เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 14230 ตามหาพระเมรุมาศ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 13 ก.พ. 18, 11:03

ภาพเปรียบเทียบ ๑


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 13 ก.พ. 18, 11:04

ภาพเปรียบเทียบ ๒


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 13 ก.พ. 18, 16:13

คุณ Pattarapol Piewnim ได้โพสต์ข้อความนี้ในFBของคุณศักดิ์ชัยครับ เป็นอันว่าชัดเจนว่าพระเมรุมาศของเจ้านายทั้งสองพระองค์ทำไมจึงเหมือนกัน ต่างกันที่รั้วราชวัตรและศาลาภายนอกเท่านั้น


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 13 ก.พ. 18, 16:30

จุดแตกต่างที่ชัดเจนระหว่าพระเมรุมาศของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ(ภาพถ่าย) กับของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ (ภาพลายเส้น ซึ่งต้องมีที่มาจากภาพถ่ายเช่นกัน เพียงแต่เรายังไม่ได้ค้นพบเท่านั้น แต่ในอังกฤษคงมีเก็บไว้ที่ใดที่หนึ่งแน่นอน)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ

คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 13 ก.พ. 18, 16:37

ภาพลายเส้นที่ The Graphic ทำขึ้น มีที่มาจากภาพถ่ายที่ในเมืองไทยมีหมด ยกเว้นภาพพระเมรุมาศภาพเดียว(ที่ผมไม่เคยเห็น แต่คนอื่นอาจจะเคยเห็นแล้วก็ได้) สงสัยเหมือนกันว่าเป็นไปได้ยังไง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 13 ก.พ. 18, 19:25

ลองดูสิครับว่า ฐานะศักดิ์ของระทานั้น งานทั้งสองมีความแตกต่างกัน ระทางานหนึ่งมียอดแหลม งานหนึ่งเอายอดแหลมออกปักฉัตรเล็กล้อมรอบแทน นั่นก็คือคนละงานกันครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 14 ก.พ. 18, 08:29

จากหนังสือสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศในสยาม ของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี และคณะ ให้ภาพและข้อมูลไว้ว่า ลำดับและลักษณะของพระเมรุมี ๓ ชั้น คือ พระเมรุเอก พระเมรุโท และ พระเมรุตรี มีรายละเอียดมากมาย ผมของนำมาเฉพาะเรื่องของระทา
 
พระเมรุเอกนั้น ระทาเป็นยอดมณฑป สูง ๑๒ วา จำนวนด้านละ ๑๖ ระทา
พระเมรุโท ระทา สูง ๑๐ วา จำนวนด้านละ๑๔ ระทา  เป็นยอดมณฑป๑๐ ระทา ที่เหลือเป็นยอดป้อม
พระเมรุตรี ระทา สูง ๘ วา จำนวนด้านละ๑๒ ระทา  เป็นยอดป้อมทั้งหมด


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 14 ก.พ. 18, 08:31

พระเมรุมาศของกรมพระราชวังบวรนั้น หนังสือสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศในสยามไม่ได้ระบุว่าเป็นพระเมรุชั้นใด แต่กล่าวว่า ทรงโปรดเกล้าให้สร้างตามพระราชประเพณีโดยให้ปรับลดรูปแบบลงเสียบ้างตามความเหมาะสม

ส่วนพระเมรุมาศของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์นั้น หนังสือรพบุว่าเป็นพระเมรุชั้นเจ้าฟ้า น่าจะหมายถึงพระเมรุโท  อย่างไรก็ตามข้อกำหนดต่างๆนั้น จะพระราชทานเพิ่มลดใดๆก็ได้ตามพระราชอัธยาศัย  และสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลานั้นทรงอยู่ในฐานะองค์ประธานพระบรมวงศานุวงศ์ ซึ่งพระเจ้าอยู่หัวถวายความเคารพอย่างสูงอยู่ด้วย  ดังนั้น เราจึงเห็นฉัตร ๗ ชั้นแทนฉัตร ๕ ชั้น ตามศักดิ์ของเจ้าฟ้าตามปกติ ส่วนยอดระทา จะเปลี่ยนยอดป้อมมาเป็นปักฉัตร ก็ย่อมจะทำได้ ไม่น่าจะถือว่าเป็นการลดยศแต่อาจจะเป็นการเพิ่มกว่าปกติด้วยซ้ำ

ที่ผมว่าเช่นนี้ก็ประมาณจากยอดระทาในสองภาพนี้ บน เป็นงานออกพระเมรุของสมเด็จกรมพระปรมานุชิตชิโนรส และล่าง ของ สมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี


บันทึกการเข้า
Koratian
พาลี
****
ตอบ: 329


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 14 ก.พ. 18, 09:36


นำภาพระทาจากงานพระเพทราชามาร่วมแจมครับ

Barend J. Terwiel, Two Scrolls Depicting Phra Phetracha’s Funeral Procession in 1704 and the Riddle of their Creation



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 14 ก.พ. 18, 11:44

^


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 15 ก.พ. 18, 10:38

บทสรุป

พระเมรุมาศสำหรับพระราชทานเพลิงพระศพกรมพระราชวังบวรวิชัยชาญนั้น หนังสือ สถาปัตยกรรมพระเมรุมาศในสยาม ของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี และคณะ ระบุแต่เพียงว่า พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้เจ้าพนักงานดำเนินการสร้างไปตามขนบราชประเพณี ดังปรากฏว่า ในวันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๒๘ หรือ ประมาณหกเดือนหลังทิวงคต ได้มีการพิธียกเสาพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวง และนอกจากนั้นก็มีการเกณฑ์ให้เจ้านายทั้งฝ่ายพระบรมมหาราชวังและฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล ทำระทา ฉัตรเงิน ฉัตรทอง และฉัตรนาค ๙ ชั้น เพื่อตั้งประดับพระเมรุตามพระอิสริยยศนั้น ส่วนรูปสัตว์หิมพานต์ที่เชิญผ้าไตรและเครื่องสังเค็ด ก็โปรดเกล้าฯ ให้เกณฑ์ข้าราชการในพระราชวังบวรฯ ทำรูปสัตว์มีบุษบก และแท่นล้อ เพื่อเข้ากระบวนแห่พระศพเป็นคู่ๆ ไป เช่น รูปคชสีห์ แรด สกุณไกรสร สางแปลง เกสรสิงห นกทัณฑิมา และนกอินทรี เป็นต้น โดยมีพระองค์เจ้าขจรจรัสวงศ์ และหม่อมเจ้าสุบรรณ เป็นแม่กอง

ความนอกจากนั้นก็ไปว่าถึงเรื่องความบาดหมางพระทัยที่ทรงมีต่อกรมพระราชวังวิไชยชาญทั้งสิ้น และไม่มีรูปหรือภาพถ่ายแม้แต่ภาพเดียว อย่างไรก็ดีภาพถ่ายของฟริทช์ ชูมันน์ที่ปรากฏ ก็แสดงว่าแม้พระองค์จะไม่โปรดวังหน้าอย่างไร ก็ยังทรงมีพระขันติธรรม ที่จะจัดงานพระศพอย่างสมพระเกียรติ

หนังสือสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศในสยามกลาวว่า หลังจากงานของกรมพระราชวังวิไชยชาญแล้ว โปรดเกล้าให้ใช้เพระเมรุนั้นจัดงานพระราชทานเพลิงพระศพ พระเจ้าน้องนางเธอ พระองค์เจ้ามัณยาภาธร พระราชธิดาองค์ที่ ๑๔ ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระองค์เจ้าอรุณ พระราชธิดาองค์แรกของกรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพ  แล้วเสร็จจึงได้เริ่มรื้อลง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 15 ก.พ. 18, 10:40

ก่อนหน้าพระศพกรมพระยาบำราบ ได้มีงานพระศพพระองค์เจ้าประไพพรรณพิลาส พระราชธิดาพระชนม์ ๒ พรรษาในรัชกาลที่ ๕  แม้พระเมรุของกรมพระราชวังบวรยังรื้อลงไม่เสร็จ ก็โปรดให้สร้างพระเมรุขึ้นใหม่ในวัดราชบพิธ โดยพระราชทานเพลิงในวันที่ ๒๙ ธันวาคม๒๔๒๙

ส่วนสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ ซึ่งทรงล้มประชวรมาตั้งแต่สิงหาคม พ.ศ.๒๔๒๙ หลังออกพระเมรุกรมพระราชวังบวรเพียง ๒ เดือน ครั้นถึง ๑ กันยายน ก็สิ้นพระชนม์ลง พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯโปรดเกล้าให้สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภาณุรักษีสว่างวงศ์ กรมพระภาณุพันธุวงศ์วรเดช ซึ่งขณะนั้นทรงมีพระชันษาได้ ๒๙ ปี เป็นแม่กองในการพระเมรุ เพื่อพระราชทานเพลิงศพให้ทันฤดูแล้งของปี  ๒๔๓๐ โดยมีพระยาราชสงคราม (ทัด หงสุกล) เป็นนายช่าง มีบุตรชายของพระยาราชสงครามสองคนเป็นผู้ช่วย ได้แก่ พระวิสูตรโยธามาตย์ (เจริญ หงสกุล ภายหลังได้รับพระราชทานราชทินนามเป็น พระยาสามภพพ่าย) และขุนพรหมรักษา (กร หงสกุล ภายหลังได้รับพระราชทานราชทินนามเป็น พระยาราชสงคราม)

หนังสือ สถาปัตยกรรมพระเมรุมาศในสยาม ของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี และคณะ มิได้กล่าวถึงความในจดหมายเหตุพระราชกิจรายวันรัชกาลที่ ๕  ที่ว่า“ …และการพระเมรุกรมสมเด็จพระบำราบปรปักษ์นั้น  โปรดให้สมเด็จกรมพระภานุพันธุ์เป็นแม่กองทำการ และงดเมรุกรมพระราชวังบวรที่ยังรื้อไม่แล้วนั้นไว้เป็นพระเมรุกรมสมเด็จพระต่อไป” หากกล่าวความโดยละเอียดว่า การก่อสร้างพระเมรุสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหามาลา แบ่งออกเป็นด้านๆ ตามธรรมเนียมการโยธาใหญ่ๆ ในสมัยนั้น โดยมีกรมพระตำรวจใน รับผิดชอบการทำพระเมรุใหญ่ กรมรักษาพระองค์ ทำพระที่นั่งทรงธรรม กรมพระตำรวจนอก และกรมพระตำรวจสนม ทำซุ้มไฟ โรงหนัง และโรงโขนชักรอก กรมคู่ชัก ทำโรงกงเต๊ก กรมมหาดไทย ทำดอกไม้ไฟต่างๆ กรมวังฝ่ายพระราชวังบวรสถานมงคล ทำระทาไม้ไผ่ กรมช่างสิบหมู่ ทำซุ้มตะเกียง หนังชักรอก และพระเบญจาทอง ที่ประดิษฐานพระโกศพระศพ เป็นต้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 15 ก.พ. 18, 10:43

ความต่อไปนี้ แม้หนังสือสถาปัตยกรรมพระเมรุมาศในสยาม จะบรรยายว่าเป็นพระเมรุสมเด็จฯ เจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ แต่ก็คงจะใช้ภาพถ่ายพระเมรุมาศของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญเป็นแนว กล่าวคือ จากมุมด้านตะวันออก ลักษณะเป็นพระเมรุทรงปราสาท ประกอบเครื่องยอดทรงมณฑป มีชั้นเชิงกลอน ๗ ชั้น ตามฐานานุศักดิ์ของพระเมรุชั้นเจ้าฟ้า แวดล้อมด้วยคด ๔ มุม ที่มีระเบียงเชื่อมถึงกัน โดยตรงกึ่งกลางเป็นซุ้มประตูทางเข้าพระเมรุที่มีหุ่นรูปยักษ์ยืนถือกระบองเฝ้าอยู่คู่หนึ่ง รูปแบบของคดที่สี่มุมและซุ้มประตูทางเข้าพระเมรุเป็นอาคารทรงจตุรมุข หลังคาจั่วซ้อนชั้น และไม่มีเครื่องยอด ถัดจากแนวระเบียงเข้าไปในพระเมรุมองเห็นฉัตรเงิน ฉัตรทองและฉัตรนาค ตั้งเรียงรายอยู่ ส่วนด้านนอกระเบียงมีโรงรถรูปสัตว์หิมพานต์ที่เป็นศาลาหลังคาจั่วขนาดเล็กตั้งเรียงกัน ด้านหน้าโรงรถรูปสัตว์เป็นราชวัติทึบ ซึ่งประดับด้วยฉัตรเบญจรงค์สองข้าง ซุ้มประตูพระเมรุด้านหน้ามีศาลาคู่ต่อด้วยพลับพลาทรงโปรยทางด้านซ้าย ด้านหน้าสุดในภาพเห็นแถวระทายอดมณฑปตั้งสลับกับโรงมหรสพ ซึ่งเป็นโรงเครื่องผูกยกพื้น หลังคามุงจาก

สถาปัตยกรรมพระเมรุเป็นอาคารจัตุรมุขยอดมณฑป สูงแต่พื้นจดยอด ๓๐ วา (๖๐ เมตร) มีพลับพลาพระที่นั่งทรงธรรมทางทิศใต้ พื้นและผนังพระเมรุและพระที่นั่งทรงธรรมทาสีเหลือง เขียนลายดอกสีแดง ที่ผนังและเสาภายในพระเมรุมีโครลงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา ที่เจ้านายและข้าราชการชั้นสูงร่วมกันแต่งถวายในการพระเมรุคราวนี้รวม ๔๐ เรื่อง ใส่กรอบติดประดับส่วนที่พนักฐานเฉียงรองพระเบญจา ที่ตั้งพระโกศก็มีตู้กระจก ภายในมีรูปภาพบรรยายความตามโคลงเฉลิมพระเกียรตินั้น

บริเวณพระเมรุทั้งสี่ด้านแวดล้อมด้วยส้างจัตุรมุข ไม่มียอด ๔ หลัง มีระเบียงเชื่อมถึงกัน ทางทิศเหนือ ใต้ และ ตะวันออก มีเมรุประตูทรงจัตุรมุข แต่ไม่มียอด มีรูปยักษ์คู่ขนาดใหญ่ประจำทุกประตู  ในบริเวณพระเมรุชั้นในประดับด้วยฉัตรทอง เงิน นาค ๙ ชั้น ส่วนบริเวณชั้นนอกประดับฉัตรเบญจรงค์ ๗ ชั้น ตามสมควรแก่พระอิศริยยศ



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 15 ก.พ. 18, 10:44

(น่าจะ) จบบริบูรณ์
บันทึกการเข้า
azante
อสุรผัด
*
ตอบ: 31


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 23 ก.พ. 18, 15:07

ขอบคุณ คุณ NAVARAT.C มากครับที่ตามหาพระเมรุสำคัญจนเจอ จากรูปพระเมรุที่ได้โพสต์ลงในเรือนไทยนี้ สังเกตได้ว่า
ขนาดของพระเมรุมาศตั้งแต่ต้นรัชกาลที่ 5 ได้ค่อยๆลดขนาด ความสูง และขนาดอาคาร ประกอบ ลงมาเป็นลำดับคือ
1.พระเมรุมาศ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
2.พระเมรุมาศ สมเด็จพระนางเจ้าสุนันทากุมารีรัตน์
3.พระเมรุมาศ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
4.พระเมรุมาศ สมเด็จเจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ (ซึ่งดูจะเล็กมากเลย เมื่อเทียบกับงานพระเมรุ เจ้าฟ้าพาหุรัดมณีมัย)

จนถึงมีรับสั่งของล้นเกล้ารัชกาลที่ 5 เกี่ยวกับพระเมรุมาศของพระองค์ เพื่อไม่ให้สิ้นเปลืองจนเกินไป จนเป็นแบบอย่างมาจนถึงทุกวันนี้
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง