เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
อ่าน: 30878 ชวนค้นชวนคว้า เสริมนิดแต่งหน่อยกับเครื่องแบบทหารบกไทยตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 08:12

สุดท้ายในภาพชุดนี้ครับ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 09:16


(แถวที่สองจากซ้าย)  ๑. นายพันโท พระสุรเดชรณชิต (อุ่ม  อินทรโยธิน - นายพลเอก เจ้าพระยาพิชเยนทรโยธิน) ผู้บังคับการกองโรงเรียนทหารบก  ๒. นายพันเอก พระสุนทรพิมล (คืบ) ยกรบัตรทัพบก 

ขอแก้ไขว่า นายพันเอก พระสุนทรพิมล (คืบ) ต่อมาคือนายพลตรี พระยาวิชิตณรงค์ ปลัดบัญชีทหารบก ค่ะ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 09:21

ภาพพระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์ในความเห็นที่ ๔๐ - ๔๓ ที่ท่าน Navarat C. นำมาแสดงนั้น  เป็นภาพทรงเครื่องนายร้อยตรี นายทหารพิเศษประจำกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์  ทรงฉายไว้ตอนต้นรัชกาลที่ ๖ ครับ  เพราะในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวนั้น  ไม่ทรงรับหม่่อมคัธรินเป็นสะใภ้หลวง  ซึ่งส่งผลให้ไม่ทรงรับพระองค์จุลฯ เป็นพระนัดดาไปด้วย

แต่ในสมัยรัชกาลที่ ๖ ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๖ ทรงเป็นพระเชษฐาที่สนิทสนมรักใคร่และสนิทสนมกับทูลกระหม่อมจักรพงษ์ยิ่งกว่าพระราชอนุชาพระองค์ใดๆ  จึงทรงมีพระมหากรุณาธิคุณเผื่อแผ่มาถึงพระองค์จุลฯ ซึ่งทรงเป็นพระนัดดาพระองค์แรก  ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาหม่อมเจ้าพงษ์จักร (พระนามเดิม) เป็นพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจุลจักรพงษ์  เสมอว่าทรงมีพระประสูติการแต่พระชนนีที่เป็นเจ้า  เช่นสามพระองค์ชายพระโอรสในสมเด็จเจ้าฟ้ากรมหลวงลพบุลีราเมศวร์ที่มีพระชนนีคือ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเฉลิมเขตรมงคล

พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าภาณุพันธุ์ยุคล ซึ่งเติบโตมาในราชสำนักสมเด็จพระศรีพัชรินทราบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนี พันปีหลวง  พร้อมด้วยพระองค์จุลฯ ทรงเล่าว่า ทูลกระหม่อมลุง คือ ล้นเกล้าฯ รัชกลที่ ๖ โปรดให้พระนัดดาทั้งสองคือ พระองค์จุลฯ และพระองค์ชายใหญ่ (พระองค์เจ้าภาณุฯ) ทรงแต่งเครื่องทหารมาแต่ทรงพระเยาว์  มีรับสั่งกับทั้งสองพระองค์ก่อนที่จะโปรดให้ไปเรียนที่อังกฤษว่า เจ้าต้องไปเรียนทหาร  แล้วจะได้กลับมาเป็นทหารรับใช้ประเทศชาติเหมือนลุง

เรื่องเครื่องแบบทหารนี้  พระองค์จุลฯ ทรงเล่าไว้ว่า ทูลกระหม่อมลุงโปรดให้ช่างทำกระบี่ขนาดเล็กให้ทรงคาดเหมือนทรงเป็นนายทหารในกองทัพบกเลยทีเดียว

ในภาพชุดนั้นจะเห็นว่า พระองค์จุลฯ ทรงประดับอินทรธนูยาวตามบ่า  ประดับเครื่องหมายยศรูปจักรเงิน ๑ จักร หมายเป็นนายร้อยตรี  ที่กึ่งกลางอินทรธนูประดับอักษรพระบรมนามาภิไธย ว.ป.ร.พระมหามงกุฎเงิน และประดับสายราชองครักษ์ที่อกเสื้อเบื้องขวา  หมายเป็นราชองครักษ์พิเศษในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว  มีพระราชนิยมให้พระราชโอรสเป็นนายทหารพิเศษในกรมทหารราบที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์กันทุกพระองค์  เริ่มจากทรงตั้งสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เป็นนายพันตรี  ต่อมาเมื่อทรงสถาปนาสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนเทพทวาราวดี เป็นสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราวุธ สยามมกุฎราชกุมาร ก็โปรดเกล้าฯ พระราชทานยศให้ทรงเป็นนายร้อยโท  จากนั้นก็ได้พระราชทานยศให้พระราชโอรสที่ทรงเจริญพระชันษาแล้วเป็นนายร้อยตรีมาเป็นลำดับ  ซึ่งรวมถึงทูลกระหม่อมจักรพงษ์พระชนกในพระองค์จุลฯ ก็เคยเป็นนายร้อยตรีในกรมทหารราชที่ ๑ มหาดเล็กรักษาพระองค์มาก่อน  การที่รัชกาลที่ ๖ โปรดให้พระองค์จุลฯ และพระองค์ชายใหญ่แต่งเครื่องแบบนายทหารมหาดเล็กฯ นี้จึงเป็นการเจริญรอยพระราชนิยมในล้นเกล้าฯ รัชกาลที่ ๕

นายร้อยโท สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร ทรงฉายพร้อมด้วย นายร้อยตรี สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าฯ กรมขุนพิษณุโลกประชานาถ ที่กรุงเวน๖ืปีเตอร์สเบิร์ก  ประเทศรัสเซีย เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๔


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
V_Mee
สุครีพ
******
ตอบ: 1436


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 09:23

ขอบพระคุณท่านอาจารย์ใหญ่ที่กรุณามาให้ข้อมูลเพิ่มเติมครับ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 09:50

ขอบคุณสำหรับข้อมูลอาจารย์วีร์มากครับ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 09:55

คุณหมอเพ็ญชมพูอยู่ไหนหนอ?

มาตามเสียงเรียกหา  ยิงฟันยิ้ม

            เอกสารชิ้นแรกที่ผมค้นได้จากเว็บราชกิจจานุเบกษา คือ พระราชกำหนด เครื่องแต่งตัวทหารบก รศ.๑๒๗ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๗ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๕๒ ช่วงปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช  รัชกาลที่ ๕  นั่นเอง ซึ่งเป็นการแก้ไขจากที่เคยได้ตราไว้ ในรศ. ๑๑๖ ครับ แต่ตัว ร.ศ.๑๑๖ ผมไม่สามารถค้นในอินเตอร์เน็ตออกมาได้

คุณหมูดำสามารถค้นหาตัว ร.ศ. ๑๑๖ ในเว็บราชกิจจานุเบกษาในชื่อ "พระราชกำหนดเครื่องแต่งกายทหารราบ"


บันทึกการเข้า
ตองฮอคุโรบูตะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 10:02

คุณหมอเพ็ญชมพูอยู่ไหนหนอ?

มาตามเสียงเรียกหา  ยิงฟันยิ้ม

            เอกสารชิ้นแรกที่ผมค้นได้จากเว็บราชกิจจานุเบกษา คือ พระราชกำหนด เครื่องแต่งตัวทหารบก รศ.๑๒๗ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๗ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๕๒ ช่วงปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช  รัชกาลที่ ๕  นั่นเอง ซึ่งเป็นการแก้ไขจากที่เคยได้ตราไว้ ในรศ. ๑๑๖ ครับ แต่ตัว ร.ศ.๑๑๖ ผมไม่สามารถค้นในอินเตอร์เน็ตออกมาได้

คุณหมูดำสามารถค้นหาตัว ร.ศ. ๑๑๖ ในเว็บราชกิจจานุเบกษาในชื่อ "พระราชกำหนดเครื่องแต่งกายทหารราบ"
ขอบพระคุณท่านอาจารย์เพ็ญหลายๆคร้าบ

ท่านอาจารย์วี ได้กรุณาไล่เรียงต่อจากผมไปจนถึงปี ๒๔๖๒ ซะแล้ว ตอนนี้ผมกำลังรวบรวมต่อจะนำข้อมูลมาร่วมวงหาโอกาสครูพักลักจำต่อไปนะครับ
บันทึกการเข้า
ตองฮอคุโรบูตะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 10:17

เสื้อทูนิคสีน้ำเงินแก่ และหมวกเฮลเม็ตมียอดหมวกตราพระครุฑพ่าห์ น่าจะมีตั้งแต่ใน ปี๒๔๕๗ แล้วหรือเปล่าครับ อาจารย์วี เพราะใน พรก.๒๔๕๗ ก็กำหนดไว้แล้ว

แต่เรื่องเสื้อสีดินแดงนี่ผมพึ่งทราบเลยครับ และพึ่งเคยเห็น ฉลองพระองค์ทหารที่เป็นชุดคอแบะ(คือเหมือนชุดสูท) ที่ทหารบกใช้ นี่ละครับ ยังคิดอยู่ว่าการเปลี่ยนเป็นชุดสีกากี กับกากีแกมเขียวน่าจะมีมาก่อน ๒๔๖๒ แล้ว อย่างน้อยๆ คือช่วงส่งกำลังไปร่วมสงครามโลกครั้งที่๑ ในปี ๒๔๖๐ เพราะเราใส่ชุดแบบทหารพันธมิตร แลหมวกเหล็ก ไปเข้าร่วมสงครามแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 11:24

            เอกสารชิ้นแรกที่ผมค้นได้จากเว็บราชกิจจานุเบกษา คือ พระราชกำหนด เครื่องแต่งตัวทหารบก รศ.๑๒๗ ลงวันที่ ๑๙ เมษายน ร.ศ.๑๒๗ ตรงกับปี พ.ศ.๒๔๕๒ ช่วงปลายรัชสมัยของ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช  รัชกาลที่ ๕  นั่นเอง 

เพิ่งเห็นตรงนี้ ขออนุญาตแก้ไข ร.ศ. ๑๒๗ ตรงกับ พ.ศ. ๒๔๕๑ (พ.ศ. = ร.ศ. + ๒๓๒๔)  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 11:59

^
คุณเพ็ญต้องเอาหน้ายิ้มเยาะออกไปก่อน

ตรงนี้น่ะ เป็นเรื่องชวนปวดหัวที่สุด การแปลงร.ศ.เป็นพ.ศ. จะเอาตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งมาบวกลบไม่ได้ ต้องดูเดือนด้วย เพราะสมัยก่อนไทยเปลี่ยนศักราชในเดือนเมษายน ถ้าใช้ฐานความเข้าใจปัจจุบันก็คือ ตั้งแต่มกราคมถึงมีนาคม เป็นพ.ศ.นึง จากเมษายนถึงธันวาคม แลัวเลยไปถึงมีนาคมอีกปีหนึ่งนั้น เป็นอีกพ.ศ.นึงถัดไป

ช่วยเชคอีกทีเถิดครับว่า ๒๓๒๔ มาจากฐานการคำนวณใด
และที่ว่าเปลี่ยนศักราชในเดือนเมษายนนั้น เปลี่ยนตั้งแต่ ๑ เมษายน หรือเปลี่ยนในวันที่ประกาศสงกรานต์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 14:55

ขออนุญาตชี้แจงดังนี้

๑.
คุณเพ็ญต้องเอาหน้ายิ้มเยาะออกไปก่อน

หน้าแสดงอารมณ์ที่เรือนไทยจัดหามามีภาพ "ยิ้ม" อยู่ ๔ แบบ  ยิ้ม = ยิ้ม   ยิ้มเท่ห์ = ยิ้มเท่ห์ (คำนี้เขียนผิดที่ถูกคือ เท่)  ยิ้มกว้างๆ = ยิ้มกว้าง ๆ และสุดท้าย  ยิงฟันยิ้ม = ยิ้มยิงฟัน ที่เลือกใช้  ยิงฟันยิ้ม ก็เพื่อจุดประสงค์แสดงอารมณ์ว่ามีความสุขเท่านั้น มิได้คิดในจุดประสงค์อื่นใดเลย

๒.
ตรงนี้น่ะ เป็นเรื่องชวนปวดหัวที่สุด การแปลงร.ศ.เป็นพ.ศ. จะเอาตัวเลขตัวใดตัวหนึ่งมาบวกลบไม่ได้ ต้องดูเดือนด้วย เพราะสมัยก่อนไทยเปลี่ยนศักราชในเดือนเมษายน ถ้าใช้ฐานความเข้าใจปัจจุบันก็คือ ตั้งแต่มกราคมถึงมีนาคม เป็นพ.ศ.นึง จากเมษายนถึงธันวาคม แลัวเลยไปถึงมีนาคมอีกปีหนึ่งนั้น เป็นอีกพ.ศ.นึงถัดไป

และที่ว่าเปลี่ยนศักราชในเดือนเมษายนนั้น เปลี่ยนตั้งแต่ ๑ เมษายน หรือเปลี่ยนในวันที่ประกาศสงกรานต์


เรื่องนี้คุณหมอศานติเคยอธิบายไว้แล้ว

เราเพิ่งเริ่มใช้ ๑ มกราคม เป็นวันปีใหม่เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๔ ก่อนหน้านั้นปีใหม่เริ่ม ๑ เมษายน โดยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯสั่งให้เริ่มนับปีใหม่วันที่ ๑ เมษายน ๒๔๓๒ บังเอิญตรงกับวันขึ้น ๑ ค่ำเดือน ๕ พ.ศ.๒๔๓๒ ซึ่งเป็นวันปีใหม่แบบเดิม

๓.
ช่วยเชคอีกทีเถิดครับว่า ๒๓๒๔ มาจากฐานการคำนวณใด

รัตนโกสินทร์ศก เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปีแรก คือ  พ.ศ. ๒๓๒๕ = ร.ศ. ๑ ดังนั้น พ.ศ. จึง = ร.ศ. + ๒๓๒๔  ซ.ต.พ.


บันทึกการเข้า
ตองฮอคุโรบูตะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 15:13

ขออภัยในข้อผิดพลาดของผมด้วยนะครับ ผมพลาดไปที่บวกด้วย๒๓๒๕ ครับ
บันทึกการเข้า
ตองฮอคุโรบูตะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 15:52

                           ผมขออนุญาต มาต่อ ทวนในสิ่งที่อาจารย์หลายๆท่าน ได้ว่ากันไปแล้วนะครับ พอมาถึงปี ๒๔๖๒ ครับ เครื่องแบบสีเทาก็หายไปจริงๆสักทีครับ เป็นเครื่องแบบสีกากีแกมเขียวแทน (เหมือนพันตรีประจักษ์ ขวัญใจ อาจารย์เทาชมพูครับ)โดยมีการแบ่งชุดเป็นประเภทอย่างชัดเจน ประเภท ปรกติ(มีก.และข) ประเภทราชการสนาม ประเภทฝึกหัด ประเภทสโมสรกลางวัน ประเภทราตรีสโมสร ประเภทครึ่งยศ และประเภทเต็มยศ และเปลี่ยนชื่อหน่วยทหาร จากเดิมเรียกกรมทหารราบ กรมทหารม้า ก็เป็น กรมทหารบกราบ กรมทหารบกม้า   กรมทหารม้าที่๑รักษาพระองค์ก็เปลี่ยนเป็น กรมทหารบกม้ากรุงเทพ รักษาพระองค์ของ พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว แอบเห็นมี กรมทหารบกม้านครปฐม กรมทหารบกม้านครราชสีมา ของสมเด็จพระศรีพัชรินทรา พระบรมราชินีนารถ กรมทหารบกม้าพิศณุโลก ด้วยครับ นอกจากเครื่องหมายสังกัดที่เดิม เป็นตัวเลขกลางลายกนกแล้ว คราวนี้เพิ่มตัวอักษรเข้ามาด้วยครับ สำหรับกรมกองต่างๆที่ไม่ใช่ตัวเลช
                          และสำหรับหน่วย กรมทหารบกราบที่ ๑๑ รักษาพระองค์ และหน่วยรักษาพระองค์อื่น ที่ใช้ตัวอักษรพระปรมาภิไธยย่อ วปร.ในพระมหามงกุฏ ให้เปลี่ยนเป็น ร.ร.๖ ครับ

                         นักเรียนนายร้อยมีชุดเต็มยศเพิ่มขึ้นมา คือเป็นหมวกยอดพู่สีแดง แผงคอและคอมือสีแดงมีคันชีพและประคตครับ เครื่องแบบ แบบนี้ หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจะหายไปนะครับ กลับมาอีกที ก็ตอนเป็นโรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า แล้ว

                         จนล่วงมาในปี ๒๔๖๔ ก็ออกแก้ไข พรก.ปี ๒๔๖๒ ที่เปลี่ยนเยอะครับ จริงๆ มีการออกแก้ไขมาก่อนแล้ว๒-๓ ฉบับ แต่เป็นส่วนเล็กน้อยครับ ในการแก้ไขครั้งนี้ อย่างที่ ท่านอาจารย์V_mee ได้กล่าวไปแล้วครับ ได้มีการเปลี่ยนมาใช้อินทรธนูผ้าปลายมนเย็บติดกับเสื้อแล้วสวมด้วยปลอกอินทรธนูหรือที่เรียกว่าอินทรธนูน้อยแทน ครับ และชุดปรกติ ข. ของนายทหารก็เปลี่ยนจากเสื้อแบบหลวงหรือราชปะแตนท์ให้เป็นเสื้อแบบกากีแกมเขียวคอแบะ(เสื้อสูท) แบบมีกระเป๋าบนล่าง ฝากระเป๋าบนแบบปลายแฉลบ ฝาล่างแบบย่าม เสื้อรองในสีเดียวกับเสื้อนอก และผุกผ้าผูกคอเงื่อนกลาสี หรือเนคไทน์ ครับ เหมือนในรูปที่ท่าน V_mee  นำให้ดู ที่เป็น ล้นเกล้าฯ รัชกาลที่๖ ฉายร่วมกับคณะ ที่แสดงละครครับ เช่นเดียวกันชุดคอแบะได้ถูกยกเลิกหรือให้ใส่ได้เพียงในโอกาสลำลองและให้นำเสื้อกากีแกมเขียวคอปิดมาใช้แทนรวมถึงชุดเต็มยศของนายทหารชั้นนายพลที่ใช้หมวกพับระบาย๒ด้าน ก็กลับมาเป็นหมวกยอดแบบมีภู่หลังสิ้นรัชกาลที่ ๖ โดยออกเป็นแจ้งความกระทรวงกลาโหม ลง๒๙ มีนา ๒๔๖๘ ประกาศในราชกิจจา ๔ เมษา ๒๔๖๙
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 16:31


ช่วยเชคอีกทีเถิดครับว่า ๒๓๒๔ มาจากฐานการคำนวณใด

รัตนโกสินทร์ศก เริ่มนับตั้งแต่ปีที่ก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์เป็นปีแรก คือ  พ.ศ. ๒๓๒๕ = ร.ศ. ๑ ดังนั้น พ.ศ. จึง = ร.ศ. + ๒๓๒๔  ซ.ต.พ.

ขอโทษท่านเจ้าของกระทู้แป๊บนึงนะครับ

ในร.ศ.๑ นั้น สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯท่านให้เริ่มต้นนับปีในวันที่ ๑ มกราคม หรือ ณ วันสงกรานต์ในเดือนเมษายนปีนั้น ครับ
ถ้าไม่ใช่ ๑ มกราคม ก็จะซ.ต.พ.มิได้
บันทึกการเข้า
ตองฮอคุโรบูตะ
อสุรผัด
*
ตอบ: 15


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 10 ก.พ. 15, 18:33


ภาพหมวกเฮลเม็ต แบบต่างๆครับ

ภาพหมวกอันนี้ผมไม่ทราบเลยครับว่าเป็นของหน่วยใดสมัยใด มีอาจารย์ท่านใดพอมีความเห็นอย่างไรบ้างไหมครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.065 วินาที กับ 20 คำสั่ง