ยินดีต้อนรับ
ท่านผู้มาเยือน
กรุณา
เข้าสู่ระบบ
หรือ
ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
หน้าแรก
ตู้หนังสือ
ค้นหา
ข่าว
: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
เรือนไทย
>
General Category
>
ศิลปะวัฒนธรรม
>
จากบทความ"เสรีไทย"
หน้า:
1
[
2
]
พิมพ์
อ่าน: 8916
จากบทความ"เสรีไทย"
GSX
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 15
เมื่อ 25 ก.ย. 00, 00:00
ขอแสดงความเห็นส่วนตัวอีกหน่อยนะครับ
คาดว่าที่รัฐบาลไทยในขณะนั้นเข้ากับฝ่ายญี่ปุ่น
เพราะคงไม่มีทางเลือกที่ดีกว่านั้น กองทัพญี่ปุ่นเข้ามาบนแผ่นดินไทยเรียบร้อยแล้ว ต้านก็ไม่ได้ หาคนช่วยก็ไม่ได้ เลยคงมีทางเดียวคือเป็นมิตรกับญี่ปุ่น เหมือนมีมีดมาจ่อคออยู่แล้วขัดขืนก็ตายเปล่า ผมยังเชื่อว่าจอมพล ป.นั้นทราบเรื่องการมีตัวตนของเสรีำไทยตลอด แต่คงไม่ได้หนุนหลัง หรือต่อต้านอย่างจริงจัง
แต่อีกข้อที่น่าคิดก็คือนายกในสมัยนั้น ค่อนข้างจะมีความคิดออกไปทางชาตินิยม คล้ายๆกับฮิตเลอร์ มุโสลินี หรือแม้แต่ จอมพลแม่ทัพของญี่ปุ่น อาจเป็นไปได้ที่จอมพล ป เต็มใจเข้ากับฝ่ายอักษะ
อันนี้คิดเฉยๆนะครับ
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 16
เมื่อ 25 ก.ย. 00, 00:00
ถ้าได้อ่าน"สามก๊ก ฉบับนายทุน" ของ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ซึ่งเขียนขึ้นในยุคจอมพล ป. ก็จะพอเห็นมุมมองด้านลบ ที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ มีต่อ ท่านจอมพล โดยอาจารย์หม่อมได้เปรียบเทียบแบบประชดประชันท่านจอมพลดังโจโฉ อย่างชัดเจน จากการให้สมญาโจโฉว่านายกตลอดกาล และเรียกฐานันดรสุดท้ายของโจโฉว่าสมเด็จเจ้าพระยา ตรงกับความคิดในยุคนั้นที่จะรื้อฟื้นบรรดาศักดิ์ขึ้นมาใหม่ ซึ่งเมื่อเทียบชั้นเครื่องราชฯที่ได้รับพระราชทาน ท่านจอมพลก็จะได้บรรดาศักดิ์เป็นสมเด็จเจ้าพระยา
"สามกรุง"ของ นมส. ก็เป็นบทกวีที่สอดแทรก ทัศนคติด้านลบที่มีต่อจอมพล ป. ซึ่งล่าสุดสำนักพิมพ์มติชนก็มีหนังสือวิเคราะห์อย่างละเอียดละออ แต่ต้องขออภัยที่ลืมชื่อท่านผู้เขียนไปเสียแล้ว
ในมุมหนึ่งผมมองว่า รัฐบาลยุคนั้นและรัฐบาลยุคนี้มีส่วนคล้ายกัน ตรงที่อยู่ในสภาวะที่มีแต่เสียกับเสีย ไม่ว่าจะตัดสินใจทำอย่างไรประเทศก็ต้องสูญเสียทั้งสิ้น (อันนี้พูดถึงนโยบายอย่างเดียวนะครับ ยังไม่คำนึงถึงด้านการปฎิบัติ และจริยธรรม)
ปัจจุบันคนก็พูดกันมากว่าเราเดินมาผิดทาง และก็ดูเหมือนว่ากำลังจะเกิดวิกฤตรอบสองจริงๆ ซึ่งผมก็ได้ยินแต่เสียงด่ารัฐบาล(หลายอย่างผมก็เห็นด้วยอย่างยิ่ง) หากยังไม่เห็นใครที่จะมีความชัดเจนในวิธีแก้ปัญหาเศรษฐกิจทั้งระบบ อย่างเบ็ดเสร็จ อย่างมากก็ดูจะบอกเป็นจุดเล็กๆเท่านั้น
จะมียกเว้นก็แต่วิธีของในหลวง แต่คนทั่วไปมัวเอาไว้กราบไหว้บูชาและกล่าวอ้าง เหมือนที่ชอบกระทำกับพระพุทธ และพระธรรม มากว่าจะนำไปปฏิบัติจริง ทั้งอาจเป็นด้วยสาเหตุประการหนึ่งว่า คนทั่วไปยังต้องการที่จะไม่ยอมรับความจริงว่าเราสู้เขาไม่ได้ เช่นเดียวกับในยุคสงครามโลกครั้งที่2 เรากำลังมาถึงจุดที่ต้องยอมรับกับความพ่ายแพ้แล้ว
ซึ่งยิ่งเรายอมรับได้เร็วขึ้นเท่าไร เราก็จะสามารถเริ่มช่วยกันสร้างชาติได้ใหม่เร็วขึ้นเท่านั้น
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 17
เมื่อ 25 ก.ย. 00, 00:00
ผู้นำอย่างจอมพล ป. ก็คงลำบากใจเหมือนกันว่าจะเข้าข้างฝ่ายไหน ให้ไทยบอบช้ำน้อยที่สุด
นึกๆดูอีกที ถ้าหากว่าญี่ปุ่นเป็นฝ่ายขนะ จอมพลป.คงจะกลายเป็นวีรบุรุษ มีชื่อเสียงในประวัติศาสตร์ว่าตัดสินใจถูก ช่วยให้ชาติพ้นภีย ไทยอาจกลายเป็นมหาอำนาจรองลงจากญี่ปุ่น
แต่ญี่ปุ่นแพ้ ผลก็เป็นอย่างที่เห็นนี่ละค่ะ
ส่วนประเด็นที่คุณถาวภักดิ์ยกมา ก็เป็นความวิตกกังวลของคนหลายคนรวมทั้งดิฉันด้วย
ดิฉันยังชอบวิธีของมหาเธร์ โมฮัมหมัดอยู่เลยค่ะ
บันทึกการเข้า
นกข.
บุคคลทั่วไป
ความคิดเห็นที่ 18
เมื่อ 29 ก.ย. 00, 00:00
ประเด็นของคุณ GSX น่าสนใจ และเป็นประเด็นที่ผู้ใหญ่ไทยสมัยโน้นหลายๆ คนเห็น คือว่า นอกจากเรื่องทางปฏิบัติ คือ ผลประโยชน์ของชาติที่ยังคงเถียงได้ว่าจะเอายังไงให้เสียน้อยที่สุดในสถานการณ์ที่มีแต่เสียกับเสียแล้ว ยังมีเรื่องแนวความคิดอุดมการเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย
ผมเองก็รู้สึก ว่าท่านจอมพล ป. และคุณหลวงวิจิตรวาทการ มีความโน้มเอียงค่อนไปทางชาตินิยม/อำนาจนิยม/ลัทธิทหาร อยู่ อาจจะไม่ถึงกับขนาดฟาสซิสต์หรือนาซี แต่ว่าไม่ค่อยจะเป็นประชาธิปไตยเสรีนิยมแน่ๆ ครับ นั่นอาจจะเป็นปัจจัยหนึ่งให้คนไทยกลุ่มอื่นเห็นว่าจะไม่ใช่จำเป็นต้องเข้ากับญี่ปุ่นเพราะมีดจ่อคออยู่เท่านั้นกระมัง จะเป็นเพราะนับถือเลื่อมใสแนวคิดด้วยหรือเปล่า
สงครามโลกครั้งที่ 2 มีคนเรียก (จะผิดหรือถูกก็ตาม) ว่าเป็นสงครามระหว่างลัทธิเผด็จการขวาจัดกับประชาธิปไตยแบบตะวันตก ผลปรากฏว่าฮิตเล่อร์แพ้ ทำให้ลัทธิการเมืองอย่างฟาสซิสต์ หรือนาซี ไม่ได้เป็นตัวเลือกที่สังคมโลกยอมรับได้อีกต่อไป (ก่อนสงครามโลกลัทธิพวกนี้ได้รับการยอมรับเป็นทางเลือกทางหนึ่งนะครับ มุสโสลินี หรือฟรังโก ปกครองประเทศแบบเผด็จการโดยไม่ได้มีการวิจารณ์ด่าว่าสักเท่าไหร่ โลกยอมรับกลายๆ ว่าเป็นทางเลือกหนึ่งที่อิตาลีหรือสเปนหรือเยอรมันได้เลือก เหมือนลัทธิคอมมิวนิสต์ก่อนโซเวียตล่มสลายนั่นแหละ) สมมติกันเล่นๆ ว่าญี่ปุ่นและฝ่ายอักษะชนะ ไทยก็อาจจะเป็นประเทศชนะสงคราม จอมพล ป.ก็คงเป็นวีรบุรุษไปได้จริงแหละ แต่สังคมโลกและสังคมไทยจะเป็นยังไง จอมพล ป. เป็นวีรบุรุษสงครามแล้ว จะกลายเป็น "ท่านผู้นำ" ตลอดชาติไปด้วยหรือเปล่า (แล้วจะเอาสถาบันกษัตริย์ไปไว้ไหน - จะเลียนแบบมุสโสลินี หรือจะเลียนแบบฟรังโก) บางที เสรีไทย (และเผลอๆ ก็จะมีเสรีจีน เสรีอเมริกัน เสรีอิตาเลียน เสรียิว ฯลฯ ด้วย) อาจจะยังคงต้องเกิดขึ้นอยู่ดี แต่คราวนี้กลายเป็นการต่อสู่ใต้ดินระหว่างรัฐเผด็จการที่ชนะสงครามกับกลุ่มการเมืองติดอาวุธที่ไม่เชื่อในลัทธิอำนาจนิยมแทน แต่นี่ผมก็แค่คิดเล่นๆ ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
ความคิดเห็นที่ 19
เมื่อ 29 ก.ย. 00, 00:00
คิดเล่นๆเหมือนกันนะคะ
ถ้าหากว่าญี่ปุ่นและเยอรมันชนะ ไทยร่วมเป็นประเทศชนะสงครามด้วย อำนาจนิยมในแนวชาตินิยมคงครอบงำประเทศอยู่อีกนาน
แต่ในเมื่ออเมริกายังอยู่ เสรีใต้ดินทั้งหลายก็คงจะมีอย่างที่คุณว่า
ดิฉันมองไทยว่าจะคล้ายๆประเทศหลายประเทศในอเมริกาใต้ ที่สหรัฐเข้าไปมีบทบาทอย่างไม่เปิดเผยค่ะ
บันทึกการเข้า
นพณัฐ
อสุรผัด
ตอบ: 7
เรียนมัธยมปลาย ม.4 สายศิลป์ภาษา-ฝรั่งเศส มารีย์วิทยา นครราชสีมา
ความคิดเห็นที่ 20
เมื่อ 01 ธ.ค. 05, 19:34
ปืนรุ่นที่ทหารอเมริกันใช้ ถ้าจำไม่ผิดเรียกว่า anti-katana หรืออะไรซักอย่างเนี่ยแหละครับ ใช้สำหรับสู้กับพวกนี้ในระยะประชิด
บันทึกการเข้า
ถาวภักดิ์
พาลี
ตอบ: 240
ความคิดเห็นที่ 21
เมื่อ 05 ธ.ค. 05, 11:32
กระทู้โบราณยังอุตส่าห์ถูกงัดขึ้นมาได้หนอ
ดีเหมือนกันครับ มาพ้องกับเหตุการณ์เมื่อวาน(4 ธค) ทรงมีพระราชกระแส ย้ำเตือนถึงเศษรฐกิจพอเพียง และการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับอนาคตที่อาจขาดแคลนเช่นในเรื่องน้ำมันเชื้อเพลิง
จากวันนั้นนั้นถึงวันนี้ เราได้เห็นความแตกต่างระหว่างชาติเอเซียด้วยกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกาหลีกับเรา เกาหลีฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วจากสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ และก้าวมาอยู่ในระดับชาติผู้นำทางเศษรฐกิจอย่างเต็มภาคภูมิ แม้สินค้าประเภทภาพยนต์ ละครโทรทัศน์ ดนตรีPop ก็ยังได้รับความนิยมสูงในต่างประเทศ(อย่างไทย) ตีญี่ปุ่นกระจุย
หันมาดูประเทศไทยก็ชวนให้สะท้อนใจ ไม่ต้องไปอ้างอิงผลงานวิจัยของใคร เพียงแค่มองดูรอบๆตัว ก็ยังไม่เห็นความเปลี่ยนแปลงอะไรไปจากเดิม เห็นผู้คนยังนิยมกู้เงินดอกเบี้ยแพงๆ เพื่อสินค้าประดับบารมี อย่างรถยนต์ โทรศัพท์มือถือ เห็นค่านิยมที่ยังให้ความสำคัญสูงสุดที่ความโก้หรู และหน้าตา
อยากเห็นการเจริญรอยตามเบื้องพระยุคลบาทด้วยการปฏิบัติด้วยตนเองจริงๆ ไม่ใช่ตามแต่ปาก และด้วยความคำขวัญ คำสรรเสริญ มีสิ่งหนึ่งที่จะช่วยได้อย่างชัดเจน คือการใช้ขนส่งสาธารณะให้เป็นประจำ คนที่เคยผ่านประเทศอุตสาหกรรมมาแล้ว คงจะเห็นความแตกต่างของค่านิยมตรงนี้ ว่าคนไทยเวอร์เพียงใด ขณะอยู่ต่างประเทศยังใช้ขนส่งสาธารณะเป็นเรื่องปกติกันได้ แต่พออยู่บ้านเรา ทำไม่ได้ซะแล้ว อ้างกันไปสารพัดว่าไม่ดี ไม่สะดวกเหมือนเมืองนอกอย่างนั้นอย่างนี้ แต่สำรวจใจตนเองจริงๆเถิด มาจากทิฐิมานะ ค่านิยมผิดๆของเราเองแท้ๆ
ใครที่ชอบทำตนเป็นนักปฏิวัติ ทำไมไม่ปฏิวัติเพื่อพระเจ้าอยู่หัวกันบ้างหนอ จะประหยัดเงินไหลออกได้มหาศาลขนาดไหน จะประหยัดเงินที่ต้องทุ่มเทเพื่อแก้ปัญหาการจราจรได้มากเพียงใด
ไม่ต้องเสียเงินกันสักแดง มีแต่จะประหยัดได้เดือนละเป็นพัน เป็นหมื่น ยอมลำบากกันสักนิด หักห้ามความอายกันสักหน่อย ลดอัตตาตัวเองกันบ้าง ช่วยกันแก้ค่านิยมเอาหน้าเอาตาของสังคม ถวายเป็นของขวัญพระเจ้าอยู่หัวกันเถอะ
บันทึกการเข้า
หน้า:
1
[
2
]
พิมพ์
กระโดดไป:
เลือกกระทู้:
-----------------------------
General Category
-----------------------------
=> ศิลปะวัฒนธรรม
=> ภาษาวรรณคดี
=> ระเบียงกวี
=> ชั้นเรียนวรรณกรรม
=> หน้าต่างโลก
=> ประวัติศาสตร์โลก
=> ประวัติศาสตร์ไทย
=> ทันกระแส
=> วิเสทนิยม
=> ห้องหนังสือ
=> ชมรมอนุรักษ์ภาพจิตรกรรมไทย
Powered by SMF 1.1.21
|
SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder
XHTML
|
CSS
|
Aero79
design by
Bloc
หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.031 วินาที กับ 19 คำสั่ง
Loading...