ถาวภักดิ์ t_tiyabhorn@yahoo.com
บุคคลทั่วไป
|
เคยอ่านเกี่ยวกับเสรีไทยฝ่ายอังกฤษ จากบทความของเสรีไทยที่อยู่ในกองทัพอังกฤษ 2-3 ท่าน ทำให้เห็นได้ชัดเจนถึงความสนใจเอาแต่ผลประโยชน์เข้าตัวเองของฝรั่งชาตินี้
เสรีไทยในกองทัพอังกฤษต้องรับการฝึกอย่างหฤโหด ในหลักสูตรหน่วยคอมมานโด และต้องปฎิบัติภาระกิจเสี่ยงชีวิต บางท่านก็ตายในระหว่างการปฏิบัติหน้าที่ หากทางการอังกฤษก็ได้แต่ปูนบำเหน็จ เลื่อนยศให้เสมือนเป็นทหารของตน ไม่ได้มองว่าเป็นชนชาติของฝ่ายพันธมิตร ดังเจตนารมณ์ของเหล่าเสรีไทยที่เสียสละเข้าช่วยรบ โดยเมื่อสงครามยุติ อังกฤษได้กระทำต่อประเทศไทยดังประเทศผู้แพ้สงคราม พยายามจะเข้ามาควบคุม และเรียกร้องค่าปฏิกรณ์สงคราม ดีที่ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้เดินหมากทางการเมืองไว้อย่างแยบยลในอเมริกา ด้วยการไม่ประกาศสงครามกับอเมริกา ตามคำสั่งของรัฐบาลของจอมพล ป. พร้อมทั้งได้ตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นในอเมริกา จึงได้อเมริกาหนุนหลัง พอพยุงฐานะของประเทศไม่ให้ตกต่ำไปมากนัก
คุณประโพธิ เปาโรหิตย์ (ไม่แน่ใจตัวสะกด) อยู่ในคณะเสรีไทยชุดแรก ที่สามารถแทรกซึมเข้ามาปฏิบัติการในประเทศไทยได้สำเร็จ ด้วยการจัดตั้งฐานลับบนภูกระดึง เป็นทั้งคลังอาวุธ และค่ายฝึกกำลังพล เตรียมการกองกำลังต่อต้านญี่ปุ่น
อาจารย์ป๋วย อึ๊งภากรณ์เป็นเสรีไทยสายอังกฤษอีกท่านหนึ่งที่กระโดดร่มเข้ามาเพื่อปฏิบัติการในประเทศ หากได้รับบาดเจ็บขณะลงถึงพื้น และถูกชาวบ้านผู้หลงผิดตามคำโฆษณาชวนเชื่อของรัฐบาลจอมพล ป. รุมทำร้าย เพราะมองว่าท่านเป็นคนไทยขายชาติ เป็นแนวห้าให้ชาติศัตรู แม้ท่านจะมีทั้งปืนกล และระเบิดมือ แต่ด้วยความเมตตาเพื่อนร่วมชาติ ท่านจึงไม่ยอมต่อสู้ ยอมรับการเตะถีบ จับกุมแต่โดยดี
เหล่าเสรีไทยสายอังกฤษ โดยเฉพาะผู้ที่ได้เข้ามาปฏิบัติภาระกิจในประเทศไทย ล้วนได้รับการเลื่อนยศ และเหรียญกล้าหาญจากกองทัพอังกฤษ แต่เป็นที่น่าสังเกตุว่า ท่านเหล่านี้มิได้แสดงความภาคภูมิใจในยศและเหรียญตรานั้นเลย
ถ้าจะให้เดา ก็น่าจะเป็นเพราะความขมขื่นที่ได้รับจากการกระทำของประเทศอังกฤษต่อมาตุภูมิของตน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 1 เมื่อ 19 ก.ย. 00, 00:00
|
|
ปัจจุบันเกือบไม่มีคนรุ่นใหม่ทราบแล้วละค่ะว่า ใครคือเสรีไทยกันบ้าง ดิฉันเองก็เพิ่งทราบตอนไปค้นเรื่องนี้มาลง ขอทยอยลงรายชื่อเสรีไทย(สายอเมริกา) รุ่นแรกก่อนนะคะ ๑ อานนท์ ณ ป้องเพชร ๒ บุญรอด บิณฑสัณห์ ๓ บุญเลี้ยง ตามไท ๔ บุญเย็น ศศิรัตน์ ๕ การะเวก ศรีวิจารณ์(เสียชีวิตขณะปฏิบัติงาน) ๖ จก ณ ระนอง ๗ จำรัส ฟอลเล็ต ๘ เอี่ยน ขัมพานนท์ ๙ ม.ล,เอกชัย กำภู ๑๐ จินตมัย อมาตบกุล ๑๑ ม.จ. ยุธิษเฐียร สวัสดิวัตน์ ๑๒ จำรูญ ดิษยนันท์ ๑๓ การุณ เก่งระดมยิง ๑๔ นิธิพัฒน์ ชาลีจันทร์ ๑๕ พิเศษ ปัตตะพงษ์ ๑๖ โผน อินทรทัต ๑๗ พิสุทธิ์ สุทัศน์ ณ อยุธยา ๑๘ เป้า ขำอุไร ๑๙ สมพงษ์ ศัลยพงษ์ (เสียชีวิตขณะปฏิบัติงาน) ๒๐ สวัสดิ์ เชี่ยวสกุล ๒๑ วิเชียร วายวานนท์
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
GSX
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 2 เมื่อ 19 ก.ย. 00, 00:00
|
|
เสรีไทยสายอังกฤษเริ่มแรกมีชื่อเรียกกันว่า Free Siamnese movement เพราะอังกฤษยังติดกับคำว่าประเทศสยามอยู่ แต่ในเอกสารทางราชการของอักกฤษเรียกเสรีไทยสายอังกฤษว่า Thai Resistance Movement ส่วนเสรีไทยสายอเมริกามีชื่อว่า Free Thai Movementมาตั้งแต่แรก
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ถาวภักดิ์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 3 เมื่อ 19 ก.ย. 00, 00:00
|
|
บทความเกี่ยวกับชีวิตการเป็นเสรีไทยของคุณประโพธิ เปาโรหิตย์ มักไม่เป็นที่รู้จัก ในหมู่ผู้ค้นคว้าเรื่องเสรีไทย ด้วยท่านได้เขียนแฝงไว้ในนิยายอิงประวัติศาสตร์ "สมบัติเจ้าพระฝาง" โดยใช้นามปากกาว่า"นวลแสงทอง" (ถ้าผมจำไม่ผิด) และรู้สึกว่าจะพิมพ์จำหน่ายโดยสำนักพิมพ์โลกทิพย์
ผู้ที่อ่านจึงไม่ทราบว่าการที่ตัวเอกของเรื่องได้กล่าวถึงชีวประวัติ ตั้งแต่การเข้าร่วมอยู่ในกองทัพอังกฤษ การรับราชการเป็นตำรวจสันติบาล จนถึงการเข้าทำงานกับบริษัทลีเวอร์ฯ นั่นล้วนมาจากชีวิตจริงของท่านผู้แต่ง
เพื่อเป็นการแสดงความกตัญญู ต่อผู้เสียสละให้กับประเทศ หากผู้ค้นคว้าท่านใดได้อ่านหนังสือดังกล่าวแล้วไม่แน่ใจในส่วนใด จะสอบถามผม ก็จะยินดีช่วยหาความกระจ่างให้ สิ่งใดที่ผมไม่สามารถตอบเองได้ ก็จะไปขอความกรุณาสอบถามจากภรรยาหม้ายของท่านให้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 4 เมื่อ 19 ก.ย. 00, 00:00
|
|
ขอบคุณค่ะคุณ GSX ดิฉันได้คำแปลชื่อเสรีไทยมาจากบันทึกของ นอ.วิมล วิริยะวิทย์ เสรีไทยสายอเมริกา รุ่น ๒ ท่านบอกว่า ชื่อ เสรีไทย = Free Thai ขบวนการเสรีไทย = Free Thai Movement ค่ะ
คุณถาวภักดิ์คะ คุณประโพธิเล่าหรือเปล่าว่าทางการบ้านเมืองได้ปูนบำเหน็จความดีความชอบให้เสรีไทยอย่างไรบ้าง เมื่อสงครามจบแล้ว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
GSX
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 5 เมื่อ 19 ก.ย. 00, 00:00
|
|
เท่าที่้เคยได้ยินมาจำได้ว่าเสรีไทยสายปรีดี หลายคนเริ่มมีบทบาททางการเมืองหลังสงคราม แล้วพอหลังจากที่ท่านปรีดีถูกให้ออกนอกประเทศไปแล้วนั้น เสรีไทยบางส่วนถูกรัฐบาลของจอมพล ป. เก็บไปก็มี อันนี้ฟังเค้ามาอีกที่ไม่มีรายละเอียด
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ลุงแก่
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 6 เมื่อ 19 ก.ย. 00, 00:00
|
|
คำให้สัมภาษณ์ มรว. เสนีย์ ปราโมช ถาม - "ท่านถูกขอไปนี่เพื่อทำงานเสรีไทยหรือเปล่าคะ" ตอบ - "เปล่าผมทำของผมเอง จอมพล ป. ท่านเข้าข้างญี่ปุ่น ยังตัดเงินเดือนของผมเลย ตอนนั้นผมมีโทษประหารอยู่ ถ้ากลับมา ก็ถูกยิงเป้าแน่เลย"
สั้นๆ แค่นี้แหละครับ บังเอิญอ่านพบ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
ถาวภักดิ์
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 7 เมื่อ 19 ก.ย. 00, 00:00
|
|
คุณประโพธิ ท่านไม่ได้เล่าไว้เลยครับ แต่เท่าที่ได้ยินมา ก็ไม่ปรากฎว่าเหล่าเสรีไทย จะได้รับการเชิดชู หรือบำเหน็จเป็นพิเศษแต่อย่างใด กลับจะเป็นภัย และเป็นที่เพ่งเล็ง ในยุคจอมพล ป. กลับมาเรืองอำนาจ ดังที่คุณGSXกล่าว
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
หนอนต้อม
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 8 เมื่อ 19 ก.ย. 00, 00:00
|
|
ขอแสดงความเห็นแบบส่วนตัว ส่วนตัว ของผมหน่อยนะครับ ผมอยากมองว่า เสรีไทย เป็นตัวอย่างอีกครั้งของการแตกความสามัคคีของคนไทยเราเอง จริงอยู่ เสรีไทยช่วยไม่ให้เราตกอยู่ในสภาพประเทศผู้แพ้สงคราม ทำให้เราไม่ต้องประสบความลำบากยากเข็ญแบบประเทศญี่ปุ่น แต่มองอีกแง่ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันร่วมรับความลำบากนั้นมิใช่หรือ ที่ทำให้ญี่ปุ่นกลายเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจในทุกวันนี้ ปัจจุบัน ก็ยังเห็นเรื่องแบบนี้อยู่เสมอในประเทศไทย ต่างฝ่ายต่างอ้างว่ารักชาติ ต่างฝ่ายก็พยายามใช้วิธีของตัว ไม่พยายาม ประสานเข้าหากัน ผมไม่รู้เรื่องของเสรีไทยมากนัก แต่ที่หลาย ๆ คนบอกว่าเสรีไทยถูกลอบฆ่ามากมาย หลังสงครามสิ้นสุด ก็น่าจะชี้ว่า เกิดอะไรขึ้น ผมไม่อยากสรุปว่าฝ่ายใดถูก ฝ่ายใดผิด ถ้าเราไม่มีเสรีไทย แล้วประเทศเราจะเป็นอย่างไร ก็บอกไม่ได้ เพราะเรื่องทั้งหมดเป็นอดีตไปแล้ว เปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้ แต่อยากเราสามัคคีกันรักชาติในปัจจุบันมากกว่า ไม่ใช่ต่างคนต่างรัก ต่างคนต่างทำ แล้วผลก็ออกมาอย่างที่เป็นอยู่
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นกข.
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 9 เมื่อ 22 ก.ย. 00, 00:00
|
|
คุณหนอนต้อมชอบมองต่างมุมแฮะ ไม่ว่ากันครับ สนุกดี ผมกลับคิดว่าการมีเสรีไทยขึ้น อย่างน้อยในช่วงแรกๆ เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรักชาติของคนไทย มากกว่าจะมองว่าเป็นการแก่งแย่งแตกกันเอง ส่วนว่ารักชาติแล้วอาจจะไม่ค่อยประสานงานกันเท่าไหร่ในการปฏิบัติ(หรือว่าสมัยหลังสงครามแล้วมีการช่วงชิงอำนาจเข่นฆ่ากัน) นั้น เป็นอีกเรื่อง ผมว่าคุณหนอนต้อมคงต้องทำใจว่า นิสัยประจำชาติพวกเราก็ยังงี้แหละ ผมยังคิดอยู่ว่า มีเสรีไทยแตกออกมาน่าจะดีกว่า ถ้าคุณหนอนต้อมต้องการให้คนไทยเป็นเหมือนอย่างคนเยอรมัน คนญี่ปุ่น เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย เดินต้อยๆ ตามกันไปลงเหวทั้งชาติ ผมว่าคงไม่สนุกครับ ญี่ปุ่นเจอเอาระเบิดปรมาณูเข้าไป และเยอรมันบ้านเมืองยับเยินพินาศหมดไม่ใช่เพราะอย่างนั้นหรือครับ อีกอย่าง นิสัยคนไทยก็ไม่ให้ที่จะเป็นอย่างนั้นด้วยดังกล่าวแล้ว ถ้าคุณหนอนต้อมบอกว่าอยากให้คนไทยสามัคคีร่วมเผชิญภัยสงคราม คุณหนอนต้อมต้องไปบอกจอมพล ป. ตอนนั้น เพราะถ้าท่านสู้ ไทยคนอื่นก็คงร่วมกับท่านสู้ด้วย (ก่อน 7 ธค. ไทยประกาศตัวเป็นกลางและจอมพล ป. ตั้งท่าจะสู้อย่างเข้มแข็งนะครับ ที่สู้ไปแล้วก็มี วรีกรรมยุวชนทหารนั่นไง แต่ท่านมาเปลี่ยนใจตอนหลัง) แต่นี่เพราะคนไทยคนอื่นตอนนั้นเขาเห็นว่าท่านไปยอมญี่ปุ่นหมดแล้วน่ะสิครับ เขาเห็น (จะเห็นผิดหรือถูกก็แล้วแต่) ว่ารัฐบาลจอมพล ป. กลายเป็นหุ่นญี่ปุ่น หรือระบอบวิชีไปแล้ว เขาถึงต้องดิ้นรนหาทางสู้ของเขากันเอง คุณจะโทษว่าเสรีไทย "แตกสามัคคี" ออกไปจากการนำของรัฐบาลหลวงพิบูลฯ หรือ ฟังแปลกๆ นะ (เรื่องเหตุผลต่างๆ ที่จอมพล ป.พิจารณาแล้วตัดสินใจยอมญี่ปุ่นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง) และหลังสงครามแล้ว ส่วนหนึ่งเพราะมีเสรีไทย บ้านเมืองเราหลังสงครามจึงไม่บอบช้ำมากนัก ทีนี้ว่าถึงเรื่องการร่วมกันรับความทุกข์ร้อนด้วยกันทั้งชาติ ซึ่งทำให้ญี่ปุ่นกับเยอรมันฟื้นตัวเร็ว ผมมองว่าเป็นคนละตอนกับตอนสงครามแล้วครับ ผมเห็นด้วย ว่าการร่วมกันสามัคคีสู้หน้าวิกฤตของชาติเป็นเรื่องดี แต่ทั้งนี้ คนที่เป็นแกนต้องมีภาวะผู้นำสูงและสามารถทำให้คนอื่นเห็นว่าเขามีความชอบธรรมในการนำ ถ้าตัวเองสูญเสียความน่าเชื่อถือในการนำไปเอง จะไปโทษว่าคนอื่นที่เขาทนดูชาติย่อยยับไม่ได้ "แตกสามัคคี" ออกไป ก็คงไม่ได้มั้งครับ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 10 เมื่อ 22 ก.ย. 00, 00:00
|
|
ขอต่อประเด็นของคุณนกข. ดิฉันอ่านพบในหนังสือประวัติของหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์ ในนั้นบันทึกการประชุมของคณะรัฐมนตรีตอนญี่ปุ่นบุกไทย ในนั้นบอกหมดว่าใครพูดอะไร ค้านอะไร แถลงอะไรบ้าง อ่านแล้วก็พิศวงว่า หลายๆคนในนั้นพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า อย่าสู้เขาเลยไม่มีทาง สู้ไปก็แพ้แน่ ทั้งที่ก่อนหน้านี้ นกยรัฐมนตรีก็ประกาศให้ไทยสู้สุดใจขาดดิ้น ทำให้คนไทยจำนวนหนึ่งที่สู้ตามนโยบายแรก เสียชีวิต อย่างยุวชนทหาร แต่ในบันทึกการประชุมไม่ได้บอกว่า มีข้อมูลอะไรทำให้มีบุคคลสำคัญหลายคนเห็นว่า สู้ไปก็แพ้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
GSX
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 11 เมื่อ 23 ก.ย. 00, 00:00
|
|
อันนี้ความคิดเห็นส่วนตัวนะครับพอดีไม่ได้มีหนังสืออยู่ใกล้ๆให้ค้นด้วย สมัยนั้นกองทัพญี่ปุ่นยิ่งใหญ่มากยึดจีนได้ บุกไปบอมบ์เพิร์ลฮาเบอร์ แถวๆเอเชียนี่ก็โดนญี่ปุ่นโจมตีกันถ้วนหน้า อีกอย่างทหารที่รบให้กองทัพจักพรรดิ์ญี่ปุ่่นนั้นเตรียมตัวมาชนะหรือไม่ก็ตาย ดังนั้นจึงเป็นนักรบที่เหี้ยมโหดกับศัตรูมาก ผมเคยดูภาพสารคดีเกี่ยวกับทหารญี่ปุ่นในสงคราม เค้าฝึกกันโหดมาก ยิ่งการใช้ดาบปลายปืนเนียแล้วดูแล้วน่ากลัว คือเค้าจะแต่งชุดเหมือนกับเคนโด คือมีเกราะเต็มตัว แต่จะไม่ใช้ดาบไม้ แต่จะเปลี่ยนเป็นปืนที่ทำจาำกไม้ยาวๆ แล้ว ก็ซ้อมตะลุมบอนกัน ใช้พานท้ายตีกันเอาปลายดาบปลายปืน(ปลอม)แทงกันอย่างแรงเห็นเล่นกันคว่ำไปเลย ดูแล้วน่ากลัวมาก(เป็นคล้ายๆภาพที่ญี่ปุ่นเก็บเอาไว้) พวกนี้เวลาประจันบานแล้วถ้าตัวเองจะตายก็ต้องพุ่งตัวเอาดาบปลายปืนหรือดาบคัทตาน่า แทงให้ทหารศัตรูตายไปกับตนด้วยอย่างน้อยคนหรือ2คน คล้ายๆนักรบกามิกาเซ่ คือตัวตายไม่ว่าแต่ข้าศึกต้องตายด้วย (แต่ทหารอเมริกันมีปืน11มม.ใช้ป้องกันพวกนี้ได้คือยิงโดนปุ๊ปร่างจะกระเด็นไปอีกทางหรือไม่ก็กองตรงนั้นเลยซามูำไรไม่มีโอกาสเข้าแทง) คาดว่าผู้ใหญ่หลายท่านในที่ประชุมน่าจะทราบข้อมูลทางการทหารของญี่ปุ่นดีเลยคิดว่าโอกาสที่กองทัพไทยจะชนะนั้นมีน้อยมาก หรืออาจไม่มีเลยก็เป็นได้ ดังนั้นจึงลงความเห็นว่าสู้ไปก็แพ้ อีกอย่างสมัยนั้นกองทัพไทยยังไม่ได้มีประสิทธิภาพสูงมากนัก กองทัพไทยเำพิ่งจะมาพัฒนาได้เท่ากับประเทศพัฒนาแล้วก็ตอนช่วงสงครามเวียดนามแล้ว ซึ่งอเมริกามีส่วนมากในการปรับปรุงช่วยเหลือด้านการทหาร เพราะช่วงนั้นเราเป็นกันชนอยู่ระหว่างคอมมิวนิสต์กับเสรีนิยมกองทัพไทยจึงได้อาวุธและระบบที่ทันสมัยที่สุดในขณะนั้นมาใช้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 12 เมื่อ 23 ก.ย. 00, 00:00
|
|
ไปเปิดหนังสือ "ชีวิตและงานของพลเรือตรีหลวงธำรงนาวาสวัสดิ์"อีกทีหนึ่ง ขอคัดบางส่วนมาให้อ่าน ความคิดเห็นของคุณ GSX ตรงกับความคิดของบุคคลในคณะรัฐมนตรีหลายๆคนค่ะ พล ต.ต. อดุล อดุลเดชจรัส - "กองทัพเรือของอเมริกาก็ดี ดัทช์ก็ดี หรือกองทัพเรืออังกฤษก็ดี ไม่สามารถที่จะมาช่วยไทยในอ่าวไทยได้...ผมเห็นว่าควรจะพูดจาผ่อนไปบ้างตามสมควร เพราะเราขืนสู้ก็สู้ไม่ได้ และไม่มีใครเขาช่วยเราได้อย่างเต็มที่" พล ต พิชิต เกรียงศักดิ์พิชิต - เท่าที่ท่านนายกรัฐมนตรีบอกแล้วว่าถ้าสู้ เราก็สู้ไปไม่กี่น้ำ ถ้าไปอย่างนี้บางทีจะมีทางบ้างกระมัง" นายดิเรก ชัยนาม - ผมคิดว่าสู้นั้นเราสู้ไม่ไหว อย่างที่ท่านนายกเคยกล่าวแล้ว...แต่การที่จะบังคับให้เราร่วมรบนั้นเรายอมไม่ได้
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
นิลกังขา
บุคคลทั่วไป
|
ความคิดเห็นที่ 13 เมื่อ 24 ก.ย. 00, 00:00
|
|
แม้แต่หลังวันที่ 7 ธค. เมื่อเราหยุดยิงกับญี่ปุ่นและจำยอมให้ทัพญี่ปุ่นผ่านทางไปตีสัมพันธมิตรแล้ว ผมว่า ผู้ใหญ่ฝ่ายที่เห็นว่าจำเป็นต้องมีเสรีไทยก็ยังคงเข้าใจจอมพล ป. อยู่ ว่าเราจำเป็นจำทำเพราะจำใจ ซึ่งยังพอจะอธิบายฝ่ายสัมพันธมิตรได้ หลังจากนั้นแล้วต่างหาก ที่รัฐบาลตัดสินใจเข้าเป็นพันธมิตรญี่ปุ่นกอดคอร่วมรบกับสัมพันธมิตร ประกาศสงครามกับอเมริกาอังกฤษ นั่นต่างหาก ที่ความจำเป็นต้อง "แตกสามัคคี" ไปจัดตั้งเสรีไทยปรากฏชัดขึ้นมา เพราะจะหวังพึ่งรัฐบาลก็ประกาศตัวกลายเป็นพวกญี่ปุ่นไปเต็มตัวแล้ว อย่างน้อยในระดับทางการ แต่ลึกๆ คนในรัฐบาลเองหลายฝ่าย เช่น พล.ต.อ หลวงอดุลฯ อธิบดีตำรวจ ท่านก็รู้เห็นเป็นใจกับฝ่ายเสรีไทยอยู่ด้วย - ซึ่งผมแปลว่า ที่จริง ไม่ใช่แตกสามัคคีเสียทีเดียวนะครับ ก็ยังแอบๆ ประสานกันอยู่บ้างนะ
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
    
ตอบ: 33477
ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม
|
ความคิดเห็นที่ 14 เมื่อ 24 ก.ย. 00, 00:00
|
|
มาถึงตอนที่คุณนิลกังขาเล่าแล้วยังติดใจอยู่ว่า รัฐบาลจำใจ ถูกบังคับให้เป็นพันธมิตร หรือว่าสมัครใจเข้าไปเอง เพราะเชื่อว่าญี่ปุ่นจะชนะกันแน่คะ ที่ถามเพราะยังค้นตำราไม่พบค่ะ ส่วนเรื่องเสรีไทย เคยถามอาจารย์ทางประวัติศาสตร์ ท่านบอกว่าพอสงครามสงบ ใครต่อใครก็มาเปิดเผยตัวกันใหญ่กว่าเป็นเสรีไทย แม้บางกระแสก็ยังมีข่าวว่าจอมพลป.เป็นเสรีไทย(แบบซ่อนเร้น) ด้วยเหมือนกัน
|
|
|
บันทึกการเข้า
|
|
|
|
|