เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24
  พิมพ์  
อ่าน: 62214 คดีพระปรีชากลการ มโหฬารงานสร้างทางการเมือง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 315  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 06:55

ท่อนนี้ แสดงความรู้สึกที่แท้จริงของท่านทูตที่มีต่อนาง  ถ้าไม่เกรงว่าจะผิดคิว ก็น่าจะทรงเรียกอีไปแล้ว

ท่อนสุดท้ายนั้นสำคัญ นางคงไปทูลความจนท่านทูตเชื่อว่าได้ใช้เงินจนหมดไปแล้ว  แม้ว่าหนังสือโต้ตอบระหว่างสถานทูตไทยในกรุงปารีสกับกระทรวงการต่างเทศจะหาเจอเพียงเท่านั้น ทำให้เราไม่ทราบว่าเรื่องราวจะเป็นไปอย่างไร แต่แฟนนีนั้นกลับไปสยามแน่นอน รวมทั้งลูกๆของพระปรีชาด้วย ซึ่งต่อมาก็ทรงเมตตารับบุตรชายเข้าทำราชการ  ส่วนบุตรสาวก็ได้แต่งงานไปกับคนดีมีตระกูล

อยากรู้รายละเอียด ก็ให้ถามคุณหมอเพ็ญเองนะครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 316  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 07:11

     อนึ่งแฟนนีได้มาพูดขอให้ข้าพระพุทธเจ้าส่งตัวแลบุตรเข้าไปกรุงเทพ ฯ ว่าตัวและบุตรเปนไทย  ข้าพระพุทธเข้าต้องเปนธุระ

     ข้าพระพุทธเจ้าได้ตอบว่า บุตรสำอางทั้งสองนั้นข้าพระพุทธเจ้ารับส่งกรุงเทพ ฯ ได้ แต่ตัวแฟนนีกับบุตรของเขาแลอุ่นคนใช้ที่มาด้วยนั้น ข้าพระพุทธเจ้ารับส่งไม่ได้ ด้วยยังไม่ทราบแน่ว่าเกาเวนเมนต์อังกฤษจะว่าเขาเปนไทยหรือไม่ ถ้าแฟนนีได้หนังสือสำคัญมาว่า ตัวเธอมิใช่สับเยกต์อังกฤษแล้ว ข้าพระพุทธเจ้าจะส่งเปนคนไทย


บุตรสำอางหมายถึงบุตรกับคุณลม้ายภรรยาอีกคนหนึ่งคือ คุณตระกูล และ คุณอรุณ ซึ่งต่อมาคือ คุณหญิงตระกูล ภรรยาพระยาภูบาลบรรเทิง (ประยูร อมาตยกุล) สามารถพูดได้หลายภาษา  เมื่อกลับมาเมืองไทยได้ทำหน้าที่เป็นล่ามสตรีคนแรกของกรุงสยาม และ พระยาพิศาลสารเกษตร (อรุณ อมาตยกุล) ส่วนบุตรของแฟนนีชื่อ คุณจำรัส หรือ สเปนเซอร์ อายุสั้น เสียชีวิตเมื่ออายุ ๒๑ ปี
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 317  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 07:28

ถึงแม้ว่าท่านทูตจะมองคุณแฟนนีเป็นคนเหลวไหลอย่างไรก็ตาม แต่สิ่งหนึ่งซึ่งต้องชมเชยคือคุณแฟนนีเป็นคนมีเมตตาพาลูกเลี้ยงไปฝรั่งเศสและให้การศึกษาอย่างดี

คุณหญิงเสมอใจ จินดารักษ์ (ซ้นฟลาวเว่อร์ นักแปลสตรีคนแรก) ธิดาของคุณหญิงตระกูล เขียนไว้ในเรื่อง "ภายใต้ความรักของแม่แฟน" ตอนหนึ่งว่า

แม่แฟนได้พาลูกเลี้ยงทั้งสองไปอยู่ประเทศฝรั่งเศส ที่ วิลา เดส์ลอเรีย  ที่เมืองเบียร์ริตซ์ อันเป็นเมืองชายทะเลทางทิศใต้ของประเทศฝรั่งเศส เมื่อมาอยู่ฝรั่งเศส ก็ต้องเรียนภาษา จะส่งเข้าโรงเรียนก็ยังเล็กเกินกว่าโรงเรียนจะรับไว้  ภาษาฝรั่งเศสพื้นเมืองก็ยังรู้ไม่กี่คำ  มาดามแฟนนีจึงจ้าง Miss Gertrude Bindeloaa มาเป็น governess ให้ คุณตระกูล กับ คุณอรุณน้องชาย  ในที่นี้ใช้คำว่า ครูพี่เลี้ยง ในขณะเดียวกัน  มาดามก็สอนภาษาฝรั่งเศสให้ด้วย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 318  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 08:10

ช่วยกรุณาต่อให้จบเรื่องแม่แฟนนีด้วยครับ สุดท้ายนางได้ทำงานประเภทสังคมสงเคราะห์ด้วย
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 319  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 08:25

ท่อนนี้ แสดงความรู้สึกที่แท้จริงของท่านทูตที่มีต่อนาง  ถ้าไม่เกรงว่าจะผิดคิว ก็น่าจะทรงเรียกอีไปแล้ว

ท่อนสุดท้ายนั้นสำคัญ นางคงไปทูลความจนท่านทูตเชื่อว่าได้ใช้เงินจนหมดไปแล้ว  แม้ว่าหนังสือโต้ตอบระหว่างสถานทูตไทยในกรุงปารีสกับกระทรวงการต่างเทศจะหาเจอเพียงเท่านั้น ทำให้เราไม่ทราบว่าเรื่องราวจะเป็นไปอย่างไร แต่แฟนนีนั้นกลับไปสยามแน่นอน รวมทั้งลูกๆของพระปรีชาด้วย ซึ่งต่อมาก็ทรงเมตตารับบุตรชายเข้าทำราชการ  ส่วนบุตรสาวก็ได้แต่งงานไปกับคนดีมีตระกูล

อยากรู้รายละเอียด ก็ให้ถามคุณหมอเพ็ญเองนะครับ


'ฉิบหาย' ไม่ถือเป็นคำหยาบคายสำหรับสมัยนั้นหรือคะ ถึงใช้ในหนังสือกราบบังคมทูลได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 320  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 08:36

เป็นศัพท์ปกติครับ เช่นเดียวกับตัวเหี้ย โรคห่า ซึ่งสมัยหลังๆถือว่าเป็นคำหยาบ

หนังสือที่ท่านทูตส่งไป ถวายเสนาบดีกระทรวงต่างประเทศนะครับ ท่านเป็นพระองค์เจ้า ใช้คำว่ากราบทูล คำว่ากราบบังคมทูลใช้กับพระเจ้าอยู่หัวโดยเฉพาะ
แต่เรื่องอย่างนี้แน่นอนว่า กรมหมื่นเทววงศ์ต้องนำความขึ้นกราบบังคมทูลแน่นอน แต่อาจจะมิได้กระทำเป็นหนังสือ เพราะจะปรากฏหลักฐานเราอาจตามเจอที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติ คงกราบบังคมทูลด้วยวาจามากกว่า
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 321  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 08:46

ขออนุญาตต่อเรื่อง "อุ่นคนใช้ที่มาด้วย"

เธอได้จัดให้เด็กผู้หญิงไทยคนหนึ่ง ชื่อ อุ๊น ผู้ต่อมาได้เป็นมารดาบุญธรรมของ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร  มาเป็นเพื่อนเล่นพูดภาษาไทยกับคุณตระกูลและคุณอรุณ

คุณ อุ๊น ต่อมาคือ คุณหญิง มหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์  ภูมิรัคน์) อัครราชทูตสยามประจำพระราชสำนักเซนต์ปีเตอร์เบริก

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 322  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 08:52

ช่วยกรุณาต่อให้จบเรื่องแม่แฟนนีด้วยครับ สุดท้ายนางได้ทำงานประเภทสังคมสงเคราะห์ด้วย

มา: วิบูล วิจิตรวาทการ (น.พ.). สตรีสยามในอดีต. (พิมพ์ครั้งที่สี่). กรุงเทพฯ: บริษัทสร้างสรรค์บุ๊คส์ จำกัด. (2543).

           แฟนนี่เองนั้นเต็มไปด้วยความขมขื่นอาฆาตพยาบาท ถึงแม้เธอจะมีเลือดไทยอยู่ครึ่งหนึ่ง ก็ประกาศตัวตัดขาดจากกรุงสยาม เข้าพบข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในประเทศอังกฤษ แนะนำยุยงให้อังกฤษส่งกองทัพบกและเรือเข้าโจมตีประเทศไทย เมื่อรัฐบาลอังกฤษไม่แสดงความสนใจที่จะมาตีกรุงสยาม เพราะในขณะนั้นก็ได้ครอบครองแหลมมลายูไว้ในอำนาจของตนแล้ว แฟนนี่จึงเดินทางไปประเทศฝรั่งเศส พยายามหาโอกาสใกล้ชิดข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของฝรั่งเศส ยุยงให้ประเทศฝรั่งเศสรุกรานจากเขตญวนและเขมรเพื่อชิงประเทศไทยเป็นเมืองขึ้น เมื่อความพยายามนี้ไม่ประสบผลสำเร็จเพราะทางรัฐบาลฝรั่งเศสไม่คิดว่าเธอมีความสำคัญพอที่จะรับฟัง แฟนนี่จึงเดินทางกลับเข้าสู่ประเทศไทย
             
              ในหนังสือภาษาอังกฤษเล่มหนึ่ง แต่งโดย R.J. Minney ชื่อ Fanny and the Regent of Siam ได้เขียนเล่าชีวิตตอนปลายของแฟนนี่ไว้ว่า เธออยู่ในกรุงเทพฯ อย่างยากจน ลูกติด 2 คนของพระปรีชาฯ นั้นได้ส่งกลับคืนให้ครอบครัวตระกูลอมาตยกุลนำไปเลี้ยงดูต่อไป ส่วนลูกชายที่ชื่อสเปนเซอร์นั้นเป็นคนอายุสั้น ถึงแก่ความตายเมื่ออายุเพียง 21 ปี เธอจึงต้องใช้ชีวิตอยู่อย่างโดดเดี่ยวแต่ผู้เดียว เพราะเซอร์ ทอมัส นอกซ์ บิดาของเธอก็ได้เดินทางกลับไปประเทศอังกฤษและตายในเมืองนอก ส่วนแคโรไลน์น้องสาวนั้นแต่งงานกับ หลุยส์ เลียวโนเวนส์ ลูกของนางแอนนา และไปดำรงชีพที่เชียงใหม่ เอาคุณปรางมารดาไปอยู่ด้วย

              แฟนนี่ใช้ชีวิตในกรุงเทพฯ ทำงานสังคมช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบเคราะห์กรรมถูกผู้อื่นกลั่นแกล้งกดขี่ เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ไทยและอังกฤษ ชี้แจงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคนจนและคนรวย เจ้านายและชาวบ้านพลเมือง โดยมีจุดหมายให้ประชาชนชาวไทยตื่นตัวต้องการแก้ไขความไม่ยุติธรรมในระบบสังคมแห่งกรุงสยาม จนกระทั่งวันที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2468 เมื่ออายุได้ 69 ปี จึงตายอย่างเงียบๆ โดยไม่ผู้ใดสนใจเหลียวแล
             
