เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 8569 อิฐทำมือ กับช่างทำอิฐรุ่นสุดท้ายในจังหวัดน่าน
prahnmongkol
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 26 ก.พ. 15, 22:29

แกเล่าอีกว่าคนสมัยโบราณเมื่อจะสร้างวัดสร้างพระธาตุ เขาไม่ซื้อขายอิฐกัน  ชาวบ้านจะมาตกลงกันว่าใครจะรับไปทำจำนวนเท่าไหร่ ถึงวันนัดก็ขนอิฐมาแล้วช่วยกันสร้าง  แกบอกว่าดูให้ดีว่าอิฐที่อยู่ตามโบราณสถานจะมีขนาดเหลื่อมล้ำกันไปนิดหน่อย  เพราะชาวบ้านตกลงขนาดกันไว้แล้วก็จริง แต่เมื่อขึ้นแบบไปอาจจะไม่เท่ากันเป๊ะ  นี่ก็เป็นเสน่ห์ของอิฐมอญโบราณอีกประการ  จขกท.ช่างไม่มีความรู้อะไรเกี่ยวกับทางโบราณคดีหรือประวัติศาสตร์เลย  ฟังลุงแกพูดก็เหมือนคนรับสารเฉยๆ
บันทึกการเข้า
ชัยรัตน์
อสุรผัด
*
ตอบ: 2


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 26 ก.พ. 15, 22:30

คนน่านครับ..ส่วนมากไปบ้านพวงพยอมแค่ไปซื้อไก่ย่าง  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 27 ก.พ. 15, 06:34

ไม่มีภาพตอนเผาหรือครับ ว่าเขาเผาอย่างไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 27 ก.พ. 15, 10:50

นำคลิปนี้มาช่วยเสริม เป็นการสัมภาษณ์คุณสนิท กิติยศ ผู้เชียวชาญการทำอิฐแห่งบ้านพวงพยอม ตอนท้ายเป็นขั้นตอนการทำอิฐพอสังเขป

http://www.youtube.com/watch?v=yhOvWMOZmeY#t=629#ws

ภาพตอนเผามีอยู่ตอนท้าย แว้บเดียวจริง ๆ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
prahnmongkol
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 27 ก.พ. 15, 12:08

ขอบพระคุณ ท่านผู้อาวุโส Navarat , เพ็ญชมพู , อาจารย์เทาชมพู  กรุณาช่วยแนะนำ เสริมข้อมูล (เวลาพิมพ์ต้องระวังไม่ให้ตัวเองเผลอใส่ภาษาเน็ต กลัวคุณเพ็ญฯตีด้วยไม้เรียว)

ถ้าหากท่านใดอยากรู้อะไรเพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่องนี้แนะนำมาได้เสมอ  จขกท.จะไปตามถามคุณลุงมาตอบให้จงได้
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 27 ก.พ. 15, 12:51

อ้างถึง
ภาพตอนเผามีอยู่ตอนท้าย แว้บเดียวจริง ๆ

ตอนแรกตาไม่ดี อ่านเป็นภาพตอนเผาผีอยู่ตอนท้าย คิดถึงคุณประกอบแทบแย่
ปรากฏว่าเป็นการเผาอิฐมอญเมืองน่าน ซึ่งไม่เหมือนกับอิฐมอญแถวปทุมธานี นอกจากก้อนเล็กกว่ากันแล้ว อิฐมอญเมืองปทุมจะถูกนำมาเรียงซ้อนกันแล้วกลบด้วยแกลบกองพะเนิน ก่อนจะเผาไฟให้ลุกลามช้าๆข้ามวันข้ามคืน พอไฟมอดหมด อิฐดินดำๆก็จะเปลี่ยนเป็นสีแดงๆ

อิฐที่สุกด้วยไฟความร้อนต่ำเช่นนี้จะไม่แกร่ง นำไปใช้ก่อสร้างแบบให้รับน้ำหนักไม่ได้ ถ้าไม่ฉาบปูนก็จะผุกร่อนเร็ว แต่เนื่องจากราคาถูกมาก คนนิยมใช้กันนมนานกว่าอิฐบล๊อกคอนกรีตจะเข้ามาครองตลาดได้

นี่ผมพูดเมื่อสามสิบปีที่แล้วนะครับ เดี๋ยวนี้เขาเปลี่ยนไปนิยมอิฐมวลเบา เมื่อก่อนว่าแพง ผู้ผลิตขายไม่ออก เดี๋ยวนี้คนมีเงินขนาดสร้างตึกได้โดยไม่ง้อบ้านจัดสรร อะไรๆก็ว่าถูกไปหมด


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 27 ก.พ. 15, 19:00

ดูอิฐมอญทั่วไปก้อนขนาดเล็กเมื่อเทียบกับอิฐสีชมพูของเมืองน่าน ซึ่งมีก้อนใหญ่มากๆ ใหญ่แบบนี้คงต้องเผาหลายวัน อยากทราบว่าใช้ไม้ฟืนอะไรในการเผาครับ
บันทึกการเข้า
ลุงไก่
สุครีพ
******
ตอบ: 1281



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 28 ก.พ. 15, 19:55

ดูอิฐมอญทั่วไปก้อนขนาดเล็กเมื่อเทียบกับอิฐสีชมพูของเมืองน่าน ซึ่งมีก้อนใหญ่มากๆ ใหญ่แบบนี้คงต้องเผาหลายวัน อยากทราบว่าใช้ไม้ฟืนอะไรในการเผาครับ

ก็ใช้ไม้ในป่าแถวๆ บ้านนั่นแหละ จะเป็นไม้เบญจพรรณ (ไม่ทราบว่าจะรู้จักไม้เบญจพรรณไหม)
บันทึกการเข้า
prahnmongkol
อสุรผัด
*
ตอบ: 37


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 01 มี.ค. 15, 14:42

เรื่องฟืน - เห็นลุงแกก็หาเอาแถวๆบ้าน ไม่ได้ไปหาที่ไหนไกลเลย  ต้นไม้ที่น่านยังมีเยอะ แกก็จะริดมาทำฟืน  เวลามรสุมเข้าช่วงใกล้สงกรานต์กิ่งจะได้ไม่หักลงมาเป็นอันตรายต่อคนที่สัญจรไปมาได้ 
เรื่องขนาดอิฐ - ที่เป็นขนาดใหญ่แบบนี้เพราะผู้รับเหมาเขาเอาแบบมาเป็นตัวอย่าง  ถ้าตามปกติเห็นลุงแกบอกว่ามีสามขนาด  ตอนที่ จขกท.ไปคุยนั้นไม่เห็นของในสต็อคเพราะลุงแกบอกว่าขายของหมดไม่มีเหลือในสต็อค ที่กำลังเร่งทำกันอยู่ก็คือขนาดที่ถ่ายภาพมา  จากในวิดีโอที่คุณเพ็ญฯเอามาให้ดู ราคาอิฐไม่กี่บาท  ตอนนี้เห็นป้าแกบอกว่า4-5 บาท ก้อนใหญ่ในรูปที่ถ่ายมาก็เกือบ 9 บาทแล้ว
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 13 มี.ค. 15, 20:30

ตามอ่านอยู่ครับ รู้สึกดีใจที่มีผู้ให้ความสนใจและถกกับชาวบ้านถึงวิถีและภูมิปัญญาท้องถิ่น

ผมจะขอเติมเกร็ดความรู้เล็กน้อย เพื่อเพิ่มข้อสนเทศให้กับผู้อ่าน ดังนี้ครับ

  ดินที่นำมาทำอิฐดินเผานั้น ควรจะ (หรือ "จะต้อง" เสียมากกว่า) เป็นดินท้องนา เพราะเป็นดินที่มีเศษต้นข้าวหรือฟางข้าวเป็นส่วนผสมอยู่พร้อมแล้ว แล้วก็คงเคยได้ยินการวิจารณ์ในประเด็นว่าอิฐจากแหล่งนั้นดีกว่าแหล่งนี้   ทั้งหลายนี้ก็น่าจะต้องมีหลายเหตุพื้นฐานเป็นองค์ประกอบ
  เรื่องแรก คือ ตัววัตถุที่เรียกว่า ดิน   ในภาพรวมๆที่เราเรียกวัสดุที่เมื่ออยู่ในสภาพที่มีความชื้น แล้วสามารถนำมาปั้นเป็นทรงหรือขึ้นเป็นรูปร่างว่า ดิน    ดินที่มีเนื้อเป็นฝุ่นทรายละเอียด (อย่างที่พบในอิสานหลายๆแห่ง) เราก็เรียกว่า ดิน แล้วก็ขยายด้วยคำว่า เป็นดินทราย  หากจับตัวกันหนึบเหนียวแน่น ก็เรียกว่า ดินเหนียว หากค่อนข้างเละ ก็เรียกว่า ดินโคลน แล้งก็มีชื่อเรียกดินอื่นๆอีก เช่น ดินจอมปลวก ดินท้องนา ดินร่วน ดินขุยไผ่ ดินแดง ดินดำ ดินสีดา ฯลฯ
   เรื่องที่สอง คือ ส่วนประกอบของดินนั้นๆ       
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 13 มี.ค. 15, 21:04

เนื้อของดินประกอบไปด้วยแร่ดิน (clay minerals)  และวัสดุที่มีขนาดน้อยกว่า 0.002 มม. (2 ไมครอน) ซึ่งได้แก่เศษหิน แร่ และวัตถุอินทรีย์ต่างๆ (clay and silt sized particles) ที่มักจะมีขนาดประมาณ 0.075 มม.(75 ไมครอน) และมีขนาดอื่นๆอีกที่ผสมผสานคละกันอยู่

แร่ดิน แบ่งตามคุณสมบัติออกได้หยาบๆเป็น 2 กลุ่ม คือ พวกที่พองตัวหรือขยายตัวเมื่อมีน้ำ และพวกที่ไม่พองตัวเมื่อมีน้ำ
พวกพองตัวนี้ บางตัวขยายตัวได้ถึงประมาณ 14 เท่า เช่น แร่ดินชื่อ Montmorillonite และ ฺBentonite    ส่วนพวกที่ไม่พองตัว ก็มีอาทิ Illite และ Kaolinite   

ในดินก้อนเดียวกัน มีแร่ดินหลายชนิดผสมอยู่ด้วยกัน จึงทำให้ดินแต่ละแหล่งแต่ละพื้นที่มีคุณสมบัติที่ต่างกัน   ดินที่เมื่อแห้งแล้วแตกระแหงเป็นร่องลึก มักจะเป็นดินที่มีพวกแร่ดินประเภทพองน้ำผสมอยู่ในสัดส่วนที่มาก   

 
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 14 มี.ค. 15, 19:38

ในกระบวนการทำอิฐดังที่เล่ามานั้น มีขั้นตอนการนำดินไปแช่น้ำ แล้วเหยียบให้เละเป็นโคลน หลักไว้สองสามวัน

เหตุผลลึกๆที่ต้องทำเช่นนั้นก็เพราะ
  ประการแรก ดินประกอบไปด้วยตะกอนอนุภาคเล็ก   เราต้องการให้อนุภาคเหล่านั้นแยกแตกตัวออกเป็นแต่ละอนุภาค เป็นอิสระแก่กัน ซึ่งจะได้ผลในการทำให้เกิดมีพื้นผิวของแต่ละอนุภาคมากขึ้น  ก็คือการเพิ่มพื้นที่ให้กับการกางแขนกางขาของประจุไฟฟ้าที่มีอยู่รอบพื้นผิวของแต่ละอนุภาค ให้มีความสดวกในการจับมือกัน ช่วยกันยึดเกาะให้เป็นเนื้อแน่นๆ   
   ประการต่อมาคือ เมื่อแต่ละอนุภาคแยกตัวเป็นอิสระแก่กัน แล้วถูกย่ำถูกกวนอยู่ในน้ำ (เช่นเดียวกับการทำ Slurry ในอุตสาหกรรมเครื่องปั้นดินเผา)  ตะกอนหรือวัตถุที่มีชิ้นใหญ่ ซึ่งจะมีน้ำหนักมากกว่า ก็จะตกลงสู่พื้นล่าง เราก็จะได้ดินที่มีเนื้อประกอบด้วยวัตถุที่มีขนาดใกล้เคียงกัน ทำให้ผลผลิตมีเนื้อแน่น เนียน และดูน่าใช้   
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 17 มี.ค. 15, 18:51

เข้ามาต่อให้จบครับ

ขอแก้ไขนิดนึงครับ แร่ดิน Bentonite นั้น ไม่ได้ขยายตัวถึงประมาณ 14 เท่าเหมือนแร่ดิน Montmorillonite ครับ  เขียนไม่ดีจึงสื่อความหมายผิดไป   
ด้วยคุณสมบัติการขยายตัว พองตัว หรือ อุ้มน้ำ หรือ อมน้ำ เมื่อได้รับความชื้นหรือของเหลว    แร่ดินเหล่านี้จึงใช้ถูกนำไปใช้ในหลายๆเรื่อง เช่น ช่วยในการอุดหรือลดปริมาณการรั่วซึมต่างๆ (การลดรูพุน_porosity)  ใช้ดูดซับของเหลวที่รั่วไหล ฯลฯ   นอกจากนั้นแล้วยังใช้ (Bentonite clay) ผสมทำน้ำโคลน  ที่ใช้ในการเจาะหลุมลึกๆ เช่น บ่อน้ำบาดาลลึกๆ บ่อน้ำมัน-กาซธรรมชาติ เพื้่อช่วยในการหล่อลื่น ช่วยในการนำพาเศษหินขึ้นมา ช่วยกรุผนังบ่อมิให้พังลงมา เป็นต้น

เคยสังเกตไหมครับว่า แอ่งน้ำหรือปลักควายที่แตกระแหงเป็นร่องลึกๆนั้น ปริมาณฝนที่ตกลงมาจนที่อื่นเขาหลากพื้นดินไปแล้ว แต่ในแอ่งน้ำหรือปลักควายนั้นๆ ยังไม่เห็นน้ำมีน้ำเลย เหตุก็เพราะมีแร่ดินกลุ่ม Smectite ที่เรียกกันว่า expanded clay นี้แหละครับ

แหล่งทำอิฐที่ จ.น่าน ในกระทู้นี้ มีความถูกต้องแล้วครับที่เขาเลือกใช้ดินที่เขาเรียกว่าดินจอมปลวก   จะไม่ขยายความต่อนะครับเพราะจะไปเกี่ยวกับเรื่องขององค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติที่ตามมาของแร่ดิน (โดยเฉพาะในเรื่องของธาตุโซเดียม_Na และแคลเซียม_Ca)
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 17 มี.ค. 15, 19:11

ก็มาถึงเรื่องของการใช้แกลบหรือฝางข้าวสั้นๆผสม

โดยหลักการพื้นฐานง่ายดังตัวอย่างนะครับ   ทองคำบริสุทธิ์ เงินบริสุทธิ์ มีความอ่อนมาก จนต้องเจือโลหะอื่น (เช่น ทองแดง) เพื่อให้มีความแข็งแรงพอที่จะขึ้นรูปเป็นทองหรือเงินรูปพรรณต่างๆ (ที่มีความคงทน)  ซีเมนต์ผงที่แข็งตัวก็ไม่แกร่งเท่ากับคอนกรีตที่มีส่วนผสมของหินและทราย ก็เช่นเดียวกับโลหะต่างๆ ที่โลหะ alloy จะมีความแข็งแรงทนทานมากกว่า

ดินผสมแกลบในสัดส่วนที่พอเหมาะ ก็เช่นกัน แต่ในมุมที่ต่างกัน  เมื่อน้ำก้อนอิฐไปเผา พวกแกลบและพืชในเนื่อดินก็จะใหม้ไป แถมให้ความร้อนกับเนื้อดินส่วนเนื้อในให้สุกด้วย  คงเหลือแต่ถ่านที่ทำตัวเป็นโครงสร้างเกิดเป็นโพรงอยู่ในเนื้อก้อนอิฐ  สุดท้ายก็ได้ทั้งความแข็ง ความแกร่ง ความเบา และคุณสมบัติอื่นๆ เช่น ทางเสียง ทางฉนวน ฯลฯ

บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 17 มี.ค. 15, 20:24

จบท้ายด้วยเรื่องของการเผา

ในกระบวนการ คือ เอาดินที่มีน้ำฉ่ำมาขึ้นรูป (เพราะง่ายต่อการขึ้นรูปทรง)  จากนั้นเอาไปตากแดดให้แห้ง (เพื่อระเหยน้ำออกไป ลดความฉ่ำชื้น และรักษารูปทรง)  เอาไปเผาให้มีความแกร่ง

ทั้งหมดผ่านกระบวนการของทำให้ร้อน  ร้อนแรกจากการตากแดด ทำให้เกิดความแห้งพอที่จะรักษาทรงไว้ ก็เป็นความร้อนที่ไม่สูง คล้ายเราตากของให้แห้งแบบแดดเดียว ก็คือมีผิวแห้งแต่ลึกลงไปยังชื้นอยู่ ชื่อเรียกทางวิชาการ Drying  จากนั้นก็เผา ก็จะมีสองระยะ คือเผาเปลือย (มีออกซิเจนสูง) แล้วก็สุมกลบให้ระอุ (ระดับออกซิเจนต่ำ)  เผาแรกอยู่ในเกณฑ์ที่เรียกว่า Roasting เป็นการไล่ความชื้นที่เกาะอยู่กับวัสดุที่เป็นเนื้อดิน (clay particles)   เผาที่สองอยู่ในเกณฑ์เรียกว่า Sintering เป็นการไล่อนุมูลน้ำหรือของเหลวที่อยู่ในเนื้อของ clay particles (เช่น ที่อยู่ในเนื้อของ expanded clay minerals)  ทั้งนี้ การเผาอิฐมอญจะมีอุณหภูมิไม่สูงไปถึงจุดที่วัสดุเนื้อเกิดการหลอมละลายกลายเป็นสารประกอบใหม่ (จนเป็นดังเช่นกระเบื้องศิลาดล)
ความร้อนและวิธีการที่เผานี้ สูงพอที่จะทำให้วัสดุอินทรีย์เผาใหม้จนกลายเป็นถ่าน คล้ายการเผาถ่านทั่วๆไป ถ่านไม้มีความพรุนและมีโครงสร้างที่แข็งแรงพอสมควรที่จะคงรูปทรงโพรง แม้จะไม่แข็งแรงเท่ากับถ่าน coke ก็ตาม

ก็เพราะด้วยวัตถุดิบ ความชำนาญการของผู้ประกอบการ ความพอดีของการเผา (ด้วยเชื้อเพลิงต่าง) เหล่านี้ ทำให้อิฐแต่แหล่งผลิตมีคุณสมบัติต่างกันในระดับที่พอจะจัดอันดับได้ว่าที่ใดดีว่าที่ใด

ตัวผมสนใจเรื่องของสีอิฐและอื่นๆ แน่นอนว่ามันอยู่ในโทนของสีแดง และทั้งหมดก็เกี่ยวกับปริมาณและประเภทของธาตุเหล็ก Fe++ (ferrous) และ Fe+++ (ferric)  และความสัมพันธุในปริมาณของธาตุ โซเดียม (Na) แคลเซียม Ca และโปแตสเซียม (K)
 
คงจะเป็นเรื่องคิดมากนะครับ ก่ออิฐแล้วก็โบกปูนปิดทับไว้ จะไปคิดอะไรให้มันมากมายทำไม เนอะ 
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง