NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 15 มี.ค. 15, 08:24
|
|
ภาพนี้สิครับน่าฉงน ระทาเจ้าเก่ากลับมายืนสูงเด่นเป็นดงอยู่ท่ามกลางหมอกทั้งที่เป็นปีพ.ศ. ๒๔๔๓ แล้ว เป็นงานออกพระเมรุของสมเด็จเจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 15 มี.ค. 15, 08:29
|
|
ภาพสุดท้าย เป็นภาพที่ถ่ายกลางคืนภาพแรก พระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งใช้โคมไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าสยามให้แสงสว่างในงานทั้งหมด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
visitna
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 15 มี.ค. 15, 09:05
|
|
พระเมรุมาศ ของ ร 5 ถ่ายคนละครั้งกับของอาจารย์ NAVARAT.C
คำบรรยายภาพ....... the cremation of King Chulalongkorn's body, in Bangkok, Thailand. Structure built by Prince Narisranuvattiwongse, 1911, Fratelli Alinari Museum Collections, Florence
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 15 มี.ค. 15, 09:51
|
|
จากภาพบนและล่าง จะเห็นการเปลี่ยนแปลง เอาหงสุ์บนเสาออก เปลี่ยนเป็นดวงโคมไฟฟ้า
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 15 มี.ค. 15, 17:36
|
|
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 15 มี.ค. 15, 17:43
|
|
ระหว่างระทาจะมีการตั้งร้านไว้แสดงการเล่นประเภทต่างๆ ร้านเหล่านี้จะเป็นเรือนเครื่องผูก หลังคาเป็นหญ้าคาหรือตับจาก ประกอบกับระทาตั้งดอกไม้เพลิงหากสะเก็ดไฟตกลงมาจะทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ จึงต้องมีการนำหม้อดินเผาใส่น้ำไปตั้งไว้บนหลังคา ๒ ด้านครับ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 15 มี.ค. 15, 19:50
|
|
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 16 มี.ค. 15, 17:02
|
|
นึกไม่ถึงว่าคนโบราญจะเตรียมสู้ไฟโดยการเอาโอ่งน้ำน้อยๆไปตั้งไว้บนหลังคาจาก
ตอนแรกนึกว่าเอาไปตั้งเป็นเคล็ดแบบปิดยันต์กันผี แต่ไหนได้ เห็นกระไดยาวที่เตรียมไว้แล้ว ท่านกะจะปีนขึ้นหลังคาแน่ๆ ชวนให้คิดว่า ถ้าตะไลยักษ์โคจรผิดทิศ พุ่งมาแปะบนหลังคาจาก กว่าท่านจะปีนขึ้นไปแล้วเอาน้ำสาดทีละกระบวยๆ จะสู้ไฟที่ลุกไหม้ตับจากได้หรือ มีหวังถูกย่างสดหรือกระโดดหนีลงมาขาแข้งหัก
ยังงี้สู้ยอมแพ้ไฟ รีบขนของหนีจะดีกว่ามั๊ง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 13 ก.พ. 18, 10:44
|
|
กระทู้นี้นิ่งอยู่เกือบจะ ๓ ปีเต็ม คิดว่าคงหมดโอกาสที่จะได้เห็นพระเมรุมาศกรมพระราชวังบวรพระองค์สุดท้ายของสยามเสียแล้ว แล้วก็มีบุญบันดาลให้ผมท่องเว็บไปพบ FB ของคุณศักดิ์ชัย ( Sakchai Limonado Phanawat) ซึ่งนำอัลบั้มภาพถ่ายบุคคลและเหตุการณ์ในสยามสมัยรัชกาลที่ ๕ มาลงไว้เป็นวิทยาทาน อัลบั้มภาพสยามนี้เก็บอยู่ที่พิพิธภัณฑ์ศิลปะแห่งเมืองเดรสเดรน (Staatliche Kunstsammlungen Dresden) ประเทศเยอรมัน ระบุว่าภาพพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเกล้าเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี ในอัลบั้มนี้ถ่ายโดย ฟริตซ์ ชูมันน์ (Fritz Schumann) ในขณะที่ภาพอื่นๆไม่ระบุชื่อช่างภาพ แม้จะไม่แน่ว่าภาพอื่นๆในเล่มจะเป็นฝีมือของเขาด้วยทั้งหมด เพราะเป็นที่ทราบกันว่าบุตรของหลวงอัคนีนฤมิตร หรือ ฟรานซิส จิตร ช่างภาพมือเอกของสยามก็เปิดจำหน่ายกระจกเนกาตีฟภาพถ่ายฝีมือบิดาของตนอยู่ด้วย อย่างไรก็ดีฟริทช์ ชูมันน์ เข้ามาถ่ายภาพในพระนครในระหว่างปี 1885-1886 (2428-2429) ดังนั้นภาพทั้งหมดที่อยู่ในอัลบั้มก็น่าจะถ่ายในระหว่างหรือก่อนหน้านั้น
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 13 ก.พ. 18, 10:47
|
|
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 13 ก.พ. 18, 10:48
|
|
อัลบั้มที่ว่าปรากฏภาพพระเมรุมาศ ไม่ระบุว่าเป็นของพระองค์ใด คือภาพนี้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 13 ก.พ. 18, 10:50
|
|
ซึ่งเป็นภาพเดียวกับที่หนังสือ สถาปัตยกรรมพระเมรุมาศในสยาม ของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี และคณะ ซึ่งเป็นเสมือนคัมภีร์ว่าด้วยพระเมรุมาศและพระเมรุของไทยระบุว่า เป็นพระเมรุมาศของสมเด็จเจ้าฟ้ามหามาลา กรมพระยาบำราบปรปักษ์ แต่คุณภาพของภาพมัวซัวกว่าของฟริทช์ ชูมันน์มาก
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 13 ก.พ. 18, 10:53
|
|
ฟริทช์ ชูมันน์ ผู้ถ่ายภาพนี้ แม้ไม่มีหลักฐานว่าเขาเดินทางออกจากสยามวันที่อะไร แต่ในวันที่ ๒๗ เมษายน ๒๔๓๐ มีหลักฐานว่าเขาอยู่ในเยอรมันแล้วแน่ๆ เพราะได้ไปจดทะเบียนเปิดร้านถ่ายภาพที่เมืองเดรสเดน แสดงว่านายชูมันน์ต้องเดินทางออกจากเมืองไทยไปก่อนหน้านั้นหลายเดือน ไม่ทันได้ถ่ายภาพงานพระเมรุของสมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ ซึ่งพระราชทานเพลิงในวันที่ ๒๘ เมษายน ๒๔๓๐ แน่นอน
ส่วนในช่วงที่เขาอยู่ในพระนครนั้น งานออกพระเมรุ ณ ท้องสนามหลวงมีงานเดียว คืองานของกรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ ซึ่งเสด็จทิวงคตในวันที่ ๒๘ สิงหาคม ๒๔๒๘ และพระราชทานเพลิงเมื่อวันที่๑๔ มิถุนายน ๒๔๒๙
อย่างไรก็ดี หนังสือ สถาปัตยกรรมพระเมรุมาศในสยาม ของ ศาสตราจารย์กิตติคุณ ม.ร.ว.แน่งน้อย ศักดิ์ศรี และคณะก็ได้ตีพิมพ์ภาพจากหนังสือพิมพ์ The Graphic ของอังกฤษ ซึ่งประมวลภาพงานออกพระเมรุของสมเด็จกรมพระยาบำราบปรปักษ์ไว้ในรูปเดียว ถึงแม้จะเป็นภาพลายเส้น แต่ก็ต้องทำมาจากภาพถ่ายต้นฉบับ ทำให้เห็นสิ่งที่ขัดแย้งกัน เพราะภาพพระเมรุมาศเห็นชัดว่าเป็นคนละองค์กับภาพถ่ายที่นำมาลงไว้ก่อนหน้า คนอ่านที่เห็นความผิกปกตินี้ก็แค่งงๆเฉยๆ เพราะไม่ทราบจะหาข้อมูลอะไรมาตั้งปุจฉาถามครูบาอาจารย์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 13 ก.พ. 18, 10:57
|
|
ขยายชัดๆ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 13 ก.พ. 18, 11:02
|
|
ผมขอสรุปในชั้นนี้ก่อนเลยว่า ภาพพระเมรุมาศที่อยู่ในอัลบัมของฟริตซ์ ชูมันน์ คือพระเมรุมาศที่พระราชทานเพลิงพระศพ กรมพระราชวังบวรวิไชยชาญ
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|