เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 14
  พิมพ์  
อ่าน: 30215 จักรวาลน่าพรั่นสะพรึง ชวนให้เราใคร่ครวญคำนึงถึงอัตตาตัวตน(ใหม่)
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 105  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 10:16

          Stellar wind ลมดาวฤกษ์ คือ การเคลื่อนไหลอย่างต่อเนื่องของสสารในสภาพแก๊ส
ที่ถูกขับออกมาจากชั้นบรรยากาศด้านบนของดาว ด้วยอัตราระหว่าง 20 - 2,000 กม./วินาที
ขึ้นกับขนาดของดาว
         ดาวแดงยักษ์(Red Giant), ดาวแดงยักษ์มหึมา(Red Supergiant) และดาว AGB
จะขับมวลสสารจำนวนมากแต่พัดช้า ลมนี้ถูกขับเคลื่อนโดยแรงดันการแผ่รังสีที่กระทำต่อฝุ่นซึ่ง
มีอยู่หนาแน่นในชั้นบรรยากาศชั้นนอกของดาว ส่วนลมจากดาวมวลมหึมาจะมีมวลน้อยแต่เร็วแรง
กว่าลมจากดาวมวลต่ำ และ ลมสุริยะ ที่เป็นอนุภาคประจุไฟฟ้าซึ่งถูกปล่อยออกมาจากชั้นบรรยากาศ
ชั้นนอกของดวงอาทิตย์ก็จัดเป็นลมดาวฤกษ์เช่นกัน

ภาพจากกล้อง Spitzer นำเสนอ ดาวยักษ์ Zeta Ophiuchi แผลงฤทธิ์ออกแรงกระแทกเมฆฝุ่น
ที่รายรอบด้วยลมดาวฤกษ์จากดาวดวงนี้ที่โคจรอย่างเร็วรี่ก่อแรงกระเพื่อมธุลีเป็นระลอกริ้วแลเห็น
เป็นพลิ้วพรายสายเส้นใย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 106  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 10:20

           ภาพที่จะนำเสนอต่อไปจากกล้องฮับเบิลเป็นภาพปรากฏการณ์ของดาวฤกษ์มวลปานกลาง
วัยชราในขั้นตอนสุดท้ายวายชีวีที่ดาวต้องก้าวไปสู่ นั่นคือ ยามที่ดาวนั้นหมดเชื้อเพลิงนิวเคลียร์แล้ว
อยู่ในระยะที่เรียกว่า สภาวะก่อนเนบิวลาดาวเคราะห์(preplanetary /protoplanetary nebula
stage) ซึ่งเป็นช่วงเวลาสั้นๆ ระหว่างระยะตอนปลายของแขนงดาวยักษ์อะซิมโทติก(late asymptotic
giant branch - LAGB) กับ ระยะ เมฆหมอกดาวเคราะห์(planetary nebula -PN)
           ช่วงเวลานี้ ส่วนใจกลางของดาวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้นจากการเผาไหม้ของแก๊สไฮโดรเจน อุณหภูมิ
ที่สูงขึ้นจนถึง 30,000 K ทำให้เกิดการแผ่รังสี ultraviolet เผาแก๊สรอบดวงดาวจนเกิดประจุกลายเป็น
planetary nebula


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 107  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 10:24

          ที่เป็นขั้นตอนหนึ่งของวิวัฒนาการช่วงสุดท้ายของดาวฤกษ์มวลน้อย และมวลปานกลาง
เมื่อปฏิกิริยาเทอร์โมนิวเคลียร์ในแกนกลางยุติลง ทำให้ดาวเสียสมดุลระหว่างแรงดันออกจาก
ความร้อนกับแรงโน้มถ่วง แกนกลางดาวจะยุบตัวเข้าหาศูนย์กลางจากแรงโน้มถ่วง กลายเป็น
ดาวแคระขาว ส่วนเปลือกภายนอกและเนื้อสารของดาวจะหลุดออก และขยายตัวไปในอวกาศ เป็น
          เนบิวลาดาวเคราะห์ซึ่งไร้พลังงาน แต่สว่างได้เนื่องจากได้รับพลังงานจากดาวแคระขาวที่
อยู่ภายใน เมื่อเวลาผ่านไปดาวแคระขาวจะเย็นตัวลง และเนบิวลาดาวเคราะห์ก็จะขยายตัวไปเรื่อยๆ
จนจางไปในอวกาศ
          แม้จะเรียกว่าเนบิวลาดาวเคราะห์ แต่ก็ไม่ได้เกี่ยวข้องกับดาวเคราะห์ ชื่อนี้ได้มาจากลักษณะ
ที่เป็นวงกลมขนาดเล็กแลคล้ายดาวเคราะห์เมื่อสังเกตจากกล้องโทรทรรศน์


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 108  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 10:28

        ส่วนคำว่า เนบิวลา (Nebula - มาจากภาษาละติน หมายถึง "เมฆ, หมอก") ละอองระหว่างดาว
หมายถึง กลุ่มเมฆหมอกของ ฝุ่น, แก๊สไฮโดรเจน, ฮีเลียม และพลาสมา* ในอวกาศ รวมตัวกันด้วย
แรงโน้มถ่วง มีปริมาณมหึมามหาศาลกระจายอยู่ท่ามกลางดาวฤกษ์ในดาราจักร บ้างมีเส้นผ่าศูนย์กลาง
ถึง 10 ปีแสง บ้างก็ใหญ่กว่าระบบสุริยะถึง 10 เท่า
    
*พลาสมา - สถานะ(ที่สี่)ของสสาร คือ แก๊สที่มีสภาพเป็นไอออน - ประจุไฟฟ้า เกิดจากการเผาแก๊ส
จนมีอุณหภูมิสูงมาก หรือการผ่านสนามแม่เหล็กไฟฟ้ากำลังแรงจากแสงเลเซอร์หรือไมโครเวฟ ทำให้
เกิดการเพิ่มหรือลดจำนวนอิเล็คตรอน ส่งผลให้ได้เป็นอนุภาคที่มีประจุบวกหรือลบ เรียกว่า ไอออน
ประจุไฟฟ้าจะทำให้พลาสมามีสภาพการนำไฟฟ้าจึงสนองตอบต่อสนามแม่เหล็กไฟฟ้าก่อเกิดรูปร่าง
เป็นเส้นสาย(filaments), ลำแสง(beams) และชั้นต่างประจุคู่ขนานกัน(double layers)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 109  เมื่อ 11 ก.พ. 15, 10:36

        เนบิวลา มีทั้ง'แบบว่า' เนบิวลาเปล่งแสง ในตัวเองจากการเรืองแสงของอะตอมของไฮโดรเจน
ที่อยู่ในสถานะไอออน เนื่องจากได้รับความร้อนจากดาวฤกษ์เกิดใหม่ภายในเนบิวลานั้นเอง ไอออน
ไฮโดรเจนนี้จะถูกอิเล็กตรอนอิสระกลับเข้าไปจับแล้วคายพลังงานออกมาในช่วงคลื่นเฉพาะตัวตามธาตุ
องค์ประกอบของเนบิวลา ทำให้มีสีต่างๆ กัน  กับ
        เนบิวลาสะท้อนแสง จากการกระเจิงแสงของดาวฤกษ์ใกล้เคียงที่ไม่ร้อนมากพอ และ เนบิวลามืด
ที่มีองค์ประกอบหลักเป็นฝุ่นหนาเช่นเดียวกับเนบิวลาสะท้อนแสง แต่เนบิวลามืดนี้ไม่มีแหล่งกำเนิดแสง
อยู่ภายในหรือโดยรอบ   
   
         ปฏิสนธิของเนบิวลานั้น คาดว่าเกิดขึ้นมาพร้อมกับกำเนิดของจักรวาลที่ก่อกำเนิดดาวฤกษ์รุ่นแรก
แล้วเกิดการระเบิดแตกดับของดาวฤกษ์กลายเป็นซากแก๊สและฝุ่นกระจายออกจากกัน ที่อาจจะกระจาย
ออกไปรวมกับฝุ่นและแก๊สที่อื่นแล้วกลายกลับเป็นดาวฤกษ์ดวงใหม่


