เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
อ่าน: 8081 วังซ่งเหมยหลิง (美龄宫: mei ling gong)– ประวัติศาสตร์จากหลายมุมมอง
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 02 ม.ค. 15, 21:32

ที่ปรึกษาสมัยปริญญาโทชวนไปปีนเขาฉลองวันหยุด เขาที่ว่าเรียกว่าเขาม่วงทอง ภาษาจีนเรียกว่า "จือจินซาน" (紫金山:zi jin shan) ชาวจีนโบราณถือว่าสีม่วงสีทองเป็นสีศักดิ์สิทธิ์ เขาลูกนี้มีตำนานว่ามีเมฆสีม่วงและสีทองมาปกคลุม เลยเรียกว่าเขาม่วงทองสืบมา

การเดินทางไปเขาข้าพเจ้าขึ้นรถเมลล์ไปกับอาจารย์ พอไปถึงตีนเขา จริงๆมีรถขึ้น แต่อาจารย์บอกว่าเดินไปเหอะ สนุกดี
อืม ขึ้นเขา ๔ กิโลเมตร เดินก็เดิน


ภาพทิวเขา


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 21:34

ระหว่างเดินขึ้นเขา เชิงเขามีพิพิธภัณฑ์จวนซ่งเหมยหลิง หรือเรียกภาษาจีนว่า "เหมยหลิงกง"  (美龄宫:mei ling gong) แปลตรงๆว่า "วังเหมยหลิง" สื่อสะท้อนว่าจวนแห่งนี้หรูหรามหาศาลแบบวัง จริงๆแล้วที่นี้มีชื่อว่า "อาคารที่พักประธานสาธารณรัฐ" (国民政府主席官邸)


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 21:41

อาคารแห่งนี้สร้างตามแบบสถาปัตยกรรมยุคก๊กหมิ่นตั๊ง เป็นตึกครึ่งจีน ครึ่งฝรั่ง ปรกติแล้วจะมีหลังคาเป็นจีน ตัวตึกเป็นฝรั่ง เรียกอาคารแบบนี้ว่า "กงชื่อ" (宫式: gong shi) แปลว่าอาคารแบบวัง สร้างกันสนุกสนานทั่วไปในเมืองจีนยุคนั้น

ภาพอาคารยุคก๊กหมิ่นตั้ง อาคารหอประชุมมหาวิทยาลัยหนานจิง (南京大学)


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 21:44

หลังนี้เป็นข้าราชการตัวอาคารกระเบื้องหลังคาเป็นแบบกระเบื้องลูกฟูกจีน มีเขียวเข้ม สีนี้ตามกำหนดชั้นอาคารจีนในสมัยราชวงศ์ชิง จะเป็นสีหลังคาของวังเจ้านายหรือขอาคารชั้นผู้ใหญ่

หลักสีหลังคายุคราชวงศ์ชิงมีดังนี้ สีหลังคาชั้นสูงสุดคือสีเหลืองใช้ประดับวังหลวง หรือวัด ไม่ก็สุสานของกษัตริย์ ชั้นรองลงมาสีเขียว ใช้ประดับวังเจ้านาย หรือจวนขุนนางชั้นสูงสุด ชั้นต่ำสุดสีดำ ใช้ได้ตั้งแต่วังหลวงยันบ้านคนธรรมดา ไม่มีกำหนด สีฟ้าเป็นสีพิเศษใช้ประดับเฉพาะอาคารบูชาฟ้า หอบวงสรวงบรรพบุรุษ


สีหลังคาสีเขียวเข้ม


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 21:51

ส่วนกระเบื้องประดับและลายตบแต่งทำเป็นรูปหงษ์เป็นหลัก สะท้อนแว่วๆว่าใครใหญ่ เชิงหลังคามีสัตว์มงคลประดับสามตัว มีเซียนขี่ไก่นำหน้า ตามแบบอาคารขุนนางชั้นสูงสมัยราชวงศ์ชิง

รายละเอียดเรื่องตุ๊กตาอ่านเพิ่มเติมใน "สัตว์...บนหลังคาจีน"

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=3365.15


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 21:52

ทั้งนี้ลวดลายอาคารทำเป็นลายเลขาคณิตแบบจีนที่ทำเป็นลายมงคลประดับมองไกลๆดูเหมือนฝรั่ง แต่คาน ตามจุดต่างๆทำเป็นลวดลายจีนแบบสวนจือ (旋子彩画) อันเป็นลายแบบขุนนางใช้ประดับอาคาร ผสมลายแบบซูโจว (苏式彩画) ซึ่งเป็นลายที่ขุนนางและผู้มีอันจะกินจะใช้ได้ ยังดีที่ไม่ได้ใช้ลายแบบเหอซี (和玺彩画编辑) แบบวังหลวง

ลายประดับอาคาร




บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 22:08

ลายเหอซี (和玺彩画编辑) ซึ่งมีศักดิ์สูงที่สุดใช้ประดับวังหลวง กรอบลายเป็นรูปสีเหลี่ยมหยักๆ เขาบอกเหมือนหนังสือโบราณพับๆ ลงรักปิดทองสวยงาม ไม่ใช้สีดำตัดขอบ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 22:11

สวนจือ (旋子彩画)เป็นลายที่ใช้ตามอาคารราชการ วัด วังเจ้า ใช้ได้หมด ลักษณะลายคล้ายๆกับลายเหอซี แต่ต่างกันที่ลายกรอบจะเป็นโค้งๆ เหมือนก้อนเมฆ ฐานานุศักดิ์ผู้สร้างหรือสถานที่ใช้งานมีศักดิ์สูงใช้สีทองประดับ ใช้สีทองตัดขอบลายได้ แต่ว่าทั่วไปใช้สีดำตัดขอบ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 22:12

ลายแบบซูโจว (苏式彩画)เป็นลายอิสระ ใช้ได้ทุกคน ทุกระดับชั้น วาดเป็นลายธรรมชาติ นกร้อง แมลงปอบิน หนังสือ แจกัน คนเต้นระบำ กรอบจะโค้งหรืออย่างไรก็ตามแต่ใจ ไม่มีกฎบังคับ


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 22:20

พิเศษสุดคือหลังคาอาคาร หนังสือบอกว่าแบบนี้ถือเป็นเป็นหลังคาสองชั้น(重檐)อันเป็นแบบวังหลวงจีน ซึ่งใช้เฉพาะอาคารชั้นสูงสุดเท่านั้น เช่นท้องพระโรงในวังหลวง พระที่นั่งไท่เหอเตี่ยน (太和殿)

หลังคาสองชั้นแบบวังซ่งเหมยหลิง กับวังหลวงพระที่นั่งไท่เหอเตี่ยน (太和殿)



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 22:22

ตัวตึกมีสามชั้น ชั้นใต้ถุนเป็นที่พักคนใช้ ชั้นสองเป็นที่รับแขก ห้องทานอาหาร ห้องชมภาพยนตร์ ห้องนั่งเล่น ชั้นสองเป็นห้องนอนใหญ่ (ซ่งเหมยหลิงนอน) ห้องนอนน้อย (เจียงไคเช็คนอนห้องนี้) ห้องทำงาน ห้องทานอาหารน้อย และโบส์ถน้อย (ซ่งเหมยหลิงเป็นคริสต์)

ภาพด้านข้างอาคารที่มีทางรถขับขึ้นไปเทียบหน้าตึก


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 22:24

ชั้นใต้ถุน มีห้องครัว ห้องเตรียมอาหาร ห้องคนรับใช้ ห้องเลขา ที่พักทหาร ห้องซักล้าง

ภาพห้องเตรียมอาหาร


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 22:47

ชั้นสองเป็นที่รับแขก ห้องอาหารสำหรับจัดงานเลี้ยงรับรอง ห้องชมภาพยนตร์ ห้องนั่งเล่น

ภาพห้องรับแขกและห้องอาหารสำหรับจัดงานเลี้ยง



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 22:48

ชั้นสองเป็นห้องนอนใหญ่ (ซ่งเหมยหลิงนอน) ห้องนอนน้อย (เจียงไคเช็คนอนห้องนี้) ห้องทำงาน ห้องทานอาหารน้อย และโบส์ถน้อย (ซ่งเหมยหลิงเป็นคริสต์)

ภาพห้องนอนใหญ่ ห้องทำงาน



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 02 ม.ค. 15, 22:52

ภาพห้องอาหารน้อย พร้อมทางเดินต่างระดับขึ้น เป็นห้องอาหารที่สามีภรรยาจะท่านร่วมกันเมื่อไม่มีแขกสำคัญ หรือจะเชิญแขกสนิทชิดเชื้อมารับประทานร่วมด้วยเท่านั้น

ทั้งนี้ ห้องอาหารน้อยจะมีลิฟท์น้อยๆ สำหรับส่งอาหารจากใต้ถุนขึ้นชั้นบน



บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.063 วินาที กับ 19 คำสั่ง