เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
อ่าน: 23701 เจาะหาภาพใหม่ ในภาพเก่าของนายทอมสัน
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 22 ม.ค. 15, 21:06

ครับ สองรูปสุดท้ายของหน้าที่แล้วเป็นด้านหน้า ทางขึ้นพระที่นั่งอยู่ภายในกำแพงพระบรมมหาราชวัง ซึ่งเป็นด้านหลัง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 07:32

เจาะดูเรือในแม่น้ำเจ้าพระยาบ้าง

เรือสมัยนั้นส่วนใหญ่จะะเป็นเรือที่ใช้ใบทั้งสิ้น ราชบัณฑิตท่านว่า เรือใบแบบยุโรปคนไทยเรียกว่า เรือ "กำปั่น" เป็นเรือเดินสมุทรที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งนักวิชาการไทยบางท่านเชื่อว่าอาจจะมาจากคำมลายูหรือภาษาฮินดี ว่า "capel" (คะเปล) แต่ในภาษาทมิฬมีคำว่า "กัปปัล" ซึ่งบางครั้งก็ออกเพี้ยนเป็น "กำปัล" ที่หมายถึงเรือเดินสมุทรขนาดใหญ่ และใกล้เคียงกับคำภาษาไทยมากกว่า และชาวอินเดียใต้คือพวกชาวทมิฬก็ค้าขายกับเมืองไทยมายาวนานแล้วแต่ครั้งก่อนประวัติศาสตร์ของไทย จึงมีความเป็นได้มากว่า คำว่า กำปั่น ที่หมายถึงเรือนั้น จะเป็นคำเก่าที่ยืมมาจากภาษาทมิฬ เพราะวัฒนธรรมทมิฬก็ส่งอิทธิพลถึง มอญและเขมรโบราณมาก่อนเช่นกัน

ในขณะที่เรือเดินทะเลใช้ใบแบบจีนจะเรียกว่า "เรือสำเภา"


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 07:38

ลำนี้น่าจะเป็นเรือกำปั่น ทอดสมออยู่หน้าวัดสัมพันธวงศ์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 07:44

ลำนี้เป็นสำเภาจีนแน่ แต่คงเป็นขนาดที่ใช้วิ่งเลียบชายฝั่งไปเรื่อยๆ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 07:46

ลำนี้จอดอยู่แถวท่าเตียน

เป็นเรือแจว ที่เรียกว่าเรือเก๋ง


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 07:50

แอบเห็นเรือจักรไอน้ำจอดอยู่ในโรงหน้าวัดอรุณลำหนึ่ง

เรือแบบนี้เรียกว่าเรือใบจักรข้าง น่าจะเป็นของผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ แต่ไหงมาอาศัยหน้าวัดก็ไม่ทราบ จะว่าเป็นของเจ้าอาวาสก็ดูจะเกินไปสำหรับสมัยนั้น ใครมาออกฤทธิ์แบบสมีหลวงปู่เณรคำนั่น สงสัยเป็นได้โดนหวายแล้วส่งไปตะพุ่นหญ้าช้างจนกว่าจะแก่ตาย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 08:16

ฤๅ ท่านผู้มีบุญในสมัยนั้น ถวายเรือใบจักรข้างที่ท่านมีหลายลำ ให้วัดเสียลำหนึ่ง เผื่อเจ้าอาวาสจะรับกิจนิมนต์ไปไกลๆ
เหมือนเศรษฐีสมัยนี้ถวายรถเบนซ์ จากัวร์ รถตู้อัลผาด ให้เจ้าคุณ


บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 20:17

ภาพเหล่านี้ ถ่ายในรัชกาลที่เท่าไหร่คะ คืออยากจะทราบว่าเรือพวกนี้เป็นเรือที่เขาใช้กันในสมัยไหนน่ะค่ะ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 21:02

ภาพทั้งหมดอยู่ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ครับ

สมัยนั้นเรือที่ใช้เครื่องจักรไอน้ำขับเคลื่อนใบจักรเพิ่งจะมีในประเทศไทยได้ไม่นาน และน่าจะมีเพียงไม่กี่ลำ ถ้าไม่เป็นของหลวงก็คงจะต้องเป็นของขุนนางไม่น่าจะต่ำกว่าเจ้าพระยา
พระสงฆ์คงยังไม่มีสิทธิ์ที่จะครองสมบัติระดับนี้กระมังครับ ถ้าเป็นสมเด็จพระสังฆราชเจ้าละก็อาจจะพระราชทานเรือหลวงให้ทรงใช้ แต่วัดอรุณฯเจ้าอาวาสคงเป็นแค่สมเด็จพระราชาคณะเป็นอย่างสูง
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 21:10

ภาพเรือเก๋ง ๔ หลักแจว คล้ายแบบเรือในคคห.๗๙


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 24 ม.ค. 15, 07:17

พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 24 ม.ค. 15, 07:21

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงโปรดเกล้าฯให้พระราชโอรสผลัดกันมาเป็นองค์ประธานในการถวายอาหารแด่สงฆ์ซึ่งจัดเป็นประจำที่พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ ซึ่งวันที่ทอมสันได้ไปถ่ายภาพที่นั่นเป็นเวรของพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 24 ม.ค. 15, 09:45

จาก wikipedia

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ พระนามเดิม พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวกับเจ้าจอมมารดาสังวาลย์ ธิดานายศัลยวิชัย ( ทองคำ ณ ราชสีมา ) ประสูติเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2400 ทรงเป็น "พระบิดาแห่งภาพยนตร์ไทย"

พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงพระปรีชาในด้านงานช่าง ทรงร่วมรับหน้าที่บูรณะปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม เมื่อครั้งสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ 100 ปี พ.ศ. 2425 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมเกียรติพระองค์ ทรงกรมเป็น กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจ ผู้บังคับการกรมช่างมหาดเล็ก เมื่อ พ.ศ. 2431 ทรงบังคับบัญชางานช่างต่างๆ ในพระบรมมหาราชวังชั้นใน พระราชวังบางปะอิน สวนสราญรมย์ ทรงรับผิดชอบงานโยธาในการก่อสร้าง พระที่นั่งอมรินทรวินิจฉัย และวัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามราชวรวิหาร

กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจได้ตามเสด็จพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวประพาสสิงคโปร์ เมื่อ พ.ศ. 2439 และได้ทอดพระเนตรภาพยนตร์เป็นครั้งแรก ในปีต่อมา ทรงตามเสด็จประพาสยุโรปครั้งแรกในปี พ.ศ. 2440 ได้ทรงจัดซื้อเครื่องซีเนมาโตกราฟฟี ซึ่งเป็นทั้งกล้องถ่ายและเครื่องฉายภาพยนตร์ กลับมาเมืองไทยด้วย ภาพบันทึกเหตุการณ์ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสยุโรป เมื่อปี พ.ศ. 2440 นับเป็นภาพยนตร์ม้วนแรกสุดในโลกที่ได้บันทึกเรื่องราวเกี่ยวกับชาติไทย

กรมหมื่นสรรพสาตรศุภกิจได้ทรงถ่ายทำภาพยนตร์บันทึกเหตุการณ์เบ็ดเตล็ด ทั้งในและนอกเขตพระราชวัง จนถึงภาพพระราชกรณียกิจของสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวง นอกจากพระองค์ทรงเป็นนักถ่ายภาพยนตร์เป็นรายแรกและรายเดียวของสยามในรัชสมัยนั้นแล้ว พระองค์ยังทรงเป็นผู้ดำเนินธุรกิจจัดฉายและให้เช่าภาพยนตร์เป็นรายแรกของชาติด้วย โดยนอกจากจะทรงให้โรงภาพยนตร์ต่าง ๆ เช่ายืมภาพยนตร์ของพระองค์แล้ว บางครั้งก็ทรงจัดฉายภาพยนตร์เก็บค่าดูจากสาธารณชนขึ้นในบริเวณวังของพระองค์ และที่ทรงทำเป็นประจำคือ การออกร้านฉายภาพยนตร์เป็นเจ้าประจำในงานประจำปีวัดเบญจมบพิตร ในรัชกาลต่อมา พระองค์ทรงว่างเว้นและเลิกราการถ่ายทำภาพยนตร์ เนื่องจากมีผู้ดำเนินการขึ้นในสยามแล้วหลายราย

พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงประทับอยู่ที่วังสรรพสาตรศุภกิจ ที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2444 วังนี้ถูกไฟไหม้หมดจนเหลือแต่ซุ้มประตูทางเข้าวัง เมื่อ พ.ศ. 2510 และมีการสร้างตึกแถวสมัยใหม่ขึ้นมาแทน ปัจจุบันย่านนี้เรียกว่า แพร่งสรรพศาสตร์

พระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์ ทรงได้รับเฉลิมพระเกียรติเป็น พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงสรรพสาตรศุภกิจ เมื่อ พ.ศ. 2455 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงรับราชการตำแหน่งสุดท้ายเป็น นายพันเอกราชองครักษ์ ประชวรเป็นพระโรคอัมพาต สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2462 พระชนมายุได้ 62 ปี
ทรงเป็นต้นราชสกุล ทองแถม และทรงมีเชื้อสายที่ไม่ได้นับเป็นราชสกุล คือ สกุลทองเจือ สุวรรณรัฐ และ ถาวรรัตน์
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 24 ม.ค. 15, 14:37

พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯทรงโปรดเกล้าฯให้พระราชโอรสผลัดกันมาเป็นองค์ประธานในการถวายอาหารแด่สงฆ์ซึ่งจัดเป็นประจำที่พระที่นั่งสุทไธสวรรค์ ซึ่งวันที่ทอมสันได้ไปถ่ายภาพที่นั่นเป็นเวรของพระองค์เจ้าทองแถมถวัลยวงศ์

ฝีมือลงสี โดย  คุณหนุ่มสยาม  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 30 ม.ค. 15, 07:08

จากภาพถ่ายขุนนางท่านหนึ่ง เห็นเบื้องลึกการถ่ายทำแล้วอึ้ง นี่ท่านเล่นจัดฉากกันกลางถนนเลย


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.071 วินาที กับ 20 คำสั่ง