่อนที่ราชวงศ์ชิงจะเข้าครองแผ่นดินจีน ธิดาของกษัตริย์หรือเชื้อพระวงศ์จะเรียกว่า “เก๋อเกอ” (格格) ซึ่งคำนี้ความหมายเดิมจะแปลว่า “คุณผู้หญิง” แต่ภายหลังเมื่อราชวงศ์ชิงได้เข้ามาปกครองประเทศจีน และได้รับอิทธิพลของวัฒนธรรมจีนฮั่น ทำให้รับคำว่า “กงจู่” (公主) ที่แปลว่าเจ้าหญิง แต่ถ้าแปลตรงๆ คือ “เจ้านายแห่งวัง”มา ภายหลังในปีที่ ๑๗ แห่งรัชสมัยพระเจ้าซุนจื้อ (顺治) ได้ทรงสถาปนาลำดับชั้นของพระราชวงศ์ฝ่ายใน โดยแบ่งดังนี้


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 15:48

๑.   พระราชธิดาที่ประสูติแต่ฮ่องเฮา เรียกว่า “กู้หลุ่นกงจู่” (固伦公主) เป็นยศเจ้านายฝ่ายในชั้นสูงสุด แต่อย่างไรก็ตาม ยศนี้ พระธิดาที่เกิดแต่พระสนมก็สามารถูกสถาปนา กระทั่งเกิดแต่เจ้านายก็สามารถสถาปนาให้มียศนี้เช่นกัน เทียบกับยศเมืองไทยเหมือนเจ้าฟ้า ชั้นเอกที่เราเรียกว่าทูลกระหม่อม

๒.   พระราชธิดาที่ประสูติแต่พระสนม เรียกว่า “เหอซั่วกงจู่” (和孝公主) เป็นยศเจ้านายฝ่ายในชั้นรอง แต่ถ้าพระมารดาเป็นที่โปรดปราน หรือตัวเจ้าหญิงเองเป็นที่โปรดปราน ก็อาจจะขึ้นเป็นยศกู้หลุ่นกงจู่ได้ ถ้าเทียบกับไทยคงเทียบได้กับพระองค์เจ้าที่เป็นพระเจ้าลูกเธอฝ่ายใน เรียกกันว่า “เสด็จพระองค์”


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 15:49

๓.   เจ้านายเชื้อพระวงศ์ชั้นเหอซั่วชินหวาง (和硕亲王) เรียกสั้นๆว่า ชินหวาง เจ้านายชั้นนี้จะเป็นพระโอรสที่ประสูติแต่ฮ่องเฮา หรือถ้าประสูติแต่พระสนมจะต้องทำความดีความชอบมาจนได้รับสถาปนา ไม่เช่นนั้นก็จะเป็นโอรสพระองค์ใหญ่ประสูติแต่พระชายาเอกของเจ้านายชั้นชินหวางเอง เทียบกับไทยคงเทียบได้กับยศเจ้าฟ้า ละครจีนในไทยออกเสียงว่าชินอ๋องตามสำเนียงแต้จิ๋ว

พระราชธิดาที่ประสูติแต่เจ้านายชั้นนี้จะไม่ได้เรียกว่า กงจู่ แต่จะเรียกว่า จุนจู่ (郡主) แปลตามความหมายเดิมคือ “เจ้านายแห่งเมือง” ตามธรรมเนียมโบราณที่เจ้านายจะไปครองเมือง ธิดาย่อมเป็นนายในเมืองนั้นแล  เรียกตามภาษาแมนจูเรียกว่า “เหอซั่วเก๋อเกอ”(和硕格格)แต่จะเรียกยศนี้ได้เฉพาะพระธิดาที่เกิดแต่พระชายาเอก แต่ถ้าเกิดแต่พระชายารอง หรือหม่อมห้ามเรียกว่า “จุนจู” (郡君) แปลตรงๆว่า “นายแห่งเมือง” ภาษาแมนจูเรียกว่า “ตัวหลัวเก๋อเกอ”(多罗格格)

ถ้าให้เทียบกับไทย พระธิดาที่เกิดแต่พระชายาเอกยศจุนจู่ คงเทียบได้กับ พระองค์เจ้าหญิงราชนัดดา ที่เราเรียกกันว่า “พระองค์หญิง” ส่วนที่ประสูติแต่หม่อมห้ามยศจุนจูคงเทียบได้กับหม่อมเจ้าหญิง หรือเรียกว่าท่านหญิงนั้นเอง




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 15:50

๔.   เจ้านายยศตัวหลัวจุนหวาง (多罗郡王) เรียกสั้นๆว่า จุนหวาง หรือที่คนไทยคุ้นหูว่า “จุนอ๋อง” เป็นพระโอรสของฮ่องเต้ที่เกิดแต่พระสนม หรืออาจจะเป็นพระโอรสของหรือเป็นพระโอรสของเจ้านายชั้นชินหวางที่เกิดแต่พระชายารองหรือหม่อมเล็กๆ มียศรองลงมาจากเจ้านายชั้นชินหวางเทียบเป็นไทยก็เหมือนเป็นเจ้านายชั้นพระองค์เจ้า

เจ้านายชั้นนี้หากมีพระธิดาเกิดแต่พระชายาเอก เรียกว่า “เสี่ยนจู่” (县主) แปลตรงๆคือ “เจ้านายแห่งอำเภอ” เรียกเป็นภาษาแมนจูว่า “ตัวหลัวเก๋อเกอ” (多罗格格) แต่ถ้าเกิดแต่พระชายารองหรือหม่อมห้าม ก็จะเรียกว่า “เสี่ยนจุน” (县君) แปลตรงๆว่า “นายแห่งอำเภอ”ภาษาแมนจูเรียกว่า “กูซานเก๋อเกอ” (固山格格)

คิดไปคล้ายๆกับเมืองไทย พระโอรสธิดาของเจ้าฟ้า เป็นเจ้าฟ้า หรือพระองค์เจ้าได้ เช่นเจ้าฟ้าหญิงบุญรอดที่เป็นพระธิดาของพระภคนีในรัชกาลที่ ๑ เป็นต้น เจ้านายชั้นนี้แต่พอมีพระโอรสธิดาก็ได้เป็นยศเป็นหม่อมเจ้า เป็นท่านชาย ท่านหญิงกันทั่วไป


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 15:52

๕.   เจ้านายชั้นตัวหลัวเป่ยเล่อ (多罗贝勒) หรือเรียกสั้นๆว่า เป่ยเล่อ เจ้านายชั้นนี้ จะเป็นโอรสกษัตริย์ก็ได้ หรือจะเป็นราชนัดดาก็ได้ แล้วแต่ฮ่องเต้จะเห็นสมควรแต่งตั้งยศ กล่าวคือ ถ้าเป็นพระโอรสความสามารถไม่ได้สูงมากหรือโปรดปรานมา อาจจะถูกแต่งตั้งเป็นเป่ยเล่อ แต่ว่าถ้าเป็นพระนัดดา จะเป็นนัดดาที่ประสูติแต่พระชายารอง หรือหม่อมเล็กๆของเจ้านายชั้นจุนหวางพระโอรสจะมียศเป่ยเล่อ คิดง่ายๆเหมือนกับเจ้านายชั้นพระองค์เจ้าชั้นพระราชนัดดา ที่เป็นชั้นพระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้านั้นเอง

พระธิดาของเจ้านายชั้นเป่ยเลอนี้ ถ้าประสูติแต่ชายาเอก มียศว่าจุนจู (郡君) เรียกภาษาแมนจูว่าตัวหลัวเก๋อเกอ (多罗格格)แต่ถ้าประสูติแต่ชายารองหรือหม่อมห้ามเรียกว่าเซี่ยงจู (乡君) แปลตรงๆคือ “นายแห่งอำเภอ” เรียกภาษาแมนจูว่า“เก๋อเกอ” (格格)

จุนจู คงเป็นท่านหญิงที่เป็นหม่อมเจ้าแบบไทย แต่ว่าเซี่ยงจู่น่าจะใกล้เคียงกับยศหม่อมราชวงศ์ ที่เรียกว่า “คุณหญิง”


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 15:53

๖.   เจ้านายชั้นกู้ซานเป่ยจึ (固山贝子)เรียกสั้นๆว่า เป่ยจึ เจ้านายชั้นนี้เป็นโอรสกษัตริย์หรือราชนัดดาก็ได้ ถ้าโอรสก็เป็นโอรสที่ไม่ค่อยจะมีบทบาทเท่าใดนัก พระบิดาเลยสถาปนายศต่ำสุดๆถึงเพียงนี้ แต่ปรกติแล้วหลังๆในสมัยราชวงศ์ชิงไม่สถาปนาพระโอรสเป็นเจ้านายชั้นเป่ยจึ เพราะออกจะเป็นการดูถูกพระราชโอรสเกินไป หากเป็นราชนัดดา จะเป็นโอรสของเจ้านายชั้นเป่ยเล่อที่เกิดแต่ชายารองหรือหม่อมห้าม แต่ถ้าเกิดจากพระชายาเอกจะได้รับยศเป่ยเล่อต่อจากพระบิดา คิดเป็นยศเจ้านายไทยก็ทำนองเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า

