เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
อ่าน: 11380 ตำนานญี่ปุ่น:ชายในระฆัง
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
 เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 21:10

มาตั้งกระทู้ไว้ก่อน  พร้อมลงรูป เป็นออเดิฟ
เรียกนักเรียนค่ะ


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 21:57

มาคร้าบบบบบบบบ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 23:07

เย้! ดีใจจังเลยค่ะ ยิงฟันยิ้ม เรือนของพวกเรากลับมาอุ่นหนาฝาคั่งอีกครั้ง อาทิตย์ก่อนช่วงวันหยุดยาว ขึ้นเรือนมาแล้วเด็กหญิงแอนนารู้สึกใจคอห่อเหี่ยว ไม่พบผู้ใหญ่ในเรือนเลยแม้แต่ท่านเดียว บรรยากาศเงียบเหงาวังเวงสุดๆ ร้องไห้
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 07:13

เข้า class
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 08:46

ลงจากเรือนไทยไปพักผ่อนหลายวันค่ะ   ปีนี้ไม่ได้ไปโคโลราโด   หมดภารกิจทางโน้นแล้ว     เลือกไปญี่ปุ่นเพราะคิดว่าอากาศน่าจะสบายกว่า  ที่ไหนได้เจออุณหภูมิเท่าโคโลราโดเลย หนาวสุดๆ 
ขาดแต่หิมะในเมืองเท่านั้น  แต่บนภูเขาหิมะตกแล้ว

ก่อนเริ่มเรื่อง ยกชาเขียวมาเสิฟนักเรียนก่อน  ให้ได้บรรยากาศ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 08:47

แถมไอศกรีมชาเขียวปลอบขวัญคุณแอนนาอีก ๒ ถ้วย


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 09:06

ที่มาของตำนานเรื่องนี้คือวัดชื่อ Dojo  เรียกแบบญี่ปุ่นว่า Dojo-ji,  อยู่ในวาคายามา ทางตอนใต้ของญี่ปุ่น  เชื่อกันว่าสร้างขึ้นในค.ศ.701 ตามพระราชโองการของจักรพรรดิเทนมู  เป็นวัดที่เก่าแก่ที่สุดในวาคายามา   แต่ถ้าเดินเข้าไปจะพบว่าตัวสิ่งก่อสร้างนั้นสวยงามอยู่ในสภาพสมบูรณ์อย่างไม่น่าเชื่อ    ก็ไม่น่าเชื่อจริงๆ เพราะมันไม่ใช่ของเก่าดั้งเดิม

ญี่ปุ่นมีทัศนคติในการอนุรักษ์โบราณสถานคนละขั้วกับไทย     ไทยจะรักษาของเดิมเอาไว้มากที่สุดไม่ยอมรื้อ แต่ใช้วิธีบูรณะซ่อมแซมแทน    กรมศิลปากรของไทยมีหน้าที่ยื่นมือเข้ามาห้ามไม่ให้ชาวบ้านเที่ยวรื้ออาคารบ้านเรือนเก่าแก่ตามใจชอบ โดยขึ้นทะเบียนโบราณสถานเอาไว้ แสดงว่าที่นั้นเป็นอาคารอนุรักษ์ รื้อทิ้งไม่ได้   แล้วกรมศิลปากรก็มีหน้าที่บูรณะสภาพเอาไว้ให้คงเดิมที่สุดเท่าที่งบประมาณและฝีมือจะอำนวย

ส่วนญี่ปุ่นเขาตรงกันข้าม   อาคารเก่าเขารื้อหมดเมื่อสภาพชักจะทรุดโทรม   แต่ก่อนรื้อ เขาจะมีบันทึกการก่อสร้างเอาไว้อย่างละเอียด อาคารกี่ชั้น กว้างยาวขนาดไหน ใช้ไม้หน้ากี่นิ้วขนาดเท่าไหร่  หน้าต่างประตูเป็นยังไง กระเบื้องแบบไหนใช้กี่แผ่น   จดละเอียดยิบเอาไว้หมด เพื่อส่งทอดให้ลูกหลานและชาวบ้านรุ่นหลังสร้างขึ้นมาได้ไม่ผิดเพี้ยนของเดิม    แล้วก็สร้างใหม่โดยไม่ดัดแปลงจากเก่า     เป็นการสืบทอดโบราณสถานทั้งหลายให้มีชีวิตชีวาอยู่ในสภาพเดิมเหมือนเมื่อแรกสร้าง

ดังนั้นเมื่อย่างก้าวเข้าไปในวัดโบราณ ทั้งแห่งนี้และแห่งอื่นๆ จึงมองความงามสง่าแบบโบราณ  แต่ไม่เห็นความคร่ำคร่าตรงไหนเลย   ก้มลงมองพื้นก็เห็นเสื่อและพื้นไม้เอี่ยมสะอาดเป็นเงา   แข็งแรงไม่ยุบไม่ยวบ  ไม่มีรอยซ่อมแปะของใหม่แทรกของเดิม  แต่เขาสร้างใหม่เฉพาะอาคาร  ตัวโบราณวัตถุเช่นพระพุทธรูปและเทวรูปในวัด ยังเป็นของเก่าแก่ดั้งเดิมอยู่นะคะ  รักษาไว้ในสภาพสมบูรณ์



บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 09:27

สถาปัตยกรรมไม้ของญี่ปุ่น


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 09:28

เดินเข้าไปในอาคารนี้ ถ้าเป็นไทยน่าจะเรียกว่าวิหาร


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 09:29

อ้อ ลานวัดมีใบไม้เปลี่ยนสีด้วยค่ะ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 09:53

เมื่อก้าวขึ้นบันไดไป ก็เจอแท่นบูชา และเทวรูปเจ้าแม่กวนอิมพันมือ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 10:00

มีรูปนางละครคาบูกิติดอยู่ข้างฝาและใต้เพดานเต็มไปหมด    แปลกตาสำหรับคนไทย 
เพราะเราจะไม่เอารูปผู้หญิง หรือการแสดงใดๆมาติดไว้ในโบสถ์วิหาร
แต่รูปเหล่านี้มีความหมาย  เพราะตำนานของวัดนี้กลายไปเป็นละครคาบูกิที่แพร่หลายมาก

อ้อ นางละครคาบูกิทั้งหลายไม่ใช้ผู้หญิงแสดงนะคะ   ทำนองเดียวกับละครนอกแต่ดั้งเดิมของไทย  คือใช้ผู้ชายเล่น
นางเอกคาบูกิบางคนล้างเมคอัพและวิกผมออกมา กลายเป็นคุณลุงคุณตาก็มี


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 10:27

บรรยากาศกำลังดีเลยครับ
กรุณาเปิดตัวพรีเซนเตอร์ได้แล้ว
เอาแบบไม่สวมหน้ากากนะครับ
เดี๋ยวจะเหมือนละครคาบูกิ
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 10:34

อ้าว ละล้าละลัง  กำลังจะพาชมวัดก่อนเข้าเรื่อง
โดนท่านอาจารย์ไล่ให้เข้าเรื่องแล้ว  นักเรียน จ้ำมากันทางนี้ด่วน เร็วเข้า

ข้างใน เป็นห้องโถงใหญ่เหมือนในพิพิธภัณฑ์ มีทั้งพระพุทธรูปและเทวรูปให้เคารพบูชา (และบริจาค)
นี่เจ้าแม่กวนอิมพันมือ


บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33585

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 12 ธ.ค. 14, 10:36

พระพุทธรูป โบราณ  เขาบอกว่ามาจากปากีสถานหรือที่ใดที่หนึ่งแถวๆนั้น


บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.059 วินาที กับ 19 คำสั่ง