เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 14
  พิมพ์  
อ่าน: 30478 จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 150  เมื่อ 09 มี.ค. 15, 11:04

กลับสู่ มวลสารระหว่างดาว ครับ

          ที่มาของมวลสารระหว่างดาวส่วนใหญ่ก็คือ อังคารของดาวสิ้นกาล เมื่อไฮโดรเจนถูกหลอมรวมเป็น
ฮีเลียมจนหมดสิ้นแล้ว ฮีเลียมก็จะถูกหลอมต่อไปได้เป็นธาตุอื่นๆ เกิดการเสียสมดุลระหว่างแรงโน้มถ่วงและ
แรงดันส่งผลให้ดาวขับสารออกจากดาวด้วยความเร็วสูง และหากเป็นสสารที่ถูกขับออกมาจากการแตกระเบิด
ซุเปอร์โนวาที่มีการปลดปล่อยพลังงานมหาศาล, สสารนั้นก็จะถูกขับออกด้วยความเร็วและอุณหภูมิสูงลิบ

ภาพหายากจาก astroanarchy.blogspot.com นำเสนอ จุดจบสองแบบของสองดาวเคียงกัน - เนบิวลา
(Sharpless Catalogue) Sh2-221, 216 แห่งกลุ่มดาวสารถี Auriga
 
       ซ้ายมือคือ Supernova Remnant หม่นมัว ส่วนขวามือ คือ Planetary Nebula ขนาดใหญ่ที่มี
อายุเก่าแก่จนจางสี


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 151  เมื่อ 09 มี.ค. 15, 11:07

          นอกจากนี้สสารระหว่างดาวยังมีที่มาจากดาวที่ยังไม่สูญเสียสมดุลได้ด้วย นั่นคือ ลมจากดาว
(เช่นเดียวกับลมสุริยะ) ที่พัดพาอนุภาคและรังสีสู่พื้นที่ระหว่างดาว ด้วยเหตุนี้องค์ประกอบทางเคมีของ
ดาวและมวลสารระหว่างดาวจึงใกล้เคียงกันมาก

Blowin' in the Stellar Wind - นาซาเสนอภาพ Elephant's Trunk nebula ที่ 2,450 ปีแสงจากโลก  
      
        ที่นั่น เมฆฝุ่นและแก๊สถูกผลักดัน, ริดกร่อนด้วยอิทธิพลจากดาวดวงยักษ์ ใกล้บริเวณใจกลางภาพคือ
งวงของเนบิวลาซึ่งเป็นเมฆหนาแน่นทานทนลมและรังสีดาว
        งวงช้าง - Elephant trunk เป็นคำที่นักดาราศาสตร์ใช้เรียกโครงสร้างลักษณะนี้ เมื่อดาวยักษ์หรือ
กระจุกดาวใกล้เคียงแผดรังสี UV และลมดาวเริงแรงพัดฝุ่นแก๊สกระเจิงไป ทิ้งไว้เพียงส่วนที่เป็นเมฆหนาแน่น
ที่สุด ดาวตัวการที่นี้คือ HR8281 ดาวดวงที่อยู่สูงที่สุดของดาวสามดวงซึ่งเรียงตัวเป็นรูปสามเหลี่ยมแถบใจ
กลางภาพ อาณาเขตฤทธิ์เดชของดาวดวงนี้คือฝุ่นเมฆสีเขียวสดที่รายล้อมเป็นวงรอบ
        ส่วนจุดมืดที่ปลายงวงนั้นคือช่องว่างในแก๊สที่เกิดจากคู่ดาวรุ่งที่เกิดขึ้นใหม่ในเมฆนั้น รังสีและลมจากดาว
คู่นี้พัดฝุ่นแก๊สโดยรอบกระเจิงไปเหมือนกับลมรังสีของดาวยักษ์แต่ระดับขนาดคนละรุ่น และ ดาวสีแดงที่กระจาย
อยู่ไม่กี่ดวงนั้นคือ ดาวรุ่งเกิดใหม่ยังอยู่ในรังฝุ่นรายรอบ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 152  เมื่อ 09 มี.ค. 15, 11:28

       ฝุ่นระหว่างดาวนี้เกาะกลุ่มรวมตัวกันยาวนานนับล้านปีจนมีความหนาแน่นเป็นเมฆฝุ่นที่มีองค์
ประกอบภายในแตกต่างกันไป บางแห่งที่อาจพบว่ามี อินทรีย์โมเลกุล ในบางเมฆฝุ่นซึ่งมาจาก
ซุเปอร์โนวา
       ธาตุทั้งหลายมากมีบนโลกเรานี้ก็ได้มาจาก 'ซุปวา' ในอวกาศ จากการตรวจมวลสารระหว่างดาว
พบว่า มีธาตุราว 30 ชนิดของตารางธาตุ

ภาพ Crab Nebula อยู่แถบกลุ่มดาววัว Taurus คือซาก'ซุปวา' ของดาวยักษ์เมื่อราวหนึ่งพันปีก่อน
(ปี 1054) ธาตุที่ตรวจพบของ Crab Nebula นี้, นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมแล้วก็คือ อ็อกซิเจน
กับนีออน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 153  เมื่อ 10 มี.ค. 15, 14:23

          นอกจากไฮโดรเจนและฮีเลียมที่เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ในมวลสารนี้แล้ว ยังตรวจพบ
โมเลกุลอีกร่วม 200 ชนิดซึ่งรวมถึงโมเลกุลขนาดใหญ่เกิน 12 อะตอมด้วย
          ทั้งนี้ รังสี UV ที่สาดส่องฝุ่นอวกาศอาจมีผลทำให้เกิดโมเลกุลอินทรีย์เชิงซ้อน หรือขบวนการ
carbonization(การเปลี่ยนสารอินทรีย์ให้เป็นคาร์บอนหรือมีคาร์บอนเป็นองค์ประกอบ) ที่สำคัญสุด
คือ รังสีอวกาศ และ ขบวนการจากความร้อนที่จัดการปรับเปลี่ยนฝุ่นอวกาศทำให้เมล็ดฝุ่นปะทะ, ปะทุ,
มีขนาดโตขึ้น  

http://en.wikipedia.org/wiki/List_of_interstellar_and_circumstellar_molecules

^ List of interstellar and circumstellar molecules

     รายการโมเลกุลที่พบใน interstellar medium และ circumstellar envelopes(ส่วนของดาวฤกษ์
ที่มีรูปร่างค่อนข้างทรงกลม, ไม่ถูกอิทธิพลของแรงโน้มถ่วงดึงให้จับอยู่กับแกนดาว มีที่มาจากลมระหว่างดาว
ที่หนาแน่นหรือมีอยู่แล้วก่อนดาวฤกษ์ดวงนั้นกำเนิด)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 154  เมื่อ 10 มี.ค. 15, 14:29

        ที่ปรากฏเป็นข่าวใหญ่จากอวกาศเมื่อปีก่อน ได้แก่ การตรวจพบโมเลกุลที่มีคาร์บอนเป็นส่วนประกอบ
พร้อมโครงสร้างที่มีแขนงซึ่งใกล้เคียงกับลักษณะโครงสร้างเฉพาะของอินทรีย์โมเลกุลเชิงซ้อนในสิ่งมีชีวิต
(เช่น กรดอะมิโน) เป็นครั้งแรกจากเมฆโมเลกุลยักษ์ซึ่งเป็นเรือนเพาะดาวย่านกลุ่มดาวธนู Sagittarius B2
ย่านเกือบใจกลางทางช้างเผือก อยู่ห่างจากโลกไป 27,000 ปีแสง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 155  เมื่อ 10 มี.ค. 15, 14:32

       จากเดิมโมเลกุลอินทรีย์ที่ตรวจพบจะมีคาร์บอนเรียงตัวเป็นเส้นเดี่ยว ในขณะที่การตรวจพบ
โมเลกุลคราวนี้มีคาร์บอนเรียงตัวพร้อมแขนง(branched carbon-chain molecules) ของ
iso-propyl cyanide (i-C3H7CN) จัดเป็นโมเลกุลที่ใหญ่และซับซ้อนที่สุดเท่าที่มีการพบมา
และเชื่อว่าอาจมีอยู่มากมายในมวลสารระหว่างดาว
       การค้นพบโมเลกุลพิเศษครั้งนี้ ทำให้นักวิทย์เชื่อหวังว่า วันข้างหน้าน่าจะมีการตรวจพบโมเลกุล
ของ(สิ่งมีชีวิต คือ) กรดอะมิโนซึ่งมีโครงสร้างที่เป็นลักษณะสำคัญนั่นคือการแตกแขนงข้างอย่างเช่น
โมเลกุลนี้ในมวลสารระหว่างดาว


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 156  เมื่อ 11 มี.ค. 15, 10:59

          ท่ามกลางหมู่ดาวในดาราจักร, มวลสารระหว่างดาวในย่านที่สสารนี้มีความหนาแน่น
(เมฆโมเลกุล) คือ สถานแห่งบ้านกำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่ ซึ่งมีที่มาจากสสารและพลังงานของ
อังคารดาวดับ(เนบิวลาดาวเคราะห์), 'ซุปวา' และ จากลมระหว่างดาว   

           จากดาวดับขับอังคาร สู่มวลสารระหว่างดาว เมื่อถึงคราวมวลรวมตัวกันแน่นหนาเป็น
ย่านกำเนิดดาว นักวิทย์คิดวาดวัฏจักรดวงดาว - ดาวแตกดับเป็นธุลี ธุลีรวมกลับเป็นดาว ดังนี้


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 157  เมื่อ 11 มี.ค. 15, 11:01

ภาพเนบิวลานกอินทรี(Eagle Nebula) - เมฆแก๊สระหว่างดาวประกอบด้วยพลาสมา(-แก๊สไฮโดรเจน
มีประจุ) และส่วนที่เป็นแถบมืดพาดผ่านกลางเนบิวลาคือฝุ่นบัง ที่นั่นซึ่งห่างไกลจากโลกไปประมาณ
6,500 ปีแสง คือ แหล่งก่อกำเนิดดาวรุ่งดวงใหม่


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 158  เมื่อ 11 มี.ค. 15, 11:06

             คือที่มาของ หนึ่งในภาพจากเนบิวลานกอินทรีที่โด่งดังที่สุด นั่นคือส่วนมืดมนนี้ที่เรียกว่า  
          เสาแห่งการก่อกำเนิด(Pillars of Creation) ย่านแห่งการก่อกำเนิดดาวฤกษ์ดวงใหม่
จากการรวมกลุ่มกันของแก๊สและฝุ่นที่มีความหนาแน่นมากในเมฆโมเลกุลขนาดฤกษ์ สลักเสลา
โดยการเคลื่อนไหวของลมดาวฤกษ์จากดาวยักษ์ ตัวเสาซ้ายที่สูงสุดนั้นมีความสูงประมาณ 4 ปีแสง
          เสานี้เป็นเมฆแก๊สไฮโดรเจนเย็นและฝุ่นซึ่งรวมตัวกันหนาแน่นยื่นออกจากกำแพงเมฆโมเลกุล
เป็นส่วนที่ยังคงหลงเหลืออยู่จากการถูกฉีกกัดด้วยรังสี UV จากดาวเกิดใหม่ใกล้เคียง เรียกขบวนการ
นี้ว่า photoevaporation ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดก้อนแก๊สกลม(globule) ที่หนาแน่นยิ่งกว่าส่วนอื่น
ภายในเมฆเรียกว่า evaporating gas globule(EGG) ออกมา
           แก๊สและฝุ่นนี้รวมตัวกันแน่นด้วยแรงโน้มถ่วงในขณะที่ EGG ดึงสสารจากจากบริเวณโดยรอบ
ทำให้เมฆทวีความหนาแน่นพร้อมกับการเพิ่มอุณหภูมิสูงขึ้นของ EGG
           ในบาง EGG นี้เองที่ตัวอ่อนของดาวก่อกำเนิดขึ้น นั่นคือดาวที่หยุดเติบโตทันทีเมื่อ EGG ถูกเปิด
ออกและแยกตัวออกจากหมู่มวลแก๊สรายรอบ เมื่อ EGG พ่ายต่อขบวนการรังสีระเหยนี้ในที่สุดดาวดวงใหม่
ก็จะคลอดออกมา

ภาพรังสีเอ็กซ์และแสงที่ตามองเห็น


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 159  เมื่อ 11 มี.ค. 15, 11:13

          ส่วนภาพล่าสุดเมื่อมกราคมปีนี้ เป็นภาพฉลองครบ 25 ปีของเสาแห่งการก่อกำเนิด หลังจาก
กล้องฮับเบิ้ลบันทึกภาพครั้งแรกแล้วเผยแพร่สร้างความฮือฮาในแวดวงเมื่อปี 1990
         รูปล่าสุดนี้ที่คมชัดแสดงสัดส่วนของเสามากกว่าเดิม ดาวรุ่งยังคงก่อกำเนิดจากเสาเมฆที่ถูกรังสี
จากกระจุกดาวรุ่งดวงยักษ์สลักเสลากัดกร่อนรอวันมลายไป ไอสสารที่ถูกแผดเผาระเหยสู่อวกาศแลเห็น
เป็นหมอกมัวสีฟ้าแถบขอบเสา

ภาพรังสี near-infrared และแสงที่ตามองเห็นให้ภาพที่คมชัดขึ้น


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 160  เมื่อ 11 มี.ค. 15, 11:15

Then & Now เปรียบเทียบกับภาพดั้งเดิมที่คุ้นเคย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 161  เมื่อ 11 มี.ค. 15, 11:47

และสุดท้ายแต่ไม่น้อยสุด จากหน้ารายงานข่าวนาซา เมื่อเดือนกันยายน 2013
         ยาน Voyager 1 ซึ่งออกจากโลกไปนานสามสิบปีกว่าปีแล้ว แต่โลกยังไม่ลืม บัดนี้
ยานได้เข้าไปในพลาสมา(ส่วนที่จินตนาการวาดเป็นสีน้ำตาล) ของมวลสารระหว่างดาวแล้ว
เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2012 นับเป็นวัตถุที่มนุษย์สร้างขึ้นชิ้นแรกที่ส่งออกนอกระบบสุริยะ
ยานนี้จะหมดอายุขัยสิ้นพลังงานในอีก10 ปีข้างหน้า(ปี 2025)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 162  เมื่อ 16 มี.ค. 15, 09:41

          จากภาพสวยงามมาดูภาพสวยหลอนกันบ้าง นั่นคือ Eastern Veil Nebula
เนบิวลาผ้าคลุมหน้าส่วนตะวันออก แลเห็นเป็นเค้าใบหน้าชวนหวาดผวา


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 163  เมื่อ 16 มี.ค. 15, 09:43

         เมื่อราวเกือบหนึ่งหมื่นปีมาแล้ว ก่อนที่จะมีการจารจารึกปูมประวัติศาสตร์ แสงจากห้วงอวกาศ
ไกลลิบข้ามเวหามาเยือนฟากฟ้ายามราตรีส่องสว่างวาบเจิดจรัส ก่อนที่จะจางหายไปในไม่กี่สัปดาห์
ปัจจุบันนี้เป็นที่รู้กันแล้วว่า แสงนั้นคือการระเบิดของดาวฤกษ์ และได้มีการตั้งชื่อเมฆสีสวยสดที่เหลือ
ประดับฟ้าแถบนี้ว่า เนบิวลาผ้าคลุมหน้า Veil Nebula


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 164  เมื่อ 16 มี.ค. 15, 09:45

          นั่นคือ ซากซุปวาขนาดใหญ่อยู่ในย่านกลุ่มดาวหงส์ Cygnus ที่ปลายปีกข้างหนึ่ง
ซากทั้งหมดนี้รวมเรียกอีกชื่อว่า Cygnus Loop อยู่ห่างจากโลกเราไปราว 1,500 ปีแสง
จากการวิเคราะห์แสงที่เปล่งออกมาพบว่ามีอ็อกซิเจน, ซัลเฟอร์ และไฮโดรเจน


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 9 10 [11] 12 13 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.062 วินาที กับ 19 คำสั่ง