เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 30390 จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 135  เมื่อ 23 ก.พ. 15, 09:54

         ชวนแวะกลับบ้านเรามาดูมังกรร่อนนภา จากการแสดงแสง, สี, เมฆ ชุดมังกรพ่นไฟ

(บันทึกจากดาดฟ้าอาคารจอดรถ)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 136  เมื่อ 23 ก.พ. 15, 09:55

ไฟมอดยังเหลือควัน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 137  เมื่อ 23 ก.พ. 15, 09:56

และ
            ต้อนรับปีแพะด้วยดาว Capella: The Goat Star

(Capella - ภาษาละตินและอารบิค แปลว่า แพะตัวน้อย, แพะเพศเมียตัวน้อย)

สมาชิกของกลุ่มดาวสารถี(Auriga)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 138  เมื่อ 23 ก.พ. 15, 09:58

           สุกสกาวเปล่งสเปคตรัมเหมือน แต่สว่างกว่าดวงอาทิตย์ของเรา 17 เท่า

           มองเห็นเป็นดาวดวงเดียว แต่ที่แท้มีถึงสี่(สองคู่) ได้แก่ คู่ดาวยักษ์เหลืองสุกสว่าง
กับคู่ดาวแคระแดงจาง อยู่ห่างจากโลกไปไกล 40 ปีแสง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 139  เมื่อ 24 ก.พ. 15, 14:43

เทศกาลผ่านพ้นแล้วย้อนกลับไปสืบเนื่องเรื่องก่อน -

        *มวลสารระหว่างดาว (Interstellar Medium - ISM) หมายถึง แก๊ส, พลาสมา, ฝุ่น
รวมถึง รังสีแม่เหล็กไฟฟ้า, รังสีอวกาศ, สนามแม่เหล็ก, สนามแรงโน้มถ่วง และ สสารมืด(Dark
Matter มวลส่วนใหญ่ในดาราจักรที่เป็นปริศนาเพราะว่าไม่อาจมองเห็น แต่ การมีอยู่รับรู้ได้ด้วย
อิทธิพลแรงโน้มถ่วงของสสารนี้ที่มีต่อสสารอื่น) ที่กระจายตัวอยู่ในพื้นที่ว่างระหว่างดาว เป็นสสาร
ที่ดำรงอยู่ระหว่างระบบดาวฤกษ์ต่างๆ ในดาราจักร เติมเต็มที่ว่างระหว่างดาวและเชื่อมประสานกลม
กลืนช่องว่างระหว่างดาราจักร

      ภาพทางช้างเผือก ที่เรียงรายด้วยดวงดาวดาษดาแลดูใกล้ชิดกันจนเห็นเป็นแถบเรืองแสงสุกสกาว
มากกว่าเป็นดาวแต่ละดวง แต่ในบางแถบที่ไม่โชนแสง นั่นคือแหล่งที่อยู่ของเมฆฝุ่นหนาแน่นปิดกั้น
แสงจากดาวเบื้องหลัง คือ ภาวะ(ที่ขอ) เรียกว่า แสงสูญระหว่างดาว(interstellar extinction)
เนื่องจากมวลสารนั้นกั้นแสงดาว โดยมีทั้งบดบังเป็นบางส่วนหรือหมดมืดมิด
      ในภาพนี้ยังนำเสนอ ตำแหน่งซากซุเปอร์โนวาใหม่ล่าสุด supernova remnant G1.9+0.3
ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อ 140 ปีก่อนซ่อนอยู่เบื้องหลังฝุ่นที่ใจกลางทางช้างเผือก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 140  เมื่อ 24 ก.พ. 15, 14:51

         99% ของมวลสารนี้เป็นไอออน, อะตอม, โมเลกุลแก๊สที่เจือจางอย่างยิ่ง   ส่วนอีก 1%
เป็นฝุ่นซึ่งมีความหนาแน่นต่ำ
        และในส่วนของแก๊ส, 75% โดยมวลอยู่ในรูปของแก๊สไฮโดรเจน ส่วนอีก 25% เป็นฮีเลียม
กับธาตุหนักบางตัว

     ภาพโดยยานสำรวจรอบโลก แสดงบางส่วนของจานดาราจักรทางช้างเผือก ที่ซึ่ง  10% ของ
สสารที่มองเห็นอยู่ในรูปของแก๊ส นั่นคือ มวลสารระหว่างดาว แลเห็นเป็นปื้นกระจาย ดวงอาทิตย์
ของเราอยู่ย่านเมฆท้องถิ่น(ระหว่างดาว Local Interstellar Cloud) และกำลังเคลื่อนที่จากไป
ส่วนเมฆระหว่างดาวที่อยู่ถัดไปเรียกว่า G-Cloud


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 141  เมื่อ 24 ก.พ. 15, 14:57

          แก๊สที่อยู่กันหนาแน่นจะรวมกันเป็นเมฆโมเลกุลไฮโดรเจนที่เย็นจัด ในขณะที่แก๊สซึ่งอยู่
เป็น อนุภาคไฮโดรเจนจะมีประจุร้อนแรง เนื่องจากได้รับรังสี ultraviolet จากดาวรุ่งร้อนแรงที่
เกิดใหม่ใกล้เคียง เมื่ออิเล็คตรอนมาจับกับอนุภาคไฮโดรเจนมีประจุก็จะเกิดการปลดปล่อยแสง
สีแดงแลเห็นเป็นเนบิวลาเปล่งแสง
           ส่วนที่เป็นฝุ่น จะมีอนุภาคขนาดเล็กเป็นจุล ด้วยเส้นผ่าศูนย์กลางเป็นไมครอนที่ตรงกับ
ความยาวคลื่นสีน้ำเงิน มีส่วนประกอบเป็น carbon, silicon(ในรูปของ graphite, silicate)
เคลือบด้วยน้ำแข็ง(น้ำ, carbon dioxide, แอมโมเนีย) และ เหล็ก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 142  เมื่อ 24 ก.พ. 15, 14:59

            มวลสารนี้ปรากฏตัวต่อนักวิทย์เป็นเนบิวลารูปแบบต่างๆ ที่ได้กล่าวถึงไปแล้วก่อนหน้านี้
ทั้งเนบิวลาเปล่งแสง เมื่อเมฆแก๊สถูกแผดเผาด้วยรังสีจากดาวใกล้เคียงเกิดการปล่อยแสงจากอะตอม
แก๊ส แต่ถ้าฝุ่นอยู่กันหนาแน่นจนแสงไม่อาจผ่านได้ก็จะแลเห็นเป็นเนบิวลามืด ในขณะที่ฝุ่นเมฆล้อมดาว
ที่สะท้อนแสงจากดาวใกล้เคียง ก็จะปรากฏให้เห็นเป็นเนบิวลาสะท้อนแสง


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 143  เมื่อ 25 ก.พ. 15, 14:59

เมื่อนักวิทยาศาสตร์ทำแผนที่เอกภพ สิ่งสำคัญที่สุดคือสิ่งที่พวกเขามองไม่เห็น อันได้แก่สสารมืดและพลังงานมืด

หลังจากการวิจัยหลายทศวรรษ  ปัจจุบันนักเอกภพวิทยาสามารถบอกด้วยความมั่นใจระดับหนึ่งว่า เอกภพถือกำเนิดจากฟองอวกาศขนาดเล็กกว่าอะตอมเมื่อ ๑๓,๘๒๐ ล้านปีมาแล้ว  เป็นครั้งแรกที่พวกเขาสามารถทำแผนที่รังสีพื้นหลังในเอกภพ (cosmic background radiation) หรือแสงที่เปล่งออกมาเมื่อเอกภพมีอายุเพียง ๓๗๓,๐๐๐ ปี ด้วยความละเอียดถูกต้องมากกว่าร้อยละ ๐.๐๐๑

แต่พวกเขาก็สรุปด้วยว่า ดาวและดาราจักรทั้งหมดที่พวกเขาเห็นบนท้องฟ้าเป็นเพียงร้อยละห้าของเอกภพที่สังเกตได้ ส่วนใหญ่ที่มองไม่เห็นประกอบด้วยสสารมืด (dark matter) ร้อยละ ๒๗ และพลังงานมืด (dark energy) อีกร้อยละ ๖๘ ทั้งสองสิ่งล้วนเป็นปริศนา เคยคิดกันว่าสสารมืดเป็นผู้ปั้นแต่งผืนแผ่นระยิบระยับกับลวดลายเกี่ยวกระหวัดของเหล่าดาราจักร ซึ่งรวมกันเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ของเอกภพ แต่กลับไม่มีใครทราบว่ามันคืออะไร ส่วนพลังงานมืดยิ่งลึกลับมากขึ้นไปอีก คำว่าพลังงานมืดซึ่งบัญญัติขึ้นแทนอะไรก็ตามที่กำลังเร่งอัตราเร็วของการขยายตัวของเอกภพได้รับการเหมารวมว่าเป็น “ฉลากสามัญสำหรับสิ่งที่เราไม่รู้เกี่ยวกับสมบัติของสิ่งยิ่งใหญ่ในเอกภพของเรา”

เบาะแสแรกที่ว่าสสารมืดมีอยู่ทั่วไปถูกพบในทศวรรษ ๑๙๓๐ โดยนักดาราศาสตร์ชาวสวิสชื่อ ฟริตซ์ ซวิกกี เขาวัดความเร็วที่ดาราจักรในกระจุกดาราจักรผมเบเรนิซ (Coma Cluster) ซึ่งอยู่ห่างจากโลก ๓๒๑ ล้านปีแสง โคจรรอบศูนย์กลางกระจุกดาราจักร แล้วคำนวณว่า เว้นเสียแต่กระจุกดาราจักรจะมีมวลมากกว่าที่เห็น ดาราจักรของมันก็น่าจะปลิวกระจายออกสู่อวกาศนานแล้ว ซวิกกีสันนิษฐานว่า ในเมื่อกระจุกดาราจักรผมเบเรนิซอยู่มาได้หลายพันล้านปี ย่อมหมายความว่า “สสารมืดมีอยู่ในเอกภพด้วยความหนาแน่นยิ่งกว่าสสารที่มองเห็นได้อย่างไม่มีอะไรเปรียบ” การค้นคว้าต่อมาบ่งชี้ว่าดาราจักรไม่มีทางก่อตัวขึ้นได้ตั้งแต่แรก หากปราศจากความโน้มถ่วงของสสารมืดคอยดึงดูดวัสดุบรรพกาลเข้าด้วยกันในเอกภพวัยเยาว์

ปริศนาสสารมืดว่าแปลกแล้ว ยังกลายเป็นคำทายเด็กเล่น เมื่อเทียบกับปรากฏการณ์ลี้ลับของพลังงานมืด ซึ่งไมเคิล เทอร์เนอร์ นักฟิสิกส์ดาราศาสตร์ ยกให้เป็น “ความลึกลับอย่างที่สุดในวงการวิทยาศาสตร์ทั้งมวล”

เทอร์เนอร์คิดคำว่า “พลังงานมืด” ขึ้นหลังจากนักดาราศาสตร์สองทีมประกาศเมื่อปี ๑๙๙๘ ว่า อัตราการขยายตัวของเอกภพดูเหมือนกำลังเร่งเร็วขึ้น พวกเขาได้ข้อสรุปนี้จากการศึกษาดาวที่ระเบิดด้วยลักษณะเฉพาะ ซึ่งสว่างมากจนเห็นได้จากที่ห่างไกล และมีความสว่างสม่ำเสมอเหมาะสำหรับช่วยวัดระยะดาราจักรอันห่างไกล แรงดึงดูดซึ่งกันและกันระหว่างดาราจักรทั้งหมดในเอกภพคือเครื่องชะลอการขยายตัวของเอกภพ ดังนั้นนักดาราศาสตร์จึงคาดว่าจะเห็นเอกภพที่ขยายตัวช้าลง แต่พวกเขากลับพบสิ่งตรงข้าม นั่นคือเอกภพมีแต่ขยายตัวเร็วขึ้นเรื่อยๆตลอดห้าพันถึงหกพันล้านปีที่ผ่านมา

ทุกวันนี้ นักสังเกตการณ์กำลังสาละวนทำแผนที่เอกภพซึ่งแม่นยำอย่างไม่เคยมีมาก่อน และหาหลักฐานว่าพลังงานมืดปรากฏขึ้นเมื่อไร มีพลังเท่าเดิมหรือมากขึ้น พวกเขาได้เปรียบที่สามารถมองย้อนไปในอดีต สิ่งที่นักวิจัยผู้ศึกษาดาราจักรที่ห่างจากโลกหลายพันล้านปีแสงมองเห็น คือภาพที่เป็นจริงเมื่อหลายพันล้านปีก่อน กระนั้น ขีดจำกัดของพวกเขาคือความสามารถของกล้องโทรทรรศน์และเครื่องตรวจวัดดิจิทัล การเขียนประวัติศาสตร์เอกภพวิทยาที่ถูกต้องแม่นยำมากขึ้นในปัจจุบันก็ไม่ต่างจากในอดีตตรงที่เราจำเป็นต้องใช้หรือสร้างอุปกรณ์ที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ

เรื่องโดย ทิโมที แฟร์ริส นิตยสาร National Geographic



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 144  เมื่อ 26 ก.พ. 15, 10:13

ออกจากความมืดน่าพรั่นสะพรึง^ มาดูแสงสีกันต่อ ยิ้ม

      นอกจากนี้ยังมีเนบิวลาอื่นๆ ซึ่งได้กล่าวถึงแล้ว ได้แก่ เนบิวลาดาวเคราะห์(Planetary Nebula) ที่ขับออก
มาจากผิวนอกของดาวฤกษ์สิ้นอายุขัย ด้วยรูปร่างกลมคล้ายดาวเคราะห์จึงได้ชื่อเช่นนี้ ส่วนเปลือกนอกนั้นสุกสว่าง
ด้วยแสงจากดาวที่ยังเหลืออยู่ในใจกลาง ในขณะที่ดาวฤกษ์ขนาดใหญ่ยักษ์วาระสุดท้ายจะระเบิดเกิดเป็นซุเปอร์
โนวาแล้วเหลือเนบิวลาซากซุเปอร์โนวา(Supernova Remnant) ซึ่งเรืองแสงจากเศษดาวที่เหลืออยู่ และ
     ยังมีอีกคำหนึ่งคือ  Spiral Nebula ใช้เรียกดาราจักรซึ่งมีโครงสร้างเห็นเป็นรูปกังหันที่เคยเป็นที่ถกกันว่า
เป็นเนบิวลาอยู่ใน หรือคือ อีกดาราจักรแยกต่างหากจากทางช้างเผือก จนเมื่อมีการศึกษาพบว่าเป็นอย่างหลัง
คำนี้จึงถูกยกเลิกไป

ซ้าย Planetary Nebula, ขวา Supernova Remnant


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 145  เมื่อ 26 ก.พ. 15, 10:20

(อ้างถึงภาพในความเห็น 142 เรื่องสีแดงและน้ำเงินของเนบิวลาสองแบบนั้น มีคำอธิบายว่า)
         เมื่อแสงส่องสู่มวลเมฆที่แสงพอผ่านได้ แสงจะถูกฝุ่นกระเจิงแสงให้มัวลง(extinction) และ
เนื่องจากขนาดของฝุ่นเท่าความยาวของคลื่นแสงสีน้ำเงินๆ จึงจะถูกกระเจิงออกไป ส่งผลให้แสงที่มาถึง
ให้เห็นเป็นแสงสีแดงมากกว่า(เรียกว่า interstellar reddening) ในขณะที่ เมื่อมองไปยังด้านข้างของ
เมฆฝุ่นซึ่งแสงดาวสาดส่องเราจะเห็นแสงสีน้ำเงิน(ที่กระเจิงออก) เช่นดังในภาพคู่ด้านขวาของ Egg Nebula
ที่ผ่านตาแล้ว


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 146  เมื่อ 26 ก.พ. 15, 10:21

          ปรากฏการณ์นี้ที่โลกเราก็คือ ท้องนภาที่เราเห็นเป็นสีฟ้าตอนกลางวัน(สีแดงช่วงยามเย็น)
ก็เป็นผลมาจากการกระเจิงแสงตะวันโดยชั้นบรรยากาศของโลก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 147  เมื่อ 01 มี.ค. 15, 09:53

        นักท่องอวกาศ Terry Virts ทวีตภาพ'นิ้วมือแยก' เพื่อแสดงคารวะอาลัยนักแสดง
Leonard Nimoy ผู้รับบท Mr. Spock ใน Star Trek ซึ่งเพิ่งจากไปเมื่อ 27 กพ. นี้
        ด้านขวาของนิ้วมือในภาพคือชายฝั่ง Massachusetts รัฐเกิดของ Nimoy(เมือง Boston)


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 148  เมื่อ 01 มี.ค. 15, 10:49

อนิจจา คุณสป๊อคของแฟนๆ ยุคปลาย 1960s  ลากลับดาววัลแคนชั่วนิรันดร์เสียแล้ว
คุณหมอ SILA ไม่ต่อกระทู้เก่า รำลึกถึงหน่อยหรือคะ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 149  เมื่อ 01 มี.ค. 15, 11:18

RIP Leonard Nimoy, Mr.Spock. Live long and prosper.


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 8 9 [10] 11 12 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 20 คำสั่ง