เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 20144 นางในอยู่ไหนกัน: เขตฝ่ายในของจีนสมัยราชวงศ์ชิง
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 08 ม.ค. 15, 21:24

คำพูดของจีนเกี่ยวกับจำนวนนางในวังจีน คือ “นางงามในวังใน ๓๐๐๐ นาง” (后宫三千佳丽:hou gong san qian jia li) กับอีกคำหนึ่งพูดเพื่อบรรยายจำนวนอาคารและหมู่พระสนม คือ “สามพระตำหนักหกหมู่เรือน ๗๒ พระสนม” (三宫六院 七十二妃:san gong liu yuan qi shi er fei)แต่เอาเข้าจริงก็อาจจะมากกว่าน้อยก็กว่า แต่อย่างน้อยในราชวงศ์ชิงก็น้อยกว่า คือ พระสนม และเจ้าจอม เท่าที่มีบันทึก มีประมาณ ไม่เกิน ๑๐๐ คน โดยมากจะเป็นตัวเลขระหว่าง ๔๐ – ๗๐ คน อาทิ ในสมัยพระเจ้า คังซี มีประมาณ นางในประมาณ ๔๙ คน พระเจ้าหยงเจิ่น มีประมาณ ๓๐ คน พระเจ้าเฉียนหลงมีประมาณ ๔๐ คน นี้คือที่มีการบันทึก ไม่มีการบันทึกคงมีอีกไม่น้อย น่าจะถึงร้อยคน

พระราชวังหลวงของจีน ในเขตพระราชฐานชั้นใน


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 21:27

พระสนมจำนวนมหาศาลนี้จะถูกจัดให้ไประทับในเขตฝ่ายในของวังหลวง โดยพระสนมในรัชกาลปัจจุบันจะประทับในเขตหมู่ตำหนักตะวันออกและตะวันตก ๖ ตำหนัก (东西六宫: dong xi liu gong) จริงๆ ไม่ได้มีแค่ ๖ ตำหนัก แต่มี ๑๒ ตำหนัก แต่ด้วยความที่แบ่งข้างละ ๖ เลยเรียก ๖ ตำหนักกันเรื่อยมา

หมู่ตำหนักทั้ง ๑๒ นี้จะอยู่ขนาบข้างพระตำหนักทั้งสาม (三宫: san gong) งามไสว ลดระเบียบเรียงชั้นเป็นหลั่นไป อันได้แก่พระตำหนักเฉียนชิงกง ซึ่งเป็นที่ประทับของฮ่องเต้ พระตำหนักคุนหนิงกง ซึ่งเป็นที่ประทับของฮองเฮา พระที่นั่งเจียวไท่กงที่เป็นเก็บรักษาพระราชสมบัติอันมีค่า ทั้งนี้การสร้างวังให้มีพระตำหนักที่ประทับสำหรับฮ่องเต้ ๓ องค์และมีตำหนักให้เหล่าสนมกำนัลอาศัยอีก ๖ ตำหนักไว้ซ้ายขวาของพระตำหนักที่ประทับ เป็นธรรมเนียมมาตั้งแต่ก่อนสมัยราชวงศ์ชิง โดยปรากฎครั้งแรกในบันทึกธรรมเนียม (礼记: li ji) ซึ่งเขียนตั้งแต่สมัยราชวงศ์ฮั่น

