เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 30481 จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 60  เมื่อ 16 ม.ค. 15, 09:47

           ดาราจักรเพื่อนบ้าน แอนดรอมิดะ(Andromeda) ซึ่งอยู่ใกล้ดาราจักรของเราที่สุด
(2.5 ล้านปีแสง) นี้ นอกจากจะมีขนาดใกล้เคียงทางช้างเผือกแล้ว นางยังเคลื่อนตรงมุ่งมาสู่
ด้วยความเร็วที่ 300 กม./วินาที


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 61  เมื่อ 16 ม.ค. 15, 09:49

           ประมาณการได้ว่าในอีกไม่กี่(ราว 4) พันล้านปี ดาราจักรทั้งสองก็จะปะทะปฏิสัมพันธ์
รวมกันเป็นดาราจักรรูปวงรีที่มีขนาดใหญ่ยักษ์ขึ้น

กรอบแรกคือภาพปัจจุบัน - กรอบสุดท้ายคือภาพอนาคตไกลโพ้น 7 พันล้านปี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 62  เมื่อ 16 ม.ค. 15, 09:51

ฟากฟ้าครานางมาเยือน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 63  เมื่อ 16 ม.ค. 15, 09:53

คลิป Milky Way and Andromeda Galaxies Collision

           
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 64  เมื่อ 16 ม.ค. 15, 10:19

           หลังจากการปะทะ, ปะปนรวมกัน(collide, merge) ของสองดาราจักรรูปเกลียว
กลายเป็นดาราจักรรูปรีที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ดวงอาทิตย์ของเราถูกโยนไปโคจรรอบดาราจักรใหม่


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 65  เมื่อ 21 ม.ค. 15, 09:29

          จากภาพพยากรณ์ข้างบนขององค์การนาซาบอกว่า ดวงอาทิตย์ยังอยู่รอดปลอดภัย
หลังการปะทะ แต่สำหรับบางคนอาจจะยังกังขาด้วยว่า
          เมื่อมองภาพดาราดารดาษอาจชวนให้คิดว่าดาวใกล้ชิดกัน ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้ว
ดาวนั้นอยู่กันแสนห่างไกล

            ดาวเพื่อนบ้านใกล้เคียงที่สุดอย่าง Proxima Centauri ก็ยังอยู่ห่างจากระบบสุริยะ
ไปไกลลิบถึง 60 ล้านรัศมีดวงอาทิตย์ ดังนั้นโอกาสที่ดวงอาทิตย์จะปะทะชนกับดวงดาวของ
ดาราจักรแอนดรอมิดะจึงมีได้แบบว่า 1 in a hundred-billion
            ส่วนโอกาสที่ดาวจะเฉียดเข้าใกล้โลกเราจนกระทบต่อวงโคจรของโลกก็เป็นไปได้ในระดับ
แบบว่า 1 ในล้าน
            เพราะระยะห่างระหว่างดาวแสนยาวไกลเช่นนี้ หากจะเกิดเหตุการณ์ดาวสมาชิกของสอง
ดาราจักรชนกันก็คงจะมีแค่ไม่กี่ดวง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 66  เมื่อ 21 ม.ค. 15, 09:34

           แต่แม้ว่าจะรอดเมื่อถึงเวลาปะทะกัน และ แม้ดวงอาทิตย์จะยังไม่แปรไปเป็น
ดาวแดงยักษ์(red giant star) หากทว่าในยามนั้นดวงตะวันก็ได้เข้าสู่ช่วงอายุขัยวัยชรา

           เช่นเดียวกับวงจรชีวิตของดาวฤกษ์ดวงอื่น มีเกิด แก่ แล้วดับ ดวงอาทิตย์ในวันนี้
อยู่ในช่วงวัยกลางของชีวิต คือ ประมาณ 5,000 ล้านปี คาดว่าดวงอาทิตย์จะมีอายุอยู่ต่อไป
อีกราว 5,000 ล้านปี รวมเป็นอายุขัยยืนยาวราว 10,000 ล้านปี ซึ่งเป็นอายุเฉลี่ยของดาวฤกษ์ทั่วไป
           ณ ปัจจุบัน ดวงอาทิตย์ส่องแสงแผ่พลังงานอยู่ในสภาพสมดุล จากปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์
ในใจกลางดวงสมดุลกับการยุบตัวเนื่องจากแรงโน้มถ่วง นั่นคือ
           การเผาไหม้และหลอมละลายจากภายในซึ่งประกอบด้วยเชื้อเพลิง Hydrogen และ Helium
มีการปลดปล่่อย ผลิตแสงสว่าง ความร้อน สารกัมมันตรังสีต่างๆ ออกมาจากภายในแกน (Core)
           ขณะเดียวกัน บริเวณผิวด้านนอกของดาวก็ได้สะสมก๊าซเป็นจำนวนมากขึ้นเรื่อยๆ เวลาผ่านไป
หลายพันล้านปีบรรยากาศภายนอกดาวจึงเต็มไปด้วยเชื้อเพลิงมหาศาลที่ยังไม่ถูกเผาไหม้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 67  เมื่อ 21 ม.ค. 15, 09:42

          เมื่อเชื้อเพลิง Hydrogen ภายในแกนเหลือน้อยลง ดวงอาทิตย์ก็เริ่มเข้าสู่ช่วงชีวิตบั้นปลาย
ที่ไม่สมดุล การเผาไหม้เริ่มขยายตัวจากชั้นภายในสู่เชื้อเพลิงก๊าซที่เหลืออยู่ภายนอกรอบๆ ดวง เพื่อ
รักษาดุลยภาพพลังงานของดวงอาทิตย์
           บรรยากาศเกิดสภาพกดดันอุณหภูมิภายนอกมีความร้อนเพิ่มขึ้น ทำปฏิกิริยากับก๊าซที่สะสม
โดยรอบมานาน เกิดระเบิดและแผ่รังสีอย่างมหาศาล ทำให้เกิดการขยายตัวของดาวใหญ่กว่าปกติ
หลายร้อยหรือพันเท่า การลุกไหม้อย่างโชติช่วงดังกล่าว มองเห็นเป็นสีแดงเพลิง ขนาดใหญ่โต
เรียกว่า ดาวยักษ์สีแดง (Red Giant Star)
           ก๊าซและฝุ่นรอบนอกถูกแรงดันแผ่กระจายออกทุกทิศทาง มีลักษณะคล้ายวงแหวนของก๊าซ
เรียกว่า เนบิวลาดาวเคราะห์(Planetary Nebula)
           ขณะที่ใจกลางดวงอาทิตย์ยุบตัวลงด้วยแรงโน้มถ่วงที่มีพลังสูงจนมีขนาดเล็กเท่าโลกกลาย
เป็น ดาวแคระขาว (White Dwarf) และสิ้นสุดชีวิตดาวฤกษ์กลายเป็นดาวตายดับไปในที่สุด(Black Dwarf)

แผนภาพชีวิตดวงอาทิตย์ของเรา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 68  เมื่อ 22 ม.ค. 15, 10:23

           ดังนั้นยามเมื่อนางมาเยือน ดวงอาทิตย์ก็จะอยู่ในช่วงเวลาขยายตัวเปล่งแสงแรงกล้า
แผดเผาผิวโลกเรา(ประมาณว่า ดวงอาทิตย์จะสว่างขึ้น 10 % ทุก ๆ 1,000 ล้านปี) น้ำทะเล
จะเหือดแห้ง สิ่งแวดล้อมและบรรยากาศโลกเปลี่ยนไปไม่เอื้อต่อสิ่งมีชีวิต 
           นักวิทยาศาสตร์พยากรณ์ว่า เวลาของสิ่งมีชีวิตบนโลกเหลืออยู่อีกประมาณ 1,750 -
3,500 ล้านปี
           บ้างก็ว่าที่ 2,800 ล้านปี โดยเริ่มจากราว 500 ล้านปี พืชบางสายพันธุ์จะสูญพันธุ์ก่อน
ตามมาด้วยสัตว์ที่อาศัยพืชนั้นเป็นอาหาร จากนั้นก็จะพากันล้มตายมากขึ้นๆ ตามอุณหภูมิโลกที่ร้อน
เพิ่มขึ้นๆ จนกระทั่งเมื่อราว 2,800 ล้านปี จะมีเหลือเพียงจุลชีพเท่านั้นที่อยู่ได้ในโลกนี้ และเมื่อ
อุณหภูมิโลกขึ้นสูงเกิน 140 องศาซี ที่เป็นจุดแตกสลายของ DNA สิ่งมีชีวิตสิ่งสุดท้ายก็จะตาย
สิ้นโลก
           ก่อนถึงเวลานั้นมนุษย์ก็ได้พากันโยกย้ายไปยังดาวดวงอื่นแล้ว เพราะโลกโดนแผดเผาจน
อยู่ไม่ได้และต่อไปก็จะถูกกลืนกินด้วยดวงอาทิตย์ที่ขยายตัวเป็นดาวแดงยักษ์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 69  เมื่อ 22 ม.ค. 15, 10:46