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 110  เมื่อ 12 ก.พ. 15, 10:13

ภาพเนบิวลาทั้ง 3 ชนิด ใน กลุ่มดาวนายพราน(Orion) ที่มนุษย์รู้จักกันมายาวนาน
แถบย่านกึ่งกลางกลุ่มดาวนี้มีดาวเรียงกัน 3 ดวง เรียกว่า เข็มขัดนายพราน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 111  เมื่อ 12 ก.พ. 15, 10:15

เนบิวลาหัวม้า(Horsehead)มืด ที่โด่งดัง ตั้งอยู่ใต้ดาว Alnitak ในเข็มขัดนายพราน


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 112  เมื่อ 12 ก.พ. 15, 10:21

          ภาพนี้เป็นภาพประกอบ(composite image) จากฟิลเตอร์โพลาไรซ์ทั้ง 3 สี แสดงแสงสี
(ซึ่งสีสันในภาพไม่ใช่สีที่แท้จริง) จาก"ประภาคารอวกาศ" นั่น คือ Egg Nebula
          อยู่ห่างจากโลกไป 3,000 ปีแสง เผยสภาวะขั้นตอนนี้ที่แลเห็นเป็นประกายเจิดจ้าจาก
ความร้อนของดาวที่กำลังถึงแก่กรรมส่องแสงสว่างสู่เมฆหมอกแก๊สและฝุ่นที่รายลอบดาวนั้น
          แสงจากดาวส่องสะท้อนกับอนุภาคฝุ่นในลักษณะที่เรียกว่า แสงโพลาไรซ์ (Polarized light)
ซึ่งจะเป็นเช่นนี้ที่ชั้นบรรยากาศของโลกเช่นกัน เมื่อฝุ่นสะท้อนแสงอาทิตย์ในลักษณะที่มีการเรียงตัว
ของคลื่นเพียงแบบเดียว ในทิศทางที่แน่นอนก่อนที่จะถึงตาเรา
          ภาพนี้ถ่ายโดย Advanced Camera for Survey(ACS) ของฮับเบิล
แสงจากฟิลเตอร์โพลาไรซ์ที่แตกต่างกัน 3 อันแสดงให้เห็นเป็นสีแดง เขียว และน้ำเงิน  บริเวณใจกลาง
เห็นเป็นสีขาวเนื่องจากมีฝุ่นหนากว่า


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 113  เมื่อ 13 ก.พ. 15, 10:13

        ที่ใจกลางของภาพ, ซ่อนอยู่ใต้เมฆฝุ่นหนาเนบิวลา คือ ดาวฤกษ์คู่ที่เราไม่สามารถมองเห็นดาวได้
โดยตรง หากแต่มีลำแสง 4 ลำจากดาวฤกษ์พุ่งตรงผ่านเนบิวลาออกมา นักวิทย์คิดกันว่า หลุมรูปร่างเหมือน
วงแหวนในกลุ่มฝุ่นหนานี้ที่ถูกเจาะโดยไอพ่นพุ่งจากดาวได้เปิดช่องทางให้ลำแสงลอดออกมาจากเมฆทึบแสง
       ส่วนลักษณะประกายแสงของเมฆที่จางกว่าซ้อนกันเป็นชั้นๆ คล้ายหอมหัวใหญ่ ที่รายล้อมรังฝุ่นบริเวณ
ใจกลางนั้นเป็นผลจากการระเบิดของมวลสารที่เกิดขึ้นอย่างเป็นช่วงเวลาที่แน่นอนจากดาวซึ่งกำลังจะตาย
การปะทุนี้มักจะเกิดขึ้นทุกๆ ไม่กี่พันปี

ภาพนี้จากกล้อง Wide Field Camera 3 ของ Hubble บันทึกภาพโดยเปิดรับแสงที่ตามองเห็น และ
แสง infrared


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 114  เมื่อ 13 ก.พ. 15, 10:18

          ฝุ่นผงละเอียดนี้ ส่วนใหญ่เป็นธาตุคาร์บอนที่สร้างมาจากนิวเคลียร์ฟิวชั่นในใจกลางของดาวแล้ว
ถูกผลักออกสู่อวกาศเมื่อเวลาผ่านไป ในดาวที่มีอายุน้อยกว่า ฝุ่นนี้จะเป็นองค์ประกอบสำคัญในการก่อตัว
ของดาวเคราะห์รายรอบดาวฤกษ์

สองภาพจาก Hubble นี้ มีกล้อง  Wide Field and Planetary Camera 2 (WFPC2) จับภาพใน
แสงสีแดง(ซ้าย) และกล้อง Near Infrared Camera and Multi-Object Spectrometer (NICMOS)
          แสงสีแดงคือ แก๊สไฮโดรเจนที่ถูกเผาจากการปะทะชนกันของชั้นเปลือกดาวที่ขยายออก และ
สีฟ้าคือ แสงจากดาวในใจกลางที่ถูกฝุ่นกระเจิงกระจายออก


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 115  เมื่อ 13 ก.พ. 15, 10:24

พรุ่งนี้ วันที่ 14 ภุมภาพันธ์ ขอชวนชม เนบิวลารูปกุหลาบ ครับ

             The Rosette Nebula (หรือ NGC 2237) เป็นกลุ่มเมฆอวกาศและฝุ่นชนิดเปล่งแสง
(Emission Nebula) ที่สดสวยด้วยสีสันและรูปทรงดอกกุหลาบสีแดง ประดับเวหาหาวห่างไกล
ออกไป 5,200 ปีแสง


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 116  เมื่อ 13 ก.พ. 15, 10:40

          เนบิวลานี้มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 50 ปีแสง อยู่ที่ชายขอบของกลุ่มเมฆโมเลกุลใหญ่
ในย่านกลุ่มดาว Monoceros
(เมฆชนิดโมเลกุล - Molecular cloud กล่าวคือ พื้นที่ของมวลสารระหว่างดาว* ที่มีความหนาแน่น
จนอะตอมตั้งแต่สองตัวขึ้นไปสามารถรวมตัวกันเป็นโมเลกุลซึ่งส่วนใหญ่ คือ ไฮโดรเจน เมฆชนิดนี้จะมี
อุณหภูมิต่ำมากถึง - 225 องศาซี  และแก๊สจะเบียดเสียดกันแน่นจนรวมตัวกันด้วยแรงโน้มถ่วงให้กำเนิด
เป็นดวงดาว)


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 117  เมื่อ 14 ก.พ. 15, 09:05

          ภาพนี้มีส่วนที่เป็นก้านยาวขนาดใหญ่ คือ แก๊สไฮโดรเจนสุกสกาว ส่วนกลีบกุหลาบคือ
เมฆชนิดโมเลกุลหรือ เรือนอนุบาลดารา(Molecular Cloud เมื่อมียุวดาวกำเนิดขึ้นเรียกว่า
Stellar Nursery) ที่ได้กระแสลมและรังสีจากกระจุกดาวตรงใจกลางสลักเสลารูปร่างสมมาตร


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 118  เมื่อ 14 ก.พ. 15, 09:16

          ตามมาด้วย เนบิวลารูปหัวใจ ที่อยู่แสนไกลจากโลกถึง 7500 ปีแสง เป็นเนบิวลาเปล่งแสง
สุกสว่างสร้างรูปหัวใจด้วยพลาสมาที่เป็นแก๊สไฮโดรเจนมีประจุและอิเล็คตรอนอิสระ


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 119  เมื่อ 14 ก.พ. 15, 09:19

       เคียงข้างอยู่ทางซ้ายมือคืออีกเนบิวลาเปล่งแสง จึงได้ชื่อคู่กับ Heart Nebula ว่า Soul Nebula

Soul & Heart 


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 6 7 [8] 9 10 ... 14
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.079 วินาที กับ 19 คำสั่ง