NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 45 เมื่อ 25 ม.ค. 15, 10:15
|
|
แต่นั่นแหละครับ กฏทุกข้อย่อมมีข้อยกเว้นได้ พระเมรุมาศสมเด็จพระนางเจ้าสุนันทาเทวีนารีรัตน์ในรัชสมัยต้นรัชกาลที่ ๕ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้สร้างเป็นพระเมรุมาศยอดปรางค์ตั้งแต่แรก รวมถึงองค์ประกอบอื่นๆครบครัน
ถ้าเห็นยักษ์ทวารบาลอย่างเดียวโดยไม่ดูตาม้าตาเรือให้ดีแล้วฟันธงขวับไป ธงอาจหักบนเวทีแบบแพร่ภาพออกอากาศ สร้างความสะใจให้คนดูได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 46 เมื่อ 25 ม.ค. 15, 10:16
|
|
ลักษณะยอดปรางค์ที่มีความแตกต่างกันสังเกตุง่ายๆ อันดับแรกคือ ยอดปรางค์ของพระเมรุมาศสมเด็จพระปิ่นเกล้าเจ้าอยู่หัวมีลักษณะเพรียวแหลมกว่าพระเมรุมาศสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และจำนวนบัว ก็ซ้อนชั้นต่างกันคือ ๘ ชั้นและ ๗ ชั้น
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 47 เมื่อ 25 ม.ค. 15, 10:19
|
|
ปรางค์ทิศเล็กๆ ที่อยู่สันหลังคาทั้ง ๔ ด้าน มีการโครงสร้างที่ต่างกัน
พระเมรุมาศของสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ยอดปรางค์ทิศเล็กๆ จะตั้งอยู่บนฐานเขียงที่สูงทับอยู่บนหลังคา
พระเมรุมาศของสมเด็จพระจอมเกล้าฯ ยอดปรางค์ทิศเล็กๆ จะสร้างต่อสันหลังคา
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
siamese
|
ความคิดเห็นที่ 48 เมื่อ 25 ม.ค. 15, 10:24
|
|
และที่เป็นประจักษ์พยานสำหรับภาพถ่ายที่อยู่ในหีบไม้ของทอมสันคือ เมื่อขยายให้เห็นหน้าบันของพระเมรุมาศนี้ ปรากฎพระราชลัญจกรเป็นฉัตรขาวกระหนาบ มีพาน ๒ ชั้นและพระมหาพิชัยมงกุฎ
ซึ่งแสดงว่าพระเมรุมาศนี้ของรัชกาลที่ ๔ ไม่ใช่ของพระปิ่นเกล้าฯ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 49 เมื่อ 25 ม.ค. 15, 11:40
|
|
ส่วนใหญ่แล้ว คำถามจะมาจากภาพคู่นี้ ว่าพระเมรุมาศองค์ใดเป็นของพระจอมเกล้าฯ องค์ใดพระปิ่นเกล้าฯ และ สังเกตุได้ที่ไหน อย่างไร ซึ่งผมเชื่อว่าท่านที่ติดตามกระทู้ความแตกต่างในความเหมือนของพระเมรุมาศสองพระมหากษัตริย์ มาถึงตรงนี้ก็จะตอบได้แล้ว
หลังจากนี้ไปผมจะกล่าวถึงว่า แล้วกระจกต้นฉบับพระเมรุมาศสมเด็จพระจอมเกล้าไปอยู่กับทอมสันได้อย่างไร แล้วกลายมาบรรยายภาพกันเป็นพระเมรุมาศสมเด็จพระปิ่นเกล้าได้อย่างไร
|
 คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 50 เมื่อ 26 ม.ค. 15, 06:56
|
|
ประวัติของจอห์น ทอมสันเท่าที่หาได้ในเวปทั้งภาษาไทยและอังกฤษ มีข้อความซ้ำๆกัน สำนักพิมพ์ ริเวอร์ บุคส์ นำมาลงไว้ว่า
เมื่อร้อยห้าสิบปีที่แล้ว มีช่างภาพท่านหนึ่งได้เดินทางเข้ามายังกรุงสยาม เพื่อถ่ายภาพทิวทัศน์ พระมหากษัตริย์ ผู้คนและอื่นๆ ช่างภาพผู้นี้คือ นายจอห์น ทอมสัน (๑๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๓๘๐-๒๙ กันยายน พ.ศ. ๒๔๖๓) เป็นช่างภาพรุ่นบุกเบิกและนักผจญภัยชาวสกอต เขาเป็นหนึ่งในช่างภาพคนแรกๆ ที่เดินทางไปมายังเอเชียในเดือนเมษายน พ.ศ. ๒๔๐๕ เขาได้ออกเดินทางมายังสิงคโปร์ อันเป็นการเริ่มต้นการเดินทางไปยังเอเชียและใชชีวิตที่นี่ในอีกสิบปีต่อมา โดยได้เดินทางไปทั่วเอเชีย ในขั้นต้นเขาได้ก่อตั้งร้านถ่ายภาพในสิงคโปร์
ใน พ.ศ. ๒๔๐๘ เขาตัดสินใจเดินทางมายังสยามและถึงกรุงเทพฯ ในวันที่ ๒๘ กันยายน จอห์นได้ติดต่อกับบรรดาพระบรมวงศานุวงศ์และเหล่าขุนนางต่างๆ เขาใช้เวลาส่วนใหญ่ในระหว่างที่อยูในกรุงเทพฯ ไปกับการถ่ายภาพบุคคลสำคัญๆ มากมาย โดยการถ่ายภาพนี้ถือเป็นปรากฏการณ์ใหม่ในเมืองสยามเวลานั้นและเป็นที่น่าตื่นตกตื่นใจของรัชกาลที่ ๔ พระบรมวงศ์และขุนนางคนสำคัญที่ได้รับการถ่ายรูปและการถ่ายภาพพระราชพิธีสำคัญๆ เช่น พระราชพิธีโสกันต์ของเจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ขณะทรงพระเยาว์และพระราชพิธีถวายผ้าพระกฐินและได้ไปเยี่ยมชมวัดวาอารามต่างๆ เขาได้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมากมายหลายพระอิริยาบถ ภายในพระบรมมหาราชวัง
ผลงานของเขานับเป็นบันทึกประวัติศาสตร์ที่สำคัญของไทย เพราะขณะนั้นการถ่ายภาพเพิ่งจะอุบัติขึ้นในโลกเป็นครั้งแรกได้ไม่กี่ปีก่อนหน้านี้ นับเป็นการเปลี่ยนแปลงหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์ไทย ……
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 51 เมื่อ 26 ม.ค. 15, 07:02
|
|
ข้างบนเป็นหนังสือพิมพ์ออกในรัชกาลที่ ๔ของหมอบรัดเล ชื่อบางกอกรีคอร์ดเดอร์ ฉบับเดือนธันวาคม ๒๔๐๘ (ปีฉลู) ลงข้อความโฆษณาของช่างชักรูปชาวสยามซึ่งรับถ่ายภาพทั่วไป รวมถึงมิศเตอร์ทอมสันด้วย โดยขณะหนังสือวางตลาดนั้น ตัวเขาได้เข้ามายังกรุงเทพเรียบร้อยแล้วตั้งแต่เดือนกันยายน และด้วยการติดต่อประสานงานของกงสุลอังกฤษ เพื่อขออนุญาตผ่านแดนไปถ่ายภาพนครวัต ทำให้ทอมสันได้เข้าเฝ้าและถวายการฉายพระบรมฉายาลักษณ์ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯ รวมถึงได้รับพระบรมราชานุญาตให้ถ่ายภาพในพระบรมมหาราชวัง และบุคคลต่างๆทั้งเจ้านายและราษฎรทั่วไป
ก่อนที่เขาจะเดินทางออกจากกรุงเทพไปเขมร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้เขาได้ฉายพระบรมฉายาลักษณ์ ในพระราชพิธีโสกันต์สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าจุฬาลงกรณ์ ณ วันพฤหัสบดี เดือนยี่ ขึ้น ๑๑ ค่ำ ปีฉลู สัปตศก หลังจากนั้นแล้วในเดือนเดียวกันนี้ ทอมสันได้เดินทางออกจากกรุงเทพเพื่อไปทำงานของเขาต่อ โดยไม่ระบุวันที่ว่าจะเป็นก่อนหน้าหรือหลังการเสด็จสรรคตของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ซึ่งอุบัติในวันอาทิตย์ เดือนยี่ แรม ๖ ค่ำ ปีฉลู ศกเดียวกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 52 เมื่อ 26 ม.ค. 15, 07:05
|
|
เดือนยี่คือมกราคม ฝรั่งเปลื่ยนศักราชแล้ว แต่ไทยยังเป็นปี ๒๔๐๘อยู่ (ศักราชใหม่จะเปลี่ยนในเดือนเมษายน) เลยเป็นเหตุให้เกิดความสับสน ในกรณีย์ที่เกี่ยวกับงานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ
หลังเสด็จสรรคต ได้ทรงโปรดเกล้าให้ตั้งพระบรมศพบำเพ็ญพระราชกุศลอยู่ปีเศษ ระหว่างนั้นก็ได้ดำเนินการสร้างพระเมรุมาศ จนเสร็จพร้อมแล้วจึงกำหนดการออกพระเมรุ เสด็จพระราชดำเนินพระราชทานเพลิงพระบรมศพ ในวันขึ้น ๑๔ค่ำเดือน ๓ ปีขาล
ปีขาลถ้านับปีแบบไทยจะเป็นพ.ศ. ๒๔๐๙ ถ้าคนเอาตัวเลข๕๔๓ไปลบออกเพื่อแปลงเป็นค.ศ. จะได้ = ๑๘๖๖ ปีที่ทอมสันบันทึกว่าตนยังอยู่ในสยาม ผู้ที่ค้นพบรูปภาพพระเมรุมาศในกล่องของเขาเลยโมเมว่าทอมสันคงได้เห็นเหตุการณ์และถ่ายภาพพระเมรุมาศของพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯไว้แน่จึงเขียนอธิบายไปอย่างนั้น ทั้งๆอันที่จริง ทอมสันได้ออกจากสยามไปก่อนงานออกพระเมรุเป็นปีแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 53 เมื่อ 26 ม.ค. 15, 07:08
|
|
ส่วนภาพพระเมรุมาศที่พบในกล่องของทอมสันเป็นพระเมรุมาศองค์ใดนั้น ไม่ต้องสงสัยเลย เป็นพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯแน่ แต่เขาจะได้มาอย่างไรนั้นก็สุดแต่จะเดากันไป อย่างไรก็ตามทอมสันเองก็ไม่ได้อ้างว่าตนเป็นผู้ถ่ายภาพสองภาพดังกล่าว เขาเก็บเอาไว้โดยเขียนอธิบายไว้แบบมั่วสุดๆว่า The cremation pyre of the King's son (Brir ?) คำในวงเล็บนี่ฝรั่งด้วยกันยังอ่านไม่ออก ตีความไม่ได้ว่าเขาต้องการเขียนว่ากระไร คนไทย(บางคน)ไปเดาว่าหมายถึงพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯโน่น
ภาษาของทอมสันสะท้อนระดับการศึกษาของเขา ถ้าเขาเขียนหนังสือได้ดีกว่านี้ เราคงจะได้อ่านเรื่องราวดีๆที่อยู่เบื้องหลังการเดินทางไปถ่ายภาพในหลายๆประเทศของเอเซีย และทำไมบางคนที่ตามศึกษาประวัติของเขาจึงบ่นว่า น่าผิดหวังมาก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 54 เมื่อ 26 ม.ค. 15, 07:10
|
|
ภาพเจาะรายละเอียดจากนิทรรศการภาพถ่ายของทอมสันคราวนี้
ยักษ์ทวารบาล รู้สึกจะผอมสูงหุ่นเป็นฝรั่งกว่ายักษ์วัดพระแก้วนะครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 55 เมื่อ 26 ม.ค. 15, 07:12
|
|
หน้ารั้วราชวัตร มีศาล เหมือนศาลเจ้าที่เรียงรายอยู่ด้วย
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 56 เมื่อ 26 ม.ค. 15, 07:17
|
|
ม่านกันแดดและฝนด้านทิศตะวันออก
โดยปกติน่าจะม้วนไว้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 57 เมื่อ 26 ม.ค. 15, 07:41
|
|
ดูสภาพที่รกๆ มีคนปรากฏระเกะระกะทำให้น่าเชื่อว่าการถ่ายภาพชุดนี้น่าจะกระทำก่อนงานออกพระเมรุ ม่านที่ห้อยเพียงแค่จะบังแดดโดยไม่คำนึงถึงความสวยงามนี้ น่าจะมีวัตถุประสงค์เพียงเพื่อจะกางกั้นให้ช่างที่กำลังทำงานอยู่ภายในมากกว่า
งานออกพระเมรุพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯนั้น มีขึ้นในเดือนมีนาคม ๒๔๑๒ ซึ่งไม่ใช่ฤดูฝน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 58 เมื่อ 26 ม.ค. 15, 08:42
|
|
ในหนังสือที่ออกขายในงานนิทรรศการ มีภาพแผนผังพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระปิ่นเกล้าฯ ประกอบเพื่ออธิบายภาพถ่ายพระเมรุมาศพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯที่อ้างว่านายทอมสันเป็นผู้ถ่ายด้วย
คงแก้ไขไม่ได้แล้ว น่าสงสารนักอ้างอิงรุ่นต่อๆไป
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
NAVARAT.C
|
ความคิดเห็นที่ 59 เมื่อ 26 ม.ค. 15, 16:54
|
|
มีของแถมครับ
ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นจนถึงต้นรัชกาลที่ ๕ การสร้างพระเมรุมาศสำหรับพระเจ้าแผ่นดินจะยึดถือโบราณราชประเพณีครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นหลัก กล่าวคือ ช่างจะทำเป็นพระเมรุมาศขนาดสูงใหญ่ พระเมรุชั้นนอกจะทำเป็นพระเมรุยอดปรางค์ครอบคลุมพระเมรุทองทรงบุษบกขนาดเล็กกว่าซึ่งตั้งอยู่ภายใน ใช้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมโกศก่อนถวายพระเพลิง
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|