เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 30406 จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 75  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 10:17

           หัวใจของเขามีขนาดลดลง และปริมาณเลือดที่สูบออกจากหัวใจก็น้อยลง เพราะ
หัวใจไม่ได้ทำงานหนักเท่าบนโลก ทั้งยังตรวจพบว่ารูปร่างของหัวใจได้เปลี่ยนไปเป็นทรงกลม
จากสภาวะไร้แรงโน้มถ่วงด้วย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 76  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 10:28

          นอกจากนี้ นักบินอวกาศยังจะมีอาการมึนศีรษะเรื้อรังและตาบอดชั่วคราวได้ เนื่องจาก
เลือดไหลเวียนไปสมองไม่พอ

          ขณะอยู่บนโลก, แรงโน้มถ่วงดึงเลือดไหลลงขา แต่เมื่อนักบินอวกาศขึ้นไปอยู่ในสภาพ
ปราศจากแรงโน้มถ่วง เลือดจะไหลเวียนขึ้นไปสู่ร่างกายส่วนบนและสมองมากขึ้นในทันที จนเมื่อ
ร่างกายปรับตัวกับภาวะไร้น้ำหนักแล้วแรงดันเลือดในสมองและทรวงอกก็จะลดลง
          ครั้นเมื่อกลับสู่โลก, เลือดในร่างกายส่วนบนถูกแรงโน้มถ่วงดึงลงสู่ร่างกายส่วนล่าง ทำให้
นักบินเกิดอาการจากภาวะเลือดไหลเวียนในสมองลดลง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 77  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 10:42

          ส่วนการเปลี่ยนแปลงในกล้ามเนื้อ พบว่ามวลกล้ามเนื้อลดลง, มีไขมันแทนที่ และ
มวลกระดูกก็ลดลงไปในอัตราราว 2 % ต่อเดือน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 78  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 10:51

            ไม่ว่าจะมีอุปสรรคอย่างไรก็ตาม มหกรรมพิชิตภารกิจแห่งมนุษยชาติครั้งนี้ต้องดำเนินการ
ต่อไปให้สำเร็จ
            นักวิชาการเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถท่องอวกาศไปลงดาวอังคารได้ในอีกราว 3 ทศวรรษ
ข้างหน้า
            (องค์การนาซา มีแผนพัฒนาขีดความสามารถที่จำเป็นต้องใช้ในโครงการส่งมนุษย์ไป
ดาวอังคารในทศวรรษที่ 2030s)

ที่นั่น ณ ดาวอังคาร, บ้านใหม่ เมื่อมองกลับไปยังบ้านเก่า


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 79  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 09:09

             การท่องอวกาศไกลออกไปนี้เป็นความท้าทายที่ยิ่งใหญ่ เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญกับปัญหา
และอุปสรรคยากลำบากมากมาย
            
             ด่านสำคัญคือ ปัญหารังสีในอวกาศ ซึ่งมีที่มาจากดวงอาทิตย์ในระบบสุริยะ, ทางช้างเผือก
(ซึ่งเชื่อว่ามาจาก Supernova) และจากแหล่งรังสีอื่นไกลโพ้นอออกไป


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 80  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 09:10

ภาพจากการ์ตูน Fantastic Four


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 81  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 09:12

          อนุภาครังสีอวกาศนี้มีพลังงานและความเร็วสูงยากต่อการปิดกั้น อนุภาคจะทะลุทะลวงเข้า
ทำลาย DNA ทำให้เกิดมะเร็งชนิดรุนแรง, ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ, ระบบประสาทส่วนกลางเสื่อมลง โดย
ที่หากมนุษย์ได้รับรังสีปริมาณมากในช่วงเวลาสั้นๆ จะล้มป่วยลงแบบฉับพลัน หรือไม่เช่นนั้นก็จะเป็น
แบบเรื้อรังหลังจากได้รับรังสีในปริมาณน้อยกว่าแต่เป็นเวลานาน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 82  เมื่อ 26 ม.ค. 15, 09:15

          นักบินอวกาศในยาน ISS(International Space Station) มีสนามแม่เหล็กโลกและ
ชั้นบรรยากาศช่วยปกป้องรังสีอันตราย แต่ถ้าอยู่นานเกิน 1.5 - 2 ปี สำหรับหญิงและชาย เขาก็
จะได้รับรังสีในปริมาณที่มากเกินปริมาณรังสีที่ร่างกายรับได้ในชั่วชีวิต
(ปัจจุบันนี้นักบินอวกาศจะขึ้นไปอยู่ในยานคราวละ 0.5 ปี)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 83  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 09:52

          องค์การนาซาได้วางแผนขั้นตอนส่งมนุษย์พิชิตดาวอังคาร โดยเริ่มจากการส่งมนุษย์ไป
ในวงโคจรรอบโลกระดับล่างเพื่อเรียนรู้การใช้ชีวิตและการปฏิบัติงานอวกาศใน ISS ตามด้วย
การออกนอกวงโคจรโลกระดับล่างและการเพิ่มขีดความสามารถในการศึกษาสำรวจด้วยการเยือน
ดาวเคราะห์น้อยที่ได้ถูกเบี่ยงเบนให้มาเข้าสู่วงโคจรของดวงจันทร์ จากนั้นจึงท่องอวกาศไกลไปมุ่ง
สู่ดาวอังคารในทศวรรษ 2030s


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 84  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 09:55

               ณ ดาวอังคาร เป้าหมายพันธกิจพิชิตอวกาศของนาซานั้น ปราศจากสนามแม่เหล็ก
และ ชั้นโอโซนปกป้อง อนุภาคจากดวงอาทิตย์ได้ขจัดชั้นบรรยากาศของดาวอังคารออกไปเกือบ
หมดส่งผลให้นักบินอวกาศมีความเสี่ยงต่อการได้รับรังสีต่อเนื่อง หลังจากที่ได้รับมาแล้วระหว่าง
การท่องอวกาศในปริมาณรังสีที่สูงกว่ามาก นักวิทย์จึงต้องคิดคำนวณออกแบบอาคารที่พำนักให้
มีฉนวนปกป้องรังสี  
               ปัญหาอันตรายจากรังสีนี้เป็นเรื่องท้าทายขององค์การนาซาสำหรับแผนปฏิบัติการส่ง
มนุษย์สู่ดาวอังคารและดาวดวงอื่นไกลโพ้น

นักวิทยาศาสตร์บางคนได้เสนอแนวคิดเครื่องหักเหรังสีสำหรับยานอวกาศแบบในหนัง Star Trek
โดยเครื่องนี้จะสร้างสนามแม่เหล็กเพื่อป้องกันยานอวกาศเลียนแบบสนามแม่เหล็กโลก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 85  เมื่อ 02 ก.พ. 15, 10:01

           โลกในอนาคตแสนไกลจะเป็นเช่นไร คงไม่มีใครพยากรณ์ได้อย่างถูกต้องเต็มร้อย เพราะ
การเปลี่ยนแปลงเป็นสิ่งที่ต้องเกิดขึ้นจริงแต่ก็เป็นสิ่งไม่แน่นอน ยังมีตัวแปรอื่นๆ มากระทบ ทั้งจาก
ปัจจัยภายใน คือ มนุษย์เราเอง ได้แก่ สงคราม(ล้าง) โลก, การทำลายล้างธรรมชาติ และ
ปัจจัยภายนอก เช่น อุกกาบาต, ดาวหาง หรือ มนุษย์ต่างดาวบุกโลก
           ทั้งนี้, ทั้งนั้น, ทั้งมวล ล้วนเป็นคำทำนายที่สุดท้ายแล้ว เมื่อนั้นกาลเวลาจะเป็นเครื่องพิสูจน์
ความแม่นยำของคำพยากรณ์เหล่านั้น


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 86  เมื่อ 04 ก.พ. 15, 13:59

        ลำดับจากนี้ขอวกกลับไปปีก่อนๆ ย้อนดูภาพจากอวกาศขององค์การนาซา อันตื่นตา ตื่นใจ
เริ่มจากภาพดาวเคราะห์เพื่อนบ้านร่วมระบบสุริยะที่อยู่แสนห่างไกลแต่ยังพอมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เป็นดวงสุดท้าย

