เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 15722 อยากทราบประวัติคุณพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ อดีตเลขาธิการสำนักพระราชวัง
DNCR
อสุรผัด
*
ตอบ: 17


 เมื่อ 28 มี.ค. 15, 18:41

อยากทราบประวัติท่านอดีตเลขาธิการสำนักพระราชวังเเละประวัติสกุลไกรฤกษ์หน่อยครับ




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 มี.ค. 15, 20:52

คุณเพ็ญชมพูพอทราบไหมคะ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 30 มี.ค. 15, 11:31

คุณพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ เกิดเมื่อวันศุกร์ที่  ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ เป็นบุตรพระยาประเสริฐศุภกิจ (เพิ่ม ไกรฤกษ์) กับคุณหญิงประเสริฐศุภกิจ (จำเริญ ไกรฤกษ์) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ ได้เข้ารับการศึกษาที่วชิราวุธวิทยาลัยเป็นเวลา ๖ ปี แล้วจึงเดินทางไปศึกษาชั้นมัธยมปลายที่  Oundie School ประเทศอังกฤษ เป็นเวลา ๒ ปี ต่อมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๓ ย้ายไปศึกษาต่อที่  Miami University ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นเวลา  ๑ ปี และในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๘๔-๒๔๘๗ ไปศึกษาต่อที่  Stanford University  ประเทศสหรัฐอเมริกา  ได้ปริญญาเศรษฐศาสตร์บัณฑิต (B.A.) เมื่อเดินทางกลับประเทศไทยได้สมรสกับนางสาวกุณฑี สุจริตกุล (ท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์) และเริ่มทำงานที่ธนาคารไทยพาณิชย์ ในระหว่างที่คุณอาภรณ์ กฤษณามระ ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการ เมื่อมีประสบการณ์ในธุรกิจธนาคารมากพอสมควร ได้รับการชักชวนจากคุณบัญชา ล่ำซำให้มาร่วมงานกันที่ธนาคารกสิกรไทย

คุณพูนเพิ่มได้รับพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นกรรมการทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์และผู้อำนวยการสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์สืบแทนพลตรี หม่อมทวีวงศ์ถวัลยศักดิ์ (หม่อมราชวงศ์เฉลิมลาภ ทวีวงศ์) ซึ่งถึงแก่อนิจกรรม ท่านได้เริ่มปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการฯ ตั้งแต่วันที่ ๑๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ และดำรงตำแหน่งเลขาธิการพระราชวังในช่วงเวลาต่อมาอีกด้วย

คุณพูนเพิ่มเสียชีวิตเมื่อวันที่ ๖ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สิริอายุได้ ๘๑ ปี ๒ เดือน ๙ วัน พระราชทานเพลิงศพ ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันอาทิตย์ที่  ๑๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๙

จาก หนังสืออนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ นายพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์ ป.จ.,ม.ป.ช.,ม.ว.ม.
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 30 มี.ค. 15, 14:54

คุณพูนเพิ่มและท่านผู้หญิงกุณฑี ไกรฤกษ์ มีบุตรธิดา ๕ ท่านล้วนมีชื่อเล่นว่า "หมู" ตามบิดาทั้งสิ้น

๑. ศักดิ์ทิพย์  ไกรฤกษ์  (หมูแดง)
๒. อนุทิพย์    ไกรฤกษ์  (หมูน้อง)
๓. เพิ่มพูน    ไกรฤกษ์   (หมูเล็ก)
๔. กรทิพย์    ไกรฤกษ์  (หมูตือ)
๕. กุณฑิกา  ไกรฤกษ์   (หมูหวาน)

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 30 มี.ค. 15, 14:58

ท่านผู้หญิงกุณฑีนั่งอยู่ท่านกลางสมาชิกสกุลไกรฤกษ์

ภาพจาก แนวหน้า


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 30 มี.ค. 15, 15:15

ประวัติสกุลไกรฤกษ์หน่อยครับ

คุณเทาชมพูเคยเขียนไว้ใน "จาก "ลออ ไกรฤกษ์ " สู่เจ้าพระยามหิธร"

ต้นตระกูลไกรฤกษ์ที่เดินทางจากจีนมาตั้งถิ่นฐานในสยามสมัยปลายอยุธยา มีชื่อตัวว่าอะไรไม่ทราบ รู้แต่ว่าแซ่หลิม คำว่า หลิม  เป็นสำเนียงจีนฮกเกี้ยน ท่านหลิมคงจะเข้ามาตัวคนเดียวและได้ภรรยาชาวอยุธยาแบบหนุ่มจีนโดยมาก ลูกชาย ๒ คนที่เกิดในอยุธยาจึงมีชื่อไทยว่า " เริก " และ " อิน" ท่านหลิมถึงแก่กรรมตอนไหนไม่ปรากฏ แต่ว่าลูกชายสองคนหนีรอดข้าศึกตอนเสียงกรุงศรีอยุธยาครั้งที่สองไปได้ จนถึงสมัยสถาปนากรุงธนบุรี นายเริกและนายอินก็ได้สมัครเข้ารับราชการกับพระเจ้าตากสินกันทั้งสองคน