พระธิดาที่เกิดจากเจ้านายชั้นเป่ยจึ อันประสูติแต่ชายาเอกมียศเป็นเซียงจุน (乡君) แปลตรงๆตามตัวคงได้ความว่า “นายแห่งตำบล” เรียกภาษาแมนจูว่าตัวหลัวเก๋อเกอ(多罗格格)แต่ถ้าเกิดแต่ชายารองหรือหม่อมห้ามไม่ได้ยศเป็นเจ้านาย แต่จะถือว่าเป็นเชื้อพระวงศ์หญิง เรียกว่า “จงหนู่” (宗女) แปลตรงๆคือสตรีเชื้อพระวงศ์ เรียกภาษาแมนจูว่าเก๋อเกอ (格格)เซียงจูนี้ถ้าเทียบกับไทยคงเป็น “คุณหญิง” ดังที่กล่าวไปแล้ว แต่ว่าถ้าเป็นจงหนู่เมืองไทยคงเทียบได้กับหม่อมหลวงเรียกง่ายๆว่า “คุณ”


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 15:54

๗.   ในระดับเชื้อพระวงศ์ แต่ไม่ใช่เจ้านาย โอรสของเจ้านายชั้นเป่ยจึ เรียกว่า เจิ่นกั๋วกง (镇国公) และโอรสของเจิ่นกั๋วกง เรียกว่า ฟู่กั๋วกง (辅国公) จริงๆจะไม่ถือว่าเป็นเจ้านายแล้ว แต่จะเป็นเชื้อพระวงศ์ เทียบกับไทยคงพอๆกับ หม่อมราชวงศ์ และหม่อมหลวง ตามลำดับ ถ้ามียศความดีความชอบได้เครื่องยศแปดประการ (入八分) คล้ายๆกับเชื้อพระวงศ์ไทยชั้นหม่อมราชวงศ์และหม่อมหลวงได้รับยศพิเศษ เป็น “หม่อม” ดังหม่อมราโชทัย ที่แต่เดิมเป็นม.ร.ว.กระต่าย

ธิดาที่เกิดแต่เชื้อพระวงศ์ชั้นนี้หากเกิดแต่ภรรยาเอกเรียกว่าเซียนจุน (乡君)เรียกภาษาแมนจูว่าเก๋อเกอ(格格)แต่ธิดาที่เกิดแต่อนุภรรยาเรียกว่า “จงหนู่” (宗女) ไม่มีคำเรียกยกย่องในภาษาแมนจู ถ้าเป็นในไทย ลูกสาวที่เกิดแต่ภรรยาเอกคงเรียกว่า “คุณหญิง” ได้แต่ที่เกิดแต่ภรรยารองคงเรียกว่า “แม่” อะไรก็ว่าไป


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 15:56

๘.   เชื้อพระวงศ์ชั้นเจิ่นกั๋วกง และฟู่กั๋วกงที่ไม่ได้รับเครื่องยศใดๆ ธิดาจะไม่ได้รับยศใดๆทั้งสิ้น ถือเป็นจงหนู่ (宗女) เท่านั้น และไม่มีคำเรียกยกย่องในภาษาแมนจู

๙.   บุตรหลานที่เกิดแต่เชื้อพระวงศ์ชั้นฟู่กั๋วกงลงไปที่เรียกว่า “เจิ่นกั๋วเจียงจุน” (镇国将军) ซึ่งจะแบ่งเป็นสามระดับอีกที จะไม่ได้รับยศใดๆทั้งสิ้น ถือเป็นจงหนู่ (宗女) เท่านั้น และไม่มีคำเรียกยกย่องในภาษาแมนจู

จากยศข้างต้น ท่านใดนึกภาพพระยศเรียกแบบจีนฮั่นกับพระยศแบบภาษาแมนจูไม่ออกว่าแตกต่างกันอย่างไร ขอให้นึกง่ายๆเหมือนเจ้านายชั้นพระเจ้าลูกเธอ พระองค์เจ้าหญิง เรียกง่ายๆ ว่าเสด็จพระองค์ หรือหม่อมเจ้าหญิงเราเรียกกันว่า ท่านหญิงเช่นนั้นแล คำแรกเป็นคำแขกปนเขมร คำสองเป็นคำเขมรปนไทย และใช่เรียกบ่อยกว่าในโอกาสไม่เป็นทางการ พึงระลึกไว้ว่า หากเป็นพระราชธิดากษัตริย์ห้ามเรียกว่า “เก๋อเกอ” เด็ดขาด เรียกได้แต่คำว่า “กงจู่”

ทั้งนี้ เมื่อแรกประสูติ พระโอรสพระธิดา จะไม่ได้รับพระยศทันที หรืออาจจะได้ถ้าพระราชบิดาโปรดปรานมาก จะได้พระยศเป็น “ฮวงจึ” (皇子) แปลว่าโอรสฮ่องเต้ หรือฮวงหนู่ (皇女)หรือเรียกว่ากงจู่ (公主)แปลว่าพระราชธิดา เมื่อมีพระชนม์มากขึ้น หากเป็นพระโอรสประมาณ ๑๕ ชันษา จะได้รับการสถาปนาเป็นเจ้านายชั้นต่างๆ ส่วนพระธิดา ประมาณ ๑๐ ชันษาขึ้นไป หรือก่อนที่จะอภิเษกจะได้รับพระราชทานพระยศ แต่ถ้ายังไม่ไดรับพระราชทานพระยศ พระราชโอรสก็เรียกว่า “ฮวงจึ” ในภาษาทางการ หรือ “อาเก๋อ” (阿哥) ในภาษาแมนจู ส่วนพระธิดาเรียกว่า “กงจู่”

จะเรียกสั้นๆว่า “เก๋อเกอ” มีแต่พระธิดาของเจ้านายเท่านั้น โดยเป็นการเรียกสั้นๆง่ายๆ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 06 เม.ย. 15, 16:05

นอกจากจะเป็นยศที่สถาปนาให้แล้วโดยพระกำเนิด ยังมีการพระราชอิสริยศักดิ์แก่เจ้านาย คล้ายๆกับเมืองไทยมีการให้เจ้านายทรงกรม แล้วถวายพระนามกรมนั้นเอง โดยพระนามที่เป็นราชทินนามนี้อาจจะวางไว้หน้าพระยศทั้งหมดหรือ วางไว้กึ่งกลางระหว่างพระยศที่บ่งระดับ อาทิ เจ้านายศ กู้ลุ่นกงจู่ อาจจะวางพระนามไว้ข้างหน้า เป็น  “xxกู้ลุ่นกงจู่” อาทิ “ฮุ่ยหมินกู้ลุ่นกงจู่” (慧愍固伦公主) พระราชธิดาของพระเจ้าเจี่ยฉิงหรือ “กู้ลุ่xxกงจู่” ก็ได้ อาทิ กู้ลุ่นเค่อชิงกงจู่ (固伦恪靖公主)พระราชธิดาของพระเจ้าคังซี

ราชทินนามนี้จะใช้เรียกแทนพระนามจริงสืบไปเลย และได้รับการบันทึกแทน จนในประวัติศาสตร์หลายครั้งเราจะไม่พบพระนามดั้งเดิมของพระราชธิดาทั้งปวง พบแต่พระนามที่มาแต่การถวายอิสริยศักดิ์แทน
สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าขอกล่าวปิดท้ายเนื่องในวาระอันเป็นมงคลนี้ทั้งเนื่องในวันจักรี และปีที่สมเด็จพระเทพมีพระชมนายุ ๖๐ พรรษา

ขอสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา เจ้าฟ้ามหาจักรีสิรินธร รัฐสีมาคุณากรปิยชาติ สยามบรมราชกุมารีมีพระชนมายุยิ่งยืนนาน พันปี พันพันปี

固伦玛哈·扎克里·诗琳通公主千岁千千岁!

(กู้ ลุ่น มา หา จัก เคอ ลี่ สือ หลิน ธง กงจู่ เฉียนซุย เฉียน เฉียน ซุย)

(หมายเหตุ:千岁 เฉียนซุย พันปี ใช้สำหรับการถวายพระพรเจ้านายชั้นเจ้าฟ้า และรัชทายาท)

ภาพสมเด็จพระเทพรัตน์ เสด็จมายังประเทศจีน มหาวิทยาลัยปักกิ่ง โดยทางมหาวิทยาลัยปักกิ่งได้มีการร่วมถวายพระพรเนื่องในวันประสูติอย่างยิ่งใหญ่

ที่มาภาพ http://news.china.com.cn/2015-04/05/content_35246903.htm





บันทึกการเข้า
นางมารน้อย
พาลี
****
ตอบ: 306


ทำงานแล้วค่ะ


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 07 เม.ย. 15, 13:13

ขอบพระคุณคุณหาญบิงที่กรุณาลงเรื่องราวให้ได้อ่านค่ะ ยิงฟันยิ้ม ยิ้มกว้างๆ ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า

สวัสดีทุกๆท่านค่ะ
unming
อสุรผัด
*
ตอบ: 19


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 07 เม.ย. 15, 14:08

ขอบคุณมากค่ะ สำหรับ บทความดี ๆ ติดตามอ่านอยู่ตลอดนะคะ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.068 วินาที กับ 19 คำสั่ง