เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14
  พิมพ์  
อ่าน: 30432 จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 180  เมื่อ 30 มี.ค. 15, 10:05

อีกภาพ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 181  เมื่อ 30 มี.ค. 15, 10:08

         ไม่ว่าเราจะมาจากธุลีดาวดวงไหนในฟ้ากว้าง ทางสุดท้ายที่เราต้องกลับคือหวนคืนเป็นธุลี 

(แปลงแต่งเติมจากเนื้อเพลง Woodstock ที่สมาชิกเรือนไทยบางคนน่าจะเคยคุ้น,ฮัมได้
                   We are stardust We are golden
         And we've got to get ourselves Back to the garden)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 182  เมื่อ 31 มี.ค. 15, 12:49

เห็นคำว่า "stardust" แล้วนึกถึงเพลงโฆษณาภาพยนตร์ที่ว่า

"ละอองดาว ละอองดาว ละอองดาว ของหนุ่มสาวที่คาเธ่ย์"  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 183  เมื่อ 31 มี.ค. 15, 15:06

จากนิยายดังสู่หนังปี 2507 ยิ้ม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 184  เมื่อ 31 มี.ค. 15, 15:11

         มีเพลงละอองดาวประกอบหนัง,ละคร แต่ขอเลือกเพลง Stardust จากเสียงอมตะ
ของ Nat King Cole

         
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 185  เมื่อ 16 ธ.ค. 15, 10:13

ข่าวดาราศาสตร์ไทยในระดับโลก

           ดาวประดับฟ้าได้ชื่อไทยว่า ชาละวัน,ตะเภาแก้ว และ ตะเภาทอง จากพลังการโหวตของคนไทย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 186  เมื่อ 16 ธ.ค. 15, 10:14

         47 หมีใหญ่(47 Ursae Majoris; HIP 53721) หรือต่อไปนี้จะมีชื่อสามัญว่า ชาละวัน(Chalawan)
และดาวบริวารทั้ง 2 ดวง ซึ่งก็คือ 47 หมีใหญ่ บี และ 47 หมีใหญ่ ซี หรือ ตะเภาทอง(Taphao Thong) และ
ตะเภาแก้ว(Taphao Kaew) ตามลำดับ เป็นหนึ่งในบันทึกหน้าใหม่ของวงการดาราศาสตร์ไทย

เชิญอ่านรายละเอียดได้ที่นี่ ครับ               

http://thaiastro.nectec.or.th/nameexoworlds/


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 187  เมื่อ 16 ธ.ค. 15, 10:16

FB สมาคมดาราศาสตร์ไทย

        http://www.facebook.com/ThaiAstronomicalSociety/?fref=nf

ภาพจาก starlab.ru


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 188  เมื่อ 16 ธ.ค. 15, 11:18

         อ่านข่าวแล้วชวนให้นึกถึงบทสักวาดาวจระเข้ ในแบบเรียนชั้นประถม. กลุ่มดาวจระเข้ของไทยนี้
ฝรั่งมองเป็นดาวหมีใหญ่ Ursae Majoris

จากสมาชิกหมายเลข 936681 @ http://pantip.com/topic/31986330


บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 189  เมื่อ 16 ธ.ค. 15, 11:29

ในฐานะชาวพิจิตร ผมหละดีจั๊ย ดีใจ แต่ก็มีข้อสงสัยจริงๆ ว่า ในเมื่อเป็นดาวในกลุ่มดาวจระเข้ เหตุใดจึงไม่ใช้ตัวละครฝ่ายจระเข้ทั้งหมด เป็น ชาละวัน เลื่อมลายวรรณ วิมาลา ซึ่งมีเหตุผลกว่า ที่จะเป็นสองตะเภาธิดาเจ้าเมืองพิจิตร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 190  เมื่อ 16 ธ.ค. 15, 12:02

อ่านข่าวแล้วชวนให้นึกถึงบทสักวาดาวจระเข้ ในแบบเรียนชั้นประถม

สักวาดาวจระเข้ก็เหหก
ศีรษะตกหันหางขึ้นกลางหาว
เป็นคืนแรมแจ่มแจ้งด้วยแสงดาว
น้ำค้างพราวปรายโปรยโรยละออง
ลมเรื่อยเรื่อยเฉื่อยฉิวต้องผิวเนื้อ
ความหนาวเหลือทานทนกมลหมอง
สกุณาดุเหว่าก็เร่าร้อง
ดูแสงทองจับฟ้าขอลาเอย
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 191  เมื่อ 16 ธ.ค. 15, 14:59

          สักวานี้อยู่ในแบบเรียนภาษาไทยชั้นประถม เป็นบทสักวาอาขยานที่โรแมนติกเกินวัย(ประถม)
ในเว็บต่างๆ มีบทสักวานี้ที่มีบางคำแตกต่างกันไป

          เวอร์ชั่นนี้มาจาก http://www.slideshare.net/piyarerk/008-4-35905925
ซึ่งเป็นบทเรียนชุดฝึกทักษะการเขียนร้อยกรอง น่าจะถูกต้องกว่าเวอร์ชั่นอื่น

บางเว็บระบุว่าผู้แต่งคือ พระสุนทรโวหาร (ภู่)


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 192  เมื่อ 16 ธ.ค. 15, 15:52

แต่ก็มีข้อสงสัยจริงๆ ว่า ในเมื่อเป็นดาวในกลุ่มดาวจระเข้ เหตุใดจึงไม่ใช้ตัวละครฝ่ายจระเข้ทั้งหมด เป็น ชาละวัน เลื่อมลายวรรณ วิมาลา  

ดาวฤกษ์ 47 Ursae Majoris หรือ ดาวชาละวัน มีดาวเคราะห์เป็นบริวารอยู่ ๓ ดวง คือ 47 Ursae Majoris b ชื่อใหม่คือ ดาวตะเภาทอง และ 47 Ursae Majoris c ชื่อใหม่คือ ดาวตะเภาแก้ว ยังเหลืออีกดวงหนึ่งคือ 47 Ursae Majoris d ยังไม่มีชื่อ เห็นที เลื่อมลายวรรณและวิมาลา จะต้องแย่งชิงตำแหน่งนี้กันละหนอ  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 193  เมื่อ 22 ก.พ. 16, 15:30

          จากข่าวดาราศาสตร์ที่สะเทือนเลื่อนลั่นโลกเรื่องการตรวจจับ คลื่นแรงโน้มถ่วง ได้สำเร็จ
ตามมาด้วยข่าวนี้จากแวดวงดาราศาสตร์ไทย -

          สถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ เปิดเผยผลวิจัยหาชมยาก ปรากฏการณ์หนึ่งในล้าน
ดาวแคระขาวกลืนดาวเคราะห์บริวาร ผ่านกล้องโทรทรรศน์ ณ หอดูดาวแห่งชาติของไทย


http://news.mthai.com/hot-news/general-news/480251.html

         เมื่อนักดาราศาสตร์ไทยและเทศร่วมกันตรวจติดตามปรากฏการณ์นี้ โดยไทยได้ใช้กล้องโทรทรรศน์
สะท้อนแสง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 2.4 เมตร ณ หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติ 7 รอบพระชนมพรรษา ร่วมกับ
กล้องโทรทรรศน์ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เมตร ของมหาวิทยาลัยวอร์ริค ประเทศสเปน

หอดูดาวเฉลิมพระเกียรติที่ดอยอินทนนท์
http://travel.mthai.com 


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 194  เมื่อ 22 ก.พ. 16, 15:49

          ศึกษาติดตามดาวเคราะห์บริวารถูกแรงโน้มถ่วงสลายมวล เมื่อเข้าใกล้ดาวแม่ซึ่งเป็น ดาวแคระขาว
มีชื่อว่า ดาว WD 1145+017 หลังจากพบว่าดาวดังกล่าวมีความสว่างผิดปกติเมื่อเดือนเมษายนปีที่ผ่านมา

---------
          ดาวแคระขาวเป็นดาวเช่นดวงอาทิตย์ที่ก้าวสู่ช่วงสุดท้ายของวิวัฒนาการของดาวที่มีมวลไม่มาก
เมื่อปฏิกิริยาไฮโดรเจนนิวเคลียร์ฟิวชั่นจบลง ดาวจะกลายเป็นดาวแดงยักษ์ เปลือกนอกจะหลุดออกเหลือ
แกนขนาดเท่าโลกกลายสภาพเป็นดาวแคระขาว(ดูเรื่องวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ในความเห็นก่อนหน้านี้)

--------
        ดาว WD 1145+017 ดวงนี้อยู่ห่างจากโลก 570 ปีแสง ในแถบกลุ่มดาว Virgo ถูกค้นพบโดยนาซา

sci-news.com


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 11 12 [13] 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง