เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 32
  พิมพ์  
อ่าน: 123333 ใครเป็นใครในเรือนไทย (ของเรา) เท่าที่อยากจะเปิดเผย
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 225  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 07:59

 ลงให้ดูพอหอมปากหอมคอค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 226  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 07:59

รูปนี้คือคุณ V_Mee


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 227  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:12

ด้วยความเคารพ คุณพิชามญชุ์ เป็นอะไรกับ คุณวิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์ หรือเปล่าครับ ฮืม
น่าจะเป็นคนรุ่นเดียวกันค่ะ  ชื่อสะกดง่ายพอกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 228  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:14

แล้วตกลงคุณม้านี่เป็น ดร. ท่านใดใน 3 ท่านผู้ก่อตั้งเว็บวิชาการครับ  ยังเฉลยไม่หมดเลย ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
คุณม้าเป็นบุคคลลึกลับ   ยิ่งกว่าแบทแมนและสไปเดอร์แมน   ทำงานกันมาหลายปีแล้ว ดิฉันยังไม่มีโอกาสเห็นแม้แต่เงาค่ะ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 229  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:16

(มาต่อ)
    “เรือนไทย”ได้รับความสนใจจากชาว “อินทรเนตร” เข้ามาเยี่ยมชมหาความรู้อย่างต่อเนื่อง มีกระทู้เกี่ยวกับศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์ไทยที่น่าสนใจมากมาย ส่วนหนึ่งเพราะ “สมาชิก”หลายท่านที่เข้ามาร่วมแบ่งปันความรู้เป็นผู้ที่มีความรู้และสามารถบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ให้เข้าใจได้ง่าย และอ่านสนุก โดยเฉพาะ “เจ้าเรือน”นั้นนอกจากจะเป็นผู้ควบคุมดูแลเรือนไทยแล้ว ยังเป็นผู้ที่เขียนเล่าเรื่องราวต่างๆได้อย่างน่าติดตามราวกับมืออาชีพ

    ในอีกหลายปีต่อมา ความจริงก็เปิดเผยว่า เจ้าเรือน“เทาชมพู” แท้จริงไม่ใช่ใครอื่น แต่เป็นศิลปินแห่งชาติและเป็นนักเขียนที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในแวดวงวรรณกรรม รองศาสตราจารย์ ดร.คุณหญิง วินิตา ดิถียนต์ หรือ ว.วินิจฉัยกุล ,แก้วเก้า นั่นเอง แต่เมื่อแรกเริ่มที่ทำงานนี้  ท่านเจ้าเรือนไม่ต้องการเปิดเผยตัว จึงเลือกใช้นามแฝงใหม่เอี่ยมว่า “เทาชมพู”ซึ่งมาจากสีของเทวาลัย   คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  เพราะถือว่าได้รับความรู้ทางอักษรศาสตร์จากที่นี่   เมื่อมาตอบคำถามทางอักษรศาสตร์ ไม่ว่าภาษา วรรณคดี ประวัติศาสตร์ ความรู้ต่างประเทศ จึงตั้งนามแฝงเพื่อเป็นที่ระลึกถึงพระคุณของแหล่งเรียนมา 

    เหตุที่ ว.วินิจฉัยกุล,แก้วเก้า ซึ่งเป็นนักเขียนนวนิยาย เป็นผู้มีความรู้ในทางประวัติศาสตร์จนมาทำหน้าที่ “เจ้าเรือน”เรือนไทยได้เช่นนี้ ถือว่าเป็นเรื่องที่สมเหตุสมผล เพราะเป็นเจ้าของผลงานนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ไทยหลายๆเรื่องที่ผ่านการค้นคว้าอย่างละเอียด อาทิ รัตนโกสินทร์ สองฝั่งคลอง  บูรพา ราตรีประดับดาว  เรือนมยุรา ฯลฯ อีกทั้งผู้เขียนยังมีความสนใจในเรื่องศิลปวัฒนธรรมและประวัติศาสตร์เป็นทุนเดิมอยู่แล้ว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 230  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:18

     “ภูมิหลังทางบ้านก็ช่วยส่งเสริมให้สนใจเรื่องในอดีต จากคำบอกเล่าของคุณแม่ซึ่งเป็นคนห้าแผ่นดิน และรับถ่ายทอดความรู้เรื่องเก่าๆของคุณปู่คุณย่าของท่านมาอีกทีหนึ่ง   ต่อมาเริ่มมาตั้งแต่หัดค้นคว้าประวัติศาสตร์เพื่อเป็นข้อมูลเขียนนวนิยายเรื่อง “รัตนโกสินทร์” เริ่มจากเลขศูนย์ รวบรวมข้อมูลอยู่ 10 ปีกว่าจะเขียนได้    แม้ว่าเขียนจบแล้ว ก็ยังเหลือข้อมูลอีกมาก   ก็เลยสนใจประวัติศาสตร์นับแต่นั้นเป็นต้นมา
    ...ก่อนมีอินเทอร์เน็ต   ใช้วิธีไปค้นตามห้องสมุดของมหาวิทยาลัย   บวกกับหาซื้อและสะสมหนังสือเก่า    อ่านทุกเล่มทุกหน้าที่เกี่ยวข้อง  ต้องอาศัยความอดทนอย่างมาก  เพราะนอกจากอ่านยากแล้ว ยังต้องจดจำเรื่องที่อ่านให้ได้ด้วย เพื่อมาปะติดปะต่อเป็นฉากหลังในหนังสือ” รศ.ดร.คุณหญิงวินิตา เล่าถึงที่มาที่ไปเกี่ยวกับความสนใจในเรื่องศิลปวัฒนธรรมที่สั่งสมมาจากการค้นคว้าข้อมูล จนกระทั่งวันหนึ่ง “เทาชมพู”ก็ได้ปรากฏกายขึ้นที่ “เรือนไทย”ในโลกอินเตอร์เน็ต จนนำมาสู่คลังข้อมูลด้านศิลปวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ ภาษา และวรรณคดีที่ผู้คนสามารถคลิกเข้ามาหาความรู้ได้อย่างสะดวกง่ายดายอย่างเช่นทุกวันนี้     ถึงกระนั้นก็ตามในช่วงเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา ชุมชนเล็กๆของคนที่นิยมชมชอบในศิลปวัฒนธรรมนี้ก็ได้ผ่านเรื่องราวต่างๆมามากมาย


       “การทำงานในเรือนไทยยุคแรกๆมีอุปสรรคหลายอย่าง ทั้งจากบุคคลภายนอกที่ไม่พึงประสงค์ เข้ามาป่วน ทั้งสแปมโฆษณาสินค้า  ต้องบล็อคกันไปไม่หวัดไม่ไหว    และปัญหาจากเทคโนโลยีของระบบคอมพิวเตอร์เอง      หลายปีต่อมา  เมื่อเว็บวิชาการมีการปรับแก้ระบบการใช้งานในเว็บให้คล่องตัวขึ้น      เรือนไทยซึ่งเป็นห้องหนึ่งในนั้นต้องหยุดไปชั่วระยะหนึ่งจนกว่าเว็บจะปรับได้สำเร็จ    ตอนนั้นดิฉันคิดจะวางมือ เพราะทำงานมานานหลายปี จนไม่รู้จะเขียนอะไรแล้ว     แต่สมาชิกเรือนไทยคนหนึ่งชื่อคุณ CrazyHOrse  ยื่นมือเข้ามาช่วยให้เรือนไทยมีเว็บไซต์เฉพาะตัวใช้ไปก่อน    แต่ยังลิงค์กับเว็บวิชาการ   การมีเว็บไซต์เองนับว่าสะดวกในการควบคุมระบบ    โดยเฉพาะการรับสมาชิก และการบล็อคโฆษณาสินค้าหรือบุคคลผู้ไม่พึงประสงค์
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 231  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:18