           ส่วนนักวิทยาศาสตร์เซเลบ Stephen Hawking (ซึ่งหนังชีวประวัติของเขาเรื่อง
The Theory of Everything จะเข้าฉายในต้นเดือนหน้านี้ ) ให้ความเห็นว่า
           มนุษยชาติจะไม่สามารถอยู่ในโลกใบนี้ได้อีกถึง 1,000 ปี พวกเราต้องท่องไปในอวกาศ
เพื่อแสวงหาดาวเคราะห์ดวงใหม่
           สตีเฟนเป็นหนึ่งในนักวิชาการที่เชื่อมั่นว่า มีมนุษย์ต่างดาวอาศัยอยู่บนดาวต่างๆ ในจักรวาลนี้
และหากพวกเขามาเยือนโลกเมื่อใด จะเกิดมหันตภัยกับมวลมนุษย์คล้ายกับเมื่อตอนที่โคลัมบัสค้น
พบทวีปอเมริกา
           นักวิทยาศาสตร์บางคนให้เวลาที่เหลือน้อยลงไปอีก ด้วยแนวคิดว่า อีก 300 ปีโลกเรา
จะมีอุณหภูมิเพิ่มขึ้น 12 องศา น้ำจะท่วมแผ่นดินราว 40% และทรัพยากรในพื้นดินที่เหลือ
จะถูกใช้ไปหมดสิ้นจนมนุษย์ต้องอพยพออกจากโลกนี้ไปหาที่อยู่ใหม่ในโลกหน้า

เป้าหมายในขณะนี้ที่พอจะสามารถไปถึงได้ - ดาวอังคาร, บ้านใหม่ในระบบสุริยะ


บันทึกการเข้า
ทอภู่เท่า
อสุรผัด
*
ตอบ: 7


ความคิดเห็นที่ 70  เมื่อ 22 ม.ค. 15, 17:22

อ่านแล้วตัวเล็กลงเล็กลงเท่ากับโมเลกุลของอะไรสักอย่างนึง ครับ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 71  เมื่อ 22 ม.ค. 15, 17:49

อาจจะเล็กลงอีก เท่าอะตอม ค่ะ เมื่ออ่านจบ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12601



ความคิดเห็นที่ 72  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 05:45

อาจจะเล็กเสียยิ่งกว่าอะตอม  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 73  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 09:45

     และ เล็กลงไปได้อีก, ยิ่งกว่าอะตอม ที่ระดับ Quark ซึ่งเป็นอนุภาคเล็กที่สุดเท่าที่มีการค้นพบ ครับ

            


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 74  เมื่อ 23 ม.ค. 15, 10:13

          เมื่อมีจุดหมายปลายทางแล้ว ก้าวต่อไปคือ การไปให้ถึง ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญ
          มนุษย์เราจะท่องไปในอวกาศโดยดำรงคงอยู่ในสภาวะไร้น้ำหนัก(แรงโน้มถ่วง) เป็นเวลา
ยาวนานได้อย่างไร
          นักบินอวกาศที่กลับมาจากการปฏิบัติหน้าที่เป็นเวลานานในอวกาศประสบปัญหาอ่อนเพลีย
และอ่อนแรงจนไม่สามารถขยับกายได้เอง

มีนาคม 2014, แคปซูลโซยุสได้พานักบินอวกาศรัสเซียสองนายและอเมริกันหนึ่งนายกลับสู่โลก
โดยปลอดภัยหลังเสร็จสิ้นภารกิจที่สถานีอวกาศนานาชาติ ISS นาน 5 เดือนครึ่ง ในภาพคือ
Flight Engineer Sergey Ryazanskiy ขณะได้รับการช่วยเหลือนำออกจากแคปซูลที่คาซัคสถาน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 3 4 [5] 6 7 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.064 วินาที กับ 19 คำสั่ง