เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3452 อักษร ส ศ ษ ในจินดามณีมีอักขระวิธีที่เหมือนหรือต่างกันกับปัจจุบันอย่างไร
hesheit
อสุรผัด
*
ตอบ: 1


 เมื่อ 24 ม.ค. 15, 16:13

ดิฉันอยากทราบว่าอักษร ส ศ ษ ในจินดามณีมีอักขระวิธีที่เหมือนหรือต่างกันกับปัจจุบันอย่างไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 13:18

ตัวอย่างการใช้ จาก สมุดไทยดำเรื่อง จินดามณีเล่ม ๑ เอกสารตัวเขียน จาก ฐานข้อมูลเอกสารโบราณภูมิภาคตะวันตกในประเทศไทย ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร

คำที่ใช้ ส (สอลอ)



บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 13:26

คำที่ใช้ ศ (ศอคอ)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 13:34

คำที่ใช้ ษ (ษอบอ)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 14:07

หลักเกณฑ์การใช้ ศ ษ ส ของ ราชบัณฑิตยสถาน

          คำที่ประกอบด้วยตัว ส ในภาษาไทย ทั้งที่เป็นตัวสะกดและตัวออกเสียงมีถึง ๓ ตัวด้วยกัน คือ ศ ษ ส บางทีก็ทำให้สับสนอยู่เหมือนกันว่าเมื่อใดจะใช้ ศ เมื่อใดจะใช้ ษ และเมื่อใดจะใช้ ส ในเรื่องนี้มีเหลักเกณฑ์ พอประมวลได้ดังนี้

          ๑. การใช้ตัว ศ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

          ก. ถ้าเป็นคำขึ้นต้นคำ แสดงว่าคำนั้นเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต ยกเว้นคำว่า ศก (ผม) ศอ (คอ) ศอก ศึก เศิก และ เศร้า ซึ่งเป็นคำไทยและคำเขมร
          ข. ใช้เป็นตัวสะกดของคำที่มาจากภาษาสันสกฤตหรือภาษาเขมร เช่น บำราศ ปราศ พิศ (ดู) พิศวง พิศวาส เลิศ ฯลฯ
          ค. โบราณใช้ถอดคำภาษาอังกฤษที่เป็นตัว c และออกเสียงเป็น ส เช่นเดียวกับ s เพื่อให้เป็นที่สังเกตได้ว่ามิได้มาจาก s ดังนั้น icecream จึงถอดเป็น “ไอศกรีม” หรือ civilize ถอดเป็น “ศิวิไลซ์” เป็นต้น

          ๒. การใช้ตัว ษ มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

          ก. ถ้าเป็นคำขึ้นต้นคำ แสดงว่าคำนั้นเป็นคำที่มาจากภาษาสันสกฤต เช่น ษมา (ความอดกลั้น, ความอดโทษ) ษัฏ ษัฑ ษัณ และ ษัษ (ษ ไม้หันอากาศ แล้วมี ฏ ฑ ณ หรือ ษ สะกด แปลว่า ๖ ทั้งหมด) ษัษฐี (ษ ไม้หันอากาศ ษ สะกด ฐ สระอี แปลว่า วันที่ ๖ หรือ วัน ๖ ค่ำ) โษฑศ (โส-ทะ-สะ) (แปลว่า ที่ ๑๖) และ โษฑศัน (โส-ทะ-สัน) (แปลว่า ๑๖)
          ข. ใช้เป็นตัวออกเสียงหรือตัวสะกดของคำที่มาจากภาษาสันสกฤตบางคำ เช่น พิษ พิเศษ โทษ ดุษณี ดุษฎี ฯลฯ
          ค. ใช้เป็นตัวสะกดของคำไทยบางคำ เช่น โจษ โจษจน โจษจัน โจษแจ จรรโจษ (ซึ่งแปลว่า พูดกันเซ็งแซ่, พูดถึง, เล่าลือกันอื้ออึง)
          ง. ใช้เป็นตัวสะกดของคำบางคำที่มาจากภาษาตระกูลยุโรป เช่น กระดาษ อังกฤษ

          ๓. การใช้ตัว ส มีหลักเกณฑ์ ดังนี้

          ก. คำไทยแทบทั้งหมดที่ออกเสียง “สอ” นอกจากที่กล่าวมาแล้วในเรื่องการใช้ตัว ศ และ ษ ให้ใช้ ส ทั้งสิ้น
          ข. คำบาลีทั้งหมดและคำสันสกฤตที่ออกเสียง “สอ” แต่มิได้อยู่ในหลักเกณฑ์ที่ต้องใช้ ศ และ ษ ดังกล่าวแล้ว ใช้ ส ทั้งสิ้น
          ค. คำที่ถอดมาจากภาษาตระกูลยุโรป จะเป็นตัว ç หรือ s  ก็ตาม ถ้าออกเสียง “สอ” ให้ถอดออกมาเป็นตัว ส นอกจากบางคำดังที่ได้กล่าวมาแล้ว เช่น แสตมป์ (stamp) สเตต (state) สตู (stew) สตัฟฟ์ (stuff) ฯลฯ

ผู้เขียน : ศ.จำนงค์ ทองประเสริฐ ราชบัณฑิต สำนักศิลปกรรม
ที่มา    : ภาษาไทยไขขาน. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แพร่พิทยา. ๒๕๒๘. หน้า ๓๗๑.
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 18:49

^


บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง