เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 24
  พิมพ์  
อ่าน: 62462 คดีพระปรีชากลการ มโหฬารงานสร้างทางการเมือง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 270  เมื่อ 15 เม.ย. 15, 10:17

But on settling the account, I found that Mssrs. Malherbe, Jullien & Co, instead of paying Mr. Read with the balance of interest of 24, 000 dollars, had sold my late husband's share at their Rice Mill (see No. 1) and had bought it themselves without accounting for the interests during the two years. With the money for this share they paid Mr, Read and sent me the balance of £500. I never found out what this share was sold for although it was a paper-note share worth 100 catties.

แต่เมื่อชำระบัญชีกัน ดิฉันพบว่า บริษัทมาแลบยุเลียนแอนด์โก แทนที่จะจ่ายเงินดอกเบี้ยคงค้างของเงิน ๒๔๐๐๐ ดอลลาร์คืนนายรีด กลับขายหุ้นสามัญของโรงสี(ในข้อ ๑)ของสามีผู้ล่วงลับไปแล้วของดิฉัน โดยบริษัทเป็นซื้อหุ้นนั้นไปเอง(ไม่มี s แปลว่าหุ้นเดียวนะครับ) โดยไม่มีรายการรับเงินดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นระหว่างสองปีนั้นในบัญชี  ด้วยเงินจาก(การซ้อขาย)หุ้นนี้ บริษัทได้จ่ายให้นายรีด และคืนเงินที่เหลือค้างอยู่ ๕๐๐ ปอนด์ให้ดิฉัน ดิฉันไม่เคยรู้เห็นว่าหุ้นนี้ถูกขายแม้มันจะเป็นใบหุ้นที่มีมูลค่า ๑๐๐ชั่ง

อึมม์ อ่านไปแปลไปคิดไป  ถึงตรงนี้ผมตีความว่า เมื่อนางร้อนเงินอยากได้สักก้อนใหญ่ๆเพื่อใช้ผ่านทางในยุโรปนั้น ได้ไปขอให้นายซิกก์ช่วย นายซิกซ์ก็จัดให้ โดยให้นายรีด(น่าจะอยู่ในอังกฤษ)จ่ายเงินให้(เพื่อความปลอดภัย เพราะถ้าจ่ายกันเมืองไทยอาจจับพลัดจับผลูถูกริบ) ส่วนที่มาของเงินจำนวนนี้นั้น นายซิกก์ได้ช่วยขายหุ้น(สามัญ)ให้ โดยประกาศขาย แต่เมื่อไม่มีผู้สนใจเพราะสถานะของบริษัทอาจจะยังไม่ดีไม่มีปันผล นายซิกก์จึงให้บริษัทรับซื้อหุ้นนั้นไว้เอง(ซึ่งทำได้ หากจดบริคณห์สนธิไว้อย่างนั้น) ได้เงินมาเท่าไหร่ก็ใช้คืนนายรีดไป ที่เหลือ ๕๐๐ ปอนด์ก็คืนนางแฟนนีที่นั่น
ที่นางอ้าง คือนางไม่เคยได้รู้ได้เห็นว่าเป็นหุ้นสามัญต่างหากที่ถูกขายไปเพื่อเอาเงินมาให้นาง ไม่ใช่เงินดอกเบี้ยค้างจ่ายจากหุ้นกู้มูลค่า ๒๔๐๐๐ ดอลลาร์ดังที่นางเข้าใจก่อนหน้านั้น

ผมคิดว่าโรงสีคงไม่ค่อยมีกำไร จึงไม่มีเงินพอจ่ายดอกเบี้ยหุ้นกู้  แม้ขายหุ้น(พระปรีชา)ให้ใครก็ไม่มีคนอยากได้ อาจะเพราะกำลังมีปัญหากับรัฐบาลสยามด้วย แต่นายซิกก์ก็ยังอุตส่าห์หาทางออกให้โดยเจียดเงินหมุนเวียนของบริษัทที่ต้องมีไว้ซื้อข้าวเปลือก มารับซื้อหุ้นนี้ไว้

ไปๆมาๆ นายซิกก์ทำท่าจะเปลี่ยนบทจากผู้ร้ายในหมู่ผู้ร้าย มากลายเป็นพระเอกในหมู่ผู้ร้ายซะแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 271  เมื่อ 15 เม.ย. 15, 11:41

กำลังมัน แต่ผมต้องออกไปเล่นสงกรานต์กับเขาซะหน่อยแล้ว เย็นๆค่ำๆคงกลับมาต่อได้ครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 272  เมื่อ 15 เม.ย. 15, 11:51

ระหว่างรอคำสั่งให้ไปขึ้นรถเพื่อออกเดินทาง ยังต่อได้อีกสักหนึ่งคคห. ยิงฟันยิ้ม

In May 1879, Mr. Sigg  asked me to give him the receipt (see No 3) for money lent by Phra Preecha as working capital of Patriew, which receipt Phra Preecha had given me. When I handed over the receipt of $14, 400 dollars, Mr. Sigg took it as his loan to Patriew Mill and gave me a receipt in my name from the firm of Malherbe, Jullien & Co as having received the said sum from me.

ในเดือนพฤษภาคม ๒๔๒๒ นายซิกก์ขอให้ดิฉันมอบใบหุ้น(หุ้นกู้)ที่พระปรีชาให้กู้เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนของบริษัทโรงสีแปดริ้ว ซึ่งใบหุ้นนั้นพระปรีชามอบให้เป็นของดิฉัน  เมื่อดิฉันส่งมอบใบหุ้นกู้จำนวนเงิน ๑๔๔๐๐ดอลล่าร์ที่ว่า นายซิกก์ก็เปลี่ยนชื่อในใบหุ้นกู้โรงสีแปดริ้วเป็นชื่อของเขา และออกใบหุ้นกู้ในนามของดิฉันให้ใหม่โดยบริษัทมาแลบยุเลี่ยน ระบุเงินจำนวนดังกล่าว

นายซิกก์ตอนนั้นยังทำงานในหน้าที่ผู้ช่วยผู้จัดการอยู่ในบริษัทมาแลบยุเลี่ยน ปีต่อมาหลังจากนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้างก็ไม่ทราบ คงทะเลาะกันนัวเนียทางจดหมายเพราะดอกเบี้ยคงยังไม่ได้รับ  อาจเป็นเพราะบริษัทไม่มีปัญญาจ่ายเช่นเคย
 
นี่ก็เดาได้ไม่ยาก หลังจบคดีพระปรีชาแล้วสมเด็จเจ้าพระยาคงไล่บี้บริษัทนี้ แค่ให้รัฐบาลสยามเลิกทำมาค้าขายด้วยก็แย่แล้ว ฐานะการเงินจึงยอบแยบพัวพันกันไปหมด สุดท้ายบริษัทต้องยอมขายโรงสีข้าวให้รัฐบาล ในปี ๒๔๒๗ ตัวนายมาแลบและนายยุเลียนก็ยอมขายหุ้นของบริษัทให้นายยุคเกอร์กับนายซิกก์ ลูกจ้างทั้งสองคนที่เป็นผู้บริหาร พอถึง ๒๔๒๘ นายยุคเกอร์ก็เป็นอหิวาต์ตายไปเสียอีก นายซิกก์ได้ฉายเดี่ยว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 273  เมื่อ 15 เม.ย. 15, 11:59

ผมต้องออกไปเล่นสงกรานต์กับเขาซะหน่อยแล้ว เย็นๆค่ำๆคงกลับมาต่อได้ครับ

ฝากคุณนวรัตนเล่นสงกรานต์เผื่อด้วย  วันสงกรานต์ของไทย = วันผู้สูงอายุ + วันครอบครัว ลูกหลานคงมากันเต็มบ้าน ปู่ย่าตายายยิ้มแย้มกันแก้มปริ

สุขสันต์วันสงกรานต์  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 274  เมื่อ 15 เม.ย. 15, 14:11

ขอรดน้ำดำหัวท่านอาจารย์ใหญ่กว่าด้วยใจในวาระปีใหม่ไทยด้วยคนนะครับ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 275  เมื่อ 15 เม.ย. 15, 16:58

สำหรับคุณเพ็ญชมพู คุณประกอบ และทุกๆท่านในเรือนไทย ตลอดจนแขกเรือนที่ผ่านมาเยือนครับ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 276  เมื่อ 15 เม.ย. 15, 18:05

สาธุ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 277  เมื่อ 16 เม.ย. 15, 06:52

In June 1881, Mr. Sigg proposed to Mr. Gould, my attorney, that I should give up this receipt of $14, 400 to him in return for a receipt in my own name for the sum of $24, 000 (see No. 2) which the firm of Malherbe, Jullien & Co. then, held in the name of Phra Preecha. Seeing that the sum of 24, 000 dollars was more than $14, 400, Mr. Gould accepted the transaction and gave up the $14, 400 for the receipt in my own name of $24, 000 which I now have in Europe and which I am willing to give to the Siamese Government as their legal property confiscated from Phra Preecha.

มิถุนายน ๒๔๒๔ นายซิกก์ได้เสนอผ่านนายกูลด์ ทนายของดิฉันว่าดิฉันควรจะมอบใบหุ้นกู้จำนวนเงิน ๑๔๔๐๐ดอลล่าร์ในชื่อของดิฉันนั้นให้แก่เขา เพื่อแลกเปลี่ยนกับการที่เขาจะออกใบหุ้นกู้ให้ใหม่ในนามของดิฉัน แทนใบหุ้นกู้ ๒๔๐๐๐ ดอลล่าของมาแลบยุเลียนแอนด์โก(ตามข้อ ๒ )ที่เดิมออกให้พระปรีชา เมื่อเห็นว่าเงิน๒๔๐๐๐ ดอลล่ามีค่ามากกว่า๑๔๔๐๐ดอลล่าร์ นายกูลด์ก็ยอมรับการโอนนั้น และคืนใบหุ้นกู้จำนวนเงิน ๑๔๔๐๐ ดอลล่าร์แลกกับใบหุ้นกู้ ๒๔๐๐๐ ดอลล่าซึ่งขณะนี้อยู่กับดิฉันในยุโรป ซึ่งดิฉันยินยอมที่จะมอบให้รัฐบาลสยามในฐานะที่เป็นทรัพย์สินที่พึงถูกริบตามกฏหมายจากพระปรีชา


เมื่อวานกลับมาถึงบ้าน นั่งแปลท่อนนี้เสร็จก็มึนๆเลยเข้านอนดีกว่า อะไรกันเพียงไม่กี่ชั่วโมงเท่านั้น นายซิกก์ซึ่งพอชมว่าเป็นพระเอกในหมู่ผู้ร้ายเข้าหน่อย ก็กลับเนื้อกลับตัวไปเป็นผู้ร้ายในหมู่ผู้ร้ายตามเดิมที่ผมเคยแสดงความเห็นไปก่อนหน้าโน้นเสียแล้ว

ถ้ามันไม่มีเหตุผลพิเศษใดอื่นที่นางไม่ได้เขียนบอกไว้ ผมดูว่าครั้งนี้นายซิกก์ไม่มีเหตุผลทางมนุษยธรรมใดๆเลยที่จะขอเปลี่ยนใบหุ้นกู้สองใบมาเป็นใบเดียว โดยจำนวนเงินรวมกันแล้วหายไปตั้งหนึ่งในสาม
 
นี่คงไปตั้งแง่เขาว่า ใบหุ้นที่ออกในนามพระปรีชาถ้าถูกตรวจบัญชีเจอ รัฐบาลคงริบเข้าหลวง แต่หากจะเปลี่ยนก็คงต้องยอมเสียอะไรให้เขาบ้างนะ เพราะเขาต้องไปแบ่งให้นายคนนั้นคนนี้อีกหลายคน  ส่วนทนายกูลด์ก็อาจจะบอกว่าให้พ้มด้วยฮิ๊ พ้มจะได้ไปเกลี้ยกล่อมให้อียอมง่ายๆไง ผลจึงออกมาเป็นอย่างนั้น
 
นายกูลด์ได้ใบหุ้นกู้ใบใหม่มาแล้วก็ส่งให้นางไปกอดเล่นเฉยๆ เพราะไม่มีดอกเบี้ยส่งมาให้ ขายคืนก็ไม่ยอมซื้อคืน ทะเลาะไปทะเลาะมาเปลืองแสตมป์ นางเลยเอาไปให้รัฐบาลสยามเอาหน้าเสียดีกว่า เผลอๆอาจจะได้แบ่งเงินไปยาไส้มั่ง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 278  เมื่อ 16 เม.ย. 15, 07:13

To the best of my knowledge, the share in the Patriew Mill (see No. 4) was given to Malherbe, Jullien & Co by Mr. Gould. I do not know what has become of the receipt (see No. 6) which I gave to Mr. Sigg, and which I have asked him to collect for me. The receipt from Chin Toh (No. 7) was given by me to Mr. Gould, and as far as I know he has it. As for the box containing the mortgages (No. 8 ), I left it in Bangkok with my sister, Mrs. Leonowens, and she has it now.

ความจริงเท่าที่ดิฉันทราบนั้น หุ้นสามัญของโรงสีแปดริ้ว(ดูหมายเลข ๔) นายกูลด์ได้โอนให้มาแลบยุเลี่ยนแอนด์โกไปแล้ว และดิฉันไม่ทราบว่านายซิกก์ได้ทำอย่างไรกับใบรับของ(ที่พระปรีชาส่งมอบข้าวให้โรงสีแปดริ้ว ตามหมายเลข ๖)ที่ดิฉันมอบให้นายซิกก์ช่วยไปเก็บเงินให้ดิฉันด้วย ส่วนใบรับเงินของจีนโต(หมายเลข ๗)ดิฉันมอบให้นายกูลด์ไว้ และเท่าที่ทราบยังอยู่กับเขาจนบัดนี้  สำหรับหีบที่เก็บโฉนดที่ดินรับจำนองไว้ทั้งหลาย(ตามหมายเลข๘) ดิฉันทิ้งไว้ที่กรุงเทพโดยฝากกับนางลีโอโนแวนส์น้องสาว ซึ่งเธอยังเก็บไว้

ดูเอาเถิดครับ สมบัติโกงมาของสามีเหมือนปลาย่างร้อนๆ เอาฝากไว้กับแมวเจ้าเล่ห์ทั้งนั้น พอปลาเย็นลงมันก็เขมือบหมด ไปขอแล้วจะได้อะไร้

เท่าที่ผมอ่านเรื่องราวทางประวัติศาสตร์มา คนต่างด้าวที่เดินทางมาสยามในยุคโน้น ส่วนใหญ่(ไม่ใช่ทั้งหมดนะครับ)จะเป็นนักเผชิญโชค คือทำมาหากินอยู่ในประเทศของตนไม่รุ่งแล้ว มาตายเอาดาบหน้าดีกว่า จับพลัดจับผลูอาจมีเงินมีทองกลับไปสบายที่บ้าน  ดังนั้น คนพวกนี้จึงเห็นแก่เงินมากกว่ากฏหมายและศีลธรรม  โกงได้ก็โกง เลี่ยงได้ก็เลี่ยง เอาเปรียบได้ก็เอาเปรียบ แล้วมักจะรวยกว่าคนพื้นเมืองที่พวกเขาดูถูกว่าโง่กว่าเขา  
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 279  เมื่อ 16 เม.ย. 15, 07:29

In 1880, the Siamese Government asked Mssrs. Malherbe, Jullien & Co if they had any property of Phra Preecha for which they denied all knowledge and instead put in claims as creditors for merchandise supplied to Phra Preecha, and I believe the Siamese Government has paid the firm accordingly.