           จากนั้น คุณ CrazyHorse ในฐานะแอดมินก็รอจนดิฉันตัดสินใจกลับมาทำงานให้เรือนไทยอีกครั้ง เพราะพบว่ายังมีคนสนใจเข้ามาตั้งกระทู้ถามหาความรู้กันไม่ขาดสาย   เราตกลงกันว่าจะดำเนินงานโดยไม่มีสปอนเซอร์  เพราะสะดวกในการกำหนดทิศทางของเราเอง      ทุกวันนี้ ก็มีแอดมินกับดิฉันทำงานบริหารเว็บไซต์กันสองคน โดยไม่เคยเจอหน้ากันเลย     นับว่าโชคดีที่มีผู้ทรงคุณวุฒิในหลายๆด้านเข้ามาสมัครสมาชิก  ทำหน้าที่ตอบประจำ ช่วยให้วิทยาทานเพิ่มเติมจากที่มีอยู่    เช่นคุณ NAVARAT.C  คุณเพ็ญชมพู  คุณ Siamese คุณ V_Mee  คุณ SILA  และท่านอื่นๆที่เกินกว่าจะเอ่ยนามได้หมดในที่นี้          ท่านเหล่านี้ส่วนใหญ่ดิฉันรู้จักแต่เพียงนามแฝง ไม่เคยเห็นหน้ากัน  มีส่วนน้อยที่ดิฉันรู้ว่าเป็นใคร    เพราะท่านให้วิทยาทานด้วยใจรักจริงๆ   ไม่ต้องการสิ่งตอบแทน  หลายท่านก็ไม่ประสงค์แม้แต่จะเปิดเผยตัวตนว่าเป็นใครอยู่ที่ไหน      ต้องขอบอกว่าถ้าปราศจากความร่วมมือจากท่านเหล่านี้  แอดมินและดิฉันก็คงจะทำงานในเว็บเรือนไทยมาจนถึงทุกวันนี้ไม่สำเร็จ”

          ท่านเจ้าเรือนเล่าถึงสมาชิกเรือนไทยที่คุ้นนามอยู่หลายท่าน ซึ่งมักจะปรากฏว่าเป็นผู้ที่เข้าไปตอบกระทู้ หรือตั้งกระทู้ที่น่าสนใจชนิดที่เรียกว่าตามอ่านกันข้ามวันข้ามคืนทีเดียว ท่านเหล่านี้เป็นสีสันของเว็บไซต์เรือนไทย ทั้งให้ข้อมูลความรู้ที่เป็นประโยชน์ ถกเถียง วิเคราะห์ นำหลักฐานมายืนยันอ้างอิงด้วยสำนวนภาษาที่อ่านสนุกเพลิดเพลิน ชวนให้ผู้อ่านได้ค้นคว้าและคิดวิเคราะห์ต่อไป
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 232  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:20

       สมาชิกท่านแรก คือผู้ใช้นามแฝงว่า NAVARAT.C  หรือเป็นที่เปิดเผยแล้วว่าคือ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน ผู้เขียนคอลัมน์ “ประวัติศาสตร์มีชีวิต”ในสกุลไทยขณะนี้ มล.ชัยนิมิตรเป็นอดีตนักเรียนเก่าวชิราวุธวิทยาลัย จบการศึกษาจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
        ท่านที่สอง คือคุณ CrazyHOrse ท่านนี้เป็นผู้บริหารจัดการเว็บไซต์ หรือที่เรียกกันว่าแอดมินนั่นเอง จบการศึกษาจากคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่านที่สามคือ คุณเพ็ญชมพู ซึ่งใช้ชื่อลูกสาวมาเป็นนามแฝง โดยตั้งชื่อตามสีของสถาบันที่จบการศึกษาคือ “จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย”  ปัจจุบันมีอาชีพ “รับใช้ประชาชน”
          สมาชิกท่านที่สี่ คือคุณ V_Mee จบการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษา จากโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย และจบนิติศาสตร์บัณฑิตจากมหาวิทยาลัยรามคำแหง เคยเป็นทนายความ และอาจารย์ที่โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย เป็นกรรมการและผู้ช่วยเลขานุการมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพระบรมราชูปถัมภ์ และเป็นนักเขียน-นักประวัติศาสตร์สมัครเล่น
       ท่านที่ห้า คือ คุณ Siamese หรือที่สมาชิกเรือนไทยเรียกกันว่า “หนุ่มสยาม” จบการศึกษาจากสถาบัน SIIT คณะวิศวกรรมศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันทำงานในตำแหน่งวิศวกรโยธา
        จะเห็นได้ว่าสมาชิกทั้งห้าท่านไม่ได้ร่ำเรียนมาโดยตรงแต่มีความสนใจในเรื่องศิลปวัฒนธรรม และประวัติศาสตร์ ทั้งนี้เจ้าเรือนได้เล่าถึงสมาชิกเรือนไทยว่า
       “สมาชิก 99% เป็นผู้มีวุฒิภาวะสูง  เมื่อมีข้อมูลหรือความเห็นไม่ตรงกัน นำออกมาแย้งหรือถกเถียงกันก็เป็นไปอย่างผู้รู้จริง  ใช้สติและปัญญา ไม่ใช้อารมณ์     จึงไม่เกิดการตอบโต้รุนแรง แต่แสดงออกในรูปของเสนอหลักฐานและความคิดเห็นให้คนอ่านไปตัดสินเอาเองว่าจะเห็นด้วยกับฝ่ายไหน  ไม่ผูกขาดความคิดใดๆ  ซึ่งเป็นตัวอย่างที่ดีมากของการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 233  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:21

     ส่วนคนป่วนเว็บมีบ้างประปราย  เป็นพวกมีปัญหาสุขภาพจิต จึงแสดงความหยาบคายก้าวร้าวเพราะแน่ใจว่าตัวเองอยู่ในที่มืด   มีแต่นามแฝง    ไม่มีหน้าตา คงจับไม่ได้ว่าใคร    ผู้ดูแลเว็บก็ไม่เสียเวลาถกเถียงด้วยให้เสียบรรยากาศ  จับได้ก็บล็อคไปเลย เปลี่ยนชื่อเข้ามาอีกก็บล็อคอีก   แต่ถ้าทำถึงขั้นผิดกฎหมายก็แจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบรับไป  ถ้าสาวถึงตัวเมื่อไรก็เข็ดทุกราย”
  เว็บไซต์เรือนไทยนี้มีเสน่ห์ตรงที่มีสมาชิกที่มีวุฒิภาวะดังที่เจ้าเรือนได้กล่าวไปแล้ว นอกจากนั้นก็คือการมุ่งวิเคราะห์ ถกเถียง หาข้อมูลเชิงลึกอย่างจริงจังโดยเฉพาะในเรื่องประวัติศาสตร์ซึ่งเป็นเรื่องที่ต้องเกิดการศึกษาค้นคว้า ใช้เอกสารหลักฐานอ้างอิงในเรื่องที่ยังมีข้อขัดแย้งอยู่ ดังที่คุณ “เพ็ญชมพู”ได้กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า
      “ข้อมูลทางประวัติศาสตร์ของไทยมีหลายเรื่องซึ่งมีข้อขัดแย้งกัน เช่นเรื่องคนไทยมาจากไหน (อยู่ที่นี่มาก่อนหรือมาจากภูเขาอัลไต), เรื่องศิลาจารึก (เขียนโดยพ่อขุนรามคำแหงหรือรัชกาลที่ ๔),  เรื่องท้าวสุรนารี (มีตัวตนจริงหรือไม่ ถ้ามีสร้างวีรกรรมอย่างที่เล่าขานกันมาจริงหรือไม่ ) เรื่องหลังนี้น่าสนใจและเป็นเรื่องละเอียดอ่อนกระทบกับความรู้สึกของคนในท้องถิ่นมาก   คนที่ค้นคว้าหาความจริงในเรื่องนี้เช่นคุณสายพิน แก้วงามประเสริฐ  แม้จะเผยแพร่ในแง่วิชาการ ก็ยังถูกกล่าวว่าเสียหาย หนังสือ “การเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี” ก็ถูกเรียกร้องให้เผา จนสำนักพิมพ์ต้องงดการจำหน่าย แม้เมื่อเรื่องนี้นำมาเขียนเป็นกระทู้ในเรือนไทย  “คำถามจากหนังสือการเมืองในอนุสาวรีย์ท้าวสุรนารี  -วีรกรรมนี้เกิดขึ้นจริงหรือ” ก็ยังถูกซักฟอกในหลายประเด็นเชียว
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 234  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:22

    การหาข้อเท็จจริงของเรื่องราวที่เกิดขึ้นในอดีต วิธีสืบค้นให้ได้ความจริงที่สุดต้องอาศัยหลักฐานปฐมภูมิ (primary source)  ขอยกตัวอย่างการสืบค้นเรื่อง “ท้าวสุรนารี” หลักฐานปฐมภูมิในเรื่องนี้ได้แก่ใบบอก คำให้การของบุคคลทั้งฝ่ายไทยและลาวในสมัยนั้น  ส่วนหลักฐานทุติยภูมิ (secondary source) เช่นพงศาวดารหรือตำนานที่เขียนในสมัยหลัง ๆ การให้ความสำคัญย่อมน้อยลงมา  หรือในกระทู้ของ ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน เรื่อง “สมัยรัชกาลที่ ๔ มี Photoshop หรือไม่” ซึ่งมุ่งหาความจริงเกี่ยวกับพระบวรฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่ ๒ องค์ ว่า องค์ไหนเป็นองค์ต้นฉบับจริง หลักฐานปฐมภูมิในเรื่องนี้น่าจะเป็นกระจกเนกาตีฟหรือฟิล์มกระจก การค้นหาก็ต้องไปสืบค้นในแหล่งที่คาดว่าจะเป็นที่เก็บสิ่งเหล่านี้เช่นหอจดหมายเหตุแห่งชาติ อย่างที่คุณชัยนิมิตรมีอุตสาหะไปสืบค้น สำหรับตัวเองคงไม่มีอุตสาหะขั้นนั้น คงเพียงแต่นั่งสืบค้นในอินเตอร์เน็ตเท่านั้น”
       ม.ล.ชัยนิมิตร นวรัตน หรือ NAVARAT.C  ผู้ที่อุตสาหะค้นคว้าข้อมูลดังที่คุณ “เพ็ญชมพูกล่าวถึง เป็นผู้หนึ่งที่ทำให้กระทู้ในเรือนไทยมีความเคลื่อนไหว โดยในหลายครั้งครา NAVARAT.C   ได้นำเสนอข้อมูลใหม่ๆทางประวัติศาสตร์ที่ทำให้ชาวเรือนไทยต้องมานั่งปูเสื่อรอชมกันข้ามวันข้ามคืน
     
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 235  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:22

        “ผมเคยพบข้อมูลใหม่ในทางประวัติศาสตร์ ทั้งที่พบแล้วจึงนำมาเสนอกระทู้ และในระหว่างที่กระทู้ใดกระทู้หนึ่งกำลังดำเนินอยู่ แล้วผู้ที่เข้ามาร่วมเขียนความเห็นได้นำหลักฐานที่ไม่เคยนึกฝันมาก่อนว่าจะมีมาแสดง หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางให้ความเห็นทางวิชาการที่เชื่อถือได้ เกิดเป็นข้อเท็จจริงใหม่ทางประวัติศาสตร์ ความจริงมีอยู่หลายเรื่อง แต่ขอยกตัวอย่างกรณีหนึ่ง ผมค้นคว้าเหตุการณ์ ร.ศ.๑๑๒ ตอนฝรั่งเศสนำเรือรบบุกเข้ามาแล้วเกิดการรบที่ปากน้ำ เกิดสนใจพระชลยุทธโยธินทร์ ผู้บัญชาการรบฝ่ายสยามขณะนั้นซึ่งเป็นนายทหารเดนมาร์ก ค้นไปค้นมาได้ข้อมูลทางฝ่ายโน้นที่คนไทยน้อยคนนักที่จะทราบว่า Andre de Richelieu ชื่อที่คนไทยสมัยรัชกาลที่ ๕ เรียกว่า“ริชลิว” ภายหลังที่ได้ยศถาบรรดาศักดิ์เป็นพลเรือโท พระยาชลยุทธโยธินทร์ ผู้บัญชาการทหารเรือคนเดียวของไทยที่เป็นชาวต่างชาติ แล้วลาป่วยออกจากราชการ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯทรงพระเมตตาเสด็จโดยเรือพระที่นั่งมหาจักรีไปส่งลงเรือเมล์ถึงสิงคโปร์ และพระราชทานเงินบำนาญมากกว่าข้าราชการไทยหลายเท่าให้กินจนตาย เนื่องจากทรงเห็นว่าเงินเดือนของพระยาชลยุทธฯนั้นน้อยนัก(เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานยุโรป) แต่เมื่อกลับถึงบ้านเกิด ปรากฏว่าริชลิวมีเงินฝากก้อนมหาศาลรออยู่ที่นั่น ทำให้เป็นมหาเศรษฐีอันดับต้นๆของเดนมาร์กจนเงินบำนาญของสยามกลายเป็นแค่เศษรายได้ และยังมีบทบาทเด่นในราชสำนักถึงกับครั้งหนึ่งพระเจ้าเฟรเดอริกเกือบจะทรงแต่งตั้งให้เป็นถึงนายกรัฐมนตรี ก่อนที่จะประสพวิบากกรรมแทบจะสิ้นเนื้อประดาตัวในบั้นปลายของชีวิต”
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 236  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:24

         ในการค้นคว้าหาหลักฐานและข้อมูลต่างๆนั้น มล.ชัยนิมิตร กล่าวถึงในประเด็นนี้ว่า

          “ถ้าสนใจประเด็นไหนก็ต้องอ่านให้มากเล่มที่สุดเท่าที่จะหาได้ สมัยที่ค้นคว้าทางอินเตอร์เน็ตได้แล้วยิ่งสนุก เพราะสามารถเข้าไปในเว็บของทุกประเทศที่เกี่ยวข้องกับเรื่อง ดึงข้อมูล (ที่หาได้มากและง่ายกว่าหนังสือ) มาแปลโดยใช้ Google Translation เป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งพอจะพึ่งพาอาศัยได้ ข้อความใดที่น่าสนใจก็จะก็อปปี้ไว้ทั้งหมด แล้วนำมาประมวลเปรียบเทียบว่าเราควรจะเชื่อข้อมูลใดของใคร ข้อสำคัญเมื่อนำมาเขียน ต้องทำใจให้เป็นกลางจริงๆก่อนแล้วจึงใช้วิจารณญาณตัดสิน ถูกผิดไม่ทราบ ทราบแต่ว่าตัวเราเชื่อว่าเช่นนั้นโดยบริสุทธิ์ใจก็แล้วกัน
          อนึ่ง ต้องใจกว้างหากเกิดข้อถกเถียงเพราะมีผู้ไม่เห็นด้วย การยกเหตุผลมาโต้แย้งกันถือว่าเป็นการเจริญปัญญา และเป็นสาระประโยชน์ของผู้อ่าน ตัวผมเองพร้อมจะน้อมรับผิดหากจำนนในหลักฐานที่ดีกว่า แต่ถ้ามั่นใจว่าตนเองถูกก็ไม่ยอมเหมือนกัน”

          ส่วนคุณ V_Mee เล่าถึงวิธีการค้นคว้าข้อมูลว่าก่อนที่จะมีอินเตอร์เน็ตนั้น ค้นคว้าจากการอ่านหนังสือ เอกสารจดหมายเหตุ  และซักถามรวมทั้งฟังคำบอกเล่าจากผู้ใหญ่ในการค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่มีข้อขัดแย้ง หรือมีหลักฐานอ้างอิงน้อยมากในเรื่องนั้นๆเพื่อค้นหาข้อเท็จจริง
       
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 237  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:42

   “ในกรณีมีข้อขัดแย้งทางประวัติศาสตร์หรือพบพิรุธอันชวนสงสัย  ต้องพยายามค้นคว้าหาหลักฐานมาพิสูจน์ข้อขัดแย้งหรือข้อพิรุธนั้นๆ  โดยพยายามเก็บเล็กผสมน้อยจากแหล่งต่างมาต่อรวมเพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจน  ตัวอย่างเช่น เรื่องที่บอกเล่าต่อๆ กันมาว่า ในตอนปลายรัชกาลที่ ๕ มหาดเล็กของสมเด็จพระบรมฯ (รัชกาลที่ ๖) ไปแย่งกันจีบแม่ค้าจนถึงมหาดเล็กตีหัวทหารแตกแล้วไปร้องท้าทหารที่หน้าค่าย  เมื่อสมเด็จพระบรมฯ ทรงทราบก็กริ้วและได้นำความกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕ ขอลงโทษโบยนายทหารคู่กรณี  ถ้าไม่พระราชทานพระบรมราชานุญาตจะทรงลาออกจากรัชทายาท  แต่ในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ทรงพระราชบันทึกไว้ว่า มหาดเล็กวิวาทกับทหารแล้วถูกทหารทำร้าย  เมื่อมีการสอบสวนกันแล้วกรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช ได้กราบบังคมทูลขอให้ลงอาญาโบยนายทหารคู่กรณี  ในขณะที่ไม่ทรงเห็นด้วยกับการลงอาญาคราวนี้   ในเมื่อข้อมูลในเรื่องนี้ขัดกันโดยสิ้นเชิงและหากนำความในประวัติต้นรัชกาลที่ ๖ ไปอ้างกับฝ่ายที่เห็นตรงข้ามก็จะได้รับคำตอบว่า ในเมื่อทรงพระราชบันทึกเองก็ต้องทรงเข้าข้างพระองค์เองเป็นธรรมดา  นี้จึงเป็นที่มาของการค้นหาหลักฐานว่า ใครกันแน่ที่เป็นผู้กราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕ ขออนุญาตโบยหลังทหารที่วิวาท    ผมเก็บความสงสัยนี้มานานจนวันหนึ่งไปค้นเอกสารจดหมายเหตุที่หอจดหมายเหตุแล้วลองสุ่มค้นดูแฟ้มเอกสารเรื่องศาลทหารก็พบลายพระหัตถ์กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดชกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องนายทหารกระทำผิดและขอพระบรมราชานุญาตโบยหลังที่สนามในศาลาว่าการกรมยุทธนาธิการ  และพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ มีพระราชหัตถเลขาตอบพระราชทานพระบรมราชานุญาต  จึงเป็นที่ยุติสำหรับเรื่องนี้
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 238  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:43

        ส่วนการค้นพบข้อมูลใหม่ทางประวัติศาสตร์นั้น  จากการค้นคว้าเอกสารจดหมายเหตุที่หอจดหมายเหตุแห่งชาติในเรื่องหนึ่งมักจะพบข้อมูลใหม่ในเรื่องอื่นๆ อยู่เสมอๆ  เช่น การค้นพบแผนที่เมืองนครเชียงใหม่ซึ่งกรมทำแผนที่ได้สำรวจและจัดพิมพ์ไว้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าอินทวิชยานนท์ครองนครเชียงใหม่  ซึ่งแผนที่นี้เมื่อใช้ประกอบกับเอกสารหลักฐานอื่นๆ สามารถไขเรื่องราวในประวัติศาสตร์เมืองนครเชียงใหม่ให้ชัดเจนขึ้น  เช่น ประตูเมืองเชียงใหม่ที่เล่ากันมาว่าเป็นประตูสองชั้นนั้นมีลักษณะเป็นเช่นไร  เวียงแก้วซึ่งพระราชชายา เจ้าดารารัศมี ประทานพระดำรัสตรัสเล่าว่าแบ่งเป็น ๓ ส่วนนั้นแบ่งพื้นที่เป็นอย่างไร  รวมทั้งการสร้างอารามไว้ที่ ๔ มุมเจติยสถานสำคัญกลางเมืองตามคติเดียวกับที่เมืองสุโขทัยและนครศรีธรมราช ฯลฯ  และเมื่อเร็วๆ นี้ไปค้นเรื่องที่รัชกาลที่ ๕ โปรดให้พระยาศรีสหเทพ (เส็ง  อมาตยกุล – ต่อมาเป็นพระยามหาอำมาตยาธิบดี) ราชปลัดทูลฉลองกระทรวงมหาดไทยเป็นข้าหลวงพิเศษขึ้นไปจัดระเบียบปกครองหัวเมืองประเทศราชล้านนาเมื่อ ร.ศ. ๑๑๘ (พ.ศ. ๒๔๔๒)  ก็ไปพบลายพระหัตถ์ที่สมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพกราบบังคมทูลรัชกาลที่ ๕ ว่า ก่อนที่พระยาศรีสหเทพจะเดินทางกลับกรุงเทพฯ เจ้านครลำปางและเจ้านครเชียงใหม่มอบของที่ระลึกมีมูลค่าให้พระยาศรีสหเทพ  แต่พระยาศรีสหเทพไม่กล้ารับได้โทรเลขลงมาหารือ  ทรงตอบไปว่าให้รับ  พระยาศรีสหเทพจึงรับของที่ระลึกนั้นมา   เมื่อกลับมาถึงกรุงเทพฯ แล้วได้นความกราบบังคมทูลเรียนพระราชปฏิบัติ  หากไม่โปรดให้รับก็จะส่งกลับคืนไป  แต่เมื่อมีพระบรมราชโองการให้รับ  พระยาศรีสหเทพจึงส่งรถสี่ล้อไปให้เจ้านครลำปาง ๑ คัน  รถสี่ล้อนั้นคงจะเป็นรถม้าหลังแรกของนครลำปางก่อนที่จะเป็นสัญลักษณ์ของเมืองลำปางมาจนทุกวันนี้  ขณะเดียวกันก็ส่งนาฬิกาเรือนใหญ่ราคา ๒ ชั่งไปให้เจ้านครเชียงใหม่
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 239  เมื่อ 18 มี.ค. 15, 08:45

        ...ยิ่งอ่านมาก  เรายิ่งรู้มากว่า ประวัติศาสตร์ที่มีการบันทึกไว้ล้วนมีการแต่งแต้มแปรเปลี่ยนไปจากข้อเท็จจริงมิใช่น้อย  และหากไม่ทำอะไรเพื่อแก้ไขความผิดพลาดทางประวัติศาสตร์นั้นเสียแต่วันนี้  ก็เปรียบเสมือนส่งต่อยาพิษให้ลูกหลานไทยในอนาคต  ”
   ในเรื่องการค้นคว้าข้อมูลทางประวัติศาสตร์นั้น คุณ Siamese ให้ความเห็นว่าปัจจุบันเมื่อมีระบบอินเทอร์เน็ต การค้นคว้าข้อมูลนั้นไม่อาจเชื่อถือได้เสมอไปนัก
        “ก่อนหน้าจะมีอินเทอร์เน็ต การค้นคว้าข้อมูลได้จากแหล่งหนังสือเป็นส่วนใหญ่ เก็บเล็กผสมน้อยในหนังสือเล่มต่างๆ ประมวลเข้าด้วยกัน แต่สำหรับปัจจุบันนี้การค้นหาทางระบบอินเทอร์เน็ตก็มีส่วนช่วยมากในการค้นหา แต่ก็จะชั่งใจไม่เชื่อจนหมด  เนื่องจากไม่รู้ว่าข้อมูลที่กล่าวในระบบออนไลน์จะมีความถูกต้องแค่ไหน ซึ่งยังมีการค้นคว้าเอกสารประวัติศาสตร์อีกแหล่งคือ หอสมุดแห่งชาติ”ซึ่งเป็นเอกสารพื้นฐานเป็นข้อเท็จจริงทางประวัติศาสตร์ที่แม่นยำ แต่การเข้าไปค้นคว้าต้องใช้เวลาพอสมควร เนื่องจากเอกสารในหอสมุดมีจำนวนมาก

         “หนุ่มสยาม” จะเน้นมากไปทางภาพถ่ายเก่าๆ ของกรุงเทพมหานครในช่วงรัชกาลที่ ๔ – ๘ ว่ามีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง เช่น มีการพบภาพถ่ายของพระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) เมื่อยังไม่เป็นทรงพระปรางค์และเป็นกองอิฐขนาดใหญ่ปล่อยร้างไว้ จนกระทั่งมีการสร้างโอบล้อมจนเป็นภูเขาทอง  ภาพถ่ายในพระราชพิธีสำคัญต่างๆ สมัยรัชกาลที่ ๕ บางภาพนั้นในตำราไม่ได้บรรยายไว้ เมื่อมีภาพถ่ายเก่าเพิ่มเข้ามา ก็เท่ากับมาช่วยเติมและไขปัญหาได้มาก”
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 14 15 [16] 17 18 ... 32
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.067 วินาที กับ 19 คำสั่ง