(Uranus, Neptune โคจรอยู่ในเวิ้งเวหาหาวไกลเกินสายตาเปล่า)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 87  เมื่อ 04 ก.พ. 15, 14:00

          แถบสีสวยสดงดงามดุจสายรุ้งนี้ คือ วงแหวนดาวเสาร์ ส่วนขอบนอกของวงแหวน C
และส่วนขอบในของวงแหวน B (ซึ่งเริ่มที่ตรงกลางภาพ) บันทึกโดยยานสำรวจ Cassini
จับคลื่นความยาวช่วง ultraviolet ความยาวของวงแหวนในภาพนี้คือ 10,000 กม.
        สีต่างๆ ที่ปรากฏให้เห็นเป็นผลจากความแตกต่างในองค์ประกอบของวงแหวน สีเทอร์คอยส์
สะท้อนส่วนประกอบที่เป็นน้ำเกือบบริสุทธิ์ ในขณะที่สีแดงเป็นน้ำแข็งที่ปนเปื้อนฝุ่นผง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 88  เมื่อ 04 ก.พ. 15, 14:05

           วงแหวนของดาวเสาร์นี้ประกอบขึ้นจากอนุภาคมากมาย ที่มีขนาดตั้งแต่ไม่กี่ไมโครเมตร
(1/1,000,000 เมตร - ระดับฝุ่น) จนถึงหลายเมตร(ขนาดภูเขา) รวมตัวกันโคจรรอบดาวเสาร์
อนุภาคเหล่านี้ประกอบด้วยน้ำแข็งและก้อนหิน

ภาพวงแหวนอย่างชิดใกล้ในจินตนาการ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 89  เมื่อ 04 ก.พ. 15, 14:10

ในทางดาราศาสตร์, คำศัพท์ แก๊ส น้ำแข็ง และ หิน ใช้อธิบายถึงประเภทองค์ประกอบสสารต่างๆ
ที่พบทั่วระบบสุริยะ ดังนี้

              หิน - องค์ประกอบที่มีจุดหลอมเหลวสูง (สูงกว่า 500 เคลวิน*) เช่นพวก ซิลิเกต
องค์ประกอบหินพบได้มากในกลุ่มระบบสุริยะชั้นใน เป็นส่วนประกอบหลักของดาวเคราะห์และ
ดาวเคราะห์น้อย

*หน่วยวัดอุณหภูมิทางเทอร์โมไดนามิคส์ ที่ William Thomson, 1st Baron Kelvin พัฒนา
ขึ้นใหม่ โดยการหาความสัมพันธ์ระหว่างอุณหภูมิและความเร็วของอิเล็กตรอนที่เคลื่อนที่รอบ
นิวเคลียส จากการสังเกตว่า ถ้าให้ความร้อนกับสสารมากขึ้น อิเล็กตรอนจะมีพลังงานมากขึ้น,
เคลื่อนที่เร็วขึ้น ในทางกลับกันถ้าลดความร้อน อิเล็กตรอนก็จะมีพลังงานน้อยลง, เคลื่อนที่ลดลง
และ
        ถ้าลดอุณหภูมิลงจนถึงจุดที่อิเล็กตรอนหยุดการเคลื่อนที่ ณ จุดนั้น จะไม่มีสิ่งใดหนาวเย็นไป
กว่านี้ได้อีก อุณหภูมิหรือพลังงานในสสารก็ไม่มี และไม่มีการแผ่รังสีความร้อนจากวัตถุ(เพราะไม่มี
การเคลื่อนที่ของอะตอมที่ทำให้เกิดรูปแบบของพลังงานจลน์ ที่เรียกว่า “ความร้อน”) จึงเรียกอุณหภูมิ
ณ จุดนี้ว่า ศูนย์สัมบูรณ์ (0 K)

เปรียบเทียบค่าองศาทั้งสาม


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 4 5 [6] 7 8 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.049 วินาที กับ 19 คำสั่ง