เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 3915 อยากทราบเกี่ยวกับกามนิต-วาสิฏฐีหน่อยค่ะ
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
 เมื่อ 12 มิ.ย. 01, 05:10

อ่านนานแล้ว(สมัย ม ปลาย) จนจำไม่ได้แล้วค่ะ  ว่าใครแต่ง  มีเค้าเรื่องเดิมมาจากเรื่องทางศาสนาอย่างไรหรือไม่  แต่ที่ติดใจอยู่มากคือว่า  เมื่อทั้งสองสิ้นชีวิตไปแล้ว  ไปเกิดเป็นดาว ตามเรื่องมีบอกชื่อดาวหรือเปล่า  อยู่ๆก็นึกขึ้นมาได้ เลยอยากไปค้นดูน่ะค่ะ  ว่าจะไปพ้องกับดาวอะไร  แล้วก็ชอบตอนที่วาสิฏฐีบอกอะไร แล้วเวลาผ่านไปอีกเสนปี กามนิตจึงตอบได้  อยากได้โคว้ย่อหน้าตรงนั้นหน่อยด้วยน่ะค่ะ  หากมีใครพอจะทราบได้บ้างว่าจะหาได้ที่ไหน

ดิฉันสงสัยตะหงิดๆอยู่น่ะค่ะ  ว่าจะเป็นดาว อัลแทร์ กับ เวก้า หรือเปล่า  เพราะญี่ปุ่นก็มีตำนานเรื่องเจ้าหญิงทอผ้ากับชายเลี้ยงแกะ  ที่อิงดาวสองดวงนี้เหมือนกันน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 10 มิ.ย. 01, 17:15

I am sorry to disappoint you, Khun Puangroi, but the twin stars that were Kamanita and Vasitthi didnot have names. Probably, the authur (Karl Gjellerup - he wrote this story in German - translated into English by John E. Logie) intended the two stars to be only his imagination; he did not refer to real stars.



I happen to have the English version of the story with me. I have to say that in many places the Thai translation of Sthirakosesh -Nagapradip is not a 100% direct translation. They elaborated a bit too, and In some places I prefer the Thai version to the English one. I think the (Thai) languague is very beautiful (The two Thai scholars used the English version as the base of their work, not the original German one.)



The elapse of time that you said, in some places are Thai additions, but they go along well with the main theme of the original chapter, which is about a timeless Bramaloka. The English version also mentions the elapse of many many years, but not as elaborated as in the Thai version.



This is from the English version of "The Pilgrim Kamanita" Chapter XXXVIII :-

"...And Kamanita and Vasitthi entered agian into existence in the kingdom of the hundred-thousandfold Brahma as the gods of a double star.

The luminous astral substance to which Kamanita's spiritual essence was united symmatrically enveloped the heavenly body which was animated by his strength and guilded by his will. By the exercise of his will-power the star in the first place revolves on its own axis; and this motion was his own individual life, his self-love.

Further, Kamanita  was reflected in Vasitthi's lustre, and in turn reflects her. Exchanging rays, they circled around on common point, where their rays accumulated. This point was their mutual love; the circling was therefore their love-lif. And that, in its course they refelcted one another - that was the joy of their love. ..."
บันทึกการเข้า
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 10 มิ.ย. 01, 17:37

So they were in seemingly timeless bliss, circling as satellites to the MahaBrahma (Thai version's translation to the "hundred-thousandfold Brahma") who was the center of that universe or system.

Until - in Chapter XXXIX (Is Kamanita's doubt remind you of a Big Bang? )

Some passages from that chapter:-

"...There came a day  when a feeling of discomfort, the consciousness of a Void, arose in Kamanita...

....For from that awakened feeling, the tranquil stream of time, which had hitherto flowed imperceptibly by, encountered resistance as from an island suddenly risen in its midst, on whose rocky cliffs began to break  in foams as its flowed past. And at once there arose a  "before" and "after" the rapids.



After he had observed the Brahma ... for five million of years, it seemed to Kamanita as though he had now observed him for a long time without reaching and certainty. ...



... "Vasitthi, doth thou also see it?" ...

After a hundred thousand years, Vasitthi answered - ...



...After a considerable time- after several millions of years - Kamanita spoke again - ...



... After  five hundred thousand years, Vasitthi answered - "The brightness of the hundred-thousandfold Brahma doesnot increase, but steadily decreases."

As a piece of iron that, taken white-hot from the smithy fire, very soon after becomes red-hot, so the brightness of the hundred-thousandfold Brahma has now taken on a red shimmer. ..."

   

(Does that remind you of one of your own articles, Khun Puangroi?)
บันทึกการเข้า
N.K.Kh.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 10 มิ.ย. 01, 17:42

Matichon Printing House published the Thai/English version of Kamanita together in one book in 2520 and 2528. The intention to preserve the English text is noble and praisworthy - but the quality of the printing is still not so good. There are so many many typos in the English part - from the Contents pages to the last chapters - and some typos in the Thai part
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 11 มิ.ย. 01, 02:14

โห ขอบพระคุณมากเลยค่ะ  ที่กรุณาคัดมาอย่างละเอียด  ดิฉันจำได้ลางเลือนเต็มที  แต่ไม่ทราบมาก่อนเลยว่า  ต้นเรื่องนี้เป็นนวนิยายร่วมสมัยขนาดนี้  อ่านตรงที่บรรยายสภาพของดาว กามนิต-วาสิฎฐี แล้วทึ่งมากเลยค่ะ  เพราะเป็นการบรรยายถึงสภาพของดาวคู่  ด้วยพื้นฐานทาง astrophysics ในยุคนั้นได้อย่างไม่มีที่ตำหนิ  



ที่น่าทึ่งมากก็คือ  ในระบบดาวคู่(binary stars system)นั้น ดาวจะโคจรรอบ Center of mass ซึ่ง Gjellerup ก็อธิบายไว้อย่างถูกต้องตามหลักวิทยาศาสตร์ (อ่านเกี่ยวกับการเคลื่อนตัวของระบบดาวได้ที่กระทู้ห้องเด็กวิทย์ที่นี่นะคะ http://vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn20&ID=CS811' target='_blank'>http://vcharkarn.com/snippets/board/show_message.php?dtn=dtn20&ID=CS811 อธิบายไว้เกี่ยวกับระบบสุริยะ  แต่หลักการทางฟิสิกส์ของนิวตั้นก็ใช้ได้กับกรณีดาวคู่ด้วยค่ะ)



ข้อมูลที่คุณ นกข กรุณาคัดมาให้  โดยเฉพาะเกี่ยวกับผู้แต่งช่วยให้ดิฉันได้ไปค้นได้ง่ายขึ้นเยอะเลยค่ะ  มีประโยชน์จริงๆ  เลยทราบว่า ผู้แต่ง ที่จริงนับว่าเป็นชาวเดนนิช  แต่ตอนนั้นเดนมาร์คคงถูกอิทธิพลครอบงำจากเยอรมันมาก  เลยโดนนับเป็นนักเขียนเยอรมัน  เพราะท่านเขียนด้วยภาษาเยอรมัน  ตอนที่ท่านได้รับรางวัลโนเบลในปี คศ ๑๙๑๗ นั้น  ทั่วโลกก็ไม่ให้ความสนใจเท่าไหร่  เพราะรังเกียจว่าเป็นเยอรมัน  Karl Gjellerup(อ่านว่าไงคะเนี่ยะ)  ตีพิมพ์เรื่อง Der Pilger Kamanita (The Pilgrim Kamanita) ในปี คศ ๑๙๐๖



ยังอ่านไม่ค่อยจะเข้าใจในส่วนที่เป็นธรรมะเท่าไหร่  เพราะยังอ่อนเรื่องนี้ค่ะ แหะๆๆ ภาษาบาลีสันสกฤตก็ไม่ค่อยจะรู้เรื่อง  

เดี๋ยวต้องไปค้นที่ห้องสมุดประจำเมืองดูทีว่าจะมีก๊อปปี้ภาษาอังกฤษให้ยืมหรือเปล่า  ขอขอบคุณเป็นอย่างยิ่งอีกครั้งด้วยค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 11 มิ.ย. 01, 19:44

ไม่เห็นคุณพวงร้อยพูดถึงดาวท้าวมหาพรหมตอนกำลังจะสิ้นบุญบารมีเลย ว่าเป็นขั้นดาวยักษ์แดง หรือดาวแคระขาว หรืออะไรต่อไปก่อนจะดับ...
บันทึกการเข้า
พวงร้อย
สุครีพ
******
ตอบ: 904


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 11 มิ.ย. 01, 20:50

นั่นน่ะซีคะ  ตอนที่คุณ นกข คัดมาบอกว่าแสงที่เปล่งออกมาเริ่มออกสีแดง  ก็คงเป็นช่วงที่กำลังกลายเป็นดาวยักษ์แดงมังคะ  น่าทึ่งจริงๆค่ะ  ดิฉันก็ไม่ชัดเจนเหมือนกันว่า  เค้ามีข้อสรุปเกี่ยวกับดาวคู่ และดาวยักษ์แดงเท่าไร  ในช่วงต้นคริสตศตวรรษตอนนั้น  แต่ทางเยอรมันพัฒนาเรื่องทฤษฎีพื้นฐานทางฟิสิกส์  ซึ่งจะเอาไปใช้ในทางดาราศาสตร์ต่อไป  ได้รุ่งเรืองมาก  ตั้งแต่ค่อนปลายศตวรรษก่อนหน้านั้นแล้ว  ตามประวัติผู้แต่งบอกว่า  ท่านเรียนด้านศาสนามา  เพราะพ่อเป็นนักสอนศาสนา  ก็บังคับให้ลูกเจริญรอยตาม  แต่ท่าน(อ่านชื่อไม่ถูกค่ะ)กลับเป็นขบถต่อความเชื่อและค่านิยมเก่าๆ  เลยไปศึกษาอะไรด้วยตัวเองเอา  คิดว่าคงได้ศึกษาวิทยาศาสตร์ไว้มากทีเดียว  รวมทั้งปรัชญาพุทธด้วยน่ะค่ะ

ไปตั้งกระทู้ไว้ที่ห้องสมุดด้วย  มีคนใจดีกำลังไปค้นหนังสือมาให้  ดิฉันอยากเห็นภาษาไทยด้วยน่ะค่ะ  หาฉบับภาษาอังกฤษตามร้านหนังสือบนเว็บก็ไม่ได้ด้วย  คงต้องไปเช็คห้องสมุดดูแล้วค่ะ  ขอขอบคุณอีกครั้งนะคะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 มิ.ย. 01, 17:10

ด้วยความเคารพในท่านครูทั้งสอง คือท่าน เสฐียรโกเศศ - นาคะประทีป ผมขอเรียนว่า อ่านกามนิต-วาสิฏฐี ภาคภาษาไทยเทียบกับต้นฉบับแล้ว เห็นได้ว่าท่านผู้แปลทั้งสองไม่ได้แปลตรงกับต้นฉบับเป๊ะๆ แต่มีการเรียบเรียงใหม่ ตัดและขยายความบางส่วนด้วย

ส่วนที่ขยายขึ้นนั้น เห็นได้ว่าเกี่ยวข้องกับพระพุทธศาสนา เพราะท่านนาคะประทีปเป็นปราชญ์ใหญ่ทางพระพุทธศาสนาอยู่เองและมีความรู้สูงทางบาลีสันสกฤต ดังนั้นในที่ๆ ฝรั่งเจ้าของเรื่องบรรยายไว้น้อย ท่านก็สามารถขยายความออกไปได้เพิ่มเติม และใช้ภาษาสละสลวยเป็นสำนวนวัดอย่างไทย ไม่มีกลิ่นนมเนยเลย และผมออกจะลำเอียงเห็นว่าภาษาไทยที่ถอดความมาไพเราะกว่าต้นฉบับอังกฤษเสียอีก มีบางตอนเติมใหม่ทั้งย่อหน้าเช่นตอนพระพุทธปรินิพพาน ซึ่งของเดิมกล่าวไว้สั้นๆ แต่ในภาคภาษาไทยบรรยายไว้อย่างไพเราะ เพิ่มขึ้นมา 1 ย่อหน้าเต็มๆ

แต่ส่วนที่ตัดลงไปหรือแปลข้ามไปเลยก็มี เช่น ตอนที่ไปเกิดในพรหมโลกหรือโลกของดาวนี้ ท่านผู้เขียนเดิมที่เป็นฝรั่ง ให้รายละเอียดที่เอามาเทียบเคียงกับฟิสิกส์ดาราศาสตร์สมัยใหม่ได้อย่างน่าทึ่ง ตรงนี้ ท่านผู้แปลไทยทั้งสองท่านแปลเก็บแต่ใจความ ไม่ได้ลงรายละเอียดครับ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.05 วินาที กับ 19 คำสั่ง