เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
อ่าน: 14822 สภาพสังคมไทยผ่านเลนส์กล้องของจอห์น ทอมสัน พ.ศ. 2408
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


 เมื่อ 16 ก.พ. 15, 11:32

เนื่องด้วยในปีพุทธศักราช 2558 อันเป็นปีที่สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี จะมีพระชนม์มายุครบ 60 พรรษา ทางสำนักพิมพ์ริเวอร์บุ๊คส์และสถาบันเวลคัม ได้ร่วมกันจัดทำกิจกรรมเผยแพร่ภาพถ่ายโบราณซึ่งจัดเก็บไว้ที่สถาบันเวลคัม ประเทศอังกฤษซึ่งทางสถาบันได้คัดเลือกภาพที่ถ่ายโดยจอห์น ทอมสัน ที่ถ่ายไว้ในสยาม ในกัมพูชา และประเทศจีนบางส่วนมาจัดแสดงที่หอศิลป์เจ้าฟ้า

ผมหนุ่มสยามก็ได้รับเกียรติให้เป็นวิทยากรบรรยายในมุมมองของคนที่เล่นสังคมออนไลน์กับภาพเก่า แต่ทั้งนี้ยังมีอีกหลายอย่างที่มุมมองของสังคมสยามผ่านเลนส์นั้นยังไม่แจ่มชัดเท่าที่ควรจึงได้นำมาเชิญท่านสมาชิกร่วมสนทนาสภาพสังคมไทย สมัยรัชกาลที่ 4 ไปด้วยกันครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 11:42

สิ่งหนึ่งที่เห็นเป็นสิ่งแรกของการเดินทางมาของทอมสัน ซึ่งเป็นช่างภาพที่เปิดร้านถ่ายภาพกับพี่ชายชื่อวิลเลียม เดินทางเข้ามายังปากน้ำเมื่อวันที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2408 อันเป็นช่วงเวลาที่สยาม กำลังอยู่ในกระแสคลื่นแห่งการถูกล่าอาณานิคมด้วยปืนไฟ และสยามก็อยู่ในฐานะที่ทำสนธิสัญญาบาวริ่งมาแล้ว รวมทั้งสัญญาทางการค้ากับฝรั่งเศส ปรัสเซีย สหรัฐอเมริกา

สิ่งหนึ่งที่ทอมสันเห็นคือ สภาพเมืองไทยยังคงเต็มไปด้วยป่าไม้ริมแม่น้ำ มีเรือนแพที่ลอยอยู่บนผิวน้ำจำนวนมากมาย อย่างน้อยฝรั่งก็เคยเห็นเรือนปักเสาไม้ริมน้ำที่ชายฝั่งที่มาเลย์และสิงคโปร์มาก่อน แต่เรือนแพลอยบนน้ำคงไม่เคยเห็น สลับกับความเรืองรองของกระเบื้องหลังคาโบสถ์วิหาร สีเหลืองทอง และแสงแดดที่สะท้อนกระจกวับวาวเงางาม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 11:55

ในบันทึกของทอมสัน ไม่ได้กล่าวว่าตนเองพำนักอยู่ที่ใดในสยาม และระหว่างที่ใช้ชีวิตในกรุงเทพ 5 เดือนไปถ่ายรูปอะไรไว้บ้างนอกพระบรมมหาราชวังแต่จากหนังสือพิมพ์ของหมอบรัดเล ที่พิมพ์ลงในบางกอกรีคอร์ดเดอร์ ทำให้ทราบว่า

ทอมสันพำนักที่บ้านนายกองตะเวน (บ้านมิศเตอร์เอมส์) ที่ตั้งอยู่ป้อมป้องปัจจามิตร ก็บริเวณคลองสาน ถ้าดูจากตำแหน่งที่พำนักแล้ว ด้านตรงข้ามก็เป็นกลุ่มของสถานทูตอังกฤษ และอเมริกา ซึ่งทอมสันสามารถข้ามฟากติดต่อกับสถานทูตได้ง่าย

อีกทั้งกัปตันเอมส์ ก็มีลูกน้องเป็นชาวมาเลย์อยู่พอสมควร จึงได้จัดหาล่ามภาษาให้ทอมสันอีกด้วย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 11:57

ขออนุญาตขัดจังหวะ


ภาพนี้ยังมีข้อกังขาอยู่

ใน ภาพมุมกว้างฯ อาจารย์พิพัฒน์ได้เสนอข้อค้นพบว่าภาพถ่ายเก่ารุ่นรัชกาลที่ ๔ จำนวนมาก ที่มักไปปรากฏตามหน้าหนังสือฝรั่งเกี่ยวกับกรุงสยาม หรือแม้กระทั่งมีฝรั่งสมอ้างว่าเป็นผลงานการบันทึกภาพของตนนั้น แท้จริงแล้วเป็นฝีมือของ ฟรันซิส จิตร (F. Chit) หรือหลวงอัคนีนฤมิตร ช่างภาพชาวสยาม นอกจากนั้นแล้ว อาจารย์ยังได้ค้นพบว่าภาพถ่ายจากมุมสูงฝีมือนายจิตรนั้น สามารถนำมาต่อกันได้เป็นภาพมุมกว้าง (Panorama) ที่นับว่ามีความก้าวหน้าและมีผลสำเร็จเทียบได้กับช่างภาพระดับโลกในยุคเดียวกัน...





เรื่องที่น่าจะมีคำคัดค้านน้อยกว่า ก็คือการที่อาจารย์พิพัฒน์ระบุไปว่าช่างภาพที่ถ่ายภาพบุคคล สถานที่ หรือเหตุการณ์ส่วนใหญ่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ก็คือ ฟรันซิส จิตร นั่นเอง ดังนั้นนอกจากจะเป็นสมุดภาพของยุครัชกาลที่ ๔ แล้ว พร้อมกันนั้น หนังสือเล่มนี้ก็อาจมีชื่อรองว่า อัลบั้มรวมผลงานฟรันซิส จิตร ได้ด้วย

ข้อมูลจากเรื่อง สมุดภาพรัชกาลที่ ๔ วารสารเมืองโบราณ

ภาพจาก  พิพิธภัณฑ์ภาพมุมกว้าง กรุงเทพมหานคร


ฝีมือ F. Chit หรือ J. Thomson กันแน่หนอ  ฮืม

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 12:01

ล่ามของทอมสัน เป็นชาวมาเลย์ จะแปลภาษาไทยเป็นภาษามาเลย์ให้ทอมสัน ดังนี้แล้วคาดว่าทอมสันน่าจะพูดภาษามาเลย์ออก เพราะทอมสันใช้ชีวิตก่อนหน้าที่จะเดินทางมากรุงเทพ เคยใช้ชีวิตถ่ายรูปที่ปีนัง และสิงคโปร์มาก่อนหลายปี

ทอมสันบรรยายลักษณะของล่ามส่วนตัวที่ชื่อ อาลี Ali ว่าเวลาแปลภาษาทุกครั้งจะฟังไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าไรเพราะอาลีจะคอยเคี้ยวหมากอยู่ตลอดเวลาในปาก และบางครั้งทอมสันก็บันทึกคำพูดเป็นภาษามาเลย์อีกด้วย

ส่วนผู้ที่ช่วยเหลือด้านสถาทูตอังกฤษนั้น ทอมสันได้รับความช่วยเหลือจากนาย เคนเนดี้ เป็นผู้ช่วยกงสุลอังกฤษซึ่งอีกหน้าที่หนึ่งคือเป็นเจ้าหน้าที่คอยส่งนักเรียนมากรุงเทพเพื่อฝึกการเป็นล่าม
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 12:58

ทอมสัน ออกจากอังกฤษ ปี พศ 2405(คศ.1862)
ผ่านมาทางอิยิปต์ ตอนน้ันคลองสุเอซยังไม่เสร็จดี ต้องมาทางบก
แวะปินัง มาเลย์ ก่อน อยู่ที่นั้น ราวสามปี
เข้ามาถึงเมืองไทย 28 พย. 2408 (คศ 1865)
ชื่อหนังสือเขาใช้ว่า.........ผจญภัยสิบปี  ในต่างแดน
แผนที่การเดินทาง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 13:13

ทอมสัน ออกจากอังกฤษ ปี พศ 2405(คศ.1862)
ผ่านมาทางอิยิปต์ ตอนน้ันคลองสุเอซยังไม่เสร็จดี ต้องมาทางบก
แวะปินัง มาเลย์ ก่อน อยู่ที่นั้น ราวสามปี
เข้ามาถึงเมืองไทย 28 พย. 2408 (คศ 1865)
ชื่อหนังสือเขาใช้ว่า.........ผจญภัยสิบปี  ในต่างแดน
แผนที่การเดินทาง


นั่นสิครับ เป็นอะไรที่คนสมัยนี้เข้าใจยากว่า นักเดินทางชาวต่างประเทศจะมาดินแดนต่างๆ ที่แตกต่างจากวัฒนธรรมของตนทำไม เช่น ทอมสัน เดินทางมาทั้งจีน สยาม ปีนัง ไซปรัส อินเดีย เมเลเซีย และสิงคโปร์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 13:15

ยกเก้าอี้มานั่งแถวหน้า
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 13:21

สิ่งที่ทอมสันจะต้องเจอลำดับต่อมาในสังคมชาวสยามคือ กลุ่มพระสงฆ์

กลุ่มพระสงฆ์นั้นในสายตาของคนชาวต่างชาติก็เป็นเรื่องประหลาดอย่างหนึ่ง คือ โกนหัวจนโล้น สวมจีวรด้วยผ้าพันตัว และเดินถือบาตรและพำนักอยู่ในวัด บางครั้งก็ทำเสียงบ่นพึมพำซึ่งชาวต่างชาติอย่างทอมสันฟังไม่ออก

การที่พระสงฆ์ทำเช่นนั้นก็กำลังดำเนินรอยทางแห่งพระพุทธองค์ ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 4 เรียกว่า "พระสมณโคดม"

ทอมสันแปลกใจอย่างมากขณะที่เดินทางไปวัดแห่งหนึ่งย่านคลองแสนแสบ ที่แปลกใจคือ ทอมสันเห็นพระสงฆ์กำลังโกนศีรษะตนเองด้วยความชำนาญโดยไม่มีกระจกส่องแม้แต่น้อยเลย


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 13:34

ภาพพระสงฆ์พร้อมลูกศิษย์กลุ่มนี้ก็ถูกถ่ายภาพโดยทอมสัน ซึ่งเป็นวัฒนธรรมของสยามที่เด็กชายจะได้รับการศึกษาจากวัด ได้ร่ำเรียนเขียนอ่านจากวัด

เนื้อหาของภาพนั้นจะเห็นได้ว่าชาวสยามจะมีเด็กไทย และเด็กจีน ส่วนพระสงฆ์ก็นุ่งจีวรลายดอกซึ่งเป็นการทอแบบยกดอกอย่างสวยงามมากๆ เด็กชาวสยามที่มีมาลัยที่จุกแต่งตัวอย่างผู้ดี

กำลังถือห่อผ้าซึ่งในนั้นคงเป็นพระคัมภีร์ทางศาสนา ส่วนเบื้องล่างจะมีเด็กถือพัชนี รูปร่างอย่างจวัก


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 13:40

จีวรของพระในภาพนี้แปลกตามาก ทำให้เข้าใจว่าสังคมยุคนั้นไม่เห็นแปลก ในเรื่องการส่งเสริมกิเลสพระในเรื่องอัตตา
บันทึกการเข้า
visitna
นิลพัท
*******
ตอบ: 1724


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 13:48

ภาพลายเส้น


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 14:08

จีวรของพระในภาพนี้แปลกตามาก ทำให้เข้าใจว่าสังคมยุคนั้นไม่เห็นแปลก ในเรื่องการส่งเสริมกิเลสพระในเรื่องอัตตา

เมื่อผมใส่สีให้กับภาพนั้นจะพบความงามของจีวรลายดอกในหลายมิติเลยครับ อย่างแรกจะเห็นลักษณะลายที่เด่นชัดขึ้น คือ ลายดอกพิกุล ลายกลีบดอกไม้ มีทั้งลายเล็กและลายใหญ่
นั้นแสดงว่า เมื่อมีการทอผ้าลายยกดอกสวยๆ ก็จะนำมาถวายให้พระสงฆ์ท่านได้ใช้เป็นจีวร

ดูอย่างผ้าลายล่างสุดของพระสงฆ์เป็นลายมังกรดั้นเมฆแบบจีนเลยครับ


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 15:01

ภาพการไหว้องค์พระแก้วมรกต หน้าพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ลักษณะการไหว้แม้ว่าจะต้องทำท่าทางค้างไว้กว่านาที เพื่อให้กล้องจับความชัดได้ การไหว้ก็ดูไม่เคอะเขิน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 15:04

ภาพพระสงฆ์ และเด็กในสมัยรัชกาลที่ ๔ค่ะ   พระสงฆ์ท่านห่มจีวรมีลายดอกพิกุลด้วยค่ะ 


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง