เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1]
  พิมพ์  
อ่าน: 5444 สวัสดีปีแพะ - สามแพะก่อเกษม: ”ซานหยางไคไท่” (三羊开泰: san yang kai tai)
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



 เมื่อ 31 ธ.ค. 14, 19:47

ในภาษาจีนจะมีรูปภาพแพะสามตัว ยืนอยู่ท่ามกลางทุ่งหญ้า หรือไม่ก็ดอกไม้ที่ผลิบาน คำบรรยายรูปนี้เรียกว่า “สามแพะก่อเกษม”ออกเสียงเป็นภาษาจีนว่า ”ซานหยางไคไท่” (三羊开泰: san yang kai tai)


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 31 ธ.ค. 14, 19:49

เหตุที่แพะสามตัวอยู่รวมกันแล้วก่อความสุข เป็นเพราะคำว่าแพะในภาษาจีน ออกเสียงว่า “หยาง” (羊:yang)  พ้องเสียงกับคำว่า “หยาง” (阳:yang) ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ พลังขั้วบวก  ซึ่งคำนี้มักจะใช้นำไปบรรยายเกี่ยวกับพลังงานต่างๆ บรรยายตัวเลขในการบ่งฤดูกาล หรือฤกษ์ยามเป็นต้น

ในภาษาจีนเดือนอ้าย (正月:zheng yue) อันเป็นเดือนแรกของปีแบบจันทรคติ เลขกำหนดคือมีพลังขั้วบวก ๓ พลัง หรือเรียกว่า “ซานหยาง” (三阳:san yang) ถือเป็นเดือนเริ่มต้นฤดูใบไม้ผลิ




อักษร “หยาง” (羊:yang) ที่แปลว่าแพะ

อักษร “หยาง” (阳:yang) ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ พลังขั้วบวก



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 31 ธ.ค. 14, 19:50

คัมภีร์ “อี้จิง” (易经:yi jing) แปลเป็นไทยตรงๆว่า “คัมภีร์แห่งการเปลี่ยนแปลง” ในคัมภีร์นี้ มีการกำหนดวันเวลา รวมถึงเลขยามของปี ตามปฏิทินจันทรคติของจีน ทั้งนี้เพื่อบ่งเลขยามมงคล จึงมีการใช้คำว่า “หยาง” (阳) ที่แปลว่าดวงอาทิตย์ หรือพลังขั้วบวก มาใช้บ่งฤกษ์ยาม

ภาพยันต์แบบเหลี่ยม สัญลักษณ์คัมภีร์อี้จิง


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 31 ธ.ค. 14, 19:55

นอกจากจะหมายถึงฤดูใบไม้ผลิแล้ว ตัวเลข ๓ พลังขั้วบวก หากนับตามการดูดวงแบบจีนที่เรียกว่าตำรายันต์แปดเหลี่ยม (八卦:ba gua) หากนำยันต์แบบเหลี่ยมสองตัวมาคูณกัน จะได้ช่วงเวลาต่างๆ ๖๔ ช่วงเวลา เรียกว่า “ตำรา ๖๔ เหลี่ยม” (六十四卦:liu shi si gua) ซึ่งจะมีฤกษ์ยามต่างกันไป ช่วงเวลา


สัญลักษณ์ยันต์แปดเหลี่ยม กับยันต์ ๖๔ เหลี่ยม



บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 31 ธ.ค. 14, 19:57

ตัวเลข ๓ พลังขั้วบวก หรือ “ซานหยาง” ถือว่าเป็นฤกษ์งามยามดี เรียกว่าฤกษ์ “ไท่กว้า” (泰卦:tai gua) แปลเป็นไทยได้ว่า “ฤกษ์เกษม” มีความสุขสงบ  




สัญลักษณ์ ฤกษ์ “ไท่กว้า” (泰卦:tai gua)


บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 31 ธ.ค. 14, 19:59

ด้วยเหตุนี้ชาวจีนแต่โบราณ จึงได้มีคำกล่าวว่า “สามพลังขั้วบวกก่อเกษม” ออกเสียงเป็นภาษาจีนว่า “ซานหยางไคไท่” (三阳开泰:san yang kai tai) เพื่อที่จะใช้รูปแทนคำพูดมงคลนี้  จึงนำรูปแพะสามตัวอยู่ในทุ่งดอกไม้ฤดูใบไม้ผลิมาใช้เป็นสัญลักษณ์ เพราะว่า “แพะ” และ” พลังขั้วบวก” ล้วนออกเสียงว่า “หยาง” ถือว่าพ้องเสียงกัน ภายหลังใช้กันนานเข้า บางทีก็เขียนคำว่าแพะ แทนคำว่าพลังขั้วบวกเลย “三羊开泰” แต่ก็ยังคงมีความหมายเดียวกัน




คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
han_bing
นิลพัท
*******
ตอบ: 1622



ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 31 ธ.ค. 14, 20:02

ดังที่กล่าวในข้างต้น รูปแพะสามตัวกลางทุ่งดอกไม้บานหมายถึงการมาของฤดูใบไม้ผลิ แต่จริงๆแล้วยังมีความหมายอย่างอื่นๆอีก นั้นคือ การสิ้นสุดของความทุกข์ยาก ความหนาวเหน็บ เป็นการเริ่มต้นของโชคลาภและความสุขทั้งปวง

ขอให้ทุกท่านสุขีในปีแพะ

สามแพะน้อยยื่นเล่นกลางทุ่งหญ้า    ริมธาราไหลเอื่อยเรื่อยผ่องใส

แพะน้อยวิ่งเริงเล่นเล่นเริงใจ      ความทุกข์ใดไป่ได้มาพ้องพาน

ขอให้ปีแพะนี้จงมีโชค              เจริญโภคทรัพย์ให้พิศาล

คิดหวังสิ่งในในดวงมาน      จงพบพานเกิดได้ดังใจจินต์

ขออายุยืนยิ่งยิ่งยืนแล้ว      ให้ผ่องแผ้วผ่องใสไป่มีสิ้น

ให้ยืนมั่นดั่งผืนแผ่นด้าวดิน      บ่รู้สิ้นสูญไซร้ฤาหายนา

ขอวรรณะจงรุ่งดั่งมุ่งมาด      เลิศพิลาศดั่งสูรย์ส่งแสงหนา

แสงสิผ่องอำไพทั่วนภา      ทั่วท้องฟ้าใดเล่าจะเท่าทัน

ขอสุขะจงมากดั่งสายชล      อันเปี่ยมล้นในแห่งห้วงมหรรณพ์

ไหลเนืองนองอยู่มากทุกคืนวัน      บ่มีผันเปลี่ยนไซร้ไม่เคยแปร

ขอพละอยู่ยั้งเทียบอากาศ      บ่มีคลาดคลายหายสลายแม้

กาลจะเปลี่ยนเท่าใดลมฤาแปร      คงพัดแม้กาลผ่านเท่านานเอย   


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 31 ธ.ค. 14, 22:08

ร่วมด้วยช่วยเสริม

ตัว ยังมีความหมายว่า "ยิ่งใหญ่" และใช้เขียนในความหมายว่า "ไทย" ด้วย (泰国 = ประเทศไทย)  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 03 ม.ค. 15, 17:26

สวัสดีปีแพะ แด่ชาวเรือนไทยทุกท่านค่ะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 18 ก.พ. 15, 21:29

ภาพวาดฝีพระหัตถ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นภาพแพะ ๓ ตัวพร้อมลายพระหัตถ์ภาษาจีน 三羊开泰 - ซานหยางไคไท่ มีความหมายอันเป็นมงคลว่า “แพะสามนำสุข”


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 19 ก.พ. 15, 08:43

นายอมร กิจเชวงกุล รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร ประธานแถลงข่าวการจัดงาน “ตรุษจีนเยาวราช ประจำปี ๒๕๕๘” กล่าวว่าการจัดงานตรุษจีนเยาวราช ๒๕๕๘ ได้เตรียมจัดอย่างยิ่งใหญ่ ภายใต้แนวคิด “มะแมเบิกฟ้า เฉลิมหล้ามหามงคล พูนผลเยาวราช” เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงมีพระชนมายุครบ ๖๐ พรรษา และการครบรอบ ๔๐ ปีการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตไทยจีน รวมถึงการก้าวเข้าสู่ปีที่ ๑๑ ความร่วมมือด้านวัฒนธรรมกับการท่องเที่ยวระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยกับกระทรวงวัฒนธรรมจีน

สำหรับปีนี้มี “แพะ”เป็นสัญลักษณ์มงคลของงาน โดยกระทรวงวัฒนธรรมจีนได้ทูลเกล้าฯ ถวายแพะหยกขาว ๓ ตัวแกะสลักบนหินหยกก้อนเดียวกันสูง ๑.๖ เมตร หนัก ๓ ตัน ตั้งไว้ที่ซุ้มประตูเฉลิมพระเกียรติฯ วงเวียนโอเดียน ให้ประชาชนได้ชื่นชม ซึ่งแพะในความเชื่อของชาวจีนถือเป็นสัตว์มงคล และเป็นสัญลักษณ์แห่งความโชคดี ความรุ่งเรือง และความสำเร็จ จะเรียกว่า “ซ่าน หยาง ไข้ไท่” ซ่าน หมายถึง ๓ หยาง หมายถึง แพะ ไข้ไท่ หมายถึง สิริมงคล ร่มเย็น

ข่าวจาก สำนักข่าวแห่งชาติ


http://youtube.com/watch?v=ibwwxjZxvtY#ws


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 20 ก.พ. 15, 06:47

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงฉลองพระองค์คอจีนแขนยาวสีแดง ปักภาพวาดฝีพระหัตถ์แพะสามนำสุขสีทองหน้าพระอุระซ้าย ทรงเป็นประธานเปิดงานตรุษจีนเยาวราชปี ๕๘ ประทับรถรางพระที่นั่ง ทรงโบกพระหัตถ์ทักทายประชาชนที่มาร่วมงาน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.09 วินาที กับ 19 คำสั่ง