เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5582 เตรียมตัว เตรียมใจ ก้าวสู่ชีวิตหลังเกษียณอายุราชการอย่างมีความสุข
กุหลาบเหลือง
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


 เมื่อ 28 มี.ค. 15, 15:45

สวัสดีค่ะ กุหลาบเหลือง สมาชิกใหม่ล่าสุด เหลือเวลาอีกราว ๆ 1 ปีเศษจะเข้าสู่ชีวิตภายหลังเกษียณอายุราชการอย่างเต็มภาคภูมิ ต้องการทราบข้อคิดเห็น/ข้อเสนอแนะจากท่านผู้มีประสบการณ์ในการใช้ชีวิตในวัย 60 ปี และต่อ ๆ ไปอย่างสนุกและมีความสุข เพื่อเตรียมพร้อมรับมือทุกรูปแบบ ขอขอบพระคุณล่วงหน้า มา ณ โอกาสนี้ค่ะ   ยิ้มกว้างๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 28 มี.ค. 15, 19:06

คงมีท่านอื่นมาช่วยเสริมอีกหลายท่าน
ขอบอกข้อแรกข้อเดียว ก่อนนะคะ
อย่าอยู่เฉยๆปล่อยวันแต่ละวันให้ล่วงผ่านไปอย่างเปล่าประโยชน์ค่ะ   หาอะไรทำ ไม่ให้ว่าง  สมองและอารมณ์จะกระปรี้กระเปร่า
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 28 มี.ค. 15, 21:21

จะทำอะไร อันนี้ผมไม่ทราบนะครับ เพราะขึ้นอยู่กับตัวท่านเองที่แต่ก่อนแต่ไร เคยใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ด้วยวิธีไหน  ซึ่งผมว่ามันเป็นธรรมชาติที่ท่านจะมีโอกาสทำสิ่งที่ใจรักนั้นต่อ โดยไม่มีข้อจำกัดเรื่องเวลาที่งานหลักตามหน้าที่บังคับ

แต่ไม่ควรทำอะไร นี่ผมคงแนะนำได้  ที่สำคัญที่สุด คืออย่าเอาเงินบำเหน็จบำนาญไปลงทุนทำอะไรที่เราไม่มีประสบการณ์มาก่อนเป็นอันขาด  ไม่ให้เชื่อใครที่มาช้กชวนทั้งนั้น กอดเงินจำนวนที่เรามีให้แน่น ฝากบัญชีออมทรัพย์ธนาคารไว้ ดอกเบี้ยจะถูกก็ช่างมัน  ยังไงมันก็ปลอดภัยให้เป็นเครื่องอุ่นใจในวันที่เราจำเป็นต้องใช้ ในยามเจ็บยามชราอีกไม่นานปีข้างหน้า
ให้ระลึกไว้ด้วยความไม่ประมาทเสมอว่า ถึงวันนี้ เราจะไม่มีโอกาสแก้ตัวอีกแล้วหากทำผิดพลาดในเรื่องการเงิน

คนเรา ถ้าไม่มีปัญหาเรื่องเงินๆทองๆเสียอย่าง ทุกข์ก็หายไปเยอะแล้ว ส่วนความสุข ก็จะหาได้ไม่ยากจากงานอะไรก็ได้ ที่ทำด้วยใจรัก
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 มี.ค. 15, 19:43

เข้ามาขยายความเรื่องของเวลาที่ อ.เทาชมพู ได้กล่าวถึง ครับ

เรื่องของเวลาหลังเกษียณนั้น ผมเห็นว่าน่าจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 เรื่อง คือเรื่องของความรู้สึกกับเกี่ยวกับเวลา เรื่องของความรู้สึกสำนึกของตน (อดีต ปัจจุบัน และภายหน้า) และเรื่องของวิถีชีวิตที่จะต้องดำเนินต่อไป      เป็นช่วงเวลาของการตีแผ่และรู้จักตัวตนของเราเองจริงๆ    เป็นช่วงเวลาของการต่อกรกับคลื่นลูกที่สาม (คลื่นลูกแรก_การศึกษา  คลื่นลูกที่สอง_งาน  คลื่นลูกที่สาม_อะไรก็ไม่รู้) 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 31 มี.ค. 15, 21:08

เรื่องของความรู้สึกเกี่ยวกับเวลา

ในช่วงของชีวิตการทำงาน เราจะรู้สึกว่ามีความยุ่งวุ่นวาย แล้วคิดว่าน่าจะมีชีวิตเรียบๆเมื่อเกษียณแล้ว
   
ผมกลับมีความรู้สึกว่า ในช่วงก่อนเกษียณนั้น เรามีกรอบเวลาหรือขอบเขตเวลาหรือกำหนดเวลาสำหรับความวุ่นวาย ไม่ว่าจะต้องตื่นนอนเวลาใด ต้องออกจากบ้านเวลาใด ต้องใช้เส้นทางใด ต้องส่งลูกเข้าโรงเรียนให้ทันเวลา ตัวเองก็ต้องเข้างานให้ทันเวลา ฯลฯ  จะรู้สึกผ่อนคลายก็เมื่อกลับถึงบ้านเพื่อพักผ่อนแล้ว

เมื่อเกษียณแล้ว กรอบของเวลาหายไป  ความรู้สึกยุ่งวุ่นวายก็น่าจะหายไปด้วย แต่มันก็เป็นเพียงระยะสั้นๆเพียงระยะหนึ่ง ไม่นานนักก็จะรู้สึกว่าความยุ่งวุ่นวายยังคงมีอยู่ แต่ในอีกรูปแบบหนึ่ง    อยากจะรู้สึกว่าว่างก็ไม่ว่างจริง มีเรื่องให้ต้องทำในลักษณะที่ไม่มีเป็นกรอบเวลา อาทิ เลี้ยงหลาน ส่งหลาน หาหมอ เพื่อนนัด ฯลฯ     ซึ่งแท้จริงแล้ว มันก็มีกรอบเวลาเหมือนกัน เวลาที่ไม่ต้องไปแข่งขันกับคนหมู่มาก แต่ก็เป็นการใช้ชีวิตแข่งขันกับเรื่องที่ตนเองต้องทำให้บรรลุในช่วงก่อนหรือหลังช่วงเวลาเร่งด่วนและช่วงวันหยุดต่างๆ 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 18:27

เป็นอันว่า ย้ายจากกรอบเวลาหนึ่งที่มีแบบแผน เงื่อนไข กฎ กติกาที่ชัดเจนและที่กำหนดโดยผู้อื่น ไปอยู่ในอีกกรอบเวลาหนึ่งที่ไม่มีแบบแผน กฎ กฎิกาที่ชัดเจน แต่กำหนดด้วยตัวเอง แล้วก็อาจจะไม่ยอมปรับปรุงแก้ไขอีกด้วย

ก็ดูจะดีนะครับ แต่ก็อาจจะไม่ดีจริง เพราะกิจกรรมที่จะต้องทำหรือต้องดำเนินการในกรอบเวลาใหม่นั้นๆ มันต้องไปคาบกับกรอบเวลาเดิม ก็เลยอาจจะรู้สึกมีความวุ่นวายและน่าเบื่อ อาทิ ตอนก่อนเกษียณ ก็อาจแต่งกายชุดเดียวตั้งแต่ส่งลูก ทำงาน ติดต่องาน งานเลี้ยง งานศพ ฯลฯ แต่เมื่อเกษียณแล้ว จะไปทำธุระหรือทำกิจกรรมแต่ละเรื่อง ก็อาจจะต้องเปลี่ยนการแต่งการให้เหมาะควรแก่กิจกรรมที่จะต้องทำนั้นๆ (อาทิ อยู่บ้านใส่ขาสั้น ไปกินข้าวเที่ยงเปลี่ยนใส่ขายาว บางเรื่องสวมรองเท้าแตะ บางเรื่องสวมรองเท้าหุ้มส้น ฯลฯ)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 19:05

ในเรื่องของความรู้สึกและสำนึกตน 

ตรวจสอบ วัด ตัดสินได้ง่ายมากว่าเราเองเป็นคนอย่างไร ประเภทใด     ซึ่งตรวจสอบได้ไม่ยากนัก เพียงแต่กล้าที่จะเดินเข้าที่ทำงานเก่าเท่านั้น ดูการทักทาย การพูดคุย ก็รู้แล้วว่าอะไรเป็นอะไร อาจจะทำให้รู้เลยว่าอนาคตของเราต่อไปจะเป็นอย่างไร

ปฎิกริยาที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่หนีไม่พ้นจาก เรื่องของการความสามารถ การใช้อำนาจ ความโอบอ้อมอารี มนุษย์สัมพันธ์ ซึ่งโดยรวมๆก็คือในเรื่องของพรหมวิหารสี่

ผมเห็นว่า เวลาหนึ่งปีก่อนเกษียณนั้น เพียงพอที่จะปรับเรื่องต่างๆให้เป็น + เพิ่มได้มากขึ้น

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 เม.ย. 15, 17:59

ก้าวพ้นประตูงานออกมาแล้ว ก็ไม่ต้องคิดห่วงงานเดิมว่าจะเป็นอย่างไรต่อไป ไม่ต้องไปคิดไปห่วงกังวลว่าคนหลังเราเขาจะรู้เรื่องและเรื่องราวเบื้องลึกเบื้องหลังของงานที่เราเคยทำหรือไม่   หากกลัวว่าจะเป็นกังวลในเรื่องของการรู้ไม่เท่ากับเรา ก็ยังมีเวลาที่จะพูดคุยเล่าเรื่องราวหรือเขียนเป็นเอกสารบันทึกใส่รวมอยู่ในแฟ้มเอกสารมอบงานก็ได้  ซึ่งผมเห็นว่าการมอบงานด้วยเอกสารนี้เป็นเรื่องที่พึงต้องกระทำ ไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งใด ระดับใด จะรู้หรือไม่รู้ว่าผู้ใดจะมาดำรงตำแหน่งแทน หรือจะต้องเป็นพิธีหรือไม่มีพิธีหรือไม่ก็ตาม      หากเป็นห่วงมากๆก็ยังมีที่ให้เขียนให้ระบายอีกมากในโลกยุค IT นี้ ครับ   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 เม.ย. 15, 18:40

ก็คงมีเรื่องอีกมาก

เอาเป็นว่า เราทำอาชีพหนึ่ง เพื่อประโยชน์ตามวัตถุประสงค์หนึ่งมาหลายสิบปี   เมื่อเกษียณแล้วคิดจะไปทำอีกอาชีพหนึ่ง เพื่อประโยชน์และอีกวัตถุประสงค์หนึ่ง  ก็คงเป็นเรื่องที่ต้องคิดให้ดี ลองนึกถึงอาชีพเดิมว่า ทำมานานแล้วยังบรรลุได้เพียงสถานภาพที่ได้รับก่อนเกษียณ

เมื่อเกษียณไปแล้ว เริ่มงานใหม่ในอีกรูปแบบหนึ่งนับจากอายุที่ 60 ปี อีกกี่ปีจึงจะบรรลุผลที่ตั้งใจเอาไว้ ? แล้วก็นับจากวันที่เกษียณไปอีกไม่กี่ปีหรอกครับ ก็จะได้รับรู้และสัมผัสกับลักษณะของความสูงอายุที่เป็นจริงและที่อยู่ในอัตราเร่งเสียด้วย 
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.057 วินาที กับ 19 คำสั่ง