เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
อ่าน: 30884 ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 19:02

เฮลเมททรงอย่างทหารโรมัน ขอภาพตราสัญลักษณ์หน้าหมวกชัดๆ ได้ไหมครับ

แนบภาพทหารวังหน้าสมัยต้นรัชกาลที่ ๕


บันทึกการเข้า
ตองฮอคุโรบูตะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 19:22

ผมถ่ายมาแค่รูปเดียวเสียด้วยครับ เลยขอครอปและขยายเฉพาะส่วนตรามาให้ดูนะครับ


บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 19:27

เรื่องแบบทหารสีกากีดูเหมือนจะเริ่มใช้ราว พ.ศ. ๒๔๕๗ หรือ ๒๔๕๙ จำไม่ได้แน่ครับ
เมื่อกองทหารอาสาของไทยออกเดินทางไปสงครามฏลกครั้งที่ ๑ ยังใช้เครื่องแบบกากีอยู่  แต่เมื่อไปถึงฝรั่งเศสแล้ว  กองทัพฝรั่งเศสจ่ายเครื่องแบบสีกากีแกมเขียวให้เปลี่ยนใช้เหมือนกองทหารชาติสัมพันธมิตร  พร้อมทั้งจ่ายหมวกเหล็กแบบฝรั่งเศสให้ใช้  กองทัพบกไทยจึงเปลี่ยนมาใช้เครื่องแบบสีกากีแกมเขียวทั้งหมดตั้งแต่ พ.ศ. ๒๔๖๒  และใช้หมวกเหล็กแบบฝรั่งเศสต่อมาจนหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒  เมื่อรับควมช่วยเหลือจากสหรัฐอเมริกาจึงเปลี่ยนกลับไปใช้เครื่องแบบกากีและหมวดเหล็กแบบอเมริกัน  และมาเปลี่ยนเป็นเครื่องแบบกากีแกมเขียวอีกครั้งในยุคจอมพลสฤษดิ์  ธนะรัชต์

เครื่องหมายสังกัดที่เป็นตัวเลขในกรอบกนกนั้นดูเหมือนจะเพิ่งนำมาใช้ในยุคหลังแล้วครับ  ในสมัยรัชกาลที่ ๕ และ ๖ นั้นเครื่องหมายสังกัดที่ติดบนกึ่งกลางอินทรธนูเป็นตัวเลขโลหะสีเงิน เช่น เลข ๑ ๒ ๑๔ ณลณ แต่ถ้าเป็นกรมกองที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือพระบรมวงศ์เป็นผู้บังคับการพิเศษใช้ติดอักษรพระบรมนามาภิไธยหรือพระนามาภิไธยเพิ่มไปเหนือตัวเลข  ดังภาพนายพันตรี พระเจ้าน้องยาเธอ หรมหมื่นชัยนาทนเรนทร นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ ที่ทรงติดเลขหมายกรมคือ ๑๑ ที่กึ่งกลางอินทรธนูและมีอักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร.อยู่เหรือตัวเลข  และโปรดสังเกตว่าเสด็จในกรมมิได้ทรงติดเครื่องหมายประจำการที่คอเสื้อ  กับมิได้ทรงสะพายสายคันชีพ  ทั้งนี้เพราะทรงเป็นนายทหารพิเศษมิใช่นายทหารประจำการร


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 19:40

เมื่อแรกที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จเสวยราชสมบัติได้ทรงรับเป็นผู้บังคับการพิเศษกรมทหารราบที่ ๑๔ จังหวัดเพชรบุณี  ต่อมามีพระราชดำริจะให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเป็นนายพันเอกผู้บังคับการพิเศษกรมทหารนี้  เพราะพระนามกรมพ้องกับชื่อจังหวัดที่เป็นที่ตั้งหน่วยทหาร  แต่สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฯ กรมหลวงพืษณุโลกประชานาถ เสนาธิการทหารบก มีลายพระหัตถ์กราบบังคมทูลถวายความเห็นแย้งว่า

"ข้าพระพุทธเจ้าก็เห็นด้วยเกล้าฯ ว่า การที่เจ้านายผู้หญิงเปนผู้บังคับการนั้นงดงามดี  แลเห็นด้วยเกล้าฯ ว่า การที่จะโปรดเกล้าฯ ให้น้องหญิงเปนผู้บังคับการพิเศษนั้นสมควรอย่างยิ่ง  แต่ข้าพระพุทธเจ้าต้องขอพระราชทานพระบรมราชวโรกาศกราบบังคมทูลความวิตกบางอย่างคือ
๑)   กรมทหารราบที่ ๑๔ นั้น  ได้ประกาศว่า ทรงพระมหากรุณารับตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษเสียเองแล้ว  การที่จะเปลี่ยนนั้นแปลว่าต้องปลดอักษรพระนามย่อที่บ่า  ซึ่งเกรงด้วยเกล้าฯ ว่า นายทหารแลพลทหารจะพากันเสียใจมากอยู่  คิดด้วยเกล้าฯ ว่าตามแบบฝรั่งเจ้านายผู้หญิงมักเปนผู้บังคับการพิเศษทหารม้า  ถ้าโปรดเกล้าฯ ให้เปนผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ ๖ ซึ่งว่างก็ดูจะไม่ขัดข้องประการใด  ชื่อเมืองนั้นถ้าจะว่าไปก็ไม่สำคัญนักกรมทหารอาจเปลี่ยนแปลที่ตั้งได้ต่างๆ เสมอ
๒)   ถ้าโปรดเกล้าฯ ให้น้องหญิงเปนผู้บังคับการพิเศษ  แลไม่ถวายตำแหน่งอย่างนั้นแก่เสด็จแม่   นากลัวจะทรงไว้หนวด   เพราะท่านโปรดทหารมากที่สุด  แลเคยทรงบ่นอยู่เหมือนกันว่า ทำไมพระราชินีกรุงสยามจึงมิได้เปนทหารอย่างในยุโรป  ถ้าไม่มีผู้หญิงได้เปนเสียเลยก็ไม่เปนไร  เพราะแปลว่าไม่มีแบบ  แต่ถ้าน้องหญิงได้เปนขึ้นแล้ว  เกรงด้วยเกล้าฯ ว่าน่ากลัวจะเกิดความ
ถ้าแม้ว่าเสด็จแม่จะทรงเปนผู้บังคับการพิเศษแล้ว  กรมทหารรักษาพระองค์ก็มีว่างอยู่แต่กรมทหารปืนใหญ่เท่านั้น  ส่วนกองพลที่ว่างยังไม่มีผู้บังคับการพิเศษเลยคือ กองพลที่ ๘  ที่ ๙  ที่ ๑๐.  กองพลที่ ๖ ที่ ๗  ก็มีแต่เจ้านายเปนผู้บังคับการพิเศษ  กองพลละกรมเท่านั้น  ส่วนกองพลที่ ๑  ที่ ๒  ที่ ๓  ที่ ๔  ที่ ๕ นั้นบัดนี้เปนการรวยพออยู่แล้ว”


เมื่อได้ทอดพระเนตรความตามลายพระหัตถ์ของสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอฯ เสนาธิการทหารบกแล้ว  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กระทรวงกระลาโหมถวายพระยศนายพันเอก ผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ ๕   แด่สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง   กับได้โปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเป็นนายพันเอก ผู้บังคับการพิเศษกรมหารม้าที่ ๒  มาตั้งแต่วันที่  ๗  มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๕๕   และรุ่งขึ้นวันที่  ๘  มีนาคม  พ.ศ. ๒๔๕๕ ยัง “ ได้ทรงถวายตำแหน่งผู้บังคับการพิเศษ กองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ (มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว) แด่ สมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนารถ พระบรมราชชนนี” 

ต่อมาจึงเป็นธรรมเนียมที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี จะทรงดำรงพระยศเป็นนายพันโทผู้บังคับการพิเศษกองพันที่ ๒ กรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์มาจนถึงปัจจุบัน  ส่วนกรมทหารม้าที่ ๕ ที่สมเด็จพระพันปีหลวงทรงเป็นผู้บังคับการพิเศษก็ติดอักษรพระนามาภิไธย ส.ผ.ที่บ่าเสื้อต่อมาแม้จะเปลี่ยนนามกรมเป็นกรมทหารบกม้านครราชสีมาในตอนปลายรัชกาลที่ ๖

สมเด็จพระนางเจ้าอินทรศักดิศจี พระบรมราชินี ทรงเครื่องเต็มยศนายพันโท ผู้บังตับการพิเศษกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  โปรดสังเกตพระมาลา  พระภูษามีแถบเหมือนแถบขากางเกงนายทหาร  และทรงขัดกระบี่ด้วย
   


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 19:42

พระรูปนี้เป็นพระรูป นายพันเอก สมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมหลวงเพชรบุรีราชสิรินธร ทรงเครื่องปกตินายพันเอกผู้บังคับการพิเศษกรมทหารม้าที่ ๒


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 11:34

ในร.ศ.๑ นั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯท่านให้เริ่มต้นนับปีในวันที่ ๑ มกราคม หรือ ณ วันสงกรานต์ในเดือนเมษายนปีนั้น ครับ
ถ้าไม่ใช่ ๑ มกราคม ก็จะซ.ต.พ.มิได้

ขออนุญาตยกคำถามนี้ไปตอบในกระทู้ สวัสดีปีใหม่ไทย - ไต (ย้อนหลัง) ครับ ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ตองฮอคุโรบูตะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 12 ก.พ. 15, 14:12

มีจุดนึงที่ยังไม่ทราบรายละเอียดเลยครับ คือ กรมทหารรักษาวัง วปร.  ที่รู้สึกว่าจะไม่ใช้เครื่องแบบเหมือนทหารบกเลย และเป็นหน่วยงานทหารที่สังกัดกระทรวงวัง ไม่ใช่กลาโหมด้วยครับ และยังเคยยกฐานะให้ ผู้บังคับการกรมทหารรักษาวัง ให้เทียบเท่า ผู้บัญชาการทหารบก เป็นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารรักษาวัง ก่อนจะลดฐานะกลับมาเป็น ผบ.กรมเท่าเดิม  แต่ต่อมากรมทหารรักษาวังนี้ก็มาเปลี่ยน มาขึ้นตรงต่อกระทรวงกลาโหม มาเป็นกองพันทหารราบที่ ๙ ทหารรักษาวัง ใน พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวในภายหลัง (ต่อมาหน่วยนี้แปรสภาพเป็นกองพันทหารราบที่๓ กรมทหารราบที่๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์ ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว หรือ ร.๑พัน๓รอ. การแต่งกายหมวกยอดมีพู่สีบานเย็น เสื้อสักกะหลาดสีขาวแผงคอและข้อมือสีบานเย็นประดับพระปรมาภิไธย ว.กนก )
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 13 ก.พ. 15, 10:17

กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. จะว่าไปก็คือทหารบกดีๆ นี่เอง  แต่ทหารรักษาวังนี้มีพระราชบันทึกว่า เดิมเรียกว่ากรมวังนอก  ลูกหมู่กรมวังนอกนี้เป็นพลชาววังมีหน้าที่เปิดปิดประตูและทำการโยธาต่่างๆ ในพระบรมมหาราชวัง กับเข้าขบวนแห่ในเวลามีเสด็จโดยกระบวนราบหรือกระบวนหยุหยาตรา  เมื่อล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ เสด็จขึ้นครองราชย์แล้วทรงพระราชดำริว่า การที่ต้องจัดทหารรักษาพระองค์มาวางยามประจำรักษาการตามประตูวังคู่กับลูกหมู่กรมวังนอกนั้นเป็นการสิ้นเปลือง  อีกทั้งทหารมีหน้าที่ป้องกันรักษาประเทศชาติแต่ให้มายืนยามรักษาการเช่นนี้ย่อมเป็นการสูญเปล่า  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกกรมวังนอกขึ้นเป็นกรมทหารรักษาวังสังกัดกระทรวงวัง  มีระเบียบปกครองเป็นกรมทหารบกกรมหนึ่งขึ้นการบังคับบัญชาตรงต่อเสนาบดีกระทรวงวัง  มีสมุหราชองครักษ์ที่เป็นนายทหารบกเป็นผู้กำกับราชการ

เมื่อโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกรมวังนอกเป็นกรมทหารรักษาวังแล้ว  ก็โปรดเกล้าฯ ให้ทหารรักษาวังเป็นผู้อยู่เวรยามประจำรักษาประตูพระราชฐานที่ประทับเฉพาะชั้นนอกแทนทหารรักษาพระองค์ที่โปรดให้ถอนกลับกรมกองไปทั้งหมดและคงทำการต่างๆ เช่นที่เคยปฏิบัติมา  ส่วนที่พระราชฐานชั้นกลางคงเป็นหน้าที่ของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์ที่มีที่ตั้งกองรักษาการอยู่ที่ใต้ถุนพระที่นั่งจักรีมหาปราสทตามเดิม

เนื่องจากกรมทหารรักษาวังนี้เป็นส่วนราชการพลเรือนสังกัดกระทรวงวัง  แต่ระเบียบวิธีปกครองทั้งหมดเป็นทหารจึงใช้เครื่องแบบคล้ายทหารบก  จะต่างกันเฉพาะในรายละเอียดบางประการเพื่อให้เป็นที่สังเกตว่ามิใช่ทหารบกคือ  หมวกเต็มยศครึ่งยศ  ทหารรักษาวังใช้หมวกค๊อกแฮตสวมทางขวางอย่างที่เรียกกันว่าหมวกแบบนโปเลียน  มีตราพระครุฑพ่าห์โลหะสีทองติดทับบนดอกไม้แพรจีบสีบานเย็นที่หน้าหมวก  นายทหารสัญญาบัตรมีพู่ติดที่หน้าหมวกด้วย  เสื้อใช้เสื้อแบบราชการ (ราชปะแตน) สีขาวมีปลอกคอและข้อมือสีบานเย็น  กางเกงสีน้ำเงินแก่แถบสีบานเย็น  รองเท้าสูง (บูท) หนังดำ  กระบี่ไทย (คล้ายดาบไทย) ฝักหนังดำเครื่องทองใช้แทนกระบี่ฝักเงินอย่างทหารบก  สำหรับเครื่องแบบปกติ เครื่องฝึกหัดและเครื่องสนาม เหมือนอย่างทหารบกเกือบทั้งหมด  ต่างกันแต่เพียงหมวกแก๊ปมีผ้าพันหมวกสีบานเย็น

สีประจำเหล่าของทหารรักษาวังเป็นสีบานเย็น  เพราะสีบานเย็นสีหมายกระทรวงวัง

เครื่องแบบทหารรักษาวังมีเปลี่ยนแปลงบ้างในตอนปลายรัชกาลที่ ๖ เช่นเครื่องแบบปกติเปลี่ยนจากเสื้อเทากางเกงน้ำเงินแก่มาเป็นกางเกงดำ  แล้วเปลี่ยนเป็นกากีทั้งชุด  กับเพิ่มหมวกกันแดดแบบกะโล่สีกากี  และเพิ่มกระบี่แบบทหารบกในเวลาแต่งเครื่องปกติ

ส่วนที่กล่าวว่า "เคยยกฐานะให้ ผู้บังคับการกรมทหารรักษาวัง ให้เทียบเท่า ผู้บัญชาการทหารบก เป็นตำแหน่งผู้บัญชาการทหารรักษาวัง ก่อนจะลดฐานะกลับมาเป็น ผบ.กรมเท่าเดิม" นั้น  ขออธิบายเพิ่มเติมว่า ปกติกรมทหารบกทั่วไปกรมหนึ่งมีอัตรากำลังเพียง ๒ กองพันๆ หนึ่งมี ๔ กองร้อยเป็นอย่างมาก  เมื่อแรกสถาปนากรมทหารรักษาวังก็มีกำลังพลเป็น ๒ กองพันเช่นเดียวกัน  กองพันที่ ๑ มีที่ตั้งประจำอยู่ที่ริมประตูวิเศษไชยศรี ในพระบรมมหาราชวัง  กองพันที่ ๒ อยู่ที่โรงทหารถนนราชวิถีที่ปัจจุบันเป็นกรมทหารมหาดเล็กราชวัลลภรักษาพระองค์  มีหน้าที่รับผิดชอบรักษาการพระราชวังดุสิต  ต่อมาในคราวเสด็จพระราชดำเนินเลียบหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ พ.ศ. ๒๔๕๘  มีพระราชดำริที่จะจัดตั้งกองทหารในหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ที่มีสัญญาลับกับอังกฤษให้คาบสมุทรมลายูของไทยเป็นดินแดนในอารักขาของอังกฤษ  เพื่อแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ชัดว่า สยามยังคงหวงแหนดินแดนแถบนี้อยู่  แต่เวลานั้นเสนาบดีกระทรวงกระลาโหมกราบบังคมทูลว่า กองทหารบกที่มีอยู่ในเวลานั้นมีจำกัด  ไม่สามารถถอนกำลังหน่วยหนึ่งหน่วยใดลงไปตั้งในหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้ดังพระราชประสงค์ได้  จึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวังขึ้นที่สวนราชฤดี จังหวัดนครศรีธรรมราช  แบ่งนายทหารจากกรุงเทพฯ ไปประจำที่นครศรีธรรมราชและโปรดให้ใช้พระราชบัญญัติเกณฑ์ทหารในหัวเมืองมณฑลปักษ์ใต้เกณฑ์ชายฉกรรจ์เข้าประจำการในกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวัง  จัดอัตรากำลังเป็น ๔ กองร้อย

เมื่อกรมทหารรักษาวังมีอัตรากำลังเป็น ๓ กองพัน  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ยกตำแหน่งผู้บังคับการกรมซึ่งเป็นนายพันเอก ขึ้นเป็นนายพลตรี เรียกชื่อตำแหน่งว่า ผู้บัญชาการกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. มีเกียรติยศเสมอด้วยผู้บัญชาการกองพลในสังกัดกองทัพบก  เพราะในสมัยนั้นกองพล ๑ มีอัตราเป็นกรมทหารราบ ๒ กรมๆแม้จะจัดเป็น ๒ กองพัน  แต่ก็มีอัตรากำลังเพียงกองพันละ ๒ กองร้อย  เมื่อรวมกับอัตรากำลังที่ขึ้นสังกัดในกองพลทั้งกองทหารม้า  ทหารพาหนะ  ทหารปืนใหญ่ แล้ว  กองพลหนึ่งจะมีอัตราพอๆ กับกรมทหารรักษาวัง ๓ กองพันรวมกัน

ต่อมาในตอนปลายรัชสมัยมีการตรวจตัดรายจ่ายในพระราชสำนัก  จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยุบเลิกกองพันที่ ๓ กรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร. ซึ่งทำให้ลดรายจ่ายในพระราชสำนักลงได้ถึงปีละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท  เมื่อกรมทหารรักษาวังลดอัตราลงเหลือ ๒ กองพันแล้ว  จึงโปรดเกล้าฯ ให้ลดตำแหน่งยศผู้บัญชาการกรมทหารรักษาวัง ว.ป.ร.ลงมาเป็น นายพันเอก ผู้บังคับการกรมทหารรักษาวังตามเดิม
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 13 ก.พ. 15, 10:19

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเครื่องเต็มยศ นายพันเอก ผู้บังคับการกรมทหารรักษาวัง  ทรงฉายเมื่อแรกสถาปนากรมทหารรักษาวัง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 13 ก.พ. 15, 10:30

หมวดทหารรักษาวังพร้อมพลแตร  สวมเครื่องแบบปกติขาว  โปรดสังเกตนายสิบและพลทหารสวมหมวกไม่มีพู่


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
ตองฮอคุโรบูตะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 13 ก.พ. 15, 13:44

ขอบคุณท่านอาจารย์ V_MEE  มากเลยครับ ได้มีโอกาสเห็นรูปหมวกค๊อกแฮตจริงๆเสียที พระบรมฉายาลักษณ์ ร.๖ นี่น้าจะเป็นต้นแบบให้สร้าง อนุสาวรีย์ที่ ร๑.พัน.๓​รอ. ตรงถนนพระราม๕ เลยนะครับ

บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 13 ก.พ. 15, 15:50

ผมถ่ายมาแค่รูปเดียวเสียด้วยครับ เลยขอครอปและขยายเฉพาะส่วนตรามาให้ดูนะครับ

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีการจัดทหารเป็นแบบฝรั่งเศส มีกรมเกราะทอง และหมวกนี้ได้รับอิทธิพลดังกล่าว
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 16 ก.พ. 15, 11:50

ขอโทษครับ มีความผิดพลาดจึงได้ลบคคห.นี้
บันทึกการเข้า
ตองฮอคุโรบูตะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 26 ธ.ค. 16, 17:00

ห่างหายไปนานเป็นปีเลยจริงๆครับ จากที่เคยนั่งอ่านหารูป จะนำมาคุยเลยหายไปเป็นปีๆ เลยครับ
วันนี้เลยนำรูปหมวกยอดแบบไม่มีพู่ หรือที่บางทีเราก็เรียกว่า หมวกกันแดด มาฝากครับ

บันทึกการเข้า
ตองฮอคุโรบูตะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 26 ธ.ค. 16, 17:03

รูปมาจาก www.militarysunhelmet.com นะครับ

รูปนี้ ตามข้อมูลในเว็บบอกใช้ในกองทัพไทยยุค1990s แต่ผมไม่เคยเห็นและไม่คุ้นกับตราหน้าหมวกลักษณะนี้เลยครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.051 วินาที กับ 20 คำสั่ง