เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
  พิมพ์  
อ่าน: 54538 เรื่องของน้ำพริก
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 120  เมื่อ 27 พ.ค. 15, 19:18

น้ำพริกสุดง่ายอีกแบบหนึ่ง ที่ทำให้ผมได้มีโอกาสเรียนรู้ชีวิตของผู้คนในชุมชนท้องถิ่นเล็กๆห่างไกลจากเมืองเมื่อเริ่มก้าวแรกของการเป็นนักสำรวจฯ    เกิดขึ้นเมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2511 ที่บ้านชะลาด (ชาวบ้านเรียกว่าบ้านชะลาดระฆัง) อยู่ห่างจากตัว จ.ตาก ประมาณ 20 กม. ทางเหนือของเส้นทางถนนสายไป อ.บ้านด่านลานหอย จ.สุโขทัย

พื้นที่บริเวณนี้แห้งแล้งมาก เพราะเป็นกรวดดินทรายจากการผุพังของหินแกรนิต มีแย้มากมาย วิ่งกันเพ่นพ่านเต็มไปหมด  ชาวบ้านเขาก็จับแย้เอามาตากแห้ง เก็บไว้เป็นอาหารกินกันในฤดูขาดแคลนอาหาร     

ที่นี่แหละที่ผมได้รู้จักกับน้ำพริกที่เราคงจะนึกไม่ถึงว่าจะถูกเรียกว่าน้ำพริก   อาหารของผมและเพื่อนเป็นข้าวห่อ ส่วนกับข้าวก็เป็นอาหารกระป๋องของ อสร.  แต่ของผู้ที่ขอร่วมทางไปดูวิธีการทำงานของผมและเพื่อนนั้น (จำชื่อได้..ทิดร่วม) เป็นข้าวเหนียวห่อ มีน้ำพริกแย้ห่อเล็กๆ แล้วก็แย้แห้ง 1 ตัว   

ครับ...น้ำพริกแย้ก็คือ แย้แห้งตำกับเกลือและพริกแห้ง แล้วก็ฉีกแย้แห้งจิ้มกิน ตามด้วยปั้นข้าวเหนียว   

ก็เป็นสภาพความเป็นจริงของผู้คนชาวบ้านในท้องถิ่นทุรกันดาร ที่คงจะมีผู้ได้รู้เห็นได้สัมผัสไม่มากนัก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 121  เมื่อ 27 พ.ค. 15, 19:28

ผมเริ่มทำอาหารและเริ่มสนใจการทำอาหารก็ที่นี่แหละครับ เก็บดอกแคสีขาวและสีม่วงมาผัดน้ำมัน กินเป็นผัดผักก็ที่นี่แหละ แถมด้วยการเรียนรู้กระบวนวิธีการหาอาหาร (พืชและสัตว์) ต่างๆอีกด้วย
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 122  เมื่อ 27 พ.ค. 15, 19:39

ส่วนที่เป็นสุดๆของน้ำพริก ที่คงจะเรียกขานชื่อว่า น้ำพริก ไม่ได้อีกแล้ว ที่ผมได้พบเห็นและได้ร่วมสำรับด้วยนั้น อยู่ในช่วงเวลาของการต่อสู้ทางอาวุธระหว่างผู้คนที่เห็นต่างในความคิดด้านสังคมและการปกครอง

น้ำพริกนี้ ไม่มีอะไรมากไปกว่าลักษณะของพริกแห้งป่นคลุกกับเกลือ   
บันทึกการเข้า
walai
มัจฉานุ
**
ตอบ: 64


ความคิดเห็นที่ 123  เมื่อ 28 พ.ค. 15, 22:15

ส่วนที่เป็นสุดๆของน้ำพริก ที่คงจะเรียกขานชื่อว่า น้ำพริก ไม่ได้อีกแล้ว ที่ผมได้พบเห็นและได้ร่วมสำรับด้วยนั้น อยู่ในช่วงเวลาของการต่อสู้ทางอาวุธระหว่างผู้คนที่เห็นต่างในความคิดด้านสังคมและการปกครอง

น้ำพริกนี้ ไม่มีอะไรมากไปกว่าลักษณะของพริกแห้งป่นคลุกกับเกลือ   
        ....ตำกุ้ง....เด็กมาจากอ.วานรนิวาส จ.สกลนคร  ได้ทำ
ให้กินเธอว่าที่บ้านเรียกอย่างนี้  แต่หน้าตาเหมือนน้ำพริกมะขามค่ะ..
ทำง่ายๆคือ..ต้มกุ้งแห้ง พริกหยวกหรือพริกทุกชนิดที่ชอบ หอมแดง
พอสุกได้ที่ช้อนขึ้นมาให้สะเด็ดน้ำ  แล้วลงครกตำ ปรุงรสด้วยมะขามเปียกหรือ
มะนาว น้ำปลาน้ำตาลนิดหน่อย  ก็เสร็จรับประทานกับผักสดตามใจชอบ
ที่อร่อยสุดๆคือปั้นข้าวเหนียวร้อนๆจิ้มทานแทนข้าวสวยค่ะ.....
....เคล็ดลับที่ทำให้ตำกุ้งหอมคือเวลาตำเครื่องปรุง  ต้องใสผักแพวหรือ
ผักชีด้วยค่ะ...
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 124  เมื่อ 29 พ.ค. 15, 18:17

ผมจัดน้ำพริกที่คุณ walai เล่ามานี้ เป็นพวกน้ำพริกเครื่องต้มครับ

แล้วก็จะขอเลยไปน้ำพริกเครื่องต้มที่มีทำยากหน่อย และ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นน้ำพริกที่ของคนไทยภาคกลาง แถมดูจะมีระดับอีกด้วย ก็คือ บรรดาหลนต่างๆ หลนกะปิ หลนเต้าเจี้ยว หลนปูเค็ม หลนปลาร้า หลนขะนัดเค็ม (หรือหลนเค็มหมากนัด) ฯลฯ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 125  เมื่อ 29 พ.ค. 15, 18:37

แต่ก่อนจะไปเรื่องหลน ขอเล่าถึงน้่ำพริกอีกอย่างหนึ่ง สุดๆของผมเลยทีเดียว

เมื่อประมาณเดือนพฤศจิกายน 2512  ก็ทำการสำรวจทำแผนที่ธรณ๊วิทยาอยู่ในพื้นที่รอยต่อระหว่าง อ.ศรีสัชนาลัย อ.ลับแล อ.วังชิ้น และอ.เด่นชัย  เส้นทางสำรวจที่ให้ข้อมูลดีที่สุดก็คือ เดินข้ามสันเขาที่เรียกว่าดอยพญาพ่อ ข้ามจากห้วยแม่สินไป อ.เด่นชัย   กะเวลาผิด เพราะนึกว่าเขาไม่น่าจะชันมากนัก ที่ไหนได้ จากห้วยแม่สินตอน 6 โมงเช้า ถึงสันเขาเอา 6 โมงเย็น ทั้งเหนี่อยและหิว ก็เอาข้าวเหนียวที่หุงด้วยต้นไผ่หกตั้งแต่เช้า เหลือกินในมื่้อเที่ยงออกมา ไม่มีกับข้าวอื่นใดเลย นอกจากพริกหนุ่มสดๆ  นั่นคือกินข้าวเหนียวกับพริกจริงๆ  กว่าจะลงไปตามห้วยถึงบริเวณที่มีน้ำก็ 2 ทุ่ม อาหารเช้าก็เลยต้องเป็นของทื่หาได้รอบตัว ตัดไม้ไผ่มา ก่อกองไฟ แล้วหลามทุกอย่างเลย
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 126  เมื่อ 29 พ.ค. 15, 18:45

พริกหนุ่ม


บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 127  เมื่อ 29 พ.ค. 15, 19:02

มาเข้าเรื่องหลน ซึ่งจัดเป็นน้ำพริกอีกรูปแบบหนึ่ง
 
หลนเป็นน้ำพริกที่ต้องทานกับผักสด ซึ่งผักสดที่เข้าคู่กันได้ดีกับหลนต่างๆ ที่เราคุ้นเคยกันมากๆ ก็คือแตงร้าน ถั่วพู ถั่วฝักยาว มะเขือลูกกลมต่างๆ และผักกาดขาว   ที่ไม่ค่อยจะเห็นกันก็มีอาทิ ขมิ้นขาว มะม่วงดิบ ยอดมะม่วงอ่อน ยอดมะกอกอ่อน ยอดกาหยี (มะม่วงหิมพานต์) ผักชีล้อม และผักหัวไร่ปลายนาต่างๆ   หลนจะมีรสออกไปทางหวานนำ ไม่ออกรสเผ็ด ดังนั้น ผักจิ้มที่คู่กันได้ดีจึงมักจะเป็นพวกยอดไม้หรือผักที่ออกรสเปรี้ยว

หลนเป็นน้ำพริกที่ใช้กะทิ และใส่เนื้อสัตว์สับละเอียดยิบ โดยเฉพาะเนื้อหมู และกุ้ง  เคยได้ทานที่เขาใช้เนื้อวัวสับอยู่บ้างเหมือนกัน  ลักษณะประจำของหลนที่ดูจะเป็นเอกลักษณ์ก็คือ จะต้องมีพริกหนุ่ม (หรือพริกหยวก) หั่นเป็นท่อนสั้นๆ ไม่ซอยเป็นแว่นๆ แถมดูจะต้องเป็นสีเหลืองเสียอีกด้วย (สีเขียว และแดงก็ใช้นะครับ) และมักจะเห็นหอมแดงซอยลอยอยู่ในเนื้อน้ำพริกด้วย      
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 128  เมื่อ 29 พ.ค. 15, 19:23

ขอบพระคุณ อ.เทาชมพู สำหรับภาพประกอบครับ

พริกหนุ่ม เป็นพริกที่มีหลายชื่อเรียกขาน ทั้งพริกชี้ฟ้า พริกแด้ พริกแกว ฯลฯ  ความที่น้ำพริกหนุ่มของภาคเหนือเป็นที่รู้จักแพร่หลายมาก ชื่อเรียกขานว่า พริกชี้ฟ้า ที่เราคุ้นเคยกันในภาคกลางจึงเริ่มหายไป   

มันเป็นพริกที่นำมาใช้ในการปรุงอาหารสารพัด ใช้ตั้งแต่เม็ดมันยังอ่อนไปจนถึงแก่จัด ใช้สีต่างๆตามชั่วอายุของมันมาช่วยทำให้อาหารน่ากิน เอามาทำน้ำพริกหนุ่ม ทำน้ำส้มพริกดอง ทำพริกแห้ง ทำผัดพริก ฯลฯ    มีการใช้ประโยชน์ไม่ต่างไปจากการสารพัดการใช้กล้วยน้ำว้า
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 129  เมื่อ 29 พ.ค. 15, 21:11

ภาพนี้คือหลนปู ค่ะ


บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 130  เมื่อ 29 พ.ค. 15, 21:12

ผมเริ่มทำอาหารและเริ่มสนใจการทำอาหารก็ที่นี่แหละครับ เก็บดอกแคสีขาวและสีม่วงมาผัดน้ำมัน กินเป็นผัดผักก็ที่นี่แหละ แถมด้วยการเรียนรู้กระบวนวิธีการหาอาหาร (พืชและสัตว์) ต่างๆอีกด้วย
น่าพิศวงอยู่เหมือนกัน ที่นักเรียนพับลิกสกูล ระดับลูกผู้ดีเรียนกันอย่างอาจารย์naitang จะลึกซึ้งกับอะไรระดับบ้านๆได้ขนาดนี้ และยังอิงกับวิชาการได้ตลอด ยอดเยี่ยมครับ
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 131  เมื่อ 29 พ.ค. 15, 21:19

ภาพนี้คือหลนปู ค่ะ
แต่ละถ้วยแต่ละจานของอาจารย์เทาชมพู กระชากหัวใจตลอด..โ.อ..ย ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 132  เมื่อ 31 พ.ค. 15, 19:38

ไม่รู้ว่าจะตอบความเห็นของคุณ Jalito อย่างไรดี   เอาเป็นว่า ผมชอบใช้ชีวิตแบบที่ค่อนข้างจะสมถะ เรียบง่าย เรียนรู้ลึกลงไปถึงแก่น นิยมความเป็นธรรมดาและความเป็นธรรมชาติแบบพื้นฐาน ไม่นิยมใดๆที่เป็น virtual แต่ก็ยอมรับและปฏิบัติตนสอดคล้องกับสิ่งที่เป็นสากล (norm) ของสังคม (เมื่อต้องเข้าไปอยู่ในสังคม) นั้นๆ 

วิถีของการทำงานในวิชาชีพของผมคือ การค้นคว้าหาคำตอบ/คำอธิบาย ถึงต้นตอ สาเหตุ เรื่องราวและพัฒนาการของธรรมชาติ และแนวโน้มทื่ธรรมชาติจะพัฒนาหรือเปลี่ยนแปลงต่อไป    ก็คงจะเป็นเรื่องที่กล่าวมานี้กระมังที่ทำให้ผมสนใจในระดับลึกลงไปในเรื่องอื่นๆหลายๆเรื่อง 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 133  เมื่อ 31 พ.ค. 15, 20:16

ผมได้กล่วถึงหลนเค็มหมากนัด หลายท่านอาจไม่เคยได้ยินหรือได้เห็น

ผมรู้จักเค็มหมากนัดมานานแล้ว ตั้งแต่เด็กๆ เพราะว่ามีคุณพ่อมีเชื้อสายเป็นชาวโคราช    เค็มหมากนัดหรือขะนัดเค็มนี้ เป็นการถนอมอาหารประจำถิ่นของผู้คนย่านพื้นที่ จ.อุบลราชธานี  ทำมาจากการเอาปลาสวาย ปลาเทโพ หรือเนื้อหมู เนื้อวัว(?) มาสับละเอียด คลุกกับสับปะรด (หมากนัด_อิสาน  บะขะนัด_เหนือ  ย่านัด_ใต้) สับหรือหั่นละเอียด ใส่เกลือ เคล้าให้เข้ากันแล้วหมักทิ้งไว้หลายเดือน 

คนภาคกลาง กลัวความเป็นปลาร้า ก็เลยหาทางกินโดยนำมาทำหลน โดยเพิ่มหมูสับลงไป ซอยหอมแดงลงไป ใสพริกหยวกลงไป ใส่กระทิแล้วปรับรสด้วยน้ำปลา น้ำตาล  กินกับผักสดก็อร่อยไป
บันทึกการเข้า
Jalito
องคต
*****
ตอบ: 478


ความคิดเห็นที่ 134  เมื่อ 31 พ.ค. 15, 20:37

ชัดเจนแล้วครับ
ขอบคุณครับสำหรับความรู้ต่างๆที่นำมาเผยแพร่แบ่งปันยังติดตามตลอดละครับ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 7 8 [9] 10 11 ... 13
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง