เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
อ่าน: 8583 อิฐทำมือ กับช่างทำอิฐรุ่นสุดท้ายในจังหวัดน่าน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 17 มี.ค. 15, 20:49


แหล่งทำอิฐที่ จ.น่าน ในกระทู้นี้ มีความถูกต้องแล้วครับที่เขาเลือกใช้ดินที่เขาเรียกว่าดินจอมปลวก   จะไม่ขยายความต่อนะครับเพราะจะไปเกี่ยวกับเรื่องขององค์ประกอบทางเคมีและคุณสมบัติที่ตามมาของแร่ดิน (โดยเฉพาะในเรื่องของธาตุโซเดียม_Na และแคลเซียม_Ca)

แล้วตกลงว่าเขาเอาดินจากจอมปลวกมาทำจริงๆหรือเปล่าครับ ถ้าจริง มันจะมีจอมปลวกให้ทะลายเอาดินมาทำอิฐเยอะขนาดไม่มีหมดในพื้นที่ละแวกนั้นเชียวเหรอ
บันทึกการเข้า
naitang
หนุมาน
********
ตอบ: 5823


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 17:04

มิใช่ดินจอมปลวกจริงหรอกครับ แต่ก็ชอบใจที่คำนี้เป็นคำชาวบ้านๆทั่วๆไปเขาใช้สื่อสารลักษณะของดินกัน

ปลวกไม่อยู๋ลึกลงไปใต้ดินจนถึงระดับที่ดินฉ่ำน้ำ (ประมาณ B layer ของ soil profile) ไม่ลึกไปกว่าระดับน้ำผิวดิน (water table) จะอยู่ในระดับที่ดินพอชื้นๆ   จอมปลวกที่เราเห็นโผล่มาเหนือผิวดินนั้น ส่วนหนึ่งก็เพราะสร้างหนีดินที่ฉ่ำน้ำเกินไป 

ดินจอมปลวกที่เขาสื่อสารกันนั้น ก็คือดินที่อยู่ในระดับสูงเหนือพื้นท้องนา ก็คือดินที่อยู่ในพื้นที่ๆใช้ทำไร่ทำสวน จะเรียกว่าดินหัวไร่ปลายนาก็น่าจะได้   ดินพวกนี้เป็นดินตะกอนที่มาจากการหลากท่วมของแม่น้ำ เนื้อดินจะมีขนาดของเม็ดดินใกล้เคียงกัน มีปริมาณสารประกอบของธาตุ Carbon ค่อนข้างต่ำ (carbonaceous materials)  จึงต้องมีการผสมแกลบเข้าไป  ต่างกับอิฐมอญที่ทำกันในภาคกลาง เช่นแถว จ.อ่างทอง ที่ใช้ดินจากท้องนาโดยตรงได้เลย เนื่องจากมีปริมาณของสารประกอบของธาตุคาร์บอนสุงพอเหมาะอยู่แล้ว

ก็มีข้อสังเกตเล็กๆน้อยๆว่า ในพื้นที่อิสานนั้นไม่ค่อยจะมีโบราณสถานหรือสถานที่เก่าแก่ที่ใช้อิฐมอญมากนัก (ยกเว้นเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วมถึงของลุ่มน้ำใหญ่) ส่วนหนึ่งก็น่าจะเพราะว่า ดินในภาคอิสานนั้นเป็นพวกดินปนทราย มีส่วนประกอบเป็นเม็ดทรายขนาด silt และ clay ผสมกัน มีปริมาณแร่ดินปนอยู่น้อย     
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 17:53

อ้างถึง
ก็มีข้อสังเกตเล็กๆน้อยๆว่า ในพื้นที่อิสานนั้นไม่ค่อยจะมีโบราณสถานหรือสถานที่เก่าแก่ที่ใช้อิฐมอญมากนัก (ยกเว้นเฉพาะในพื้นที่น้ำท่วมถึงของลุ่มน้ำใหญ่) ส่วนหนึ่งก็น่าจะเพราะว่า ดินในภาคอิสานนั้นเป็นพวกดินปนทราย มีส่วนประกอบเป็นเม็ดทรายขนาด silt และ clay ผสมกัน มีปริมาณแร่ดินปนอยู่น้อย   


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.046 วินาที กับ 19 คำสั่ง