เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 24
  พิมพ์  
อ่าน: 62216 คดีพระปรีชากลการ มโหฬารงานสร้างทางการเมือง
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 07:12

กงสุลใหญ่อังกฤษ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 07:15

ระหว่างการสืบสวนคดีความโดยมีโจทก์และพยาน แม้มีพยานเอกสารและพยานบุคคลเป็นจำนวนมากแล้วก็ตาม  ทางราชการก็ยังมิได้นำตัวจำเลยที่ถูกขังคุกอยู่ออกมาสอบสวนสักครั้ง  จึงถูกนายน๊อกซ์ร้องเรียนว่าไม่เป็นธรรม ขอให้ขอให้ปล่อยตัวพระปรีชาโดยด่วน  เมื่อไม่ได้ผลจึงได้ติดต่อขอเข้าเฝ้าพระเจ้าอยู่หัวแบบไม่เป็นทางการ

เมื่ออยู่ต่อหน้าพระพักตร์แล้ว นายน๊อกซ์ก็ให้นายกูลด์อ่านข่าวหนังสือพิมพ์ฉบับล่าสุด ที่รายงานว่าอังกฤษได้ส่งกองทัพเข้าไปจัดการกับพม่าแล้ว เนื่องจากไม่พอใจการกระทำของพระเจ้าแผ่นดินและรัฐบาลพม่า  นายน๊อกซ์ได้ขยายความเพื่อข่มขู่พระเจ้าอยู่หัวว่า อังกฤษได้แสดงความไม่พอใจที่พระเจ้าแผ่นดินจับเจ้านายหลายพระองค์สำเร็จโทษอย่างโหดเหี้ยม และคุกคามเจ้านายและสามัญชนหลายคนที่หลบหนีไปอยู่ภายใต้บังคับของอังกฤษ แต่พระเจ้าแผ่นดินพม่าตอบว่าเป็นเรื่องภายในของตนที่ไม่เกี่ยวกับคนอื่น  พม่าจึงจะได้รับบทเรียนต่อไป ส่วนสยามก็เช่นกัน ตัวเขามีสิทธิ์ที่จะเข้ามาเกี่ยวข้องดูแลความเป็นธรรมในคดีพระปรีชา ถ้าไม่ยอมตามที่เขาเรียกร้องแล้ว นายน๊อกซ์จะถือว่ารัฐบาลสยามดูถูกดูหมิ่นรัฐบาลอังกฤษและตัวกงสุลใหญ่

พระเจ้าอยู่หัวทรงนิ่งมาก ทรงถามกลับว่าแล้วจะให้พระองคท่านทำอะไร นายน๊อกซ์ทูลว่าเรื่องทั้งหมดเกิดขึ้นเพราะความแค้นสะสมของสมเด็จเจ้าพระยา ที่ต้องการขจัดคู่อริทางการเมือง  จึงขอถวายคำแนะนำให้พระเจ้าอยู่หัวปลดทั้งสมเด็จเจ้าพระยา และเจ้าพระยาภาณุวงศ์เสีย  แล้วนายน๊อกซ์จะเข้ามาเป็นพวกด้วย และจะช่วยเหลืองานส่วนพระองค์เอง อย่าได้ทรงเป็นห่วง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 07:21

นายน๊อกซ์สารภาพกับพระเจ้าอยู่หัวว่า  ตนเกลียดสมเด็จเจ้าพระยามานานแล้ว ตั้งแต่รู้ว่าทำหนังสือไปลอนดอน เพื่อขอให้เปลี่ยนตัวกงสุลที่กรุงเทพ ส่วนเจ้าพระยาภานุวงศ์ก็ไม่ชอบกันมาตั้งแต่โดยเสด็จไปเมืองอินเดียด้วยกัน  เห็นจะมีกรมพระราชวังบวรพระองค์เดียวเท่านั้น ที่เขารักและไว้ใจที่สุด

ถึงตรงนี้พระเจ้าอยู่หัวก็ตรัสว่า ใครจะชอบหรือไม่ชอบพระองค์นั้น ทรงรู้ดี แต่ก็ยังคงสามารถประคองพระองค์เองมาได้จนทุกวันนี้  จึงไม่เรื่องที่จะมาเป็นทุกข์เป็นร้อนว่าจะมีพรรคพวกช่วย ส่วนเรื่องการสอบสวนเอาโทษพระปรีชา พระองค์เห็นพ้องกับเสนาบดีผู้ใหญ่ทั้งสอง ถ้าพระปรีชาไม่ผิดก็ไม่จำเป็นต้องกลัว

เพื่อเจราจาไม่ได้ผล นายน๊อกซ์ก็ยื่นหนังสือถวาย เสนอข้อเรียกร้องสามประการ คือหนึ่ง ให้รัฐบาลสยามทำหนังสือขอโทษเขาให้ชัดเจน ไม่ใช่ใช้คำแค่ขอแสดงความเสียใจ สอง การพิจารณาคดีพระปรีชาให้เลือกตุลาการที่เป็นธรรม และสาม ขอให้ปล่อยพระปรีชาระหว่างการสอบสวน  ถ้ารัฐบาลของพระเจ้าอยู่หัวไม่ทำตามแม้แต่เพียงข้อเดียว ก็ขอให้เตรียมตัวรับความเดือดร้อน เพราะตนได้เรียกเรือรบของอังกฤษเข้ามากรุงเทพแล้ว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 07:41

พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้เจ้าพระยาภานุวงศ์เป็นผู้ตอบหนังสือดังกล่าว ซึ่งมีความว่า ที่รํฐบาลใช้คำว่าขอแสดงความเสียใจ เพราะเป็นคำพูดของผู้ที่มีวุฒิภาวะพึงใช้ระหว่างกัน มีความหมายว่าขอโทษอยู่แล้ว  ส่วนเรื่องตุลาการก็ได้ค้ดเลือกแต่คนที่มีความยุติธรรม มีสมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ประธานของพระบรมวงศานุวงศ์  ผู้ที่คนทั่วไปให้เคารพนับถือเป็นองค์หัวหน้าคณะ ก็คงจะเป็นที่พอใจ ส่วนเรื่องขอให้ปล่อยตัวพระปรีชาในขณะนี้นั้น กระทำไม่ได้เพราะกำลังอยู่ในขบวนการสอบสวน

เมื่อได้รับแล้ว นายน๊อกซ์ทำหนังสือตอบว่า ตนจะรับคำขอแสดงความเสียใจแทนคำขอโทษก็ได้ แต่ถ้าไม่ยอมปล่อยตัวพระปรีชาตามหลักมนุษยธรรมที่ใช้ในบ้านเมืองที่เจริญแล้ว เขาก็จะไม่ถือว่าคำขอโทษนั้น สามารถลบล้างความผิดที่รัฐบาลได้กระทำการละเมิดต่อตัวเขา

มาถึงตอนนี้ พระเจ้าอยู่หัวและเสนาบดีผู้ใหญ่ทั้งสองท่านเห็นพ้องกันว่า ป่วยการที่จะทำความเข้าใจกับนายน๊อกซ์เสียแล้ว จึงตัดสินใจส่งคณะทูตพิเศษรีบเดินทางออกไปชี้แจงกับรัฐบาลอังกฤษในทันที  เมื่อทูตออกไปแล้วจึงทำหนังสือถึงนายน๊อกซ์ว่า รัฐบาลสยามได้ส่งคณะทูตไปลอนดอน เพื่อชี้แจงต่อกระทรวงการต่างประเทศของอังกฤษในกรณีย์ที่รัฐบาลและกงสุลใหญ่อังกฤษมีความเห็นไม่ตรงกัน สุดแล้วแต่รัฐบาลอังกฤษจะมีควมเห็นควรประการใด

นายน๊อกซ์คาดไม่ถึงว่ารัฐบาลสยามจะทำอะไรได้เร็วขนาดนั้น เมื่อไม่สามารถจะคัดค้านได้ทันการ ก็ต้องเลยตามเลย โดยทำหนังสือตอบไม่ขัดข้องกลับมา แต่ยังไม่วายที่จะขู่ว่า ไม่แน่ที่รัฐบาลอังกฤษจะต้อนรับคณะทูตสยามก็ได้ เพราะรัฐบาลกระทำข้ามขั้นตอนข้ามหัวเขา โดยไม่ทำหนังสือถึงกงสุลใหญ่ให้เห็นชอบและเสนอเรื่องไปที่รัฐบาลอังกฤษก่อน  ต่อเมื่อทางลอนดอนตอบรับแล้วค่อยไป พร้อมกันนั้น นายน๊อกซ์ได้ขอสำเนาหนังสือราชการที่คณะทูตได้นำไปอังกฤษให้เขาได้ทราบความด้วย  แต่รัฐบาลตอบปฏิเสธ โดยให้เหตุผลว่า เมื่อเกิดคดีความพระปรีชาขึ้นมาในตอนแรก แล้วนายน๊อกซ์ทำรายงานไปยังกระทรวงต่างประเทศอังกฤษนั้น รัฐบาลสยามก็ไม่มีโอกาสได้เห็นเช่นกัน

ช่างโต้ตอบได้ถึงพริกถึงขิงดีแท้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 07:43

พระปรีชากลการ(สำอาง) และนางปรีชากลการ(แฟนนี นอกซ์)

ลูกเขยและลูกสาวกงสุลใหญ่อังกฤษ


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 11:13

ยังแอบฟังอยู่ห้องข้างๆ นะครับ
คราวนี้ แอบไม่พอใจอยู่ในใจว่า ขึ้นชื่อว่าเป็นข้าราชการ ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหนก็น่าจะเหมือนกัน คือ ทำการเกินอำนาจหน้าที่ของตนเองไม่ได้ ขึ้นทำลงไป ก็อาจจะมีความผิดเสียเองได้ เช่นนี้แล้ว ตำแหน่งกงศุลใหญ่ ในสมัยนั้น มีอำนาจหน้าที่อย่างไรกัน หรือเขามีอำนาจบารมีขนาดไหนกัน ถึงได้สามารถเจรจาข่มขู่พระเจ้าแผ่นดินได้

 ฮืม
 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 14:20

อ้างถึง
ยังแอบฟังอยู่ห้องข้างๆ นะครับ
คราวนี้ แอบไม่พอใจอยู่ในใจว่า ขึ้นชื่อว่าเป็นข้าราชการ ไม่ว่ายุคไหนสมัยไหนก็น่าจะเหมือนกัน คือ ทำการเกินอำนาจหน้าที่ของตนเองไม่ได้ ขึ้นทำลงไป ก็อาจจะมีความผิดเสียเองได้
ยังไม่แน่ใจว่าที่กล่าวนี้หมายถึงข้าราชการไทย เช่นพระปรีชากลการด้วยหรือเปล่า  แต่จะใช่หรือไม่ใช่ก็ตาม มันมีทั้งทำเกินหน้าที่ และทำน้อยกว่าหน้าที่ที่ควรจะทำ ไอ้ที่พอดีๆนั้น ส่วนน้อย
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 14:28

อ้างถึง
เช่นนี้แล้ว ตำแหน่งกงศุลใหญ่ ในสมัยนั้น มีอำนาจหน้าที่อย่างไรกัน หรือเขามีอำนาจบารมีขนาดไหนกัน ถึงได้สามารถเจรจาข่มขู่พระเจ้าแผ่นดินได้
นายน๊อกซ์เป็นทหารอังกฤษประจำการอยู่ในอินเดีย คงมีวิญญาณนักเผชิญโชคเช่นฝรั่งสะพายเป้ทุกยุคทุกสมัย  จึงเดินทางมาสยามแล้วได้งานทำเป็นครูฝึกทหารให้วังหน้า
ต่อมาเกิดชอบพอกับอำแดงปราง สาวปากลัด นางข้าหลวงของพระองค์เจ้าวงจันทร์ พระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าก็สมรสพระราชทานให้
ต่อมาเมื่ออังกฤษมาตั้งสถานกงสุลหลังสนธิสัญญาเบาวริ่ง ได้พักหนึ่ง ร้อยเอกน๊อกซ์ก็ลาออกจากข้าราชการวังหน้า ไปเป็นล่ามให้สถานกงสุล แล้วไต่เต้าขึ้นมาเรื่อยๆจนได้เป็นกงสุล และกงสุลใหญ่ตามลำดับ

การที่กงสุลน๊อกซ์มีประสบการณ์มากมายในเมืองไทย และพูดภาษาไทยได้ จึงทำให้เขาดูน่ากลัวเพราะรู้เรื่องของเรามากเกินไป ไม่ค่อยมีผู้หลักผู้ใหญ่อยากคบกับเขา มีแต่กรมพระราชวังบวร เพราะทรงถือว่าเป็นเพื่อนเก่าเพือนแก่ และพระองค์เองก็เป็นคนน่ารัก เข้ากับคนง่าย ในขณะที่พระเจ้าอยู่หัวหนุ่ม ทรงระแวงไปทุกคนนอกจากพระอนุชาและเจ้านายใกล้ชิด นายน๊อกซ์นั้นเข้าไม่ติด ตั้งแต่ทรงคิดว่าเขาทะลึ่งที่พยายามจะสอนพระองค์ต่อหน้าคนอื่นในคราวเสด็จเมืองอินเดีย ดังนั้นจึงไม่แปลกที่นายน๊อกซ์ก็จะไม่ชอบพระเจ้าอยู่หัวเช่นกัน แล้วยิ่งเพิ่มความสนิทสนมกับวังหน้าจนทำให้ทรงเขม่นทั้งคู่หนักเข้าไปอีก

หลังวิกฤตวังหน้าจบลงเพราะอิทธิพลของอังกฤษ พระเจ้าอยู่หัวทรงลดอำนาจของวังหน้าได้แต่ไม่สามารถลดบทบาทของขุนนางตระกูลบุนนาคได้ และดูเหมือนว่าอังกฤษจะยังมีอิทธิพลสืบเนื่อง คงจำบทความของนิวยอร์คไทม์ตอนหนึ่งที่กล่าวว่า ตอนนั้นกงสุลน๊อกซ์เสมือนเป็น The first king of Siam เพราะสามารถเข้ากันได้กับทุกกลุ่มการเมือง พูดอะไรใครก็ฟัง และทำให้คิงจุฬาลงกรณ์เป็น King of the palaceไป

บทความในนิวยอร์คไทม์สะท้อนให้เห็นความรู้สึกนึกคิดของนายน๊อกซ์ ที่เห็นว่าพระเจ้าอยู่หัวยังเด็ก(หมายความว่าประสบการณ์ยังน้อย) จึงควรจะต้องเชื่อฟังเขา โดยเฉพาะหากคิดว่าสยามยังจะต้องพึ่งอิทธิพลของอังกฤษในการคานอำนาจกับฝรั่งเศส ซึ่งตอนนั้นกลืนเขมรและลาว เมืองขึ้นของสยามไปแล้ว

สำหรับเรื่องพระปรีชา เมื่อพระเจ้าอยู่หัวไม่นำพาต่อข้อเรียกร้องของเขา จึงอดกลั้นไม่ได้ที่จะแสดงสันดานดิบออกมาบ้างตามนั้น
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 20:00

นายน๊อกซ์สารภาพกับพระเจ้าอยู่หัวว่า  ตนเกลียดสมเด็จเจ้าพระยามานานแล้ว ตั้งแต่รู้ว่าทำหนังสือไปลอนดอน เพื่อขอให้เปลี่ยนตัวกงสุลที่กรุงเทพ ส่วนเจ้าพระยาภานุวงศ์ก็ไม่ชอบกันมาตั้งแต่โดยเสด็จไปเมืองอินเดียด้วยกัน

ดูจากตรงนี้ เห็นว่านายคนน๊อกซ์หาได้ฉลาดล้ำลึก ทำไมถึงได้เป็นใหญ่เป็นโต มีตัวช่วยอะไรหรือเปล่าคะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 20:35

ฝรั่งไม่เหมือนไทยที่ตัวช่วยคือเส้นสาย แต่ตัวช่วยของนายน๊อกซ์ก็คือความรู้ความเข้าใจในประเทศนี้มากกว่าคนอังกฤษอื่นๆ นอกจากจะพูดภาษาไทยได้แล้ว เขายังได้ชื่อว่าเป็นคนของในวัง แม้จะในวังหน้าก็ตาม แต่นั่นก็มีประโยชน์มากในหน้าที่การงานของกงสุล

อนึ่ง การหาคนแบบที่กระทรวงการต่างประเทศต้องการมาทำงานนานๆในสยามก็หายากอยู่ เพราะฝรั่งไม่ค่อยทนกับอากาศร้อนชื้น ยิ่งน้ำบริโภคด้วยแล้ว ถ้าไม่ต้มให้เดือดจริงๆฝรั่งกินเข้าไปจะจู๊ดๆทุกราย  เผลอๆก็ตายไปเลย  ฝรั่งมาเมืองไทยจึงเหมือนเดินเข้าสมรภูมิ ทุกคนคิดว่าถ้ารอดกลับไปก็ต้องมีอะไรติดมือกลับไปแบบคุ้มค่า  จึงทำทุกทางเพื่อการนั้น
กงสุลคนแรกของอังกฤษก็ตายด้วยโรคท้องร่วงอย่างแรง แต่นายน๊อกซ์อยู่นานจนมีภูมิคุ้มกัน ทนอยู่ได้จนสามารถไต่ระดับจากตำแหน่งล่าม ไปจนเป็นเบอร์หนึ่งของสถานกงสุลในที่สุด

ผมเห็นด้วยว่านายน๊อกซ์ไม่ได้ฉลาดล้ำลึก เขาเล่นเกมผิดตลอด และโฉ่งฉ่างเกินไปจนสุดท้ายก็จบไม่สวย นายน๊อกซ์ต้องกลับไปอังกฤษคนเดียว ลูกเมียไม่ยอมตามไปอยู่ด้วย  เขาได้เป็นท่านเซอร์ แต่ก็คงกลายเป็นตาแก่เซ่อๆคนนึงในบ้านเกิด หาร่องรอยไม่ได้ว่ามีบทบาทอะไรอีก จนกระทั่งตายไปอย่างเงียบๆ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 21:42

ได้ประวัติสั้นๆของน๊อกซ์มาค่ะ  รวมทั้งเครื่องราชฯของเขาด้วย


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 22:05

นำประวัติสั้น ๆ ของแฟนนีและพระปรีชากลการมาร่วมด้วย  ยิงฟันยิ้ม

ข้อมูลจาก
http://thepeerage.com/p33215.htm#i332146



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 22:20

เข้าใจว่า Prang Yen หมายถึงชื่อตัวชื่อปราง บุตรีของนางเย็น แบบชื่อชาวมุสลิม หรือเขมร ในสมัยที่คนไทยยังไม่มีนามสกุล ชื่ออย่างเป็นทางการก็เป็นไปตามลักษณะเดียวกันนั้น

อนึ่ง อำแดงหมายถึงนางสาวนะครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 01 เม.ย. 15, 22:23

ค่ะ  Sum Aang Maude  หรือ สำอาง(บุตรนาย)โหมด  ก็แบบเดียวกัน 
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 02 เม.ย. 15, 07:26

ผมเห็นด้วยว่านายน๊อกซ์ไม่ได้ฉลาดล้ำลึก เขาเล่นเกมผิดตลอด และโฉ่งฉ่างเกินไปจนสุดท้ายก็จบไม่สวย นายน๊อกซ์ต้องกลับไปอังกฤษคนเดียว ลูกเมียไม่ยอมตามไปอยู่ด้วย  เขาได้เป็นท่านเซอร์ แต่ก็คงกลายเป็นตาแก่เซ่อๆคนนึงในบ้านเกิด หาร่องรอยไม่ได้ว่ามีบทบาทอะไรอีก จนกระทั่งตายไปอย่างเงียบๆ

ที่ว่านายน๊อกซ์อ่านเกมผิดนั้น ดูได้จากหนังสือที่นายน๊อกซ์ทำรายงานเรื่องพระปรีชาฉบับแรกไปยังกระทรวงต่างประเทศอังกฤษ  ซึ่งนายน๊อกซ์คงจะให้คนเขียนบทความที่ส่งไปตีพิมพ์ในนิวยอร์คไทม์ได้ดูสำเนานั้นด้วย ใจความบางอย่างจึงคล้ายกัน  ที่สำคัญคือ ไปฟันธงว่าพระเจ้าอยู่หัวนั้นอ่อนแอ หลังวิกฤตวังหน้าแล้ว ทรงอยู่ภายใต้ครอบงำของสมเด็จเจ้าพระยา โดยพระองค์ทรงอยู่ในภาวะจำยอมที่ไม่อาจปฏิเสธได้ เพราะขุนนางสำคัญๆเป็นคนในตระกูลบุนนาคทั้งนั้น
คดีพระปรีชานี้  เกิดขึ้นเพราะคำกล่าวหาของสมเด็จเจ้าพระยาที่หวังแก้แค้นนายโหมด และด้วยความอิจฉาของเจ้าพระยาภานุวงศ์ในตัวพระปรีชา  แม้พระเจ้าอยู่หัวจะไม่เต็มพระทัย ก็ทรงจำต้องปล่อยเลยตามเลย

ความจริงนายน๊อกซ์ก็รู้มาก แต่รู้ไม่หมด วันที่เขาเข้าเฝ้าแล้วพลาดไปกราบบังคมทูลว่า ตนไม่ชอบสมเด็จเจ้าพระยาและเจ้าพระยาภานุวงศ์ หวังจะให้พระเจ้าอยู่หัวเห็นว่าเป็นพวกเดียวกัน และทูลเสนอให้พระเจ้าอยู่หัวปลดสมเด็จเจ้าพระยา กับเจ้าพระยาภานุวงศ์  โดยเขาอาสาจะเสียบเข้ามาเป็นที่ปรึกษา เพื่อให้พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิรูปสยามต่อโดยไม่ต้องเกรงใจผู้ใดอีกแล้ว เพราะจะมีอังกฤษให้พิงหลังประกันความปลอดภัยนั้น  นายน๊อกซ์คิดว่าเป็นข้อเสนอวิเศษสุดที่พระเจ้าอยู่หัวจะทรงพึงพอพระทัย แต่สิ่งที่นายน๊อกซ์ไม่รู้นั่นเองที่ทำให้พระเจ้าอยู่หัวทรงปฏิเสธด้วยความรู้สึกแบบติดลบ  นั่นก็คือ เหนือบุคคลอื่นใดที่พระองค์ทรงเกลียด ก็เป็นตัวนายน๊อกซ์เอง

ดังนั้นก็ไม่แปลกที่นายน๊อกซ์สอบตกครั้งสำคัญของชีวิตในครั้งนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 24
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง