เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
  พิมพ์  
อ่าน: 30476 จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 165  เมื่อ 17 มี.ค. 15, 10:10

          ส่วนตะวันตกของเนบิวลา(ด้านล่างของภาพนี้) มีชื่อว่า เนบิวลาไม้กวาดแม่มด


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 166  เมื่อ 17 มี.ค. 15, 10:12

The Witch's Broom Nebula


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 167  เมื่อ 17 มี.ค. 15, 10:14

           เมื่อมองภาพขยายใกล้ แลเห็นดาวเจิดจ้าดวงนั้นคือ 52 Cygnus - ดาวยักษ์สีเหลือง
ซึ่งเป็นหนึ่งในเหล่าดาวคู่แห่งหมู่ดาววงศ์หงส์ Cygnus


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 168  เมื่อ 25 มี.ค. 15, 10:35

       จากธุลีละอองดาวฤกษ์ขนาดยักษ์แบบ เนบิวลาซากซุปวา ต่อไปมาดูธุลีละอองดาวฤกษ์ขนาดย่อม
แบบ เนบิวลาดาวเคราะห์   Helix Planetary Nebula
 
          ดาวฤกษ์ขนาดดวงอาทิตย์ที่กำลังสิ้นอายุขัยปล่อยรังสี UV เปล่งแสงสว่าง แลเห็นเป็นเมฆหมอก
ดาวเคราะห์ Planetary Nebula นี้มีรูปลักษณ์แลดูคล้ายเนตรนภากาศ บ้างเรียกว่า Eye of Sauron
แห่ง Lord of the Rings
         เป็นหนึ่งในเนบิวลาดาวเคราะห์ที่สุกสว่างและอยู่ใกล้โลกที่สุด('แค่'ราว 700 ปีแสง) ในแถบหมู่ดาว
คนเท(คนโท) น้ำ(Aqaurius)
         ผลงานศิลปะสร้างสรรค์โดยธรรมชาตินี้ คืออังคารของดาวฤกษ์อย่างดวงอาทิตย์ของเรา ที่ใจกลาง
ของดาวนี้ขณะที่ยังมีชีวิตอยู่คือ ขบวนการนิวเคลียร์ฟิวชั่นผันไฮโดรเจนเป็นฮีเลียมปลดปล่อยพลังความร้อน
และแสงสว่างออกมา เมื่อไฮโดรเจนหมดลง ดาวก็หันไปใช้ฮีเลียมเป็นเชื้อเพลิงหลอมให้เกิดธาตุหนักกว่าขึ้น
มา ได้แก่ คาร์บอน, ไนโตรเจน และ อ็อกซิเจน
          จนกระทั่งเมื่อฮีเลียมหมดลง, ดาวที่ใกล้ตายก็จะกระจายชั้นแก๊สด้านนอกออกไป เหลือมวลไว้เป็น
ดาวแคระขาวในส่วนใจกลางที่มีขนาดเล็ก, หนาแน่น และร้อนระอุ มีขนาดประมาณโลกเราแต่มีมวลมากกว่า

บันทึกโดยกล้อง Spitzer/IRAC(Infrared Array Camera)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 169  เมื่อ 25 มี.ค. 15, 10:38

        ประกายเจิดจรัสของเมฆหมอกนี้มีสเปคตรัมที่กว้างตั้งแต่ ultraviolet - infrared, รังสี uv
เข้มข้นแผดเผาชั้นแก๊สให้โชนแสงเป็นสี infrared ในขณะที่กล้องอีกตัวจับแสง ultraviolet เห็น
เป็นสีน้ำเงิน และอีกตัวจับสัญญาน infrared เป็นสีเหลือง นอกอาณาเขตเมฆหมอก
         ดาวแคระขาวที่เหลือมองเห็นเป็นจุดสีขาวขนาดเท่าปลายเข็มอยู่ใจกลางเมฆหมอก

Helix Planetary Nebula  บันทึกโดย Visible and Infrared Survey Telescope for Astronomy
(VISTA)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 170  เมื่อ 25 มี.ค. 15, 10:40

