เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 24
  พิมพ์  
อ่าน: 62445 คดีพระปรีชากลการ มโหฬารงานสร้างทางการเมือง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 07:08

ครั้นเมื่อเรือรบได้รับคำสั่งจากรัฐบาลอังกฤษออกจากกรุงเทพไป ค่อยหายใจคล่องขึ้นหน่อยหนึ่งแล้ว คณะตุลาการจึงนำตัวพระปรีชากลการออกมาสอบปากคำอีก ในวันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๔๒๒

การสอบสวนจำเลยได้แบ่งเรื่องออกเป็น ๒ ประเด็นคือ

ประเด็นแรก เป็นเรื่องที่นายช่างชาวอังกฤษ ๒คน ที่ทำงานอยู่ที่เหมืองทองได้ร้องเรียนขอให้ทางราชการจ่ายเงินเดือนที่พระปรีชายังติดค้างอยู่อีก ๘เดือน เรื่องนี้ตุลาการได้สอบปากคำนายสุดใจ ผู้ทำบัญชีและจ่ายเงิน ได้ความสมจริงตามคำร้องเรียนนั้น  แต่พระปรีชาอ้างว่า ติดค้างอยู่เพียง ๒เดือนเท่านั้น  เมื่อตุลาการตรวจสอบจากฎีกาที่เบิกเงินจากพระคลังมหาสมบัติ แล้วปรากฏว่า พระคลังยังมิได้จ่ายให้ตามที่ตั้งเบิกเพียง ๔เดือน จึงเรียกทุกคนมาสอบใหม่ ทุกคนก็ยังยืนยันตามเดิม ดังนั้น ตุลาการจึงตัดสินใจโดยยึดฎีกาที่พระคลังจ่ายไปแล้วเป็นเกณฑ์ในการพิจารณา แล้วมีมติให้พระคลังมหาสมบัติจ่ายเงินเดือนให้นายช่างทั้งสองไป ๔เดือน เป็นเงินทั้งสิ้น ๒,๘๘๐ เหรียญ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 07:15

ประเด็นที่สอง เป็นการสอบสวนเรื่องการใช้จ่ายเงินในการทำเหมืองทองคำที่พระปรีชารับผิดชอบควบคุมดูแลมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๗
เริ่มการพิจารณาคดีด้วยการนำฎีกาเบิกเงินจากพระคลังมหาสมบัติมาเป็นหลักฐานในการตั้งข้อสงสัย เนื่องจากตรวจพบว่ามีรายชื่อผู้เบิก ๓ คน คือพระยากสาปน์โกศล พระปรีชากลการ และจมื่นศรีสรรักษ์ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น ๑๕๕๔๔ชั่ง ๑๙ตำลึง ๑บาท ๓สลึง แต่ยอดรายจ่ายของนายสุดใจมีเพียง ๔๖๔๗ชั่ง ๙ตำลึง ๓สลึง ขาดไป ๑๐๘๙๗ ชั่ง ๑๐ตำลึง ๑บาท จึงขอให้จำเลยชี้แจง และแสดงหลักฐานการจ่ายเงินทั้งหมด หากมีนอกเหนือไปจากบัญชีของนายสุดใจ ทางราชการก็จะปรับเปลี่ยนให้

พระปรีชาให้การแบบหัวหมอว่าตนได้ใช้จ่ายเงินในการลงทุนทำนั่นโน่นนี่นั้นโน้น และนู้น ผมขี้เกียจสาธยาย แต่ไม่ให้รายละเอียดเลย หลักฐานใดๆก็ไม่มี  แถมกล่าวว่าถ้าอยากรู้ก็ให้ไปค้นใบเสร็จที่พระคลังมหาสมบัติเอาเอง เพราะอะไรๆที่ตนเบิกในนามของพระยากสาปน์ผู้เป็นบิดาก็อยู่ที่นั่น  ส่วนบัญชีส่วนตัวของพระปรีชานั้น เคยมีอยู่แต่ทำหายไปแล้ว

เมื่อตุลาการตรวจสอบใบฎีกาดังกล่าว ยิ่งพบความไม่ตรงกันของบัญชีมากขึ้นแบบมั่วไปหมด จึงเปิดโอกาสอีกครั้งให้พระปรีชาแสดงความบริสุทธิ์โดยให้นำบัญชีรายรับรายจ่ายทุกประเภท รวมทั้งหลักฐานการซื้อของจากต่างประเทศ ที่พระปรีชาอาจเก็บไว้มาแสดง เพื่อประโยชน์ของตัวพระปรีชาเอง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 07:24

แต่แรกพระปรีชาปฏิเสธว่าตนไม่มีบัญชีดังกล่าว แต่ตุลาการให้เบิกพยานมายืนยัน นอกจากปากนายสุดใจแล้วยังมีเสมียนทำบัญชีของพระปรีชาที่กรุงเทพอีก ๒ ปากที่กล่าวไปแล้วด้วย นายหวาดพยานคนหนึ่งให้การว่า บัญชีที่พระปรีชาให้นายสุดใจทำนั้นเป็นสองเล่ม เล่มหนึ่งมีรายการและเงินที่จ่าย ส่วนอีกเล่มหนึ่งมีแต่รายการ พระปรีชาจะมาเติมตัวเลขที่จ่ายเอาเอง บางครั้งรวมตัวเลขแล้วยังขาดจากจำนวนเงินที่เบิกมาจากพระคลังมหาสมบัติ พระปรีชาก็สั่งให้นายหวาดมั่วรายการเท็จลงไปให้ครบจำนวนเงิน

เมื่อโดนยันเช่นนี้ พระปรีชาจึงเขียนจดหมายถึงแฟนนี ให้ส่งบัญชีและใบเสร็จต่างๆมาให้ แต่แฟนนีส่งมาให้แค่บัญชีคู่ร่างฎีกา ซึ่งบอกแต่ยอดรวมทั้งหมดโดยไม่ได้แสดงรายละเอียด จึงไม่มีประโยชน์อันใด ส่วนบัญชีที่ต้องการ แฟนนีอ้างว่าหาไปพบ ส่วนใบเสร็จต่างๆก็ทิ้งไปหมดเพราะเห็นว่าเก่าเกินปีหนึ่งแล้ว พระปรีชาเองก็ตกใจ เอะอะว่า อะไร บัญชีเล็กบัญชีน้อยก็หายหมดได้ไง ครั้งนี้สิฉิบหายจริง

เมื่อเป็นดังนี้ คณะตุลาการจึงหมดความพยายามที่จะให้โอกาสใดๆจำเลยอีก  และเห็นว่ากฏหมายไทยไม่สามารถจะไปบังคับนางแฟนนี ซึ่งอ้างตนเป็นคนในอารักขาของอังกฤษได้ จำเป็นต้องปล่อยให้เลยตามเลย

แต่บัญชีดังกล่าวอาจถูกทำลายไปจริงๆแล้วก็ได้  เพราะนายสุดใจเบิกความในศาลไว้ว่า ตอนที่พระปรีชาสั่งให้ตนเผาบัญชีที่มีอยู่นั้นให้สิ้นทรากให้หมด อย่าโง่เหมือนคราวพระยาอาหารที่สั่งการให้คนใช้เอาสมุดบัญชีไปทิ้งน้ำ  แต่กระดาษมันไม่จม ถึงลอยไปไกลเขาตามไปเก็บมาได้  เลยไม่ตายก็เหมือนตาย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 14:37

เรื่องบัญชีนี้ พระเจ้าอยู่หัวเองมีพระราชกระแสว่า หลวงพินิจจักรภัณฑ์น้องชายพระปรีชาได้กราบบังคมทูล ว่าตนเคยรักษาบัญชีคู่ร่างที่แฟนนียอมส่งให้ตุลาการ กับบัญชีรายจ่ายโดยละเอียด แต่หลังจากกลับมาจากปราจีนครั้งสุดท้ายก่อนโดนจับ พระปรีชาได้เรียกคืนไป บอกว่าจะมอบให้นางแฟนนีเป็นผู้เก็บรักษาไว้แทน ดังนั้นสมเด็จเจ้าพระยาจึงใช้ไม้ตาย ปล่อยข่าวไปว่า ถ้าพระปรีชายังปากแข็งไม่ยอมรับสารภาพ ก็จะเข้าตรวจค้นทุกบ้าน

คำขู่ดังกล่าวเป็นผลในวันรุ่งขึ้นทันที พระยากสาปนกิจโกศลได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลลงวันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๔๒๒ ฉบับหนึ่ง และอีก ๒วันต่อมาอีกฉบับหนึ่ง มีความรวมกันสรุปโดยย่อว่า ตนขอรับผิดที่ไว้วางใจให้ลูกชายไปทำบ่อทองแทน และยังยอมให้ใช้ตราประทับไปทำหนังสือในนามของตนเพื่อเบิกเงินจากพระคลังมหาสมบัติไปเป็นจำนวนมาก  แต่ได้ทองมาไม่คุ้ม ส่วนพระปรีชานำเงินไปใช้จ่ายอะไรบ้างนั้นไม่ทราบจริงๆ แต่เชื่อว่าคงได้นำไปใช้ประโยชน์ของตัวเองบ้าง นับว่าเป็นความผิดของตนที่มิได้ตรวจตรา ทำให้เงินหลวงตกหล่นเสียหาย และทำให้พระเจ้าอยู่หัวขุ่นพระทัย ซึ่งตนขอยอมรับผิดทุกประการ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 14:40

พระเจ้าอยู่หัวทรงนิ่งเฉยต่อหนังสือทั้งสองฉบับ จนพระยากสาปน์ร้อนใจ ขอให้พระยาเจริญราชไมตรีช่วยกราบบังคมทูลถาม พระเจ้าอยู่หัวทรงตรัสตอบว่าหนังสือทั้งสองฉบับไม่มีข้อความใดยอมรับว่าพระปรีชากระทำการฉ้อโกงหลวงแม้น้อย เพียงแต่แสดงว่าพระยากสาปน์ยังมีความอ่อนน้อม เห็นแก่แผ่นดินมากกว่าลูกชายของตัวพระยากสาปน์เองเท่านั้น  แต่ถ้าจะให้ดีควรจะให้พระปรีชายอมรับสารภาพผิด

พระยากสาปน์เองเป็นบิดา อยู่ในครอบครัวเดียวกัน บัญชีก็อยู่ที่บ้าน คนที่จะใช้จะสอยให้ทำก็มี จึงควรจะเป็นผู้ตรวจดูว่าพระปรีชาฉ้อโกงอย่างไรไปบ้าง ถ้าสามารถจับได้แม้เพียงเรื่องเดียว ก็น่าจะหยิบยกขึ้นมาสารภาพได้ และพระปรีชาก็คงจะไม่กล้าดื้อดึงในศาลต่อไป
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 14:41

เมื่อฟังว่าพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำรัสเช่นนั้น พระยากสาปน์ก็หมดทิษฐิมานะ ยอมเข้าหาสมเด็จเจ้าพระยาในวันที่ ๒ กรกฎาคม เพื่อขอคำแนะนำว่าตนควรจะทำอย่างไร สมเด็จเจ้าพระยาก็ยืนยันว่าต้องพยายามเกลี้ยกล่อมให้พระปรีชาสำนึกตัว และยอมรับสารภาพโดยดี เพราะหลักฐานมีครบไม่สามารถปฏิเสธความผิดได้อยู่แล้ว สารภาพเสียโทษก็จะลดหย่อนลงได้
 
และยังฝากบอกไปยังพระยาเจริญราชไมตรีอีกว่า ทางที่ดีควรช่วยกันนำทองที่ถูกฉ้อโกงไปมาคืนให้กับทางราชการ เพราะมีพยานเบิกความว่ามีทองของหลวงอีกจำนวน ๗๕ชั่ง ที่พระปรีชานำขึ้นมาจากปราจีนยังมิได้นำส่งพระคลัง แต่มีผู้เห็นนายกูลต์ผู้ช่วยกงสุลขนทองจากบ้านพระปรีชาไปไว้ที่สถานกงสุลอังกฤษ  ทองที่ว่าไม่ใช่สมบัติของพระปรีชา ถ้าช่วยกันนำมาคืนก็จะช่วยผ่อนโทษจากหนักเป็นเบาลงอีก ส่วนคำแนะนำเหล่านี้พระกสาปน์จะทำตามหรือไม่ก็ให้กลับไปคิดเอาเอง

จากนั้นพระกสาปน์ยังได้ไปหาเจ้าพระยาสุภานุวงศ์ ซึ่งก็โดนตอกย้ำกลับไปทำนองเดียวกันว่าสายเกินไปที่จะพูดแก้ตัวในสิ่งที่เกิดขึ้นไปแล้ว ให้เอาเรื่องที่ยังไม่เกิดดีกว่าว่าจะทำอย่างไรจะได้ทองคำของแผ่นดิน ที่ถูกยักย้ายไปอยู่ที่สถานกงสุลอังกฤษคืนมา
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 15:44

ประเด็นที่สอง เป็นการสอบสวนเรื่องการใช้จ่ายเงินในการทำเหมืองทองคำที่พระปรีชารับผิดชอบควบคุมดูแลมาตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๑๗
เริ่มการพิจารณาคดีด้วยการนำฎีกาเบิกเงินจากพระคลังมหาสมบัติมาเป็นหลักฐานในการตั้งข้อสงสัย เนื่องจากตรวจพบว่ามีรายชื่อผู้เบิก ๓ คน คือพระยากสาปน์โกศล พระปรีชากลการ และจมื่นศรีสรรักษ์ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น ๑๕๕๔๔ชั่ง ๑๙ตำลึง ๑บาท ๓สลึง แต่ยอดรายจ่ายของนายสุดใจมีเพียง ๔๖๔๗ชั่ง ๙ตำลึง ๓สลึง ขาดไป ๑๐๘๙๗ ชั่ง ๑๐ตำลึง ๑บาท จึงขอให้จำเลยชี้แจง และแสดงหลักฐานการจ่ายเงินทั้งหมด หากมีนอกเหนือไปจากบัญชีของนายสุดใจ ทางราชการก็จะปรับเปลี่ยนให้

เงินที่ขาดไปถูกนำไปลงทุนดังรายละเอียดข้างล่างกระมัง

เงินก้อนใหญ่ พระปรีชาเอาเงินจากที่ไหนไม่ทราบไปลงทุนกับฝรั่งยิวชาวสวิส ที่เข้ามาค้าขายในกรุงเทพเป็นเงินรวมกันถึง 38000 เหรียญสหรัฐ ในลักษณะหุ้นกู้มีดอกเบี้ยรายเดือนๆละ 500 ปอนด์อังกฤษ รายละเอียดมากมายอยู่ในเอกสารข้างล่าง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 20:21

ผมอยากให้คุณหมอเพ็ญช่วยหาอัตราแลกเปลี่ยนหน่อยน่ะครับ เพราะเงินหลวงขาดไปหมื่นกว่าชั่ง

ทำอย่างไรจะทราบได้ว่า เงินดอลลาร์ หรือเงินปอนด์ตอนนั้นมีค่าอย่างไรเทียบกับเงินไทยที่มีหน่วยเป็นชั่งเป็นบาท
บางทีก็เป็นชั่งบาทที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฏหมาย บางทีก็เป็นน้ำหนักทองคำ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 20:42

ระหว่างรอคุณหมอเพ็ญ  จำได้รางๆ(ซึ่งอาจผิดก็ได้)ว่าสมัยรัชกาลที่ ๔   ๑ ดอลล่าร์เท่ากับ ๔ บาทค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 20:50

อ่านเบื้องหน้าเบื้องหลังของคดีนี้ แล้วรู้สึกว่ามันก็เป็นเหตุการณ์ที่ทันสมัยแม้ว่าผ่านมาหนึ่งร้อยกว่าปี    ที่ว่าทัน(กับยุค)สมัยคือ เป็นคดีการเมืองที่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังนุงนังไปหมด      มีบุคคลสำคัญที่หนุนหลังทั้งสองฝ่าย    น่าหนักใจมาก

แบ๊คของพระปรีชาไม่เบาเลย  ถ้านึกว่าสมัยนั้นเจ้าอาณานิคมมีอำนาจขนาดทุบปังเดียว  ยุบยวบหมดทั้งเอเชีย   อำนาจของกงสุลน๊อกซ์ก็ต้องถือว่าน่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่ายักษ์มารในสายตาของสยาม
การหักโค่นลูกเขยกงสุล  คือการโค่น 'บิ๊ก' ระดับชาติที่มหาอำนาจหนุนหลัง      ฝ่ายพระเจ้าอยู่หัวจะต้องผนึกกำลังกันหลายฝ่ายจึงจะแท็คทีมเอาผิดพระปรีชาได้ 
น่าชมเชยที่บุคคลสำคัญหลายท่านในที่สยามมีความแน่วแน่จะแก้ไขในสิ่งผิด     ไม่รวนเรกลับไปกลับมา  หลายท่านก็รู้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะพอเหมาะพอดี   ไม่ฉวยโอกาส ไม่แทรกเข้ามาให้ปั่นป่วน  และที่สำคัญคือไม่ทรยศหักหลัง

ทั้งหมดนี้ต้องถือว่าเป็นเพราะพระบารมีโดยแท้ 
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 21:33

ผมอยากให้คุณหมอเพ็ญช่วยหาอัตราแลกเปลี่ยนหน่อยน่ะครับ เพราะเงินหลวงขาดไปหมื่นกว่าชั่ง

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ พ.ศ. ๒๔๕๑ อัตราแลกเปลี่ยนคือ ๑ ดอลลาร์ = ๒.๖๙ บาท และ ๑ ปอนด์ = ๑๓.๑๒ บาท

เงินหลวงขาดไปมากกว่าหมื่นชั่งอยู่หลาย เอาแค่หมื่นชั่งมาคำนวณคูณด้วย ๘๐ ก็เท่ากับ ๘ แสนบาทแล้ว เงินลงทุน ๓๘,๐๐๐ ดอลลาร์ = แสนกว่าบาทเท่านั้น เป็นเพียงส่วนหนึ่งของเงินที่หายไป
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 09 เม.ย. 15, 21:47

ระบบเงินตราในช่วง พ.ศ. ๒๔๑๓-๒๔๕๗ เป็นระบบมาตรฐานทองคำ (The Gold Standard) โดยแต่ละประเทศที่อยู่บนระบบนี้ต้องมีกฎหมายกำหนดให้ใช้ทองคำเป็นมาตรฐานกำหนดค่าของเงินหนึ่งหน่วยเท่ากับทองคำบริสุทธิ์เป็นจำนวนที่แน่นอน ซึ่งเรียกว่า“การกำหนดอัตราค่าเสมอภาค” (Par Value)

อังกฤษ กำหนดอัตราค่าเสมอภาค ๑ ปอนด์ เท่ากับ ทองคำบริสุทธิ์หนัก ๗.๓๒๒๓๓ กรัม

สหรัฐอเมริกา กำหนดอัตราค่าเสมอภาค ๑ ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก ๑.๕๐๔๖๕ กรัม

สำหรับประเทศไทย พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ. ๑๒๗ กำหนดให้เงินบาทมีราคาเท่ากับทองคำบริสุทธิ์หนัก ๐.๕๕๘ กรัม

ดังนั้น การคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลปอนด์ต่อเงินตราสกุลบาท ก็คือ การเอาค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของค่าเงินหนึ่งปอนด์ คือ ๗.๓๒๒๓๓ หารด้วยค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของค่าเงินหนึ่งบาท คือ ๐.๕๕๘ (๗.๓๒๒๓๓ / ๐.๕๕๘ = ๑๓.๑๒)

ดังนั้นด้วย พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ. ๑๒๗ (พ.ศ. ๒๔๕๑)  อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทต่อเงินปอนด์จึงเท่ากับ ๑๓.๑๒ บาท ต่อ ๑ ปอนด์ในเวลานั้น

หรือ ถ้าจะคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐต่อเงินตราสกุลบาท ก็คือ การเอาค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของเงินหนึ่งดอลลาร์ ซึ่งในเวลานั้นประเทศสหรัฐอเมริกา กำหนดอัตราค่าเสมอภาค (Par Value) ๑ ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ ทองคำบริสุทธิ์หนัก ๑.๕๐๔๖๕ กรัม เมื่อนำมาหารด้วยค่าเทียบเท่าน้ำหนักทองคำของค่าเงิน ๑ บาทคือ ๐.๕๕๘ กรัม ก็จะสามารถคำนวณอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินตราสกุลดอลลาร์สหรัฐต่อเงินตราสกุลบาทได้ เท่ากับ ๑.๕๐๔๖๕ / ๐.๕๕๘ = ๒.๖๙  ทำให้ค่าเงิน ๑ ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ ๒.๖๙ บาทตามที่กฎหมายกำหนด (พระราชบัญญัติมาตรฐานทองคำ ร.ศ. ๑๒๗) ณ เวลานั้น

ข้อมูลจาก ค่าเงินบาทของไทย โดย ธิติ สุวรรณธัต
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 10 เม.ย. 15, 07:36

^
รวดเร็วทันใจ
ขอบคุณครับ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 10 เม.ย. 15, 07:49

อ่านเบื้องหน้าเบื้องหลังของคดีนี้ แล้วรู้สึกว่ามันก็เป็นเหตุการณ์ที่ทันสมัยแม้ว่าผ่านมาหนึ่งร้อยกว่าปี    ที่ว่าทัน(กับยุค)สมัยคือ เป็นคดีการเมืองที่มีเบื้องหน้าเบื้องหลังนุงนังไปหมด      มีบุคคลสำคัญที่หนุนหลังทั้งสองฝ่าย    น่าหนักใจมาก

แบ๊คของพระปรีชาไม่เบาเลย  ถ้านึกว่าสมัยนั้นเจ้าอาณานิคมมีอำนาจขนาดทุบปังเดียว  ยุบยวบหมดทั้งเอเชีย   อำนาจของกงสุลน๊อกซ์ก็ต้องถือว่าน่าสะพรึงกลัวยิ่งกว่ายักษ์มารในสายตาของสยาม
การหักโค่นลูกเขยกงสุล  คือการโค่น 'บิ๊ก' ระดับชาติที่มหาอำนาจหนุนหลัง      ฝ่ายพระเจ้าอยู่หัวจะต้องผนึกกำลังกันหลายฝ่ายจึงจะแท็คทีมเอาผิดพระปรีชาได้ 
น่าชมเชยที่บุคคลสำคัญหลายท่านในที่สยามมีความแน่วแน่จะแก้ไขในสิ่งผิด     ไม่รวนเรกลับไปกลับมา  หลายท่านก็รู้ว่าควรทำอย่างไรจึงจะพอเหมาะพอดี   ไม่ฉวยโอกาส ไม่แทรกเข้ามาให้ปั่นป่วน  และที่สำคัญคือไม่ทรยศหักหลัง

ทั้งหมดนี้ต้องถือว่าเป็นเพราะพระบารมีโดยแท้ 

ครับ พระเจ้าอยู่หัวท่านทรง Mature ขึ้นมาก ทรงไว้วางพระราชหฤทัยในความจงรักภักดีของพวกบุนนาค โดยเฉพาะสมเด็จเจ้าพระยาผู้มีประสบการณ์เข้มข้นตามวัยวุฒิของท่าน ซึ่งก่อนหน้านั้น อดติและความระแวงที่คนโน้นคนนี้นำมาเติมถวายอยู่เรื่อยๆ ทำให้ไม่ทรงมั่นพระทัย

ความมั่นใจและพลังแรงกล้าของคนหนุ่ม บวกด้วย ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญของคนแก่ ทำให้ทุกกิจการดำเนินไปข้างหน้า ไม่ว่าจะในบ้าน ในองค์กร หรืองานระดับประเทศ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 10 เม.ย. 15, 07:57

วันที่ ๔ กรกฎาคม พระกสาปน์ได้รับอนุญาตให้ไปเยี่ยมพระปรีชาเพื่อสนทนากันตามลำพัง ในขณะที่อยู่ต่อหน้าผู้คุม พระกสาปน์ได้กล่าวกับพระปรีชาว่า สมเด็จเจ้าพระยาให้พระปรีชาเอาทองมาคืนหลวง แต่พระปรีชาปฏิเสธว่าตนสุจริต ไม่ได้ฉ้อทองไว้ แต่พอผู้คุมออกไปแล้วทั้งสองจะพูดอะไรกันก็ไม่มีใครทราบ แต่หลังจากบิดากลับไปแล้ว พระปรีชากล่าวกับผู้คุมว่า พระกสาปน์บอกว่าจะให้แผ่นดินแพ้หรือ เอาทองคำไปไว้ที่ไหน ให้สารภาพออกมาโดยดี ตนเองนั้นบิดามาว่าแล้วก็ต้องเชื่อ บิดาจะให้ตายก็ต้องตาย

แต่พระปรีชาก็ยังปลงไม่ตก นั่งคิดนอนคิดอยู่หลายวัน จนพระยากสาปน์ต้องส่งคนไปเตือนว่าให้เร่งเขียนหนังสือสารภาพโดยเร็ว  เพราะสมเด็จเจ้าพระยารับปากว่าจะช่วย พระปรีชาดูมีกำลังใจขึ้น บอกกับผู้คุมว่า ถ้าท่านรับเช่นนั้น ก็เห็นจะสำเร็จ จึงได้ยอมเขียนหนังสือสารภาพลงวันที่ ๑๓ กรกฎาคม ๒๔๒๒ พร้อมทั้งนำทองคำที่นางแฟนนีส่งมาให้ มอบให้ทางราชการ เมื่อรวมกับทองของพระปรีชาที่นางสงวนน้องสาวนำมามอบในครั้งที่แล้ว พระคลังมหาสมบัติได้ทองคืนไปรวมทั้งหมดเพียง  ๗ ชั่ง ๑๙ตำลึง ๑ เฟื้อง
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14 15 ... 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.084 วินาที กับ 20 คำสั่ง