เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
อ่าน: 18236 พระบรมศพพระเจ้าสีป่อ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 11:41

ระหว่างเยือนอินเดียเพื่อ พ.ศ. ๒๕๕๕ ประธานาธิบดีเต็งเส่งได้ไปเคารพพระบรมศพของพระเจ้าสีป่อที่พระราชสุสาน เมื่องรัตนคีรี รัฐมหาราษฎร์ ด้วย  ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 12:02

โปรดสังเกตว่าคุณเต็งเส่งยืนเคารพพระบรมศพด้านที่มีจารึกเป็นภาษาอังกฤษ ทั้ง ๆ ที่อีกด้านหนึ่งในรูปของคุณหนุ่มมีจารึกภาษาพม่า  ยิงฟันยิ้ม


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 13:29

โปรดสังเกตว่าคุณเต็งเส่งยืนเคารพพระบรมศพด้านที่มีจารึกเป็นภาษาอังกฤษ ทั้ง ๆ ที่อีกด้านหนึ่งในรูปของคุณหนุ่มมีจารึกภาษาพม่า  ยิงฟันยิ้ม

คงต้องดูจุดยืนและการทำความเคารพว่า จุดนั้นเป็นภาษาอะไร
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 13:45

จุดที่คุณเต็งเส่งยืนทำความเคารพ เป็นภาษาอังกฤษแน่นอน  ผนังสุสานทาสีใหม่เอี่ยมเชียว ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
แสงดาวฝั่งทะเล
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 14:43

ขอบคุณทุกท่านที่เข้ามาตอบและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นค่ะ เห็นด้วยกับอาจารย์เพ็ญชมพูนะคะ ตอนนี้พม่าเป็นสังคมนิยมแล้ว คงไม่อยากให้ประชาชนหวนไปคิดถึงระบบกษัตริย์อีก แต่ในแง่ศักดิ์ศรีของชาติ การปล่อยให้อดีตกษัตริย์ของตัวเองไปนอนอยู่ต่างบ้านต่างเมืองแบบนั้น โดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าไม่เหมาะสมเลย เพราะไม่ว่าคนพม่าจะคิดอย่างไรกับท่าน แต่ท่านก็เป็นกษัตริย์เป็นเจ้าเป็นนาย เคยเป็นสัญลักษณ์ของประเทศ รวมถึงอินเดียด้วยประเทศก็ออกจะใหญ่โต ทำไมไม่อัญเชิญกษัตริย์ของตัวเองกลับบ้านกลับเมือง เพราะดิฉันไม่เชื่อว่ากษัตริย์ทั้งสองพระองค์ท่านจะไม่เคยทำคุณงามความดีให้แก่ประเทศชาติเลย ทีเพชรนิลจินดาเห็นทวงกันข้ามประเทศให้วุ่นวาย แต่นี้เป็นคนนะแล้วไม่ใช่คนธรรมดาด้วย ทำไมจึงเห็นวัตถุมีคุณค่ามากกว่าคน มากกว่าประวัติศาสตร์ของตนเอง  ท่าจะให้ดีอังกฤษนั่นแหล่ะควรจะเป็นเจ้าภาพในการอัญเชิญพระบรมศพของทั้งสองพระองค์กลับบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง
บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 14 มี.ค. 17, 12:55

วันนี้ของเชื้อพระวงศ์ "คองบอง" ทายาทกษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่า

เป็นเวลานานกว่าหนึ่งศตวรรษแล้วที่พระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของราชวงศ์คองบองและของพม่า ถูกเจ้าอาณานิคมชาวอังกฤษเนรเทศให้ไปประทับยังเมืองรัตนคีรีในอินเดียเป็นเวลานานถึง ๓๑ ปี จนเสด็จสวรรคตลงในต่างแดน

นับแต่นั้นมา เรื่องราวของกษัตริย์ผู้อาภัพและเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นทายาท ก็ถูกลบเลือนไปจากตำราประวัติศาสตร์และจากความทรงจำของชาวเมียนมายุคปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในโอกาสที่ครบรอบ ๑๐๐ ปี การสวรรคตของพระเจ้าธีบอใน พ.ศ. ๒๕๕๙ สถานการณ์ทางการเมืองที่เปลี่ยนไปในเมียนมาหลังรัฐบาลพลเรือนซึ่งนำโดยนางออง ซาน ซูจี เข้ารับตำแหน่ง ทำให้ประวัติศาสตร์ที่เคยถูกลืมเลือนกลับมาสู่ความสนใจของผู้คนอีกครั้ง โดยรัฐบาลได้สนับสนุนการจัดพิธีรำลึกถึงกษัตริย์องค์สุดท้ายที่สุสานของพระองค์ในอินเดีย และได้อนุญาตให้บรรดาเชื้อพระวงศ์ผู้เป็นทายาทที่อาศัยอยู่ในเมียนมา สามารถเดินทางไปร่วมงานรำลึกได้เป็นปีแรกอีกด้วย โดยมีผู้บัญชาการทหารระดับสูงและพระสงฆ์ที่ทรงสมณศักดิ์สำคัญของประเทศเข้าร่วมงานเช่นกัน


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 14 มี.ค. 17, 13:01

อเล็กซ์ เบสโคบี ผู้ถ่ายทำภาพยนตร์สารคดีเรื่อง Burma's Lost Royals (เชื้อพระวงศ์พม่าที่ถูกลืม) ซึ่งจะออกฉายในกลางปีนี้ (พ.ศ. ๒๕๖๐) รายงานถึงบรรยากาศของพิธีรำลึกครบรอบ ๑๐๐ ปีการสวรรคตของพระเจ้าธีบอว่า เต็มไปด้วยตำรวจนอกเครื่องแบบและเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการลับที่เฝ้ารักษาความปลอดภัยอย่างแน่นหนา เนื่องจากมีบุคคลสำคัญของเมียนมาเดินทางมาร่วมงานหลายคน เช่นนายมินต์ ส่วย รองประธานาธิบดีเมียนมา และพลเอกอาวุโสมิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการสูงสุดของกองทัพ

เชื้อพระวงศ์ผู้เป็นทายาทของพระเจ้าธีบอต่างมาร่วมงานในชุดประจำชาติสีขาว ซึ่งเป็นสีไว้ทุกข์ตามธรรมเนียมดั้งเดิม นำโดยนายอู ซอ วิน พระปนัดดา (เหลน) ของกษัตริย์พม่าองค์สุดท้าย ซึ่งทุกวันนี้เขาทำงานเป็นเจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศเมียนมา และมีฐานะเป็นหัวหน้าของบรรดาเชื้อพระวงศ์ที่ยังหลงเหลืออยู่ ซึ่งส่วนใหญ่ได้กลับไปยังเมียนมาหลังพระเจ้าธีบอสวรรคต และต่างใช้ชีวิตเยี่ยงสามัญชนอยู่อย่างเงียบ ๆ มาโดยตลอด บ้างก็มีอาชีพเป็นเจ้าของโรงพิมพ์ ทำไร่ชา หรือขายไอศรีม

มีชาวเมียนมาน้อยคนในปัจจุบันที่จะรู้ถึงเรื่องราวของเชื้อพระวงศ์ที่ถูกลืมเหล่านี้ โดยนับแต่พระเจ้าธีบอถูกเนรเทศไปยังดินแดนที่ห่างไกล สถาบันกษัตริย์เริ่มถูกลืมเลือน จนในปัจจุบันตำราเรียนประวัติศาสตร์ของรัฐบาลได้กล่าวถึงเรื่องราวของพระเจ้าธีบอไว้เพียงหนึ่งบรรทัดเท่านั้น บรรดาเชื้อพระวงศ์เองแม้จะใช้ชีวิตอย่างเรียบง่ายดูกลมกลืนไปกับหมู่คนทั่วไป แต่ก็ถูกจับตาดูอย่างใกล้ชิดจากรัฐบาลทุกยุคสมัย เนื่องจากความหวาดระแวงว่าสถาบันกษัตริย์อาจกลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง เชื้อพระวงศ์บางรายถูกจับกุมคุมขังในยุคหลังได้รับเอกราชและยุคเผด็จการทหาร บ้างก็ถูกลอบสังหารเช่นบิดาของอู ซอ วิน ซึ่งเสียชีวิตเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๑ หลังพยายามฟื้นฟูสถาบันกษัตริย์ให้กลับมาอีกครั้ง


บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 14 มี.ค. 17, 13:03

ในปีที่แล้ว (พ.ศ. ๒๕๕๙) เชื้อพระวงศ์ที่กลับไปอยู่อาศัยในเมียนมา ได้มีโอกาสพบกับญาติฝ่ายทางอินเดียเป็นครั้งแรก ซึ่งฝ่ายตระกูลนี้สืบเชื้อสายจาก "ตูตู" บุตรสาวของพระธิดาพระองค์ใหญ่ในพระเจ้าธีบอซึ่งเกิดกับยามเฝ้าประตูวังและคนขับรถชาวอินเดีย ทำให้ไม่ได้รับการยอมรับจากเชื้อพระวงศ์คนอื่น ๆ มานาน แต่ในครั้งนี้ต่างเข้าทักทายกันด้วยความยินดี และเชื้อพระวงศ์ฝ่ายเมียนมาบางคนถึงกับกลั้นน้ำตาไม่อยู่ เมื่อได้ทราบว่าอีกฝ่ายมีความเป็นอยู่ที่ลำบากยากจนมานาน

พิธีรำลึก ๑๐๐ ปีการสวรรคตของพระเจ้าธีบอในครั้งนี้ ยังทำให้เกิดคำถามขึ้นว่า ถึงเวลาอัญเชิญพระบรมศพกลับสู่แผ่นดินเกิดได้แล้วหรือยัง เนื่องจากที่ผ่านมามีข้อขัดข้องทางการเมืองที่ห้ามไม่ให้นำพระบรมศพกลับสู่เมียนมาหลายครั้ง เนื่องจากรัฐบาลเกรงว่าจะมีผู้ฉวยโอกาสปลุกปั่นสร้างความไม่สงบขึ้นได้

อย่างไรก็ตาม อู ซอ วิน บอกว่า การนำพระบรมศพกลับสู่เมียนมานั้นเป็นสิ่งที่เขาต้องพยายามทำให้เกิดขึ้นให้จงได้ ไม่ว่าจะยากลำบากเพียงใด เพราะการคืนสู่บ้านเกิดเป็นพระราชประสงค์ที่แรงกล้าของพระเจ้าธีบอเมื่อยังทรงพระชนมชีพอยู่ ส่วนเชื้อพระวงศ์สายทางอินเดียนั้นคัดค้านการนำพระบรมศพกลับเพราะจะไม่เหลือสิ่งใดเป็นอนุสรณ์ไว้ที่รัตนคีรีเลย

ด้านเชื้อพระวงศ์ทางเมียนมาบางรายเห็นว่า ขณะนี้ยังไม่ใช่เวลาที่เหมาะสมที่จะนำพระบรมศพกลับ เนื่องจากเมียนมายังมีปัญหาต่าง ๆ ที่ต้องแก้ไขอีกมากมาย รวมทั้งปัญหาความขัดแย้งทางเชื้อชาติศาสนา ซึ่งการเชิญพระบรมศพกลับอาจยิ่งเพิ่มความยุ่งยากซับซ้อนให้กับปัญหาเหล่านี้ได้

ข่าวจาก บีบีซี
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 19 พ.ค. 18, 15:56

ไหนๆ เข้ามากระทู้เกี่ยวกับพระเจ้าสีป่อ ก็อยากทราบว่า ครั้งยังมีพระชนม์ชีพ พระเจ้าสีป่อตรัสอย่างใน ข้อความนี้จริงปล่าวครับ

พระเจ้าธีบ่อเคยตรัสกับพระราชธิดา มีในจดหมายเหตุในพม่า เกี่ยวกับการเสด็จเยือนยุโรป ของล้นเกล้ารัชกาลที่๕ เพียงมินานมานี้ที่ พระเจ้าอลองพญา ผู้ทรงเป็นสมเด็จทวดของพระเจ้าสีป่อ และพระเจ้าพะคยีดอ ผู้ทรงเป็นสมเด็จปู่ กรีธาทัพรุกรานสยาม บดขยี้กองทัพอยุธยา ปลดกษัตริย์ผู้ครองบัลลังก์ และปล้นสะดมกรุงศรีอยุธยา เมืองหลวงเก่าของสยาม ผลภายหลังคือ ผู้มีบรรดาศักดิ์ซึ่งถูกปราบพ่ายแพ้เลือกพระเจ้าอยู่หัวองค์ใหม่ บางกอกกลายเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ต่อมา มันเป็นเพราะพระเจ้าแผ่นดินพม่า เพราะบรรพกษัตริย์ของพระเจ้าสีป่อ เพราะพระราชวงศ์คองบอง สยามจึงได้มีพระราชวงศ์ปัจจุบันและกษัตริย์ผู้ครองแผ่นดิน

 วันหนึ่งพระเจ้าสีป่อรับสั่งกับเหล่าพระราชธิดาว่า

"เมื่อครั้งที่บรรพกษัตริย์ของเรา พระเจ้าอลองพญาผู้เกรียงไกร ทรงยกทัพรุกสยาม พระองค์มีพระราชสาสน์ถึงพระเจ้าแผ่นดินกรุงศรีอยุธยา"

พระราชสาสน์ฉบับคัดลอกเก็บอยู่ที่หอจดหมายเหตุในพระราชวัง กล่าวใจความว่า

"หาได้มีความเป็นคู่ขันแข่งในพระเกียรติยศและบุญญาธิการระหว่างเราทั้งสองไม่ การวางพระองค์เทียบข้างพวกหม่อมฉัน เป็นการเปรียบพญาครุฑของพระวิษณุกับนกนางแอ่นพระอาทิตย์เปรียบกับหิ่งห้อย พฤกษเทวดาแห่งสรวงสวรรค์เปรียบกับไส้เดือนดิน พญายูงทอง ธตรัฏฐะ เปรียบกับแมลงเสพคูถ"

นั่นเป็นวาจาที่บรรพกษัตริย์ของเราตรัสกับพระเจ้ากรุงสยาม ทว่าบัดนี้ พวกเขากลับได้นอนพำนักในพระราชวังบัคกิงแฮม ขณะที่พวกเราถูกฝังจมราบอยู่ในกองมูลสัตว์เยี่ยงนี้.......








บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 19 พ.ค. 18, 16:58

ผมเคยอ่านที่ใครต่อใครลอกกันมาลงในอินเทอเน็ต แบบไม่ทราบว่าใครเป็นคนแรกที่นำต้นเรื่องจากนาย อมิตาภ โฆษ นักเขียนอังกฤษเชื้อชาติอินเดียมาแปล สำนวนที่ดีที่สุดเป็นดังนี้ครับ

Amitav Ghosh เขียนเกี่ยวพันถึงการเสด็จประพาสยุโรปครั้งที่ 1 ของ "พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว" ผ่านการ "คิดสะท้อน" ของพระเจ้าสีป่อ โดยยกชะตาชีวิต-ชะตาชาติตัวเองเปรียบเทียบ ดังนี้

มีการตัดสินอนุญาตให้ส่งหนังสือพิมพ์จากบอมเบย์ไปยังเคหาสน์เอาท์แรม พร้อมกับเที่ยวเรือขนส่งเนื้อหมูของพระเจ้าสีป่อ หนังสือพิมพ์ปึกแรกอ่านพบรายงานข่าวที่ทำให้จิตใจจดจ่อหมกมุ่น มันคือข่าวบรรยายการเสด็จประพาสยุโรปของ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์แห่งกรุงสยาม" นับเป็นครั้งแรกที่พระราชวงศ์เอเชียเสด็จพระราชดำเนินเยือนยุโรปอย่างเป็นทางการ การเสด็จประพาสกินเวลานานหลายสัปดาห์ และตลอดช่วงเวลานั้น ไม่มีสิ่งอื่นใดครอบงำความสนพระทัยของพระเจ้าสีป่อได้อีกเลย

ที่กรุงลอนดอน สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์ประทับ ณ พระราชวังบัคกิงแฮม พระองค์ทรงรับการถวายการต้อนรับสู่ออสเตรียโดยสมเด็จพระจักรพรรดิฟรานซ์ โจเซฟ ทรงรับการถวายพระราชไมตรีโดยกษัตริย์แห่งเดนมาร์ก ณ กรุงโคเปนเฮเกน และประธานาธิบดีฝรั่งเศสถวายพระราชทานเลี้ยง ณ กรุงปารีส ที่ประเทศเยอรมนี พระเจ้าไกเซอร์ วิลเฮล์ม ทรงยืนคอยรับเสด็จที่สถานีรถไฟ จนกระทั่งขบวนรถไฟพระที่นั่งของ "สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจุฬาลงกรณ์" แล่นเข้าเทียบ พระเจ้าสีป่อทรงอ่านรายงานข่าวครั้งแล้วครั้งเล่า กระทั่งทรงจดจำขึ้นพระทัย

เพียงมินานมานี้ที่ พระเจ้าอลองพญา ผู้ทรงเป็นสมเด็จทวดของพระเจ้าสีป่อ และพระเจ้าพะคยีดอ ผู้ทรงเป็นสมเด็จปู่ กรีธาทัพรุกรานสยาม บดขยี้กองทัพอยุธยา ปลดกษัตริย์ผู้ครองบัลลังก์ และปล้นสะดมกรุงศรีอยุธยา เมืองหลวงเก่าของสยาม ผลภายหลังคือ ผู้มีบรรดาศักดิ์ซึ่งถูกปราบพ่ายแพ้เลือกพระเจ้าอยู่หัวองค์ใหม่ บางกอกกลายเป็นเมืองหลวงแห่งใหม่ต่อมา มันเป็นเพราะพระเจ้าแผ่นดินพม่า เพราะบรรพกษัตริย์ของพระเจ้าสีป่อ เพราะพระราชวงศ์คองบอง สยามจึงได้มีพระราชวงศ์ปัจจุบันและกษัตริย์ผู้ครองแผ่นดิน


ส่วนสำนวนข้างล่างที่คุณลอกมา ผมก็เคยอ่าน แต่หาที่มาที่ไปไม่ได้

"หาได้มีความเป็นคู่ขันแข่งในพระเกียรติยศและบุญญาธิการระหว่างเราทั้งสองไม่ การวางพระองค์เทียบข้างพวกหม่อมฉัน เป็นการเปรียบพญาครุฑของพระวิษณุกับนกนางแอ่นพระอาทิตย์เปรียบกับหิ่งห้อย พฤกษเทวดาแห่งสรวงสวรรค์เปรียบกับไส้เดือนดิน พญายูงทอง ธตรัฏฐะ เปรียบกับแมลงเสพคูถ"
บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 19 พ.ค. 18, 17:02

ที่คุณอยากทราบว่า ครั้งยังมีพระชนม์ชีพ พระเจ้าสีป่อตรัสอย่างใน ข้อความนั้นจริงปล่าว คงไม่มีใครยืนยันได้ นอกจากคนที่ได้ยินกับหู แต่ก็คงพร่ำรำพันบ่อยครั้ง ประมาณนั้นนั่นแหละ นายอมิตาภก็คงได้ยินมาอีกทีหนึ่ง แล้วเขาก็คงเขียนตามที่เขาอยากเขียน

ผมหามาได้เป็นข้อความที่คนอื่นเขียนถึงเนื้อความของเขาอีกที



บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 19 พ.ค. 18, 17:10

ส่วนเนื้อข่าวในหนังสือพิมพ์ก็ประหลาดไปอีกแบบ เป็นว่าพระเจ้าสีป่อถึงกับประท้วงเจ้าหน้าที่ชาวอังกฤษเลยทีเดียว ที่ไปรับรองกษัตริย์ประเทศเล็กๆเสียอย่างดี แต่กับพระองค์ เอามาขังไว้ในกระท่อมที่ประดุจคอกวัว ฯลฯ


บันทึกการเข้า
แสงดาวฝั่งทะเล
อสุรผัด
*
ตอบ: 8


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 23 พ.ค. 18, 16:07

ขอบพระคุณทุกท่านที่เข้ามาตอบกระทู้นี้ แม้เวลาล่วงเลยถึง 4 ปีแล้ว
ทำให้ได้รับความรู้ที่น่าสนใจและไม่เคยทราบมาก่อนค่ะ ยิ้ม
บันทึกการเข้า
เทาชมพู
เจ้าเรือน
หนุมาน
*****
ตอบ: 33584

ดูแลเรือนไทย วิชาการ.คอม


เว็บไซต์
ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 23 พ.ค. 18, 16:48

ถ้าหนังสือพิมพ์ฮินดูสถานไทมส์ ไม่ได้ใส่สีใส่ไข่     ลงตามจริง ก็นับว่าพระเจ้าสีป่อทรงดูถูกไทยมาก   ราชวงศ์จักรีและอาณาจักรรัตนโกสินทร์ไม่เคยเป็นเมืองขึ้นพม่า  อย่างที่ทรงตีขลุมอ้างดื้อๆแบบนี้
เลยเลิกสงสารค่ะ   โดนยังงั้นน่ะดีแล้ว
บันทึกการเข้า
ราชปักษา
อสุรผัด
*
ตอบ: 23


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 23 พ.ค. 18, 22:40

ไม่น่าต่อประเด็นเล้ย อาจารย์หญิงเลยของขึ้น

ส่วนตัว คิดว่าจะจะเสี้ยมนะขอรับ เพราะ จากราชประวัติพระเจ้าสีป่อนั้น ได้รับการศึกษาเรื่องการต่างประเทศและโลกภายนอกน้อย ขนาดบริติชราชใหญ่คับโลกสมัย ศัตรูของบ้านของเมืองอันดับหนึ่ง พระองค์ยังไม่ใคร่จะรู้จักตื้นลึกหนาบาง  แล้วจะทรงรู้จัก"โยเดีย" หรือ สยาม หรือเปล่ายังไม่รู้เลย แล้วรัชสมัยพระองค์ เราก็ไม่ได้รบกับเขาแล้ว ชายแดนไม่ติดกัน แถมเจอภัยฝรั่งทั้งคู่
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 [2] 3
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.078 วินาที กับ 20 คำสั่ง