เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 12 13 [14]
  พิมพ์  
อ่าน: 30126 จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 195  เมื่อ 22 ก.พ. 16, 16:07

        เมื่อข้อมูลจากยานเคปเลอร์ที่นาซาส่งออกไปสำรวจอวกาศได้พบปรากฏการณ์ วัตถุขนาดใหญ่เท่ากับ
ดาวเคราะห์น้อยเซเรส Ceres ของระบบสุริยะ ถูกกลืนเข้าไปในวงจรมรณะรอบดาวแคระขาวดวงนี้ จากการ
สังเกตการณ์จับจังหวะแสงวาบได้ทุก 4.5 ชั่วโมง คำนวณวงโคจรของวัตถุนี้ได้ที่ประมาณ 520,000 ไมล์จาก
ดาวแคระขาว
         จากนั้น นักดาราศาสตร์จึงใช้กล้องโทรทรรศน์ภาคพื้นดินส่องไปติดตามสังเกตการณ์ต่อพบว่าเมื่อวัตถุ
เคลื่อนผ่านดาวแคระขาวนี้มีผลให้ความสว่างของดาวลดลง 40 %
         ปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้ คือการกลืนดาวเคราะห์บริวารของดาวแคระขาว ที่กระทำโดยแรงโน้มถ่วงมหาศาล
ดูดดาวบริวารให้เข้ามาในระยะใกล้ จากนั้นพลังของแรงโน้มถ่วงนี้ก็จะฉีกมวลของดาวเคราะห์จนแตกเป็นกลุ่มก๊าซ
และเศษมวลของดาวเคราะห์ ให้กระจายอยู่ในวงโคจรแผ่นวงแหวนรอบดาวแคระขาว จนในที่สุด ดาวเคราะห์บริวาร
ก็จะแตกสลายไป

31tv.ru


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 196  เมื่อ 22 ก.พ. 16, 16:19

       นับเป็นครั้งแรกที่นักดาราศาสตร์ไทยได้เห็นจุดจบของดาวเคราะห์แบบวันต่อวัน ผ่านกล้องโทรทรรศน์
ของประเทศไทย
       จากการเฝ้ามองชะตากรรมของดาวบริวารในระบบดาวใกล้บ้านเราดวงนี้แล้วมองย้อนกลับมา ก็จะเห็น
ชะตากรรมของโลกเราใบนี้ในหลายพันล้านปีข้างหน้าว่าเหมือนกัน นั่นคือเมื่อดวงอาทิตย์หมดพลังงานลง
ก็จะกลายเป็นดาวแคระ และโลกพร้อมทั้งดาวบริวารระบบสุริยะดวงอื่นๆ ก็จะทยอยกันถูกฉีกเคี้ยวแหลกตามๆ
กันไปในที่สุด

ภาพวาดดาวแคระขาวเคี้ยวดาวบริวาร  

sci-news.com


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 197  เมื่อ 01 มี.ค. 16, 11:06

          คุณอาจวรงค์ นักสื่อวิทยาศาสตร์,นักเขียน แต่งกลอนนี้ลงเฟซบุค อ่านแล้วชอบขอแชร์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 198  เมื่อ 01 มี.ค. 16, 11:08

imagine.gsfc.nasa.gov/science/objects/stars1.html


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 199  เมื่อ 01 มี.ค. 16, 11:12

          ๒ คำสุดท้ายของวรรคส่งในบทที่ ๕ - ดาวดาว(น่าจะเป็น ดวงดาว) คุณวรงค์บอกว่าพิมพ์ผิดไป


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 200  เมื่อ 01 มี.ค. 16, 14:25

กวีกาลแห่งดาวฤกษ์

๑.อันดวงดาวกลางฟ้ายามราตรี
มิได้มีอายุมั่นอนันต์สมัย
แต่มีเกิดแก่ดับสลับไป
เป็นวงจรอยู่ในจักรวาล

๒.เมื่อกลุ่มแก๊สดึงดูดกันพลันหนาแน่น
เกาะเป็นก้อนกลายเป็นแก่นของมวลสาร
ไฮโดรเจนร้อนเร่งเปล่งพลังงาน
เป็นสายธารแสงสว่างอย่างมณี

๓.แต่วันหนึ่งที่เชื้อเพลิงเริ่มร่อยหรอ
แรงโน้มถ่วงเริ่มไม่พอจะอัดขยี้
ให้ดาวนั้นคงรูปร่างไว้อย่างดี
มันจึงเริ่มอ้วนพีเป็นสีแดง

๔.พอดาวเฒ่าขยายตัวถึงจุดหนึ่ง
แรงโน้มถ่วงจะตบผึงเหมือนกลั่นแกล้ง
ให้ดาวฤกษ์แตกพร่างอย่างรุนแรง
กลายเป็นแสงโนวามหาประลัย

๕.ละอองแก๊สจะกระจายหลายปีแสง
เป็นถิ่นแห่งเนบิวลาอยู่อาศัย
รออีกหลายพันล้านปีที่ยาวไกล
แก๊สจะเริ่มรวมกันใหม่เป็นดวงดาว *

๖.แม้ดาวฤกษ์แสนใหญ่โตกว่าโลกา
เมื่อถึงครายังแตกดับลับหนหาว
ชีวิตคนแค่พริบตาดาราพราว
จงเร่งเร้าอย่าประมาททุกชาติไป

อาจวรงค์
๑๐ ก.พ. ๒๕๕๙


* แก้ไขตามความเห็นของคุณศิลา
บันทึกการเข้า
Naris
องคต
*****
ตอบ: 421


ความคิดเห็นที่ 201  เมื่อ 03 มี.ค. 16, 13:57

จึงเป็นที่มาของข้อสอบข้อที่ว่า

อ้างถึง
4.ข้อคิดใดที่ได้จากการศึกษาเรื่องวิวัฒนาการของดาวฤกษ์
1.น้ำขึ้นให้รีบตัก
2.สี่เท้ายังรู้พลาด นักปราชญ์ยังรู้พลั้ง
3.ทุกสิ่งดำรงอยู่และดับไป
4.รู้อะไรไม่สู้รู้วิชา
5.เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว

 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 202  เมื่อ 19 ม.ค. 24, 10:59

ค้นพบวัตถุปริศนา! อาจเป็นดาว'นิวตรอน' ขนาดใหญ่ที่สุดหรือหลุมดำขนาดเล็กที่สุด

ทีมนักดาราศาสตร์นานาชาติ นำโดยนักดาราศาสตร์จาก Max Planck Institute for Radio Astronomy ใช้กล้องโทรทรรศน์วิทยุ MeerKAT ค้นพบพัลซาร์ในกระจุกดาวทรงกลม NGC 1851 ที่มีวัตถุปริศนาโคจรอยู่รอบพัลซาร์นี้ ซึ่งวัตถุดังกล่าวอาจจะเป็นดาวนิวตรอนที่ใหญ่ที่สุด หรือหลุมดำที่เล็กที่สุดเท่าที่เคยค้นพบมา หรือเคยคาดการณ์กันว่าจะสามารถพบได้ในธรรมชาติ บ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นที่จะขยายขอบเขตความเข้าใจของมนุษย์อย่างไม่หยุดยั้ง ผลงานนี้ได้รับการตีพิมพ์ลงในวารสาร Science ในวันนี้ (19 มกราคม 2024 ตามเวลาประเทศไทย) [1]
เมื่อดาวฤกษ์มวลมากสิ้นอายุขัยลง แรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของมันจะบีบอัดแกนกลางลงจนปลดปล่อยพลังงานออกมาเป็นซูเปอร์โนวา ซึ่งเป็นหนึ่งในการระเบิดที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในเอกภพ ส่วนแกนกลางที่หลงเหลืออยู่นั้น แรงระเบิดอันมหาศาลจะดันอะตอมทั้งหมดให้ไปอยู่รวมกัน เป็นนิวเคลียสขนาดมหึมาเท่ากับดาวทั้งดวง กลายเป็นวัตถุที่เราเรียกว่า “ดาวนิวตรอน”

บางครั้งดาวนิวตรอนจะแผ่คลื่นวิทยุออกมาจากบริเวณขั้วเหนือ-ขั้วใต้ ซึ่งเราจะสามารถตรวจพบสัญญาณของมันได้ ดาวนิวตรอนที่หมุนอย่างรวดเร็วจะสาดสัญญาณวิทยุนี้แผ่ออกไปโดยรอบ สำหรับบนโลกของเราจะตรวจพบได้เพียงแต่สัญญาณวิทยุที่สว่างขึ้น และหรี่ลงอย่างเป็นจังหวะ เราเรียกสัญญาณในลักษณะนี้ว่า “พัลซาร์” ซึ่งมาจากดาวนิวตรอนนั่นเอง


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 203  เมื่อ 19 ม.ค. 24, 11:00

ดาวนิวตรอนเป็นวัตถุหนึ่งในเอกภพที่มีแรงโน้มถ่วงมหาศาล โดยทฤษฎีแล้ว เราเชื่อว่าดาวนิวตรอนที่มีมวลมากเกินไป จะไม่สามารถทานแรงโน้มถ่วงอันมหาศาลของตัวมันเองได้ และจะยุบตัวลงกลายเป็นหลุมดำไปในที่สุด ตามความเข้าใจปัจจุบัน ดาวฤกษ์ที่มีมวลมากพอที่จะยุบตัวลงเป็นหลุมดำได้ด้วยตัวเอง จะต้องกลายไปเป็นหลุมดำที่มีมวลตั้งแต่ 5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ขึ้นไป ในขณะเดียวกัน ขอบเขตของดาวนิวตรอนที่ใหญ่ที่สุดที่ยังคงสเถียรภาพเอาไว้ได้ เรียกว่า Tolman–Oppenheimer–Volkoff limit จะมีมวลเพียง 2.2 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ด้วยเหตุนี้จึงทำให้มีช่องโหว่อยู่ระหว่าง 2.2 ถึง 5 เท่าของมวลดวงอาทิตย์ ที่เราเชื่อว่าไม่ควรจะมีดาวนิวตรอน หรือหลุมดำที่พบในธรรมชาติได้

แต่การค้นพบล่าสุดโดยทีมนักวิจัยจาก Max Planck Institute for Radio Astronomy (MPIfR) จากการสังเกตการณ์ด้วยเครือข่ายกล้องโทรทรรศน์วิทยุ MeerKAT ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปแอฟริกา เพื่อทำการสังเกตการณ์พัลซาร์ที่อยู่ภายในกระจุกดาวทรงกลม NGC 1851 มีอัตราการกระพริบมากกว่า 170 ครั้งในทุก ๆ วินาที จัดเป็นพัลซาร์ที่มีอัตราการกระพริบในระดับมิลลิวินาที (millisecond pulsar)

สัญญาณอันสม่ำเสมอที่ถูกปล่อยออกมาจากพัลซาร์ เปรียบได้กับนาฬิกาที่เดินอย่างเที่ยงตรงไม่ผิดเพี้ยน เวลาที่ผิดเพี้ยนไปแม้เพียงเสี้ยวของหนึ่งในพันวินาที จึงบ่งบอกได้ถึงตำแหน่งและกาลอวกาศที่อาจเปลี่ยนไป สืบเนื่องมาจากอิทธิพลของวัตถุอันหนาแน่นอีกวัตถุหนึ่งที่โคจรอยู่รอบ ๆ พัลซาร์ จึงทำให้เราทราบได้ว่าวัตถุที่โคจรรอบพัลซาร์ที่พบนี้ มีมวลมากน้อยเพียงใด

นักดาราศาสตร์เชื่อว่าระบบดาวนี้ น่าจะเริ่มขึ้นจากดาวคู่ที่เป็นพัลซาร์โคจรไปรอบ ๆ ดาวแคระขาวธรรมดา จากนั้น ด้วยตำแหน่งซึ่งอยู่กลางกระจุกดาวทรงกลมที่เต็มไปด้วยดาวเก่าแก่จำนวนมากอยู่กันอย่างหนาแน่น อาจทำให้วัตถุปริศนาบางอย่างเฉียดเข้ามาใกล้ และส่งอิทธิพลแรงดึงดูดระหว่างวัตถุทั้งสาม ก่อนที่จะดีดดาวแคระขาวออกไปในที่สุด จนกลายเป็นเพียงพัลซาร์ที่โคจรรอบวัตถุปริศนานี้

จากการสังเกตการสัญญาณของพัลซาร์ที่ผิดเพี้ยนไปโดยละเอียด ทำให้เราค้นพบว่าวัตถุปริศนานี้ มีมวลมากกว่าดาวนิวตรอนที่หนักที่สุดที่ควรจะเป็นไปได้ และมีมวลน้อยกว่าหลุมดำที่มีมวลน้อยที่สุดที่เคยมีการค้นพบ จึงเท่ากับเป็นการค้นพบวัตถุที่อาจจะเป็นดาวนิวตรอนที่หนักที่สุด หรือหลุมดำที่เบาที่สุด
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 204  เมื่อ 19 ม.ค. 24, 11:01

หากวัตถุนี้เป็นหลุมดำ จะถือเป็นการค้นพบระบบพัลซาร์ที่โคจรรอบหลุมดำระบบแรก ซึ่งเป็นวัตถุหนึ่งที่นักดาราศาสตร์พยายามตามหามาตลอด เพราะการที่เรามีพัลซาร์โคจรรอบหลุมดำ ก็เท่ากับมีห้องปฏิบัติการที่สามารถส่งสัญญาณอย่างเที่ยงตรงราวกับนาฬิกา ที่จะช่วยให้เราเข้าใจหลุมดำ หรือทฤษฎีสัมพัทธภาพที่บ่งบอกถึงการบิดเบี้ยวของกาลอวกาศรอบหลุมดำได้ หรือหากเป็นเพียงดาวนิวตรอน ก็จะเป็นดาวนิวตรอนที่มีมวลมากที่สุด แหกกฎทั้งปวงที่เราเข้าใจเกี่ยวกับดาวนิวตรอน ซึ่งอาจจะบ่งชี้ให้เห็นถึงความบกพร่องในทฤษฎีที่เรามีอยู่เกี่ยวกับดาวนิวตรอน หรือแม้กระทั่งสถานะใหม่ของสสารภายใต้ความหนาแน่นสูงที่เรายังไม่รู้จัก

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม เป็นที่แน่ชัดว่าการค้นพบนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจใหม่ ๆ อีกมาก และยังบ่งชี้ให้เห็นถึงความจำเป็นของการพัฒนาระบบโครงสร้างที่จะสามารถศึกษาสังเกตการณ์ดาราศาสตร์ในช่วงคลื่นวิทยุ เช่นเดียวกับที่ประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มมีกล้องโทรทรรศน์วิทยุขนาด 40 เมตร ณ หอสังเกตการณ์ดาราศาสตร์วิทยุแห่งชาติ ตั้งอยู่ภายในศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ. ดอยสะเก็ด จ. เชียงใหม่ เป็นกล้องโทรทรรศน์วิทยุที่ใหญ่ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อที่จะช่วยให้เราเข้าใจเกี่ยวกับเอกภพที่เราอาศัยอยู่มากขึ้นไปอีกได้

เรียบเรียง: ดร. มติพล ตั้งมติธรรม - นักวิชาการดาราศาสตร์

อ้างอิง/อ่านเพิ่มเติม:
[1] https://www.science.org/doi/10.1126/science.adg3005
[2] https://www.mpifr-bonn.mpg.de/pressreleases/2024/2

https://www.naewna.com/local/781709
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 205  เมื่อ 19 ม.ค. 24, 12:35

รู้จัก "ดาวนิวตรอน" ผ่านการเล่าเรื่องของนักสื่อสารวิทยาศาสตร์ทายาทศิลปินแห่งชาติ "แทนไท ประเสริฐกุล"

เริ่มต้นนาทีที่ ๔.๔๐

บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 12 13 [14]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.073 วินาที กับ 19 คำสั่ง