เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 24
  พิมพ์  
อ่าน: 62231 คดีพระปรีชากลการ มโหฬารงานสร้างทางการเมือง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 240  เมื่อ 13 เม.ย. 15, 08:33

เมื่อเรือรบอังกฤษเข้ามานั้น ญาติโกโหติกาของพระปรีชาต่างกระดิ๊กกระดี้เหมือนปลากะดี่ได้น้ำ นำข้าวปลาอาหาร พืชผักผลไม้ พร้อมบุหงามาลัยไปเซ่นสังเวยทหารบนเรือรบเสมอ ฝรั่งเหล่านั้นจึงอิ่มเอมเปรมปรีดิ์มาก
ในเวลาเดียวกัน เจ้าพระยามหินทรศักดิ์อธิบดีคณะตุลาการ และหลวงสรจักรานุกิจต่างทำหนังสือถวายรายงานว่า มีการยักย้ายถ่ายเทเงินทองจากบ้านพระปรีชาไปไว้ที่สถานกงสุลอังกฤษ และที่ห้างมาแลบยุเลียนของชาวฝรั่งเศส และตามบ้านญาติ ในระหว่างนี้

ระหว่างการสอบสวน พระปรีชาขณะนั้นก็แสดงความฮึกเหิม ไม่เคารพศาล พูดจาทำนองข่มขู่ตุลาการ แทนที่จะยอมตอบคำถาม และตั้งตนเป็นทนายซักถามโจทก์และพยานโจทก์ ซึ่งแทบทั้งหมดเป็นคนรับใช้ของตนอย่างดุดัน จนบางครั้งทำให้การสอบพยานต้องชะงักลง


การที่บริษัทหยุดส่งนั้น นางแฟนนีไม่เข้าใจว่า หุ้นกู้ที่ถือในนามพระปรีชาแต่แรกนั้น ถูกเปลี่ยนมือไปแล้วโดยเพื่อนฝรั่งอั้งม้อที่พระปรีชาไว้ใจ เอาใบหุ้นไปฝากเขาไว้ก่อนเพื่อความปลอดภัยหากตนไม่พ้นจากโทษนั่นเอง และการกระทำดังกล่าวนางก็ต้องรู้เห็นด้วย  เพราะแรกๆเขาก็จ่ายดอกเบี้ยให้และนางเป็นผู้ได้รับดีอยู่  แต่เมื่อเพื่อนคนนั้นเห็นว่าพระปรีชาตายสนิทแล้ว นางแฟนนีก็ไปอยู่ซะไกลถึงฝรั่งเศส  ก็โกงเสียตามสันดานของมนุษย์จำพวกนี้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 241  เมื่อ 13 เม.ย. 15, 10:04

สมเด็จเจ้าพระยาจึงอ้างพระมหากรุณาธิคุณนี้ ขอให้พระยาเจริญราชไมตรีร่วมมือตามตัวนางจีน นางสุ่น ผู้ช่วยพระปรีชาในการกลั่นทอง ซึ่งหลบหนีไปอยู่บ้านกงสุลอังกฤษ และนายหวาด นายใหญ่ เสมียนบัญชีในกรุงเทพของพระปรีชามามอบตัวกับทางราชการได้สำเร็จ

และยังเป็นตัวแทนฝ่ายพระเจ้าอยู่หัว ไปเจรจาหว่านล้อมพี่ชายให้ร่วมมือกับสมเด็จเจ้าพระยา เพื่อบรรเทาโทษของตนเองและคนในตระกูลจากโทษริบราชบาทว์
นอกจากนั้น พระเจริญยังให้บุตรสะใภ้ซึ่งเป็นน้องสาวของพระปรีชา มายื่นเรื่องต่อทางราชการ ขอคืนทองคำแท่งและทองรูปพรรณ ซึ่งได้มาจากพระปรีชากลการ ซึ่งถึงแม้จะมีน้ำหนักรวมกันเพียง ๒ชั่ง ๑๙บาท แต่พระเจ้าอยู่หัวก็ทรงพอพระทัย เพราะใช้เป็นหลักฐานเอาผิดพระปรีชาได้

หม่อมยี่สุ่นคงหมายถึงภรรยาหลวงของพระยาเจริญราชไมตรีผู้เป็นน้องชายพระยากสาปน์ ไม่ใช่ชายาเจ้านายองค์ไหน  สมัยก่อนเขาอนุโลมให้เรียกภรรยาหลวงของพระยาบางท่านที่ยังไม่ได้เป็นคุณหญิง หรือท่านผู้หญิง ว่าหม่อมได้เหมือนกัน

ส่วนคุณหญิงทรามสงวน ตอนที่เอาทองมาคืนนั้น ยังเป็นนางสงวนอยู่  ต่อมาสงสัยจะให้พระเกจิเปลี่ยนชื่อให้หายซวย จึงได้เป็นถึงคุณหญิงทรามสงวนได้ ทั้งๆที่เอาคำว่าทรามมาปะหน้าไว้แท้ๆ แปลกนิ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 242  เมื่อ 13 เม.ย. 15, 10:16

หนังสือของนางแฟนนีนี้ ต้นฉบับดั้งเดิมจะเป็นอย่างไรไม่ทราบ แต่คำว่า ใบสำคัญผู้ถือหุ้นในข้อ ๑ และ ๔นั้น หมายถึงหุ้นสามัญที่ตราไว้หุ้นละ ๑๐๐ชั่ง อีกบริษัทหนึ่ง ๑๕๐ชั่ง  ราคาหุ้นแพงขนาดนี้คงจะมีผู้ถือหุ้นในบริษัทไม่กี่คน รวมถึงพระปรีชาซึ่งมีแค่ ๑ หุ้นนั้นด้วย

ส่วนคำว่าสัญญากู้เงินในข้อ ๒ และ ๓ ที่จริงต้องเรียกหุ้นกู้  ดอกเบี้ยที่นางแฟนนีงวดละ ๕๐๐ปอนด์ได้ก็คงได้จากหุ้นกู้   เพราะเงินปันผลจากหุ้นสามัญคงยังไม่มีจะมาจ่ายให้ผู้ถือหุ้น
รายการที่เหลือเราอย่าไปสนใจก็แล้วกัน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 243  เมื่อ 13 เม.ย. 15, 10:35

หลวงพินิจจักรภัณฑ์ เป็นน้องชายไม่ใช่ทนายความของพระปรีชา คุณไกรฤกษ์เข้าใจผิด พระนายศรีก็ใช่

แต่ความสำคัญในหนังสือของแฟนนีช่วงนี้เปิดเผยชื่อยิวของเพื่อนฝรั่งของพระปรีชาคนนั้น เขาหาเงินมาจ่ายให้นางแฟนนีเพื่อที่จะได้ไปๆเสียจากสยาม เพราะหากไม่มีเงิน ๕๐๐ ปอนด์ก้อนนี้แล้วเกิดไปไม่ได้ขึ้นมา  ทางราชการอาจคุมตัวไว้แล้วนางก็อาจเผยอะไรต่อมิอะไรให้พัวพันมาถึงตัวเขาได้

ส่วนการที่บอกว่าบริษัทโรงสีเอาใบหุ้นของพระปรีชาไปขายทอดตลาดนั้น  คงจะเป็นความเข้าใจผิดอย่างแรงของนางเอง หรือนายซิกก์จะหลอกนางไว้ก็ได้ เพราะพระปรีชาไม่ได้เป็นลูกหนี้บริษัท เป็นเจ้าหนี้ด้วยซ้ำ บริษัทจะเอาใบหุ้นไปขายทอดตลาดได้อย่างไร  นายซิกก์นั่นแหละที่เอาใบหุ้นไปเปลี่ยนเป็นชื่อตนเอง โดยอาจจะปลอมลายเซนต์หรือพระปรีชาเคยหลงเซนต์เอาไว้ตามคำแนะนำที่อ้างว่าปรารถนาดีก็ได้

เมื่อใบหุ้นถูกเปลี่ยนมือไปเป็นของเขาแล้ว เรื่องอะไรที่เขาจะจ่ายดอกเบี้ยให้นางอีก


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 244  เมื่อ 13 เม.ย. 15, 11:04

จะเห็นว่านางก็พยายามแล้วที่จะจัดการให้เงินที่สามีขโมยมาแล้วโดนขมายไป ให้กลับมาเป็นของนาง แม้ได้ไม่หมด สักครึ่งนึงก็ยังดี โดยมีนายกูลด์ อดีตรองกงสุลอังกฤษที่มีอาชีพทนายให้ความช่วยเหลือ แต่ค่าทนายก็คงแยะอยู่สำหรับเงินร้อนที่หลุดเข้าปากช้างไปแล้วอย่างนี้  

แต่สุดท้ายสัญญาที่แลกเปลี่ยนกันทำท่าจะเป็นกระดาษเปล่า นางแฟนนีคงหมดปัญญาทวงแล้ว จึงทำทีจะมามอบให้รัฐบาลสยาม

ถ้าบริสุทธิ์ใจจริงแล้ว ไอ้ที่ผ่านมาหลายปีนั้นทำไมไม่คิดจะคืน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 245  เมื่อ 13 เม.ย. 15, 11:18

เรื่องติดตามทรัพย์สินของพระปรีชาคืนนี้ ผมยังไม่มีเวลาจะไปค้นหาต่อ ท่านผู้อ่านก็ดูผ่านๆไปก่อนก็แล้วกันนะครับ

และให้สังเกตุด้วยว่าไม่พะยูงนั้น เป็นไม้มีราคาค่างวดสูงกว่าไม้สักหลายเท่าเพราะคนจีนเอาไปทำเฟอร์นิเจอร์หรู  เดี๋ยวนี้พวกมอดไม้ปลวกป่าก็พยายามลักลอบโค่นตัดกันอยู่ให้จับได้ไม่เว้นแต่ละเดือน  ก่อนเข้าป่าไปกระทำโจรกรรมจะแวะไปบนบานที่ศาลเจ้าพ่อสำอางก่อนหรือเปล่าก็ไม่ทราบ  เพราะนั่นน่ะเจ้าพ่อตัวจริงตั้งแต่สมัยมีชีวิต สั่งให้เจ้าเมืองไปตัดโค่นป่าเอาไม้มาทำเรื่องเหมือง แต่ไม้พะยูงให้เอามาเซ่นข้านะโว้ย ข้าชอบ


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 246  เมื่อ 13 เม.ย. 15, 16:17

นี่ถ้าฮิตเลอร์เป็นคนไทย เมืองไทยคงมีศาลเจ้าพ่อฮิตเล่อร์   ไม่ก็ศาลเสด็จปู่สตาลิน  ศาลสมเด็จโตโจ  ศาลพ่อปู่มุสโสลินี  ศาลรอมเมล ฯลฯ แน่ๆ เอ หรือผมกลับไปตั้งสำนักเจ้าพ่อพวกนี้ดูบ้างดีไหมหว่า ท่าทางจะเงินดี  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 247  เมื่อ 13 เม.ย. 15, 16:26

ดอกเตอร์ประกอบเล่นเป็นตัวเจ้าพ่อเลยดีกว่า เฮี๊ยนๆเข้าไว้หน่อยละกัน รับรองเครื่องเซ่น เหล้าโรงหัวหมูตรึม

ถ้าชอบแก้บนด้วยระบำโป๊ ก็จะมีให้ดูด้วยนะ แต่ต้องดึกๆหน่อย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 248  เมื่อ 13 เม.ย. 15, 17:06

การลงทุนของพระปรีชาน่าจะมีปัญหากับนายซิกก์มานานแล้ว  เพราะเอกสารของแฟนนีอ้างถึงนายกูลด์ว่าเป็นทนายให้ตน แสดงว่าเกิดความกันแล้วแต่นายซิกก์คงจะเป็นฝ่ายได้เปรียบอยู่  ทนายจึงแนะนำให้ยอมทำนิติกรรมตามข้อเสนอของนายซิกก์  ซึ่งนิติกรรมใหม่นี้ได้เป็นการฟอกตัวให้นายซิกก์ที่เข้าไปช้อนซื้อหุ้นของพระปรีชาไว้โดยมิชอบ   

แต่ถึงหลุดจากฉ้อโกงก็ยังผิดธรรมาภิบาลในฐานะเป็นผู้บริหารอยู่ดี  หากเป็นสมัยนี้(ในเมืองฝรั่ง)อาจติดคุก ในเมืองไทยมีผู้บริหารธนาคารที่โดนคดีนี้อยู่เหมือนกัน พอศาลชั้นต้นตัดสินให้แพ้ แต่เมื่อยอมใช้เงินคืนให้คู่กรณีย์ไปตามเรียกร้อง ก็ถือว่าเจ๊ากัน
 
แต่สัญญาที่นางแฟนนีได้มาเป็นแต่เพียงกระดาษ ตัวเงินจริงๆยังไม่ได้ และดูแล้วไม่ใช่ง่ายๆที่จะได้ นายซิกก์ขณะนั้นอยู่ที่ยุโรป ไปๆมาๆระหว่างฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ และอังกฤษ นายกูลด์ก็หายไปแล้วตั้งแต่เมื่อไหร่ไม่ทราบ อาจจะได้รับใต้โต๊ะจากนายซิกก์ด้วย นางแฟนนีจึงตามมาทวงหนี้ตามลำพัง หวังจะจบได้ที่ปารีสโดยต้องได้ความร่วมมือกดดันโดยรัฐบาลสยามผ่านท่านทูตด้วย

คำพูดที่ว่าได้เงินคืนมาแล้วจะเอามาแบ่งกัน เป็นการอ่อยเหยื่อให้สินบาทคาดสินบนต่อตัวท่านทูตแน่นอน
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 249  เมื่อ 14 เม.ย. 15, 06:35

ระบบเงินตราในช่วง พ.ศ. ๒๔๑๓-๒๔๕๗ เป็นระบบมาตรฐานทองคำ (The Gold Standard) โดยแต่ละประเทศที่อยู่บนระบบนี้ต้องมีกฎหมายกำหนดให้ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานกำหนดค่าของเงินหนึ่งหน่วยเท่ากับทองคำบริสุทธิ์เป็นจำนวนที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า“การกำหนดอัตราค่าเสมอภาค” (Par Value)

อังกฤษ กำหนดอัตราค่าเสมอภาค ๑ ปอนด์ เท่ากับ ทองคำบริสุทธิ์หนัก ๗.๓๒๒๓๓ กรัม

สหรัฐอเมริกา กำหนดอัตราค่าเสมอภาค ๑ ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก ๑.๕๐๔๖๕ กรัม

สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ. ๑๒๗ กำหนดให้เงินบาทมีราคาเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก ๐.๕๕๘ กรัม

ดังนั้น การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลปอนด์ต่อเงินตราสกุลบาท ก็คือ การเอาค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของค่าเงินหนึ่งปอนด์ คือ ๗.๓๒๒๓๓ หารด้วยค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของค่าเงินหนึ่งบาท คือ ๐.๕๕๘ (๗.๓๒๒๓๓ / ๐.๕๕๘ = ๑๓.๑๒)

ดังนั้นด้วย พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑)  อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินปอนด์จึงเท่ากับ ๑๓.๑๒ บาท ต่อ ๑ ปอนด์ในเวลานั้น

หรือ ถ้าจะคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐต่อเงินตราสกุลบาท ก็คือ การเอาค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของเงินหนึ่งดอลลาร์ ซึ่งในเวลานั้นประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดอัตราค่าเสมอภาค (Par Value) ๑ ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ ทองคำบริสุทธิ์หนัก ๑.๕๐๔๖๕ กรัม เมื่อนำมาหารด้วยค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของค่าเงิน ๑ บาทคือ ๐.๕๕๘ กรัม ก็จะสามารถคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐต่อเงินตราสกุลบาทได้ เท่ากับ ๑.๕๐๔๖๕ / ๐.๕๕๘ = ๒.๖๙  ทำให้ค่าเงิน ๑ ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ ๒.๖๙ บาทตามที่กฎหมายกำหนด (พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ. ๑๒๗) ณ เวลานั้น

ข้อมูลจาก ค่าเงินบาทของไทย โดย ธิติ สุวรรณธัต

เงินที่พระปรีชาฉ้อฉลไปลงทุนทำโรงสีตามคำให้การของนางแฟนนี เป็นหุ้นกู้ ๒๔๐๐๐ และ ๑๔๔๐๐ ดอลล่าร์  อัตราแลกเปลี่ยน ๑ ดอลล่าร์เท่ากับ ๒.๖๗ บาท  จึงเท่ากับ ๓๘๔๐๐ X ๒.๖๗ = ๑๐๒๕๒๘ บาท
๑๐๒๕๒๘ บาท หารด้วย ๘๐ = ๑๒๘๑.๖๐ ชั่ง 
บวกด้วยหุ้นสามัญ ๑๐๐ ชั่งและ ๑๕๐ ชั่ง
รวมทั้งหมดได้ ๑๕๓๑.๖๐ ชั่ง
เงินหลวงที่พระปรีชาเบิกไป ๑๕๕๐๐ชั่ง  มีบัญชีรายจ่ายที่เป็นหลักฐานของนายสุดใจ ๔๑๔๘ ชั่ง
ขาดไป ๑๑๓๕๒ ชั่ง? ? ?

ยังงงอยู่ดีว่าทำไมตัวเลขยังห่างกันนัก  ใครมั่ว   มั่วอย่างไรกันแน่


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 250  เมื่อ 14 เม.ย. 15, 08:52

ถ้าใครเคยอ่านบทความสารคดีที่คุณไกรฤกษ์เขียนไว้ดังกล่าวคงจะสับสนพอสมควร เพราะตั้งแต่โปรยหัวไปจนถึงเนื้อใน คุณไกรฤกษ์เสมือนจะตั้งใจมาเปิดเผยในประเด็นใหม่ของนางแฟนนี ที่ยอมให้การนอกศาลกับท่านทูตเพื่อฟอกความผิดให้สามี 


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 251  เมื่อ 14 เม.ย. 15, 08:54

แต่ผมอ่านแล้วทั้งสองตอนไปๆมาๆหลายเที่ยว นอกจากไม่เห็นว่าพระปรีชาจะบริสุทธิ์ขึ้นแล้ว ยังเป็นการย้ำอย่างชัดเจนถึงที่ไปของเงินฉ้อฉล ว่าเอาไปทำอะไรบ้าง ตัวไอ้โม่งตัวใหญ่ที่เปิดโปงมาครั้งนี้ก็คือนายซิกก์ ที่ว่าอยู่เบื้องหลังการโกงนั้นก็ไม่น่าจะถูกต้อง  นายซิกก์แม้จะรับซื้อของโจร  แต่เขาอาจจะไม่ทราบว่าเงินที่พระปรีชานำมาลงหุ้นกับเขาเป็นเงินที่ไปโกงใครมา ด้วยวิธีการอย่างไร 
เขาไม่จำเป็นต้องทราบในขณะแรก  ส่วนตอนหลังเมื่อทราบแล้วเขาทำอะไรบ้างนั่นเป็นอีกประเด็นหนึ่ง แต่เขาไม่ได้ชักใยอยู่เบื้องหลังการโกงเงินหลวงของพระปรีชาแน่นอน


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 252  เมื่อ 14 เม.ย. 15, 09:04

อ่านตรงนี้แล้วก็งงกันไปใหญ่ ข้อมูลที่นางแฟนนีนำไปเปิดเผยที่ปารีส สายเกินไปห้าปีหลังจากที่จำเลยโดนประหารไปแล้ว  ข้อความดังกล่าวสร้างความเข้าใจว่าคดียังอยู่ในการพิจารณาของคณะตุลาการ แล้วมีข้อหาใหม่ๆประดังเข้ามา

ความเป็นจริงในระหว่างสอบสวน คณะตุลาการก็พยายามจะให้นางแฟนนีมาให้การแล้ว แต่นางปฏิเสธโดยอ้างว่าเป็นสัปเยกของอังกฤษ (คือคนที่อยู่ในความคุ้มครองของรัฐบาลอังกฤษ)

ถึงตอนนี้ นางก็ไม่ได้มาเรียกร้องความเป็นธรรมใดๆให้สามี นางเพียงแต่จะมาขอให้ท่านทูตช่วยใช้อิทธิพล ทวงหนี้ให้นาง โดยนางจะขอเพียงส่วนหนึ่งบ้างเท่านั้น ที่เหลือยกให้รัฐบาลสยาม (เพราะนางจนปัญญาที่จะได้คืนแล้ว)


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 253  เมื่อ 14 เม.ย. 15, 09:07

เดี๋ยวผมจะกลับมาต่อในเรื่องนี้ครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 254  เมื่อ 14 เม.ย. 15, 16:52

Malherby. Julien & Co. คือห้างมาแลบยุเลียนที่สมเด็จเจ้าพระยากล่าวถึง มีชาวฝรั่งเศสสองคนคือ นายมาแลบ(L. Malherbe) และนายยุเลียน(C. Jullien ) เข้าหุ้นกันตั้งกิจการที่ไซ่ง่อน ในอินโดจีนก่อน ทำการค้านำเข้าส่งออกละเป็นตัวแทนธนาคารในต่างประเทศ  ตามประวัติของบริษัทเบอรียุคเกอร์ในเว็บ บริษัทมาแลบยุเลียนได้ขยายสาขาเข้ามาสยามในปี ๒๔๐๙  ซึ่งยังเป็นสมัยรัชกาลที่ ๔อยู่  แล้วได้จ้างนายอัลเบิร์ต ยุคเกอร์ ซึ่งตอนนั้นอายุเพียง ๒๒ ให้เป็นพนักงานธรรมดาคนหนึ่ง  ต่อมานายคนนี้ได้ไต่ขึ้นมาเป็นผู้จัดการของบริษัทในปี ๒๔๑๕ และอีกปีหนึ่งต่อมาเขาก็ได้ชักชวนนายเฮนรี ซิกก์(Henry Sigg) ซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องกันให้เข้ามาทำงานด้วยในตำแหน่งผู้ช่วย

ช่วงนี้เองที่พระปรีชาได้ไปเป็นผู้จัดการเหมืองทองคำ และคงได้ติดต่อธุรกิจกันในปี๒๔๑๗ จนกระทั่งพระปรีชาโดนประหารชีวิตในปี ๒๔๒๒


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 15 16 [17] 18 19 ... 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.447 วินาที กับ 20 คำสั่ง