To my knowledge, there was a large quantity of rose-wood belonging to my late husband in the possession of Mssrs. Malherbe, Jullien & Co in their lower store. I do not know where all this went to. —

Fanny Preecha Koulakarn.
Paris 12th June 1884.

ในปี ๒๔๒๓ รัฐบาลสยามได้สอบถามไปยังผู้บริหารของมาแลบยุเลี่ยนแอนด์โกว่าได้ถือทรัพย์สินของพระปรีชาไว้บ้างหรือไม่ ซึ่งพวกเขาปฏิเสธไม่ทราบเรื่องอะไรทั้งสิ้น แล้วกลับเรียกร้องว่าเป็นเจ้าหนี้ค้างจ่ายสำหรับสินค้าหลายรายการที่ส่งมอบให้พระปรีชาไปแล้ว ซึ่งดิฉันเชื่อว่ารัฐบาลสยามได้ชำระเงินให้ไปตามนั้น
เท่าที่ทราบ ยังมีไม้ชิงชันอีกจำนวนมหาศาลซึ่งเป็นของสามีผู้ล่วงลับของดิฉัน อยู่ในความครอบครองของมาแลบยุเลี่ยนแอนด์โกในคลังสินค้าล่าง ดิฉันไม่ทราบว่ามันถูกได้ถูกนำไปที่ใดต่อ

แฟนนี ปรีชากลการ
ปารีส ๑๒ มิถุนายน ๒๔๒๗


ครับ เพิ่งมายอมอ้าปากบอกในตอนนั้น  แล้วจะไปเหลืออะไร

อย่างที่ผมว่า อย่างไรๆก็มองไม่เห็นว่าการกระทำของนางแฟนนีครั้งนี้จะทำให้พระปรีชาดูเป็นคนดีขึ้นจากที่โดนประหารในข้อหาฉ้อโกงหลวง  และนางก็ไม่ได้เรียกร้องความเป็นธรรมอะไรเลยนอกจากจะพยายามรักษาผลประโยชน์ของตนในสมบัติโจร
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 280  เมื่อ 17 เม.ย. 15, 06:54

พระองค์เจ้าปฤศฎางค์ ครั้นได้รับทราบเรื่องราวที่นางแฟนนีนำมาทูลขอให้ช่วยเหลือ ความที่ทรงทราบเรื่องเบื้องต้นดี และทรงเห็นเป็นโอกาสที่รัฐบาลสยามจะได้ทรัพย์สินที่ถูกพระปรีชาฉ้อไปกลับคืนมาบ้าง จึงทรงเอาเป็นธุระ มีหนังสือไปยังนายมาเลบเพื่อสอบถามในเบื้องต้น ซึ่งนายมาแลบก็ตอบบ่ายเบี่ยงว่าไอไม่ทราบเรื่องอะไรนี้เลย ผู้บริหารบริษัทซึ่งเป็นลูกจ้างของไอ เป็นผู้เป็นคนจัดการเรื่องทั้งหมด แล้วบัดนี้กลายเป็นเจ้าของบริษัท เปลี่ยนชื่อเป็นยุคเกอร์ ซิกก์ แอนโกไปแล้ว เรื่องที่ยัวไฮเนสถามนั้น นายซิกก์รู้ดี ต้องทรงไปถามหมอนั่นเอาเอง

พระองค์เจ้าปฤษฎางค์คงมีหนังสือไปถามนายซิกก์  ซึ่งขณะนั้นคงมาเรื่องธุรกิจหรือมาเยี่ยมบ้านในฝรั่งเศส  นายซิกก์ก็ยอมรับเรื่องใบหุ้นกู้ แต่ไม่ยอมที่จะให้มีการชำระเงินคืนกันที่ปารีส  ขอให้เป็นที่กรุงเทพ ทรงมีหนังสือไปอีก คงแย้งว่าหนทางไกลตัวนางแฟนนีคงลำบากที่จะไป ลูกเต้าก็อยู่ที่นี่  นายซิกก์ก็ยืนยันจะให้จบกันที่กรุงเทพ เพราะนายยุคเกอร์ก็อยู่ที่นั่นด้วย

จึงทรงรายงานเรื่องนี้ไปกราบทูลกรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ  เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศพระองค์ใหม่ ต่อจากท่านเจ้าคุณกรมท่า


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 281  เมื่อ 17 เม.ย. 15, 07:17

จึงทรงรายงานเรื่องนี้ไปกราบทูลกรมหมื่นเทววงศ์วโรปการ  เสนาบดีกระทรวงต่างประเทศ
และทรงได้รับหนังสือตอบกลับ แจ้งว่าไม่ทรงมีพระประสงค์ที่จะให้คู่กรณีย์ไปชำระความกันที่กรุงเทพ ขอให้จบเรื่องเสียที่ปารีส

ส่วนนายซิกก์ได้เดินทางมาเฝ้าท่านทูตก่อนที่จะทรงได้รับหนังสือตอบดังกล่าว  น่าจะทรงตรัสว่าที่ทรงมาเกี่ยวข้องเรื่องนี้ ก็เพราะสงสารเด็กๆด้วย ถ้านางแฟนนีหมดเงิน ชีวิตจะลำบาก  ถ้าเรื่องนี้สำเร็จ(นายซิกก์ยอมใช้หนี้) ก็อาจจะทรงมีกระกรุณาพระราชทานเงินให้บ้าง  นายซิกก์เลยเสียงอ่อยๆ ว่าเป็นใครก็ต้องคิดเช่นนั้นเหมือนกัน อะไรประมาณนี้

แต่เมือได้ทรงทราบพระราชประสงค์ข้างต้นแล้ว  จะนำไปปรึกษากันดูว่า ถ้าจะให้จบกันที่ปารีสแล้วจะต้องทำอย่างไร


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 282  เมื่อ 17 เม.ย. 15, 07:28

ตรงนี้ผมมีสะดุดตาสะดุดใจเล็กๆในความว่า (ราย ๒๔๐๐๐ เหรียญ)ใครมีใบรับให้เขาๆจะให้แก่ผู้นั้น

ขณะนั้นใบรับ(หรือใบหุ้นกู้)อยู่ในชื่อของนางแฟนนี ซึ่งนางคงยังไม่ยอมสลักหลังให้กับรัฐบาลไทยหรือผู้ใดง่ายๆ จนกว่านางจะพอใจว่าจะตอบแทนนางเป็นเงินเท่าไหร่

ขณะนั้นก็เช้าเกินไปที่จะตกลงกันให้จบในเรื่องนี้ แล้วคงต้องกราบบังคมทูลด้วย ซึ่งคงไม่มีพระราชประสงค์จะต่อรองอะไรกับนางแฟนนี  การเดินทางเข้ากรุงเทพมีปัญหาเบื้องต้นคือค่าใช้จ่ายในการเดินทางของนาง ใครจะเป็นผู้รับภาระ แล้วถ้าเรื่องไม่เป็นที่ตกลงกันได้ ใครจะเป็นผู้รับผิดชอบ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 283  เมื่อ 17 เม.ย. 15, 09:00

ข้อความตอนนึงที่เขียนโดยคุณไกรฤกษ์  เล่าถึงพฤติกรรมของนายซิกก์ที่มิได้ปรากฏในหนังสือกราบทูลของพระองค์เจ้าปฤษฎางค์   น่าจะเอามาจากหนังสือ Fanny and the Regent เช่นกัน

ตรงที่ผมขีดเส้นใต้เอาไว้ เพื่อเป็นเครื่องยืนยันว่าความเห็นของผมไม่ผิด ที่เรียกกันว่าใบกู้เงินบ้าง เรียกลอยๆว่าใบหุ้นเฉยๆบ้างนั้น  ความจริงเข้าองค์ประกอบของหุ้นกู้ (Debenture)โดยสมบูรณ์ เพราะระบุเวลาไถ่ถอนไว้ด้วย คือ ๑๐ ปี  บริษัทไม่มีพันธะที่จะคืนเงินตามกฏหมายก่อนหน้านั้น  ก็ถูกของนายมาแลบ

แต่เนื่องจากหุ้นกู้ ผู้ถือครองอยู่อาจขายจำหน่ายจ่ายโอนไปยังผู้อื่นได้ โดยต้องสลักหลังยินยอมก่อนเท่านั้น  จึงอาจมีผู้ประสงค์จะซื้อต่อ แต่ราคาคงต้องถูกกว่าหน้าตั๋ว  เช่นระบุไว้ ๑๐๐ อาจซื้อแค่ ๘๐บาท แต่ถ้ากลิ่นไม่ดีมากๆ เช่นดอกเบี้ยไม่ยอมจ่าย หรือดูท่าบริษัทเจ๊งแน่ หนี้อาจสูญ ก็คงไม่มีบุคคลภายนอกต้องการ นอกจากบุคคลภายในเช่นผู้บริหารระดับสูงที่มั่นใจว่าถ้ากดราคาได้ต่ำๆแล้วคงไม่ขาดทุน ตรงนี้ผิดจรรยาบรรณหรือธรรมาภิบาลนะครับ แต่พวกขี้โลภขี้โกงก็ทำกัน

ในหนังสือของพระองค์เจ้าปฤศฎางค์ก็ไม่ได้กล่าวด้วยว่า ถ้าจะเอาเงินสดตอนนี้จะโดนลดเงินไปเท่าไร  มันยังไม่ถึงเวลาจะต่อรองแบบเชือดเฉือนกัน  ความไม่แน่นอนในเรื่องนี้คงมีอยู่ ทางกระทรวงจึงปฏิเสธนะ ผมว่า


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 284  เมื่อ 17 เม.ย. 15, 12:35

เคยได้ยินเค้าว่าชีวิตพระองค์เจ้าปฤษฎางค์ดราม่ามาก จะหาอ่านแต่ไม่ได้ทำซักที พอมาเห็นชื่อท่านในกระทู้นี้เลยรีบเสิร์ชหาอ่าน แล้วก็พบในเว็บนึง แค่เริ่มอ่านก็รู้เลยว่าใครเป็นคนโพสต์ เพราะชักคุ้นกับสำนวนลีลาการเล่าเรื่องสนุกมีเอกลักษณ์แบบนี้แล้ว ยิงฟันยิ้ม

เป็นไปได้มั้ยคะ ถ้าจะยกกระทู้ที่อาจารย์เคยโพสต์ไว้ในเว็บนั้น มาใส่ในเรือนไทย เพื่อที่ว่าเพื่อนๆในเว็บนี้จะได้อ่านด้วยน่ะค่ะ อีกอย่าง ท่านผู้รู้และอาจารย์ท่านอื่นๆจะได้ช่วยเสริม แยกย่อยเข้าซอยแตกแขนงขยายความต่อให้กลายเป็นมหากาพย์(อ่านกันตาแฉะอย่างที่เคยเป็นมาแล้ว ยิงฟันยิ้ม)
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 17 18 [19] 20 21 ... 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.076 วินาที กับ 20 คำสั่ง