          กล้องนี้ยังได้จับภาพของโครงสร้างรูปเส้นสายของเมฆโมเลกุลเย็นที่จับตัวกันเป็นเส้นในแนวรัศมี
ชี้ออกจากใจกลาง เมฆโมเลกุลไฮโดรเจนนี้มีชื่อเรียกว่า ปมดาวหาง(cometary knots) แต่มีความยาว
เท่าความกว้างของระบบสุริยะ รวมตัวกันแน่นจนทนทานแรงรังสีจากดาวใกล้ดับด้วยมีฝุ่นและแก๊สโมเลกุล
เป็นเกราะหุ้ม


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 171  เมื่อ 25 มี.ค. 15, 10:42

          ภาพขยายปมปริศนานี้ที่รอคำอธิบาย คือ ปม(knot) แก๊สไฮโดรเจนจำนวนมหาศาล รูปร่างราว
กับดาวหางชี้ออกจากดาวใจกลาง หนึ่งในสมมติฐานที่มาคือ แก๊สที่ถูกขับออกด้วยลมดาวจากดาวใจกลาง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 172  เมื่อ 26 มี.ค. 15, 09:50

        ภาพจาก Hay Creek Observatory เผยให้เห็นอาณาบริเวณสุกสว่างข้างในซึ่งมีความยาว
ราว 3 ปีแสง เมื่อรวมกับส่วนขอบนอกที่จางกว่า เนบิวลานี้จะมีความกว้างยาวราว 6 ปีแสง จุดสีขาว
ที่ตรงกลางคือ ดาวแคระร้อนระอุใจกลางเนบิวลานี้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 173  เมื่อ 26 มี.ค. 15, 09:53

             วาระสุดท้ายของดาวขนาดยักษ์ที่ดับลงด้วยการระเบิดแบบซุเปอร์โนวานั้น ได้หว่านสสาร
กระจายสู่มวลสารระหว่างดวงดาวที่ในเวลาต่อมา สสารเหล่านี้ได้รวมตัวกันเกิดเป็นมวลหมู่ดาวพราวฟ้า
ซึ่งหนึ่งในนั้นก็คือระบบสุริยะของเราด้วย 
             ประมาณการว่าระบบสุริยะก่อกำเนิดขึ้นเมื่อ 4,600 ล้านปีมาแล้ว โดยเชื่อว่า คลื่นกระแทก
(shockwave) จากซุปวาเมื่อ 4,700 ล้านปี ส่งผลให้เมฆโมเลกุลยักษ์ยุบตัวลงเป็นระบบสุริยะ
             เนื่องจากช่วงระหว่างการระเบิดซุปวานี้ได้เกิดมีขบวนการสร้างธาตุกัมมันตรังสีขึ้นมาด้วย เมื่อ
นักวิทย์ทำการศึกษาระยะเวลาการสลายตัวของธาตุกัมมันตรังสีนี้ ทำให้สามารถระบุเวลาของซุปวาได้ที่
100 ล้านปีก่อนกำเนิดระบบสุริยะ นอกจากนี้ยังได้ข้อมูลเพิ่มอีกว่า มีเหตุการณ์ดาวแดงยักษ์เกิดขึ้นเมื่อ
30 ล้านปีก่อนกำเนิดระบบสุริยะด้วย
             นั่นคือ ระบบสุริยะของเรานี้ได้รับสสารที่มากับแรงกระแทกของซุปวาและตามมาด้วยลมจาก
ดาวแดงยักษ์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 174  เมื่อ 26 มี.ค. 15, 09:56

         ส่วนวาระสุดท้ายของดาวขนาดย่อมยามเมื่อเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ไฮโดรเจนใกล้หมด ดาวจะปลด
ปล่อยแสงส่องสว่างกว่าเดิมนับพัน, นับหมื่นเท่า และมีขนาดขยายใหญ่ขึ้น
         ในขณะที่ดาวใกล้จะดับ แต่ดาวกลับสร้างธาตุกำเนิดชีวิตขึ้น นั่นคือ ธาตุคาร์บอนที่เกิดมาจากเตา
นิวเคลียร์ของดาวแขนง AGB (ที่ได้กล่าวถึงไปแล้ว)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 175  เมื่อ 26 มี.ค. 15, 09:59

         คาร์บอนและธาตุหนักตัวอื่นๆ จะค่อยๆ ถูกปล่อยออกไปในลักษณะของลมฝุ่นโอบรอบดวงดาว
แลดูคล้ายรังไหม และ เฉกเช่นผ้าไหมสวยงามที่ถือกำเนิดจากรังไหม ในที่สุดรังฝุ่นนี้ก็จะกระจายออกไป
กลายเป็น เมฆหมอกดาวเคราะห์ Planetary Nebula เนบิวลาแสนงามแห่งห้วงอวกาศและทิ้งดาวแคระ
สีขาวไว้เบื้องหลัง

ภาพ NGC 2440 - เนบิวลาดาวเคราะห์ - เมฆหมอกที่ถูกขับออกมาจากดาวสิ้นอายุขัย เหมือนดั่งรังไหม
ห่อหุ้มดาวแคระขาวตรงใจกลางซึ่งเป็นหนึ่งในดาวที่ร้อนแรงสุดด้วยอุณหภูมิผิวเกือบถึง 200,000 Celsius
แผดรังสี UV ทำให้เนบิวลาเปล่งแสง ในขณะที่ส่วนซึ่งเป็นฝุ่นบังแสงแลเห็นเป็นเส้นมืดพุ่งออกจากใจกลาง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 176  เมื่อ 30 มี.ค. 15, 09:54

          คาร์บอนและธาตุอื่นๆ ในลมจากดาวแขนง AGB จะผสมปะปนกับมวลสารระหว่างดาว เป็น
มวลพร้อมสำหรับการก่อเกิดเป็นดาวดวงใหม่ และ
          อาจกล่าวได้ว่าธาตุเกือบทุกชนิดบนโลกของเรานี้มีที่มาจากอังคารดาว โดยที่นอกจากไฮโดรเจน
และฮีเลียม(ซึ่งมาจากฝุ่น Big Bang)แล้ว คาร์บอน,ไนโตรเจน, อ็อกซิเจนในร่างกายของมนุษย์ทั้งหลาย
ตลอดจนธาตุหนักอื่นๆ ก็น่าจะมาจากภัสมธุลีเศษละอองฝุ่นดาวดับในอดีตเมื่อก่อนกำเนิดระบบสุริยะนั่นเอง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 177  เมื่อ 30 มี.ค. 15, 09:56

         จากการคำนวณจำนวนอะตอมของร่างกายเรามีจำนวนทั้งสิ้นมหาศาลราว 7 x 10^(ยกกำลัง)
27 เป็นอะตอมไฮโดรเจน 4.2 x 10^27 ส่วนที่เหลือเป็นอะตอมที่มาจากละอองดาวคิดได้เป็น 40 %
         เนื่องจากอะตอมจากละอองดาวนี้เป็นธาตุหนัก ดังนั้นหากคิดเป็นมวลแล้วก็จะมีค่ามากกว่าคิดตาม
จำนวนอะตอม ไฮโดรเจนในร่างกายของเรานั้นส่วนใหญ่ไหลไปในรูปของน้ำซึ่งเป็นส่วนประกอบราว 60%
ของร่างกาย ซึ่งคำนวณแล้วได้เป็นมวลไฮโดรเจนเพียงราว 11 % ของมวลของน้ำ
         จากข้อมูลเหล่านี้ เราสามารถสรุปได้ว่า 93 % ของมวลร่างกายเรานั้นมาจากละอองดาว


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 178  เมื่อ 30 มี.ค. 15, 09:59

นักดาราศาสตร์ชื่อดัง(ซึ่งเคยกล่าวถึงไปแล้ว) Carl Sagan บอกว่า


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 179  เมื่อ 30 มี.ค. 15, 10:01

นักจักรวาลวิทยา ผู้เคลื่อนไหวให้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เพื่อลดลบความเชื่อเดิมๆ
Lawrence Maxwell Krauss ประกาศว่า


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 10 11 [12] 13 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.042 วินาที กับ 19 คำสั่ง