ภาพซีกหนึ่งของหมู่ตำหนักทั้งหก ที่ขนาบของพระตำหนักที่ประทับของฮ่องเต้ และฮ่องเฮา


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 21:34

ตำหนักทางตะวันออก ๖ ตำหนัก (东六宫:dong liu gong)ประกอบด้วยตำหนักจิงเหรินกง ตำหนังจงชุยกง ตำหนักเฉิงเฉียนกง ตำหนักจิงหยางกง ตำหนักหยงเหอกง และตำหนักหยานซีกง และตำหนักตะวันตก ๖  ตำหนัก (西六宫:xi liu gong)ประกอบด้วย ตำหนักชูซิวกง ตำหนักอี้คุนกง ตำหนักฉางชุนกง ตำหนักหยงโซวกง ตำหนักชีเชียงกง ตำหนักเซียนฟูกง ตำหนักทั้ง ๖ เหล่านี้ จะประกอบด้วยเรือนทั้งหมด ๘ หลัง โดยในแปดหลังนี้จะมีเรือนประธานเป็นเอก ๑ หลัง บวกลบคูณหารแล้ว สรุปในวังจะมีอาคารหลักให้ฝ่ายในของฮ่องเต้รัชกาลปัจจุบันอาศัยได้ทั้งหมด ๙๖ หลังไม่นับอาคารอื่นๆในวังอีก

ภาพอีกซีกหนึ่งของหมู่ตำหนัก


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 21:38

สรุปแล้ว มีพระสนมชั้นสูงรวมเป็น ๑๓ องค์ แต่ปรกติแล้วมักจะไม่ครบ ๑๓ เสียทีเดียว ตั้งกันเรื่อยๆ จะครบก็ได้ แต่อย่าเกิน เว้นเสียแต่ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าได้ยศสูงขึ้น หรือไม่ก็สิ้นชีวิตไปแล้ว เลยตั้งขึ้นมาอีกได้ ดังนั้น ช่วงแรกๆใครได้ตำแหน่งก่อนก็เข้าไปอยู่เป็นเจ้าของหมู่ตำหนักก่อน ถ้าใครเกิดซวยดันได้มาเป็นตำแหน่งท้ายๆ โดยเฉพาะเป็นตำแหน่งผินคนสุดท้าย ก็รับกรรมไปไม่ได้เป็นเจ้าของตำหนัก ต้องไปอาศัยเขาอยู่ หรือไม่ก็ไปอยู่ที่ตำหนักอื่นที่ไม่ใช่ ๑๒ ตำหนักนี้ โดยพระสนมศักดิ์สูงเหล่านี้จะประทับในตำหนักประธานของหมู่ตำหนักและเป็นประธานมีอำนาจปกครองหมู่ตำหนักของตน

ภาพนางในสมัยราชวงศ์ชิง จากภาพน่าจะเป็นพระสนมชั้นสูง กับนางข้าหลวง


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 21:42

คราวนี้มาถึงพวกเจ้าจอมที่มีจำนวนไม่จำกัด ไม่ใช่พระสนมชั้นสูง เรียงลำดับจากสูงไปต่ำ ได้แก่

๑.   กุ่ยเหริน (贵人: gui ren)

๒.   ฉางจ้าย (常在: chang zai)

๓.   ตาอิ้ง (答应: da ying)

นางในชั้นรองนี้แยกย้ายไปอยู่ตามเรือนบริวารในหมู่ตำหนักทั้ง ๑๒ นั้น ซึ่งผู้ที่อาศัยอยู่ในหมู่ตำหนัก จะต้องเชื่อฟังท่านเจ้าของตำหนัก เจ้าของตำหนักอาจจะว่ากล่าวตักเตือน ดุด่า ตบตี เรื่อยไปจนถึงชวนกินข้าว ชวนนั่งเล่นไผ่นกกระจอก ไผ่ตอง ปักผ้า ทำขนม เลี้ยงหมาเลี้ยงแมว ฯลฯ แล้วแต่อัธยาศัยเจ้าของตำหนักจะน่ารักแค่ไหน มีเรือน ๙๖ หลังให้อยู่แบ่งๆกันไป ส่วนบริวารของนางในทั้งหลายก็จะอาศัยร่วมอยู่ในเรือนของนางในนั้นเอง หรือไม่ก็กระจายพักในส่วนที่พักของขันทีและข้าหลวง


ภาพนางใน น่าจะอายุไม่มาก คงเป็นนางในชั้นรอง เป็นเจ้าจอมสาวๆ



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 21:45

ส่วนพระสนมของรัชกาลก่อน หลังจากสิ้นรัชกาลแล้วต้องย้ายออกจากหมู่ตำหนักตะวันออกตะวันตกทั้ง ๑๒ ตำหนัก แล้วย้ายไปอยู่ในหมู่ตำหนักแถบทิศตะวันตกเฉียงเหนือของพระราชวังหลวง อาทิ ตำหนักชือหนิงกง ตำหนักโซ่วคังกง ตำหนักโซ่วอันกง ตำหนักอิงฮัวกง เป็นต้น ตำหนักชือหนิงกงนี้ฮองไทเฮาจะประทับ แต่ว่าพระสนมที่มีพระโอรสธิดาอาจจะทูลลาออกไปร่วมประทับกับพระโอรสธิดานอกวังได้ เว้นแต่พระธิดาจะอภิเษกกับเจ้านายที่อยู่ชายแดนอาทิเขตมองโกเลีย อันนั้นก็เกินกว่าพระมารดาจะตามไปประทับร่วม

ภาพตำหนักชือหนิงกง และเขตตำหนักในบริเวณตะวันตกเฉียงเหนืออันเป็นที่ประทับของพระสนมในรัชกาลก่อน



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 21:49

พระสนมรัชกาลก่อนนี้ถ้าไม่ประทับในวังหลวง ก็จะไปประทับนอกวังหลวง โดยประทับตามพระราชวังแห่งต่างๆที่สร้างไว้เป็นที่เสด็จประพาส ดังพระราชวังฤดูร้อนแห่งต่างๆ หรือไม่อีกทีก็ทูลลาขอกลับไปอยู่กับญาติ แต่กรณีนี้เกิดขึ้นได้น้อย ไม่เช่นนั้นก็ทูลลาออกไปบวชอยู่ในวัดหลวงเป็นนางชีจนวันตาย

ภาพพระราชวังฤดูร้อนที่เหล่าพระสนมรัชกาลก่อนย้ายไปประทับนอกวังหลวง


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 21:52

อย่างไรก็ตามพึงระลึกว่า พระตำหนักและตำหนักต่างๆนี้ใช่ว่าจะต้องประทับตายตัว อาทิ ไทเฮาและฮ่องเฮาอาจจะไม่ประทับในหมู่ตำหนักที่เป็นตำหนักประจำตำแหน่ง อาจจะประทับในตำหนักใดตำหนักหนึ่งที่โปรดปราน อาทิ หรือพระสนมที่เป็นที่โปรดปรานเป็นพิเศษ หรือกระทั่งเจ้าจอมตำแหน่งต่ำๆอาจจะได้อยู่ในหมู่ตำหนักดีๆ เลิศๆ ถ้าหากเป็นที่โปรดปรานของฮ่องเต้ สรุปง่ายๆคือ จะอยู่สบายเพียงใดขึ้นอยู่กับว่าทำบุญมาดีแค่ไหน ถ้าพ่อแม่สกุลสูง เข้าวังปุ๊บ ตำแหน่งก็อาจจะสูงปั๊บ ได้อยู่ในเรือนหลวงขนาดมโหราฬ ปกครองเหล่านางในเล็กๆทั้งปวง หรือถ้าพ่อแม่สกุลไม่สูงแต่เป็นที่โปรดปรานก็อาจจะได้รับอภิสิทธิ์เช่นกัน แต่อาจจะต้องค่อยๆไต่เต้าขึ้นมาหน่อย พอสิ้นรัชกาล ถ้าตำแหน่งดี ก็ได้ที่อยู่ใหม่ใหญ่ไม่แพ้ของเดิมแล้วถ้ามีลูก ก็ไปครองวังข้างนอกอยู่จนวันตาย

ภาพวังกงชินหวาง (恭王府:gong wang fu) ตัวอย่างวังพระโอรสที่พระมารดาจะตามไปประทับอยู่อย่างผาสุขในวัยชรา



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 21:59

แต่ถ้าไม่ ก็อยู่ในเรือนน้อยหลืบๆไปจนสิ้นรัชกาล ก่อนจะได้ย้ายไปอยู่วังที่ใช้แปรพระราชฐาน ไม่เช่นนั้นก็ย้ายออกไปอยู่วัดเป็นนางชีหลวง

เลือกเอาละกัน

บรรยากาศเรือนหลังน้อยท้ายวัง กันซีอู๋ซัว (亁西五所:gan xi wu suo)



คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 09 ม.ค. 15, 07:39


ภาพนางในสมัยราชวงศ์ชิง จากภาพน่าจะเป็นพระสนมชั้นสูง กับนางข้าหลวง

ภาพชาวบ้านแต่งงานธรรมดาครับ ถ่ายโดยจอห์น ทอมสันครับ คุณหาญ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 09 ม.ค. 15, 07:43

ส่วนภาพนี้เป็นสตรีชั้นสูง ๒ นางคือ ภรรยาของอ่องกุง (องค์ชายกุง พระราชบิดาในพระจักรพรรด์กวงสูว์) ครับ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 09 ม.ค. 15, 12:56


ภาพนางในสมัยราชวงศ์ชิง จากภาพน่าจะเป็นพระสนมชั้นสูง กับนางข้าหลวง

ภาพชาวบ้านแต่งงานธรรมดาครับ ถ่ายโดยจอห์น ทอมสันครับ คุณหาญ

ขอบคุณครับ แต่ว่าจากการแต่งกายเป็นเสื้อลายทรงกลมเป็นลายบังคับสำหรับเชื้อพระวงศ์ ไม่น่าจะเป็นชุดแต่งงานทั่วไปของชาวบ้านธรรมดาครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 10 ม.ค. 15, 13:49

สรุปแล้ว มีพระสนมชั้นสูงรวมเป็น ๑๓ องค์ แต่ปรกติแล้วมักจะไม่ครบ ๑๓ เสียทีเดียว ตั้งกันเรื่อยๆ จะครบก็ได้ แต่อย่าเกิน เว้นเสียแต่ผู้ดำรงตำแหน่งก่อนหน้าได้ยศสูงขึ้น หรือไม่ก็สิ้นชีวิตไปแล้ว เลยตั้งขึ้นมาอีกได้ ดังนั้น ช่วงแรกๆใครได้ตำแหน่งก่อนก็เข้าไปอยู่เป็นเจ้าของหมู่ตำหนักก่อน ถ้าใครเกิดซวยดันได้มาเป็นตำแหน่งท้ายๆ โดยเฉพาะเป็นตำแหน่งผินคนสุดท้าย ก็รับกรรมไปไม่ได้เป็นเจ้าของตำหนัก ต้องไปอาศัยเขาอยู่ หรือไม่ก็ไปอยู่ที่ตำหนักอื่นที่ไม่ใช่ ๑๒ ตำหนักนี้ โดยพระสนมศักดิ์สูงเหล่านี้จะประทับในตำหนักประธานของหมู่ตำหนักและเป็นประธานมีอำนาจปกครองหมู่ตำหนักของตน

พยายามเปรียบเทียบตำแหน่งนางในของจีนกับสยาม
ตำแหน่งที่คุณหาญบิงเรียกว่า "พระสนมชั้นสูง"  ของไทยเห็นจะเป็นระดับพระมเหสีรองๆลงไปจนถึงพระสนมเอกอย่างเจ้าดารารัศมี  เพราะว่ามีสิทธิ์เป็นเจ้าของ(หมู่)ตำหนัก  คือมีที่อยู่เป็นสิทธิ์ของตัวเอง

อ้างถึง
๑.   กุ่ยเหริน (贵人: gui ren)
๒.   ฉางจ้าย (常在: chang zai)
๓.   ตาอิ้ง (答应: da ying)

พวกนี้น่าจะเทียบได้กับเจ้าจอมโดยทั่วไปของไทยตั้งแต่ต้นรัตนโกสินทร์จนถึงรัชกาลที่ ๕

ธรรมเนียมเจ้าจอมกราบถวายบังคมลาไปอยู่ข้างนอกกับพระราชโอรสที่เจริญพระชนม์แล้ว    ธรรมเนียมในวังของไทยก็ทำได้เช่นกัน
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.048 วินาที กับ 20 คำสั่ง