ปรากฏในคำบอกเล่าสืบต่อกันมาว่า พระเจ้าตากสินผู้เป็นเชื้อจีนเช่นกัน ทรงรับนายเริกเข้าเป็นขุนท่องสื่ออักษร เสมียนตรากรมท่าซ้าย มีหน้าที่เป็นล่ามจีนในคณะทูตไทยที่เดินทางไปเจริญสัมพันธไมตรีที่ปักกิ่งเมื่อ พ.ศ. ๒๓๒๔ การเดินทางเรือสมัยนั้นกว่าจะโต้คลื่นไปขึ้นทางใต้ของจีน และขึ้นบกระหกระเหิน เดินทางไปถึงกรุงปักกิ่ง กินเวลายาวนานขนาดไปปีนี้ กลับเอาปีหน้า ดังนั้นกว่าคณะทูตจะกลับมา ก็สิ้นสุดรัชสมัยพระเจ้ากรุงธนบุรีไปแล้ว ขึ้นรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

การผลัดแผ่นดินใหม่ไม่ได้มีผลกระทบกระเทือนต่อขุนนางหนุ่มอย่างขุนท่องสื่อ เช่นเดียวกับขุนนางอื่นโดยมากที่ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องกับจลาจลสมัยปลายกรุงธนบุรี เมื่อผลัดแผ่นดินขุนนางเหล่านี้ก็ทำงานไปตามปกติ แยกย้ายกันสังกัดวังหน้าบ้างวังหลวงบ้าง

ขุนท่องสื่อเริกก็ได้เข้ารับราชการสังกัดวังหน้ากรมพระราชวังบวรมหาสุรสีหนาท แล้วเจริญก้าวหน้าขึ้นเป็นลำดับจนเป็นถึงเสนาบดีคลัง หนึ่งในจตุสดมภ์วังหน้า มีบรรดาศักดิ์เป็นพระยาไกรโกษา

บ้านเดิมของพระยาไกรโกษา อยู่ที่ตรอกพระยาไกรในสำเพ็ง ก่อนหน้านี้ ตอนปลายรัชสมัยธนบุรีท่านคงอยู่ในละแวกชุมชนคนจีน ฟากบางกอกตรงส่วนที่เป็นพระบรมมหาราชวังในปัจจุบัน เมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ ทรงย้ายเมืองหลวงข้ามแม่น้ำมาตั้งทางฝ่ายบางกอก ก็โปรดเกล้าฯให้ย้ายชุมชนคนจีนเดิมจากที่นั้นไปหาที่อยู่ใหม่จากคลองใต้วัดสามปลื้มจนถึงคลองเหนือวัดสำเพ็ง พระยาไกรโกษาจึงย้ายบ้านไปอยู่ที่สำเพ็ง จนถึงแก่อนิจกรรมในรัชกาลที่ ๒


ลำดับสกุลต่อจากนี้ เรียบเรียงใหม่จากสาแหรกในหนังสือ  "ลำดับตระกูลไกรฤกษ์" พิมพ์เป็นอนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ คุณหญิงประเสริฐศุภกิจ  (จำเริญ  ไกรฤกษ์)  ท.จ. ณ เมรุ  วัดเทพศิรินทราวาส  วันที่ ๖ มีนาคม  ๒๕๑๕  ติดตามอ่านได้จากกระทู้ของคุณหลวงเล็ก  

ลำดับสกุลไกรฤกษ์และสกุลอื่นที่เกี่ยวข้อง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 19:50

อยากทราบประวัติท่านอดีตเลขาธิการสำนักพระราชวังเเละประวัติสกุลไกรฤกษ์หน่อยครับ
จขกท.ต้องลงทุนหน่อยนะครับ แต่ได้อ่านจุใจอย่างแน่นอน เพราะลูกสะใภ้ภรรยาของบุตรชายคนใหญ่ได้เขียนเป็นหนังสือไว้น่าอ่านมาก เริ่มจากประวัติต้นตระกูลไกรฤกษ์คนดังๆ มาถึงคุณพูนเพิ่มตั้งแต่เกิดจนมรณกรรม คนเดียวปาเข้าไปร่วมครี่งเล่ม ให้ชื่อว่าแลวังหลังตำหนัก คนที่ชอบเรื่องจริงที่มีสีสันราวนวนิยายต้องชอบแน่นอน

ลองเข้าบ้านอากู๋ไปหาดูเองว่าจะซื้อได้ที่ไหน บอกมากเดี๋ยวจะเข้าข่ายโฆษณาไป  ผิดกติกาของที่นี่น่ะครับ
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 26 ส.ค. 15, 17:20

ไปเจอหนังสือเกี่ยวกับคุณพูนเพิ่ม ไกรฤกษ์  ที่พิพิธภัณฑ์ธนาคารไทย ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่(SCB Park) แยกรัชโยธิน

เปิดทุกวันทำการ (จันทร์-ศุกร์) เวลา 9.30-17.00 น.
ณ ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่
www.thaibankmuseum.or.th

ดิฉันพบหนังสือเล่มนี้บนชั้นวาง ซึ่งมีเพียงสี่ห้าชั้นเท่านั้น หาไม่ยากค่ะ เว้นแต่จะมีคนหยิบออกไปก่อน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.061 วินาที กับ 19 คำสั่ง