            ชีวิตของแฟนนี่ นอกซ์ คิดดูแล้วก็น่าสงสาร เพราะเคราะห์กรรมทั้งหลายที่เกิดขึ้นต่อเธอนั้น มิได้มาจากความผิดของเธอเอง หากโชคชะตาโหดร้ายหลอกให้เธอเดินเส้นทางผิด ถึงแม้จะมีผู้สูงอำนาจวาสนาทั้งอังกฤษและไทยมารักใคร่ติดพัน เธอกลับเลือกแต่งงานกับพระปรีชากลการ ฝืนคำตักเตือนของบิดามารดา กล่าวไว้ในประวัติศาสตร์ว่า เซอร์ ทอมัส นอกซ์ โกรธถึงกับในวันแต่งงานของเธอนั้น ไม่ยอมเข้าร่วมพิธีด้วย การดื้อดึงปล่อยตนไปตามอารมณ์รักของชีวิตสาว ทำให้ต้องประสบเคราะห์กรรมใหญ่หลวง สามีถูกลงพระราชอาญาประหารชีวิต และตั้งแต่นั้นต่อไป ชีวิตของเธอก็ดับมืด ประทังอยู่ในความขมขื่นพยาบาท หวังร้ายต่อกรุงสยาม ซึ่งเป็นบ้านเกิดเมืองนอนของตน เมื่อไม่สามารถแก้แค้นแทนสามีได้ ก็ต้องอยู่แบบคนที่ไร้ความหมายจนกระทั่งสิ้นชีพ

           เรื่องของ แฟนนี นอกซ์ สาวสยามครึ่งอังกฤษครึ่งไทย ผู้มีชีวิตรุ่งโรจน์อยู่เพียงระยะเวลาอันสั้น จึงจบลงเพียงเท่านี้


ผมไม่เชื่อบทสรุปข้างบนนี้  Fanny and the Regent of Siam เป็นเพียงนิยายสารคดีอิงประวัติศาสตร์ ผู้เขียนมีอิสระที่จะแต่งเรื่องราวที่ตนพอใจเพื่อไม่ให้เรื่องจืดชืดได้ ดูเรื่อง Anna and The King เป็นตัวอย่าง

เรื่องที่นางแฟนนีจะไปยุยงรัฐบาลอังกฤษให้นำกองทัพบกและเรือเข้าโจมตีประเทศไทยนั้นคงเป็นไปไม่ได้ที่คนสำคัญใดๆจะให้เข้าพบ  พ่อของเธอเป็นกงสุลใหญ่แท้ๆไปรายงานที่กระทรวงการต่างประเทศแล้วยังถูกปลดออกจากตำแหน่งไปเลย และที่ว่าเดินทางไปประเทศฝรั่งเศส พยายามหาโอกาสใกล้ชิดข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของฝรั่งเศส ยุยงให้ประเทศฝรั่งเศสรุกรานจากเขตญวนและเขมรเพื่อชิงประเทศไทยเป็นเมืองขึ้นก็คงไม่ใช่อีก คงระแคะระคายเรื่องที่นางพยายามหาโอกาสใกล้ชิดข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ของสยามเพื่อหาทางที่จะได้เงินของพระปรีชามาใช้บ้างมากกว่า แล้วเอามาดัดแปลงปะติดปะต่อ

ยิ่งเรื่องที่กลับมาเมืองไทยแล้ว ทำงานสังคมช่วยเหลือชาวบ้านที่ประสบเคราะห์กรรมถูกผู้อื่นกลั่นแกล้งกดขี่ เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ไทยและอังกฤษ ชี้แจงให้เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคนจนและคนรวย เจ้านายและชาวบ้านพลเมือง โดยมีจุดหมายให้ประชาชนชาวไทยตื่นตัวต้องการแก้ไขความไม่ยุติธรรมในระบบสังคมแห่งกรุงสยาม ยิ่งเป็นเรื่องที่ผมเห็นว่า ฝรั่งโม้ขึ้นเองเพื่อให้นางสมกับเป็นนางเอกของเรื่อง หลักฐานใดๆในเรื่องนี้ฝ่ายไทยไม่เคยมีใครกล่าวถึงเลย
สังคมในกรุงเทพเป็นสังคมเล็กๆ ในระดับปัญญาชนที่เขียนเรื่องสังคมการเมือง พระเจ้าอยู่หัวจะทรงรู้จักทุกคน และมักจะทรง”วิพากษ์”กลับไปบ้างเป็นครั้งคราว ในสมัยรัชกาลหก พระองค์มีพระทัยกว้างมากในการรับฟังความเห็นที่ใครจะเขียนลงหนังสือพิมพ์ บางครั้งจะทรงลงมาตอบเสียเองด้วยโดยใช้พระนามแฝง นางแฟนนีเป็นคนเคยดัง ถ้ามีบทบาทเช่นที่หนังสือเขียนไว้ มีหรือจะหายต๋อมไปจากหน้าประวัติศาสตร์ไทยไปเฉยๆชนิดหาร่องรอยไม่เจอ

จนกว่าจะมีกูรูในเรือนไทยไปค้นบทความใน The Bangkok Times หรือ The Siam Observer หรือ The Siam Free Press สักเรื่องหนึ่งที่พอจะเข้าเค้าว่าจะเขียนโดยนางแฟนนี ผมจึงจะปลงใจเชื่อครับ

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 323  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 09:44

อ้าว แล้วกัน เวียนมาเข้าตัวผมซะอีกแล้ว
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 324  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 14:27

อ้าว แล้วกัน เวียนมาเข้าตัวผมซะอีกแล้ว



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 325  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 14:48

แหะ ๆ ไม่ได้ผล


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 326  เมื่อ 19 เม.ย. 15, 17:48

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 327  เมื่อ 20 เม.ย. 15, 05:50

ขออนุญาตต่อเรื่อง "อุ่นคนใช้ที่มาด้วย"

เธอได้จัดให้เด็กผู้หญิงไทยคนหนึ่ง ชื่อ อุ๊น ผู้ต่อมาได้เป็นมารดาบุญธรรมของ หม่อมศรีพรหมา กฤดากร  มาเป็นเพื่อนเล่นพูดภาษาไทยกับคุณตระกูลและคุณอรุณ

คุณ อุ๊น ต่อมาคือ คุณหญิง มหิบาลบริรักษ์ (สวัสดิ์  ภูมิรัคน์) อัครราชทูตสยามประจำพระราชสำนักเซนต์ปีเตอร์เบริก

คุณ Wandee ได้เขียนต่อจากข้อความนั้นไว้อย่างนี้ครับ

ในปี ๒๔๒๙   อาของคุณตระกูลและคุณอรุณ  ได้ไปกราบทูลเสนาบดีต่างประเทศ  พระยศในขณะนั้น พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ  ผู้เสด็จไปงาน Gold Jubilee  ของ ควีนวิคตอเรียให้ส่งหลานทั้งสองกลับประเทศไทย คุณตระกูลและคุณอรุณ จึงกลับมาเมืองไทยในเดือนกันยายน ๒๔๓๐
เมื่อกลับถึงเมืองไทย  ญาติผู้ใหญ่จัดการให้คุณตระกูลเข้าทูลเกล้าฯถวายดอกไม้ธูปเทียนแด่สมเด็จพระนางเจ้าสว่างวัฒนา  พระบรมราชเทวี ทำหน้าที่ล่ามพาหมอฝรั่งไปตรวจเจ้านายฝ่ายใน  ตลอดจนบรรดาเจ้าจอมในรัชกาลที่ ๕  จนเป็นที่สนิทสนมคุ้นเคยกับทุกท่านโดยทั่วหน้า

คุณตระกูลทำราชการฝ่ายในอยู่ระหว่าง ๒๔๓๐ - ๒๔๓๓  ก็กราบลามาแต่งงานกับ คุณประยูร  อมาตยกุล  บุตรเจ้าคุณเพชรพิไชยและคุณหญิงถนอม ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของเธอเอง
คุณวลี  ธิดาคนโต  แต่งงานไปกับพระยามหาเทพ(เชาวน์  อมาตยกุล)
คุณ เสมอ  แต่งงานกับ พระยาจินดารักษ์(จำลอง  สวัสดิ์ชูโต)
คุณหญิงภูบาลบรรเทิง  อายุยืนยาวมาจนถึง ย่าง ๘๑   ถึงแก่กรรมใน พ.ศ. ๒๔๙๕

คุณอรุณ  รับราชการและได้เป็นพระยาพิศาลสารเกษตร
ถึงแก่กรรมในปี ๒๔๘๓

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 328  เมื่อ 20 เม.ย. 15, 06:32

Wandee

อ้างถึง
ภายใต้ความรักของแม่แฟน

เขียนโดยคุณหญิงเสมอใจ จินดารักษ์(หรือ ซ้นฟลาวเว่อร์ นักแปลสตรีคนแรก)ธิดาของ คุณตระกูล อมาตยกุล(ต่อมาเป็นคุณหญิงภูบาลบรรเทิง)
เล่าโดย ลาวัณย์ โชตามระในหนังสือรัดเกล้า แพร่พิทยา พิมพ์  ๒๕๐๖  ราคา ๓๐ บาท   และ
แก้วชิงดวง  รวมสารคดีเรื่องเยี่ยม จัดพิมพ์โดย แพร่พิทยา ไม่ได้แจ้งปีพิมพ์ ราคา  ๓๗ บาท


คุณลาวัณย์ ไม่ได้เล่าว่าเธอพบข้อเขียนของคุณหญิงเสมอใจจากหนังสือเล่มใด แต่เธอเคยได้ไปสนทนากับคุณหญิงภูบาลบรรเทิงที่บ้านพัก มากกว่าหนึ่งครั้ง

ขออนุญาตเล่าเรื่องของคุณตระกูล สำหรับท่านที่สนใจ ถ้ามีโอกาสก็จะคุยกันในเรื่อง ซันฟลาวเว่อร์ นักแปลต่อไป เพราะเก็บงานของท่านไว้ได้ครบแล้ว
แม่แฟน ได้พาลูกเลี้ยงทั้งสองไปอยู่ประเทศฝรั่งเศส ที่ วิลลาเดส์ลอเรีย ที่เมืองเบียร์ริตซ์  อันเป็นเมืองชายทะเลทางทิศใต้ของประเทศฝรั่งเศส
เมื่อมาอยู่ฝรั่งเศสก็ต้องเรียนภาษา จะส่งเข้าโรงเรียนก็ยังเล็กเกินกว่าโรงเรียนจะรับไว้ ภาษาฝรั่งเศสพื้นเมืองก็ยังรู้ไม่กี่คำ มาดามแฟนนีจึงจ้าง Miss Gertrude Bindeloaa  มาเป็น governess ในที่นี้ใช้คำว่าครูพี่เลี้ยง ให้คุณตระกูล กับ คุณอรุณน้องชาย    
ในขณะเดียวกัน  มาดามก็สอนภาษาฝรั่งเศสให้ด้วย

ไม่เคยเห็นเอกสารที่ยืนยันว่า ลูกสาวทั้งสองคนของน๊อกซ์นั้น ใครได้ส่งไปเรียนหนังสือที่อังกฤษกันแน่ มีแต่เล่าต่อกันมาว่า เมื่อแฟนนีกลับมาเมืองไทย มีงานต้อนรับใหญ่โต  การเล่าต่อกันมานี้เป็นเรื่องน่ากลัวมาก เพราะสามารถทำลายความมั่นใจของนักอ่านได้ง่ายๆ
แต่เท่าที่เห็นจดหมายที่น้องสาวแฟนนีเขียนถึงแม่ผัว ก็ดูงดงามและใช้ภาษาอังกฤษระดับดีมาก

มาดามยังจ้างครูมาสอนภาษาลาตินให้เป็นเวลาถึงสามปี
เมื่อมาดามจะกลับมาเยี่ยมเมืองไทย จึงนำคุณตระกูลไปเช้าโรงเรียนประจำที่กรุงปารีส
NAVARAT.C
อ้างถึง
อ่านแล้วรู้สึกว่า ที่เขียนๆไปนั้นผมจะประเมินค่าของคนต่ำไปแล้ว เพราะการอ่านเรื่องราวแต่ฝ่ายเดียวจากฝ่ายที่บันทึกไว้โดยมีอติต่อแม่แฟน (ตอนแรกงงกับศัพท์นี้อยู่ครู่นึง นึกว่าคือแม่ย่า หรือแม่ยายของใครสักคนนึง อ้าว..กลายเป็นแม่แฟนนีไป)

แสดงว่า การศึกษาอบรมที่เธอได้รับแต่เมื่อเยาว์วัยนั้นเป็นการศึกษาชั้นเลิศที่ให้เธอทั้งความรู้และคุณธรรม สมกับที่เติบโตอยู่ในรั้วในวังหน้า

เธอได้เลี้ยงดูบุตรของสามีเก่าเป็นอย่างดี ที่สำคัญ ยังทำให้เขาเหล่านั้นกลับมากู้ชื่อเสียงวงศ์ตระกูลในบ้านเกิดเมืองนอนของตนได้อย่างมีศักดฺิ์ศรี มิกลายเป็นโรบินฮู้ดร่อนเร่เป็นพลเมืองชั้นสองอยู่ในยุโรปไปเลย

ผมต้องขอคารวะเธอ และขอบคุณคุณวันดีสำหรับข้อมูลอันมีค่ายิ่งนี้ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 329  เมื่อ 20 เม.ย. 15, 08:33

สรุปแล้ว รัฐบาลสยามได้หมดเงินไปกับคดีพระปรีชาเป็นจำนวนมาก จ่ายในเรื่องกิจการทำเหมืองทองก็เป็นเงินถึง ๑๕,๕๔๔ ชั่งเศษเข้าไปแล้ว ค่าใช้จ่ายในการจัดส่งคณะทูตออกไปอังกฤษก็เป็นเงินไม่ต่ำกว่า ๘,๓๔๔ ปอนด์ บวกกับเงินไทยอีก ๕๐๐ ชั่ง แต่การริบราชบาทว์พระปรีชาเพื่อชดใช้เงินหลวงที่ฉ้อโกงไปนั้น นอกจากอาคารซึ่งต่อมาดัดแปลงไปใช้เป็นไปรษณียาคารแล้ว ก็ไม่ปรากฏสิ่งมีค่าใดพอที่จะเป็นเนื้อเป็นหนัง นำออกขายทอดตลาดก็ได้เงินคืนมาเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับที่รัฐเสียหาย

ส่วนที่เป็นกอบเป็นกำก็มีการยักย้ายถ่ายเทไปฝากไว้ตามสถานที่อื่นๆ ตั้งแต่ก่อนจะมีการตัดสินหมดแล้ว โดยเฉพาะแฟนนีได้ขนเงินทองของพระปรีชากลการติดตัวหนีออกไปอังกฤษเป็นจำนวนมาก มิฉะนั้นนางคงไม่กล้าไปอยู่วิลลา เดอ ลอเรีย ซึ่งอยู่ทางตอนใต้ของประเทศฝรั่งเศส ผู้ดีมีเงินของยุโรปเท่านั้นที่จะทำเช่นนั้นได้
และนางยังสามารถจ้าง governess มาเป็นครูพี่เลี้ยงเด็กๆ นี่คงรวม butler ที่เป็นหัวหน้าคนรับใช้ คอยดูแลเจ้านายทุกอิริยาบถ และกำกับพวก maid คนขับรถตลอดจนคนสวน อ้อ แล้วยังต้องมี chef และลูกมือที่คอยปรุงอาหารฝรั่งเศสบำเรอนายผู้หญิงและเด็กๆด้วย

ไม่ทราบว่านางได้ไปเที่ยวมอนาโคที่อยู่ไม่ไกลจากที่นั่นหรือเปล่า  เงินทองจึงหมดไปอย่างรวดเร็วเกินควรในสถานคาสิโนกระมัง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 20 21 [22] 23 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 20 คำสั่ง