NAVARAT.C
|
นิวยอร์คไทม์ ฉบับลงวันที่๒๔ กุมภาพันธุ์ ๑๘๘๐ ตรงกับปีพุทธศักราช ๒๔๒๒ เป็นรัชสมัยของรัชกาลที่ ๕ ปีที่ ๑๑ หรือ หลังพระราชพิธีบรมราชาภิเษกครั้งที่๒ ได้ ๘ปี โปรยพาดหัวในสารคดีข่าวสำคัญในเล่มดังนี้
เรื่องเศร้าอันน่าสพรึงกลัวที่สยาม
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 14:01
|
|
การประหารชีวิตพระปรีชา
ขุนนางไทยผู้ถูกกุดหัวเพราะแต่งงานกับลูกสาวข้าราชการอังกฤษ—พระราชาใจร้ายทนเก็บความขุ่นแค้นไว้นานนับปีๆ—เรื่องสยองขวัญแบบยุคกลางในศตวรรษที่สิบเก้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 14:05
|
|
เนื้อในข่าวเป็นอย่างนี้ครับ
กรุงเทพ , สยาม ๒๔ กุมภาพันธุ์ ทางราชการได้กระทำการประหารชีวิตพระปรีชา ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีชื่อเสียง ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยมีอิทธิพลและหน้าที่สำคัญ สาเหตุของโทษนั้นยังเป็นที่วิจารณ์กันอยู่ทั้งในกรุงเทพและสิงคโปร์ รวมถึงทุกภาคส่วนอาณานิคมอังกฤษในเอเชียตะวันออก การตัดศีรษะนักโทษผู้นี้อาจกระตุ้นความสนใจผู้คนได้น้อยมาก หากชายผู้นั้นจะไม่ได้เป็นบุตรเขยของโทมัส จอร์จ น๊อกซ์ อดีตข้าราชการในตำแหน่งกงสุลใหญ่อังกฤษประจำสยาม และหากมันจะเป็นแบบที่คนในประเทศราชาธิปไตยที่มีอะไรแปลกๆนี้ จะเห็นว่าเป็นเรื่องสามัญธรรมดา
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 14:08
|
|
ไม่ว่าจำเลยจะได้รับการพิพากษาอย่างยุติธรรมหรืออยุติธรรม นั่นเป็นเรื่องความเห็นของแต่ละบุคคล ชาวต่างประเทศในสยามและมะละกาอาจเห็นว่าเขาสมควรตาย แต่อีกมากที่แม้จะเชื่อว่าเขาได้กระทำความผิดจริง แต่โทษก็ไม่น่าจะถึงประหารชีวิต หากไม่มีอิทธิพลไปกดดันศาลด้วยความแค้นส่วนตัว เพราะคดีที่จำเลยเป็นขุนนางระดับนั้น หรือคดีอื่นๆก่อนหน้า มีน้อยมากที่จะลงโทษกันถึงประหารชีวิต ผลพวงแห่งความเจริญที่เด่นชัดในประเทศนี้ คือ สิบปีมาแล้วที่ผู้มีตำแหน่งสูงและเงินถึง ว่ากันว่า จะสามารถหลุดคดีอาญาได้ด้วยการติดสินบนผู้พิพากษา และผู้มียศถาบรรดาศักดิ์ในแผ่นดิน แต่ทว่า พระปรีชาผู้ถึงแม้จะเคยเป็นคนโปรดของพระเจ้าแผ่นดิน และมีมิตรผู้ทรงอำนาจช่วยเหลือ กลับมิอาจหลุดรอด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 14:11
|
|
การประหารชีวิตเช่นนี้มีโอกาสเกิดขึ้นน้อย พิสูจน์จากความสับสนวุ่นวายที่ติดตามมา ไม่มีอะไรที่สยดสยองเช่นนี้เกิดขึ้นมานานกว่าเสี้ยวศตวรรษแล้ว ท่านสามารถเข้าใจผลกระทบของมันได้จากการจินตนาการ แบบว่านายจอห์น เชอร์แมน รัฐมนตรีคลังของสหรัฐถูกจับกุมไปอย่างลึกลับ แล้วถูกหิ้วข้ามรัฐไปอย่างลึกลับยิ่งกว่า เพื่อถูกแขวนคออย่างลึกลับที่สุด
ถ้าท่านจะบอกว่าที่สหรัฐเขาไม่แขวนคอเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐกันแล้วไซร้ ที่ประเทศนี้เขาก็ไม่ตัดหัวข้าราชการะดับสูงเช่นนั้นเหมือนกัน กรณีย์ของพระปรีชาจะหาคดีใดมาเปรียบมิได้ อย่างน้อยก็ในชั่วอายุคนนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 14:14
|
|
มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะค้นหาความจริงแท้ของคดีสะเทือนขวัญนี้ และความยากสุดๆที่จะเข้าถึงข้อเท็จจริงนี้เองที่กระตุ้นความสนใจ มันมีอยู่ด้วยกันสองด้าน หากจะบรรยายให้เข้าใจแล้วก็จำเป็นที่ต้องมีพื้นฐาน เรื่องราวแบบแรก พระปรีชาถูกจับกุมพร้อมกับบิดาผู้ชราและน้องชายสองคนด้วยข้อหาว่าร่วมกันกระทำการฉ้อฉล เพื่อเบียดบังทรัพย์ของหลวง มีหลักฐานว่าพวกนี้ได้ซื้อเงินเป็นล้านๆดอลลาร์ด้วยกลโกงอย่างเป็นระบบ ยักยอกทองคำจากเหมืองที่กบินทร์บุรีของพระราชาไปจนเกือบหมดภายในระยะเวลาสามปี โดยลวงพระองค์ว่าเหมืองนั้นมีสินแร่ทองคำน้อยเกินกว่าจะทำกำไร แต่ในขณะที่พวกของตนกลับร่ำรวยขึ้นจากทองคำ
เดี๋ยวนี้บิดาและน้องชายยังอยู่ในคุก รอการสอบสวน หากพบว่ามีความผิดทั้งหมดจะโดนโทษจำคุกยาว พร้อมกับต้องทำงานกรรมกรในโรงสีของหลวง หรือบางทีอาจจะโดนประหารชีวิตเช่นกัน ตัวบิดานั้นคงไม่มีอายุอยู่ยาวในคุก เพราะความชราและโรครุมเร้า สมบัติทั้งหมดของตระกูลรวมถึงคฤหาสน์ริมแม่น้ำ ตรงข้ามเรือนรับรองอาคันตุกะของกระทรวงการต่างประเทศถูกริบราชบาทว์ พร้อมสมบัติอื่นๆเช่นม้า รถม้า บ้าน จานชาม เครื่องเพชรพลอย เรือกลไฟ ประมาณว่ามีมูลค่าหกเจ็ดแสนเหรียญที่โดนยึดเป็นของหลวงหมด เพื่อชดใช้สิ่งที่พระราชากล่าวหาว่าพวกนั้นโกงกินไปจากเหมืองแร่ทองคำ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 14:59
|
|
ส่วนเรื่องราวอีกแบบหนึ่งต่างกันออกไป ที่ว่าข้างต้นอาจจะจริง โดยทั่วไปก็สามารถยอมรับได้ แต่ท่านคงจะทราบว่า ในประเทศนี้มีพระราชาสองพระองค์ พระองค์แรกคือผู้ถืออำนาจอธิปไตย และพระองค์ที่สอง จะขึ้นครองราชย์แทนหากพระราชาพระองค์แรกสวรรคตก่อน หากพระราชาองค์ที่สองทิวงคต ตำแหน่งนั้นก็จะว่างไปจนกว่าพระราชาพระองค์แรกจะสวรรคต บรรดาเสนาบดีหรือสภาสูงก็จะลงมติเลือกพระราชาพระองค์แรกขึ้นใหม่ แล้วพระราชพระองค์ใหม่ก็จะแต่งตั้งพระราชาพระองค์ที่สอง ซึ่งมักจะเป็นพระอนุชาพระราชชนกชนนีเดียวกัน หรือพระราชโอรสของพระองค์ที่ประสูติจากพระราชินี
พระราชาองค์ที่สองในรัชกาลก่อนสวรรคตก่อนพระราชาพระองค์ที่หนึ่ง ผู้ซึ่งก็ได้เสด็จสรรคตตามในปี ๑๘๖๘ เหล่าเสนาบดีได้ประชุมกันเพื่อเลือกผู้ที่จะสืบพระราชบัลลังก์แทน เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์ เสนาบดีกระทรวงกลาโหม ผู้ซึ่งมีอิทธิพลมากในสภา ได้แนะนำให้ผู้เข้าประชุมเลือกเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ พระราชโอรสของพระราชาพระองค์ที่แล้วกับพระราชินี ขึ้นเป็นพระราชาพระองค์ที่หนึ่งต่อไป สำหรับพระราชาพระองค์ที่สองให้เลือกพระองค์เจ้ายอร์ช วอชิงตัน(ผู้ซึ่งได้พระนามนี้ เพราะความชื่นชมที่มีต่อบิดาของประเทศอเมริกา) ท่านเป็นพระราชโอรสของพระราชาองค์ที่สองในรัชกาลที่แล้ว ดังนั้นบรรดาเสนาบดีจึงเห็นชอบหรือถูกบังคับ ให้ลงมติในสิ่งที่ควรจะเป็นพระราชกรณียกิจของพระราชาพระองค์ปัจจุบัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 15:04
|
|
เอาคดีนี้ยกขึ้นมา......คงจะมีอะไรใหม่ๆ มาแน่เลย รอติดตามอ่านครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 15:06
|
|
มีอุบัติเหตุนิดหน่อย รอแก้ไข
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เพ็ญชมพู
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 15:21
|
|
ระหว่างรอคุณนวรัตนดำเนินรายการต่อ ขออนุญาตลงต้นฉบับภาษาอังกฤษไปพลาง ๆ 
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 15:28
|
|
ท่านที่อ่านต้นฉบับที่คุญเพ็ญชมพูเอามาลงแล้วก็ลองแปลดู ถ้าเห็นว่าผมแปลผิดก็บอกด้วยแล้วกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ประกอบ
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 15:29
|
|
มาลงชื่อเข้าห้องเรียนครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 15:32
|
|
มาสายไปนิด ไม่ทันเขาฉะกันไปรอบนึงแล้ว เกือบบ่อนแตก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 15:34
|
|
และเนื่องจากตอนนั้นเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ยังมีพระชนมายุน้อย เจ้าพระยาศรีสุริยวงศ์จึงถูกเลือกหรือว่าเลือกตนเองขึ้นเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดิน แล้วไม่ยอมให้เสียเวลาแม้น้อยที่จะเสริมสร้างอำนาจของตระกูลที่ยิ่งใหญ่อยู่แล้ว เขาได้ลาออกจากตำแหน่งเสนาบดีกระทรวงกลาโหมเพื่อแต่งตั้งบุตรชายคนโตให้เป็นแทน และแต่งตั้งน้องชายต่างมารดาให้เป็นเสนาบดีกระทรวงการต่างประเทศ โยกย้ายเจ้านายอันเป็นที่เคารพและมีความสามารถในราชการตำแหน่งต่างๆมานมนานอย่างมีเลศนัย แล้วยกตำแหน่งเงินๆทองๆที่สำคัญให้แก่พวกพ้องเครือญาติผู้ใกล้ชิด โดยเล็งที่ผลประโยชน์เป็นเป้าหมาย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 25 มี.ค. 15, 15:37
|
|
เนื่องจากพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขณะทรงพระเยาว์มีพระราชประสงค์จะเสด็จประพาสต่างประเทศ ผู้สำเร็จราชการจึงได้จัดการถวายอย่างเยี่ยมยอดให้เสด็จชวาในปี ๑๘๗๐ และอินเดียในปี ๑๘๗๑-๗๒ ซึ่งโทมัส จอร์จ น๊อกซ์ขณะนั้นเป็นกงสุลใหญ่อังกฤษได้ตามเสด็จพระราชาหนุ่มไปด้วยในฐานะที่ปรึกษา แต่เป็นที่ทราบกันว่าในการถวายการปรึกษานั้นมีบางอย่างที่ไม่ทรงโปรด อย่างน้อยหลังจากที่เสด็จกลับมาแล้วความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองก็ไม่เป็นมิตร และเมื่อน๊อกซ์กลับไปอังกฤษในสี่ปีต่อมา พระจุลจอมเกล้าฯทรงมีพระอักษรไปถึงลอร์ดดาร์บี้ รัฐมนตรีการต่างประเทศ ขอร้องไม่ให้ส่งกงสุลผู้นี้กลับมาสยามอีก แต่เนื่องจากพระราชสารดังกล่าวไม่ได้ผ่านไปจากสถานกงสุลสยามในกรุงลอนดอน ตามมารยาททางการทูตอันพึงปฏิบัติ ลอร์ดดาร์บี้จึงไม่ใส่ใจในเรื่องนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|