เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 30480 จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 15:51

         องค์การ NASA ได้เผยแพร่ภาพถ่ายด้วยกล้อง Hubble Space Telescope ต่อประกอบ
กันขึ้นเป็นภาพของดาราจักรเพื่อนบ้าน(อยู่ใกล้แค่ 2.5 ล้านปีแสง) นั่นคือดาราจักร Andromeda
           
ภาพมุมกว้างมวลดาราดาษดากว่า ร้อยล้านดวงของดาราจักร Andromeda
(หรือมีชื่ออื่นอีกว่า Messier 31, M31,  NGC 224)


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 15:53

         ชื่อดาราจักรนั้ตั้งตามบริเวณที่ดาราจักรนี้ปรากฏบนท้องฟ้านั่นคือแถบกลุ่มดาว(constellation of)
Andromeda

ภาพกลุ่มดาว Andromeda และ ดาราจักร M31(Andromeda)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 15:56

         ที่ได้ชื่อจากเทพปกรณัมกรีก, Andromeda คือธิดาของราชา Cepheus และ
ราชินี Cassiopeia ผู้ภาคภูมิใจ(hubris) ในความงามของธิดาตนจนนำภัยมาสู่ หลังจาก
ที่ได้เอ่ยวาจาอวดอ้างว่าธิดานั้นงามเหนือ Nereids ธิดาแห่งเทพท้องสมุทร Nereus
         เทพสมุทร Poseidon จึงลงเทวฑัณฑ์โดยส่ง Cetus อสูรสมุทรมาเข่นฆ่าประชาชน
จนราชา Cepheus จำต้องส่ง Andromeda ให้มาสังเวยอสูร แต่ Perseus ซึ่งผ่านมาพบ
หลังจากสำเร็จภารกิจปลิดศีรษะ Medusa ได้ช่วยชีวิตนางไว้แล้วได้เสกสมรสกัน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 15:58

         ภาพจากการต่อประกอบกันจากนาซานี้มีขนาดใหญ่ที่สุดและคมชัดที่สุด จากการเปิดรับแสง
(exposure) 7,398 ครั้ง และจากตำแหน่งแตกต่างกันกว่า 411 แห่งหน
         เปรียบได้กับการถ่ายรูปหาดทรายลงรายละเอียดถึงมวลเม็ดทราย

แบ่งภาพออกเป็นสามส่วนจากซ้ายไปขวา   

ส่วนที่หนึ่ง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 16:00

          ภาพประกอบขึ้นจากจุดภาพบนจอแสดงผล(pixel) จำนวนกว่า 1.5 billion pixels
ซึ่งต้องใช้ HD TV ราว 600 เครื่องเพื่อเป็นจอแสดงภาพ

ส่วนที่สอง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 08 ม.ค. 15, 16:00

และส่วนที่สาม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 10:30

            ในเดือนสุดท้ายของปีที่ผ่าน องค์การ NASA ได้เผยแพร่ภาพสีสันสดใสวิบวับ
ต้อนรับเทศกาลคริสต์มาส?
            เป็นภาพต่อประกอบจากข้อมูลที่ได้จากกล้องของนาซา 3 ตัว แสดงปรากฏการณ์
ดาราจักรปะทะกัน(Galaxy Collision) เผยให้เห็นแหล่งกำเนิดรังสีเอ็กซ์เรืองโรจน์ยิ่งยวด
- "ultra-luminous X-ray sources"(ULXs) สุกสกาวพร่างพราวประดับประดาสอง
ดาราจักรรูปเกลียวที่มีนามว่า IC 2163 และ NGC 2207 ณ กลุ่มดาว Canis Major ห่าง
จากโลกของเราไป 130 ล้านปีแสง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 10:33

          ธรรมชาติที่แท้จริงของ ULXs นี้ ยังไม่เป็นที่รู้กันแน่ชัด นักดาราศาสตร์คิดว่า
อาจเป็น
          ระบบบดาวคู่รังสีเอ็กซ์ (X-ray binary) ซึ่งเป็นระบบดาวคู่ที่ประกอบ
ด้วยสมาชิกอย่างน้อยหนึ่งดวงเป็นวัตถุที่มีความหนาแน่นสูง(Compact Objects)
เช่น ดาวนิวตรอน(Neutron star เป็นซากที่เหลือจากการยุบตัวของการระเบิดแบบซูเปอร์
โนวาของดาวฤกษ์มวลมาก) หรือ หลุมดำ ทำให้มีแรงโน้มถ่วงมหาศาลพอที่จะเร่งให้
สสารจากคู่ดาวมีความเร่งสูงก่อนที่จะตกลงไปยังดาวนิวตรอนหรือหลุมดำ แล้วถ่ายเท
พลังงานมหาศาลแผ่ออกมาให้เห็นในช่วงความยาวคลื่นรังสีเอ็กซ์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 10:38

        ทั้งดาราจักร IC 2163 และ NGC 2207 นี้มีการเปลี่ยนแปลงเคลื่อนไหวอยู่เสมอ
จึงตกเป็นเป้าหมายติดตามสังเกตปรากฏการณ์อันน่าตื่นเต้นของเหล่านักดาราศาสตร์ที่
ได้ตรวจนับจำนวน ULXs ของสองดาราจักรนี้ได้แล้ว 28 แหล่ง และ เป็นบ้านของการเกิด
มหานวดารา - ซูเปอร์โนวา(supernova) 4 ครั้ง(ระหว่างปี 1975-2013)

Supernova in NGC 2207


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 10:44

          ซูเปอร์โนวา เป็นเหตุการณ์ระเบิดที่มีพลังมหาศาลที่สุดเท่าที่ได้รู้จักกัน นั่นคือ
การระเบิดของดาวฤกษ์มวลมากเมื่อสิ้นอายุขัย เปล่งแสงสว่างมหาศาลและระเบิดรัศมี
สว่างวาบชั่วครู่ก่อนที่จะเลือนลางจางลงไปในเวลานานนับสัปดาห์หรือเดือน

          พลังงานที่ปล่อยมานั้นเท่ากับพลังงานของอาทิตย์หนึ่งดวงที่ปลดปล่อยมาทั้งชีวิต
ในขณะที่แรงระเบิดนั้นจะขับไล่ดวงดาวและวัตถุต่างๆ ที่อยู่ใกล้ให้กระเด็นออกไปด้วยความเร็ว
10% ของความเร็วแสง(3,000 กิโลเมตร/วินาที) และเกิดคลื่นกระแทกแผ่ออกไปโดยรอบ



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 15:23

         ดังที่ได้กล่าวข้างต้นไว้ว่า ภาพดาราจักรทั้งสองปะทะกันนี้ประกอบกันขึ้นมาจากข้อมูล 3 แหล่ง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 15:23

นั่นคือ จากยานสำรวจอวกาศ 3 ลำ แต่ละลำติดตั้งกล้องเพื่อศึกษาคลื่นแสงที่ความยาวคลื่นต่างกัน
อย่างละเอียด ได้แก่
 
Chandra X-ray Observatory - แสงรังสีเอ็กซ์ X ray light > สีชมพู


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 15:26

Spitzer Space Telescope - แสงอินฟราเรด infrared light > สีแดง

Hubble Space Telescope - แสง near ultraviolet, visible และ infrared spectra
                                      > สีน้ำเงิน, ขาว, น้ำตาล และ ส้ม



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 15 ม.ค. 15, 15:28

          ยังมียานสำรวจอวกาศตัวพ่ออีกหนึ่งลำ รวมกันเป็นสี่ เรียกว่า Great Observatories
ได้แก่ ยาน Compton Gamma Ray Observatory แต่ได้ถูกปลดร่วงลงมหาสมุทรแปซิฟิค
ไปเมื่อปี 2000 เนื่องจากอุปกรณ์ gyroscope 1 ใน 3 ตัวเกิดขัดข้อง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 16 ม.ค. 15, 09:44

           กล่าวถึง Galaxy Collision การปะทะกันของดาราจักรนี้ เป็นเหตุการณ์ที่พบได้บ่อย
ในวิวัฒนาการของดาราจักร ที่จะเกิดการปะทะปฏิสัมพันธ์กันโดยแรงโน้มถ่วง
           ผลพวงของการปะทะนี้ก่อให้เกิดดวงดาวเป็นระลอกๆ ด้วยคลื่นกระแทกที่เกิดขึ้นเป็น
ตัวการกระแทกเมฆแก๊สและฝุ่นให้กระทบรวมกันเป็นกระจุกดาว(Star Cluster) เกิดเป็นกลุ่ม
ของดาวฤกษ์ที่อยู่ด้วยกันด้วยแรงดึงดูดจากแรงโน้มถ่วง  
           ทุกๆ ปี ดาราจักรทั้งสองนี้ให้กำเนิดอาทิตย์ใหม่ 24 ดวง ในขณะที่ทางช้างเผือก
ของเราให้กำเนิดอาทิตย์ปีละ 1 -3 ดวง


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 [4] 5 6 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.053 วินาที กับ 19 คำสั่ง