เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
อ่าน: 12699 ชีวิตและผลงานของเสรีไทยที่ถูกอ้างอิงเพื่อใช้ประโยชน์มากที่สุด
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 90  เมื่อ 20 ธ.ค. 14, 22:02

ก็น่านนาซี้ แล้วตอนนั้นเอามาอ้างทำมาย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 91  เมื่อ 20 ธ.ค. 14, 22:21

ไม่ได้เชื่อดอก เพียงอยากจะบอกว่า แม้แต่คุณวิกกี้ยังลืมคุณจำกัด (ไม่ใช่คุณกำจัดเด้อ)  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 92  เมื่อ 20 ธ.ค. 14, 22:26

เอ้า ผ่านครับ   ผ่าน
เข้าเรื่องคุณจำกัดได้แล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 93  เมื่อ 21 ธ.ค. 14, 08:46

คุณเพ็ญชมพูใช้อินทรเนตรได้เชี่ยวชาญ กรุณาหาหน่อยว่าคณะกู้ชาติที่จัดตั้งก่อนญี่ปุ่นบุกนั้น กู้ชาติจากใคร

ขบวนการกู้ชาติ

จำกัด พลางกูร อักษรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดแกนนำคนหนึ่งของขบวนการกู้ชาติ ได้เล่าไว้ในหนังสือ การกู้ชาติ ว่า

"เมื่อข้าพเจ้ายังเรียนอยู่ที่ประเทศอังกฤษข้าพเจ้ารวบรวมสมัครพรรคพวกได้เป็นอันมาก เพื่อจะมาตั้งคณะต่อสู้กับจอมพลแปลกเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างแท้จริงขึ้นทางลับ ๆ ในประเทศไทยแต่ครั้นข้าพเจ้าถูกไล่ออกจากทางราชการ เพราะข้าพเจ้าไม่ไปประกาศทางวิทยุกระจายเสียง เกี่ยวกับประชาธิปไตยของข้าพเจ้าเพื่อนฝูงก็เริ่มเหินห่างออกไป"

แต่เมื่อทราบข่าวญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและท่าทีของรัฐบาลที่ไม่ยอมต่อต้านญี่ปุ่น ความพยายามในการก่อตั้งขบวนการกู้ชาติก็กลับมาอีกครั้ง

"ตอนบ่ายวันที่ ๙ ธันวาคม (๒๔๘๔) ...ข้าพเจ้าได้ปรึกษานายเตียง หาทางออกไปนอกอาณาจักรไทยไปยังพม่า ทราบว่ามีทางออกอยู่ทางแม่สอดและกาญจนบุรี แต่ต่อมาอีกสองวันก็ได้ข่าวว่าญี่ปุ่นได้ยึดสองทางนั้นเสียแล้ว เป็นอันว่าการเตรียมตัวของเราต้องล้มเหลวไปข้าพเจ้าจึงรวบรวมเพื่อนพ้องเพื่อตั้งขบวนการกู้ชาติ ... หลักการของข้าพเจ้ามีอยู่ว่า จะรวบรวมพรรคพวกเท่าที่จะหาได้ แบ่งออกเป็น ๓ ชั้น คือ ชั้นที่ ๑ พวกที่รู้แผนการของข้าพเจ้า ชั้นที่ ๒ คือพวกที่รู้เลา ๆ ว่าข้าพเจ้าทำอะไร และชั้นที่ ๓ คือพวกที่มีความเลื่อมใสและนิยมในตัวข้าพเจ้า พวกเหล่านี้ให้ล่วงรู้อะไรโดยตรงไม่ได้ และถึงเวลาจำเป็นก็คงใช้บริการได้ พวกนี้ได้แก่ศิษย์ข้าพเจ้าโดยมาก

พวกชั้นที่ ๑ เท่าที่รวบรวมได้ก็มีนายเตียง ศิริขันธ์ นายทองอินทร์ ภูริพัฒน์ นายถวิล อุดล นายจำลอง ดาวเรือง นายเรือโท โกเมศ เครือตราชู นายยล สมานนท์ ชั้นที่ ๒ ภรรยา ข้าพเจ้า (นางฉลบชลัยย์ พลางกูร) ได้ไปชวน นางปิ่น บุนนาค (นางราชญาติรักษา) และพวก ข้าพเจ้าได้ไปชวนนายแพทย์เฉลิม บุรณนนท์ ฯลฯ ชั้น ๓ นั้นมีมากมาย

แต่ข้อที่สำคัญก็คือ แม้ว่าพวกเราจะหนีไปตั้งรัฐบาลได้ เราก็ไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้กับกองทัพของจอมพลได้ ข้าพเจ้าเชื่อมั่นว่า ในระหว่างผู้มีอำนาจคงมีใครบ้างที่คิดอย่างเรา แล้วรวมคณะเราเข้าไป คงทำประโยชน์ได้บ้างไม่มากก็น้อย ข้าพเจ้าส่ายตาดูก็เห็นมีแต่อาจารย์ปรีดี พนมยงค์ ผู้เดียวซึ่งจะเป็นหัวหน้า เป็นกำลังสำคัญของคณะกู้ชาติของเราได้ ข้าพเจ้าจึงตรงไปหาท่านที่บ้านสีลมทันที"

ต่อมา ขบวนการกู้ชาติและองค์การต่อต้านญี่ปุ่นได้รวมตัวกันในปลายปี ๒๔๘๔

เรื่องของคุณจ้อมาจาก ๖๐ ปีเสรีไทย วีรกรรมของผู้รับใช้ชาติ โดย ธนาพล อิ๋วสกุล นิตยสารสารคดี ปีที่ ๑๗ ฉบับที่ ๒๐๒ เดือน ธันวาคม ๒๕๔๔

บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 94  เมื่อ 21 ธ.ค. 14, 09:43

อ้างถึง
จำกัด พลางกูร อักษรศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยอ็อกซฟอร์ดแกนนำคนหนึ่งของขบวนการกู้ชาติ ได้เล่าไว้ในหนังสือ การกู้ชาติ ว่า

"เมื่อข้าพเจ้ายังเรียนอยู่ที่ประเทศอังกฤษข้าพเจ้ารวบรวมสมัครพรรคพวกได้เป็นอันมาก เพื่อจะมาตั้งคณะต่อสู้กับจอมพลแปลกเพื่อส่งเสริมประชาธิปไตยอย่างแท้จริงขึ้นทางลับ ๆ ในประเทศไทยแต่ครั้นข้าพเจ้าถูกไล่ออกจากทางราชการ เพราะข้าพเจ้าไม่ไปประกาศทางวิทยุกระจายเสียง เกี่ยวกับประชาธิปไตยของข้าพเจ้าเพื่อนฝูงก็เริ่มเหินห่างออกไป"

ครับ ดังนั้นคณะต่อสู้กับจอมพลแปลกนี้ก็คงจะมีนายเตียงอยู่ด้วยแน่นอน

อ้างถึง
แต่เมื่อทราบข่าวญี่ปุ่นยกพลขึ้นบกและท่าทีของรัฐบาลที่ไม่ยอมต่อต้านญี่ปุ่น ความพยายามในการก่อตั้งขบวนการกู้ชาติก็กลับมาอีกครั้ง

"ตอนบ่ายวันที่ ๙ ธันวาคม (๒๔๘๔) ...ข้าพเจ้าได้ปรึกษานายเตียง หาทางออกไปนอกอาณาจักรไทยไปยังพม่า …..
……..แต่ข้อที่สำคัญก็คือ แม้ว่าพวกเราจะหนีไปตั้งรัฐบาลได้ เราก็ไม่มีกำลังพอที่จะต่อสู้กับกองทัพของจอมพลได้ …….

ครั้นสงครามเลิกแล้ว นายเตียงมีกองกำลังพร้อมอาวุธที่จัดตั้งไว้แล้ว  ก็ดำเนินการกู้ชาติต่อตามอุดมการณ์ และเมื่อต้องต่อสู้กับจอมพล ป.  ซึ่งหวนคืนสู่อำนาจ มาอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับนายปรีดี  นายเตียงและสหายจึงถูกจัดการ ตามเกมแห่งอำนาจ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 95  เมื่อ 21 ธ.ค. 14, 09:54

เกมแห่งอำนาจนี้  คือการต่อสู้ช่วงชิงการเป็นผู้ชนะ  ผู้สมัครเข้าเล่นเกมจะต้องกำจัดคู่ต่อสู้ออกไปให้พ้นทางด้วยวิธีที่ยังให้เป็นอยู่ หรือให้ตายก็ได้  
ผู้ที่ถูกกำจัดคือผู้แพ้  เมื่อสมัครใจเข้าเล่นเกมแห่งอำนาจแล้ว ผู้แพ้ก็ไม่ควรจะต่อว่าผู้ชนะว่าเล่นรุนแรงเกินเหตุ  เพราะหากตัวทำเขาได้  ตัวก็คงทำเช่นเดียวกัน  แต่นี่ตัวทำเขาไม่ได้  ตัวจึงได้แพ้และถูกขจัดออกไป

เกมแห่งอำนาจนี้เล่นกันมานานแล้ว ตั้งแต่มนุษย์ทุกชาติทุกภาษาเกิดมาในโลก เดี๋ยวนี้เกมนี้ก็ยังเล่นกันอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนรูปแบบไปตามกาลสมัยเท่านั้น
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 ... 5 6 [7]
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.052 วินาที กับ 19 คำสั่ง