เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
อ่าน: 38634 สิ้น "เสนีย์ เสาวพงศ์" ตำนานนักเขียนเมืองไทย
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 06:18

บ่ายนี้จะไปฟังเสวนาค่ะ แล้วดูหนังเรื่องปีศาจ ขอสารภาพว่าเคยได้ยินชื่อนิยายเรื่องนี้ แต่ไม่เคยสนใจที่จะอ่านเลยค่ะ ต้องขอบพระคุณอาจารย์เพ็ญชมพูและทุกท่านที่นำข้อมูลมาแบ่งปัน ทำให้หูตาดิฉันขยายกว้างขึ้น

ยินดีที่คุณแอนนาได้รับประโยชน์สมความปรารถนา ตามความในเพลงนี้



นำมาฝาก สำหรับคนพลาดงานเมื่อวานนี้  ยิงฟันยิ้ม



บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 14:31

        มีเซอร์ไพรส์ท้ายการอภิปรายด้วย: รัชนี ก็เป็น ปีศาจ


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 15:51

นาทีที่ ๑.๓๒.๔๐ ถึง ๑.๓๓.๐๕

ที่แท้จริงของปีศาจในเรื่องนี้คือ "รัชนี" เพราะรัชนีประกาศตัวเป็นขบถชัดเจนต่อชนชั้นตัวเอง แล้วหลอกหลอนชนชั้นตัวเองอย่างรุนแรงที่สุด ในขณะที่ชนชั้นตัวเองรักและผูกพันตัวรัชนี

เสนีย์ เสาวพงศ์

จากความทรงจำของนายแพทย์ประจวบ มงคลศิริ ผู้แสดงเป็น สาย สีมา ในภาพยนตร์เรื่อง ปีศาจ

บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 16:06

กวีประชาภิวัฒน์ : หยดหนึ่งแห่งกาลเวลา โดย ราตรี ประดับดาว
(แนวหน้า 14 ธํนวาคม 2557)

ใบไม้หนึ่งร่วงปลิวพลิ้วชายป่า
พงพนามิสะเทือนถึงเลื่อนลั่น
แต่ต้นใหญ่ไม้แกร่งแห่งวงวรรณ
กลับกระเทือนเฟือนสนั่นลั่นปลายฟ้า

เธอคือไม้ต้นแกร่งแห่งวรรณศิลป์
ที่หลั่งรินความหมายให้ค้นหา
แม้เป็นเพียง”หยดหนึ่งแห่งกาลเวลา”
หากเหมือน”ความรักของวัลยา”ค่าอนันต์

เริ่มต้นที่”โบ้ บางบ่อ”แหล่งก่อร่าง
พลันสรรค์สร้างแรงไฟความใฝ่ฝัน
ที่หนังสือ “สุวัณภูมิ”ปูมสำคัญ
แหล่งเพาะพันธุ์ตำนานอันงดงาม

”ชัยชนะของคนแพ้” สรรพ์แง่คิด
เริ่มชีวิตเดินทางไกลฝ่าไหน่หนาม
เป็น “เสนีย์ เสาวพงศ์”ธำรงนาม
คู่สยามตราบนิรันดร์กัลปา

จาก”เดือนตกในทะเลจีน”ถึง ”ปีศาจ”
คือประกาศสัจธรรมอันล้ำค่า
กระทั่งถึง ”คนดีศรีอยุธยา”
คือ”ทานตะวันดอกหนึ่ง”กล้าท้าตาวัน

เก้าสิบหกปีกาลงานหลากหลาย
ผ่าน”ชีวิตบนความตาย”คล้ายความฝัน
นักการทูต-นักหนังสือพิมพ์-นักประพันธ์
คือหนึ่งหมุดหนึ่งชีวันอันแสนงาม

คือคนแรกแห่งรางวัล “ศรีบูรพา”
หนึ่งตำรา “ศิลปินแห่งชาติ”สยาม
คือคนแรก”นักเขียนอมตะ”ประกาศนาม
หนึ่งนิยามรางวัล”นราธิป” ทิพธารา

นับแต่หนึ่งวินาทีนี้ต่อไป
จะมีใครถาม ”อุชเชนี”อีกทีว่า
“เมื่อไรเด็กสองคนนั้นจะมา-
พาเราไปกินข้าวกลางวันกัน”

เมื่อไม้ใหญ่แห่งพนานต์วรรณศิลป์
จำร่วงโรยโบยบินถิ่นสวรรค์
เด็กใดใดในแผ่นดินสิ้นรำพัน
ไม่มีวันพรุ่งนี้...นิรันดร!!!@

(แด่ เสนีย์ เสาวพงศ์ 12 กค 2461-29 พย2557)
บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 21:45

อาจารย์เพ็ญชมพูก็ไปงานเมื่อวานนี้มาเหมือนกันหรือคะ ไปร่วมงานเมื่อวานนี้ดิฉันได้ความรู้เพิ่มอีกเพียบเลยค่ะ แถมยังได้พบนักเขียนอีกหลายท่านด้วย
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 15 ธ.ค. 14, 22:04

ไปทางอินทรเนตร จะได้บรรยากาศสู้ไปด้วยตัวเองอย่างไรได้

อยากให้คุณแอนนากรุณาเล่าสู่กันฟังถึงบรรยากาศและความรู้ที่เก็บเกี่ยวได้จากงาน อยากฟังจัง  ยิงฟันยิ้ม

บันทึกการเข้า
Anna
องคต
*****
ตอบ: 552


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 08:40

บรรยากาศคึกคักมากค่ะ ผู้คนล้นหลามจนที่นั่งไม่พอต้องเสริม บางคนหาที่นั่งไม่ได้ต้องลงนั่งกับพื้นก็ยอม ผู้จัดถึงกับออกปากว่าถือเป็นปรากฏการณ์ เพราะที่ผ่านมาการจัดงานแต่ละครั้งต้องคอยลุ้นว่าจะมีคนมีร่วมงานหรือเปล่า ซึ่งตรงนี้ ดิฉันคิดว่าอาจเป็นเพราะการประชาสัมพันธ์ในครั้งก่อนๆน้อยเกินไปก็ได้ ดิฉันเอง ถ้าไม่เข้ามาอ่านกระทู้นี้ในเรือนไทยก็คงไม่ทราบเรื่อง และไม่สนใจจะติดตามด้วย

ผู้ร่วมงานที่ลงทะเบียนได้รับแจกหนังสือ"เรื่องสั้นสันติภาพ" โดยถ้วนหน้า  ตอนที่เค้าขานชื่อเรียกรับหนังสือ ได้ยินชื่อ"อุทิศ เหมะมูล" แต่ดิฉันไม่เห็นตัว ได้เห็น"สุชาติ สวัสดิ์ศรี" ได้พบอาจารย์เพ็ญศรี เคียงศิริ "นราวดี" ท่านไปคนเดียว พอดิฉันเห็นว่าท่านเดินไม่ค่อยถนัดนักจึงเข้าไปช่วยรับหนังสือแทน และดูแลพาท่านลงลิฟท์ไปเข้าห้องน้ำ ตลอดจนเดินเป็นเพื่อนพาท่านไปส่งที่รถ เลยได้คุยกัน  พอเห็นนักเขียนหลายท่านเข้า ดิฉันยังแอบหวังว่าจะได้พบ"ว.วินิจฉัยกุล/แก้วเก้า"นักเขียน idol ของดิฉัน แต่ก็ไม่พบ เศร้า

ดิฉันได้ที่นั่งติดกับคุณวาณี สายประดิษฐ์ บุตรสาวคนเล็กของท่านปรีดี พนมยงค์ และเป็นสะใภ้ของ "ศรีบูรพา"ได้คุยกับคุณวาณีดิฉันก็ได้รับความรู้เพิ่มอีกหลายเรื่อง และท่านยังให้เกียรติเชิญดิฉันไปเยี่ยมชมบ้านของท่าน ซึ่งกำลังจะปรับปรุงทำเป็นพิพิธภัณฑ์แสดงผลงานของศรีบูรพา   
สุดท้ายได้ชมภาพยนต์เรื่องปีศาจ ซึ่งเพิ่งเข้าใจเดี๋ยวนั้นเองว่าปีศาจที่ว่าหมายถึงอะไร


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 10:49

บรรยากาศคึกคักมากค่ะ ผู้คนล้นหลามจนที่นั่งไม่พอต้องเสริม

(ไม่ได้ไป, อาศัย) ภาพจากเฟซบุ๊ค ยอดบางเตย


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 17 ธ.ค. 14, 15:47

สาย สีมา (โปรยชัย ชโลมเวียง - นายแพทย์ประจวบ มงคลศิริ) และ รัชนี (ศรอนงค์ นวศิลป์) ในภาพยนตร์ พ.ศ. ๒๕๒๒ (ซ้าย) มาพบกันอีกครั้งในงานรำลึกถึงเสนีย์ เสาวพงศ์ (ขวา) ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 12 ก.ค. 18, 13:42

๑๒ กรกฎาคม ๒๕๖๑ รำลึก ๑๐๐ ปีชาตกาล ศักดิชัย บำรุงพงศ์ "เสนีย์ เสาวพงศ์"


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 12 ก.ค. 18, 20:16

[ เสนีย์ เสาวพงศ์ อายุครบ ๑๐๐ ]

คุณศักดิชัย บำรุงพงศ์ เป็นที่รู้จักกันในนามปากกามากกว่าคือเสนีย์ เสาวพงศ์  วันนี้อายุครบ ๑๐๐  เสียดายที่ไม่มีใครจัดงานเป็นที่ระลึกให้ท่านเลย  คุณเสนีย์เขียนหนังสือน้อยกว่าคุณคึกฤทธิ์  แต่มีคุณภาพมากกว่า และยืนหยัดอยู่เพื่อความยุติธรรมของสังคม โดยเป็นตัวแทนของคนข้างล่างที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ  ในขณะที่ข้อเขียนของคึกฤทธิ์ยืนอยู่ฝ่ายคนข้างบน กดหัวคนข้างล่าง ให้สยบยอมกับศักดินาขัตติยาธิปไตย  ทั้งงานเขียนของคึกฤทธิ์หลายชิ้นขโมยเอามาจากงานของฝรั่ง (plagiarism) ซึ่งเป็นอนันตริยกรรมในทางวรรณกรรม  แต่แล้วรัฐบาลไทยก็เสนอให้คึกฤทธิได้คำรับรองจาก UNESCO ว่าเป็นบุคคลตัวอย่าง  คงจะต้องใส่วงเล็บต่อไปว่า (เป็นตัวอย่างในทางกลิ้งกะล่อน หลอกหลวง และมอมเมาประชาชนมากกว่า)

คุณศักดิชัยรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ เคยเป็นหน้าห้องของคุณดิเรก ชัยนาม เมื่อท่านผู้นั้นเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ  คุณศักดิชัยรับใช้คุณดิเรกอย่างใกล้ชิด พอถึงตอนเสนอให้ขึ้นเงินเดือน คุณดิเรกบอกกับคุณศักดิชัยว่า "ศักดิชัยรับใช้ใกล้ชิดอาจารย์ ถ้าเสนอขึ้นเงินเดือนให้เธอเป็นพิเศษ คนจะหมั่นไส้เอา อย่าเอาสองขั้นเลย"  แต่คุณศักดิชัยก็เคารพนับถือท่านเป็นอันมาก  

คุณศักดิชัยเคยเล่าให้ฟังว่ามีโทรศัพท์มาที่กระทรวง ซึ่งคุณศักดิชัยต้องรับก่อนและถามว่าใครพูด คำตอบก็คือ "อดุลพูด" ถามต่อไปว่า "อดุลไหน" คำตอบคือ "อดุลเดชจรัส จะพูดกับคุณดิเรก"  คุณศักดิชัยกลัวจนเกือบตกเก้าอี้  โดยที่เวลานั้นคุณหลวงอดุลฯใกล้ชิดกับคุณดิเรกมาก  เคยมาเยี่ยมที่กระทรวงต่างประเทศ เวลาเดินออกไปขึ้นรถ ท่านให้คุณศักดิชัยเดินนำหน้า เพราะท่านพกปืนติดตัวตลอด แสดงว่าไม่ไว้ใจใครเลย  

ต่อมาคุณศักดิชัยยังได้ร่วมงานกับ วรพุทธิ์ ชัยนาม ลูกชายของคุณดิเรก ณ สถานทูตไทย ณ กรุงเวียนนา  คุณศักดิชัยชื่นชมวรพุทธิ์มาก ว่าฉลาด ขยัน และอุทิศตัวเพื่อราชการยิ่งกว่าเห็นประโยชน์ส่วนตัว

เราต้องไม่ลืมว่า ภรรยาของคุณศักดิชัยนั้น เป็นลูกสาวคุณเฉลียว ปทุมรส ซึ่งเคยเป็นราชเลขานุการในพระองค์ในหลวงรัชกาลที่ ๘ และถูกศาลฎีกาลงโทษประหารชีวิตร่วมกับมหาดเล็กอีก ๒ คนที่เป็นผู้ต้องหา  ภรรยาคุณศักดิชัยเคยเป็นทนายให้พ่อ แต่เมื่อคดีนี้ผ่านพ้นไป ทั้งสองท่านนี้ไม่เคยพูดถึงกรณีสวรรคตอีกเลย

โดยที่ท่านผู้หญิงพูนศุข พนมยงค์ เป็นประธานในการหมั้นคุณศักดิชัยและคุณเครือพันธ์ เพราะตอนนั้นอาจารย์ปรีดีลี้ภัยไปแล้ว และท่านผู้หญิงพูนศุขก็ถูกจับในงานหมั้นของคู่นี้เอง

ผมมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับคุณศักดิชัยได้มาก เพราะคุ้นกับท่านมานาน โดยที่ท่านเป็นคนที่อ่อนน้อมถ่อมตัว และมีอารมณ์ขันที่ถ้าใครตามท่านไม่ทัน ก็อาจจะไม่ขันไปด้วย  ส่วนงานเขียนของท่านนั้น บางชิ้นถือได้ว่าเป็นอมตะเอาเลย  

สมัยผมทำ สังคมศาสตร์ปริทัศน์ ได้อุดหนุนนักเขียนรุ่นใหม่ คนหนึ่งในจำนวนนี้คือ นิพนธ์ ขำวิไล ซึ่งเขียนฉันท์ได้เป็นเลิศ และเขียนเรื่องสั้นได้อย่างวิเศษ  ดังผมเคยให้แปลเป็นภาษาอังกฤษและนำไปลงพิมพ์ในนิตยสาร Solidarity ที่ฟิลิปปินส์ คุณศักดิชัยอ่านแล้ว บอกกับผมว่า "เด็กรุ่นใหม่เขาเขียนได้ดีกว่าผมเสียแล้ว" แสดงว่าท่านมีความอ่อนน้อมถ่อมตนมาก เสียดายที่นิพนธ์มุ่งความเป็นเลิศมากไป เขาจึงไม่มีวรรณศิลป์ทิ้งร่องรอยไว้ให้อีก

สำหรับงานเขียนของเสนีย์ เสาวพงศ์ นั้น เชื่อว่าจะมีคนพูดถึงได้มาก เพราะท่านมีความเป็นเลิศจริงๆ  และท่านเป็นคนแรกที่ได้รับรางวัลศรีบูรพา ต่อจากนั้นมาคนที่ได้รับรางวัลดังกล่าวจะหาใครที่มีงานเขียนเป็นเลิศ เช่นเสนีย์ เสาวพงศ์ เห็นจะหาไม่ได้

ในโอกาสศตวรรษชาตกาลของท่านคราวนี้  หวังว่าคนรุ่นใหม่จะเข้าถึงงานเขียนของท่าน และผลิตงานเขียนได้ตามรอยท่าน อย่าไปตามรอยคึกฤทธิ์ ปราโมช หรือหลวงวิจิตรวาทการ กันเลย

ขอแถมอีกนิดนึงว่า ปาจารยสาร เคยทำฉบับพิเศษสำหรับเสนีย์ เสาวพงศ์ ถ้าใครสนใจสามารถขอรับได้ตามรายละเอียดด้านล่างนี้

https://m.facebook.com/story.php?story_fbid=10156184423322798&id=114459752797

ส. ศิวรักษ์


https://www.facebook.com/114459752797/posts/10156184792422798/


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 13 ก.ค. 18, 09:48

        ชอบอ่าน,ฟังเรื่องราวจาก ส.ศ.ษ. นอกจากเรื่องราวที่ไม่ค่อยได้ยิน,ฟัง ยังได้ฝึก "การทำใจให้เป็นกลาง(ไม่ยินดี,ยินร้าย)"
กับข้อความบางส่วนที่ชนแรงด้วย

รูปประกอบ คือหนังสือที่คุณเพ็ญได้รับแล้ว?
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 13 ก.ค. 18, 09:56

        ชอบอ่าน,ฟังเรื่องราวจาก ส.ศ.ษ. ได้ฝึก "การทำใจให้เป็นกลาง(ไม่ยินดี,ยินร้าย)" กับข้อความบางส่วน
ที่ชนแรง
    เห็นด้วยค่ะ   ทำได้ก็เท่ากับผ่านขั้นตอนของอุเบกขาไปได้อีกขั้นหนึ่งแล้ว
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 13 ก.ค. 18, 10:29

รูปประกอบ คือหนังสือที่คุณเพ็ญได้รับแล้ว?

ไม่ดอกเพียงบอกกล่าว
ถ่ายทอดข่าวเรื่องหนังสือ
หากใคร่ได้ถึงมือ
ไม่ต้องซื้อเพียงแจ้งไป


"ปาจารยสาร" ฉบับนี้ เมื่อทายาทของคุณศักดิชัยได้อ่านแล้ว ได้ส่งข้อความมายังสาราณียกรว่า "เปิดอ่าน น้ำตาซึม คิดถึงพ่อสุดหัวใจ ในฐานะลูก มันเป็นความภาคภูมิใจอย่างที่สุด ที่น้องยังศรัทธาในตัวพ่อ" (๒๒/๓/๕๘)

https://www.facebook.com/114459752797/posts/10156184423322798/
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 10 ส.ค. 18, 09:52

ศักดิชัย บำรุงพงษ์ และสุภา ศิริมานนท์ นักเขียน นักแปล นักหนังสือพิมพ์ บรรณาธิการ "อักษรสาส์น" รายเดือน

ปารีส ฝรั่งเศส ช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่  ๒


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.082 วินาที กับ 20 คำสั่ง