เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
อ่าน: 34146 เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 45  เมื่อ 08 ธ.ค. 14, 22:44

ในอังกฤษนั้น การประหารชีวิตโดยการตัดคอ ถือว่าเป็นโทษประหารที่สงวนไว้ใช้กับคนชั้นสูงเท่านั้น โทษประหารที่อาจจะถือว่ามีเกียรติรองลงมาจากการตัดคอคือการยิงเป้า

เช้าวันที่ 15 สิงหาคม 1941 โจเซฟ จาคอบ  อดีตนักอุตุนิยมวิทยายศจ่าในกองทัพเยอรมัน กำลังจะมีส่วนร่วมในเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ นั่นคือการประหารชีวิตโดยการยิงเป้า  และเป็นนักโทษประหารโดยการถูกยิงเป้าคนสุดท้ายในแผ่นดินอังกฤษ 


เมื่อวันที่ 31 มกราคม 1941 จาคอบกระโดดร่มลงไปใกล้เมืองแรมเซย์ในฮันทิงตั้นเชียร์ โดยสวมชุดพลเรือน พร้อมด้วยเงิน 500 ปอนด์ ปืนพก วิทยุสื่อสาร โดยมีจุดประสงค์เพื่อคอยรายงานสภาพอากาศในอังกฤษกลับไปยังเยอรมัน


ด้วยความโชคร้าย เมื่อลงพื้นจาคอบขาหักและเดินไม่ได้  ท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเย็น จาคอบไม่มีทางเลือกนอกจากยิงฟืนขึ้นฟ้าเพื่อเรียกคนมาช่วย ชาวไร่ 2 คนปริเวณนั้นได้ยินเสียงปืนจึงออกมาดู ช่วยเหลือ และแจ้งเจ้าหน้าที่ สุดท้ายจาคอบจึงอยู่ในเงื้อมมือของทางการอังกฤษ


ในการสอบสวน จคอบเปิดเผยว่าเกิดในลักเซ็มเบิร์กเมื่อปี 1898 จาคอบอ้างว่าที่โดดร่มในอังกฤษก็เพื่อมาช่วยอังกฤษสู้กับนาซี แต่ทางการอังกฤษไม่เชื่อคำพูดของจาคอบ และเนื่องจากจาคอบกระโดดร่มลงมาโดยสวมชุดพลเรือน ตามกฏหมายอังกฤษขณะนั้นจึงถือว่าจาคอบเป็นจารชน ไม่ใช่ทหาร ซึ่งทำให้โทษที่ได้รับจะต่างกันมาก ในขณะที่ทหารที่กระโดดร่มลงมาจะได้รับการปฏิบัติฐานเชลย แต่จารชนจะต้องถูกประหารชีวิต แต่เนื่องจากจาคอบเป็นทหาร การพิจารณาคดีของจาคอบจึงกระทำโดยศาลทหาร และสุดท้ายมีคำตัดสินให้ประหารชีวิตโดยการยิงเป้า 


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 46  เมื่อ 08 ธ.ค. 14, 23:24

จาคอบส่งฎีกาถึงพระเจ้าจอร์จที่ 6 เพื่อขอความเมตตา แต่ไม่เป็นผล ฎีกาถูกยก ดังนั้นในเช้าวันที่ 15 สิงหาคม 1941 จาคอบซึ่งขาหักและยังเดินไม่ได้ ถูกขังไว้ในหอคอยแห่งลอนดอน จึงถูกนำตัวไปนั่งบนเก้าอี้ ต่อหน้าหมู่ยิง 8 นายที่เตรียมพร้อมอยู่ เมื่อนายทหารสั่งยิง กระสุน 7 นัดเข้าเป้าที่หน้าอก อีกนัดถูกที่หัว กระสุนมีความแรงมากพอที่จะทะลุตัวจาคอบไปกระแทกจนทำให้พนักพิงเก้าอี้ของจาคอบหัก  ปัจจุบันร่างของจาคอบถูกฝังไว้ที่โบสถ์เซนต์แมรี่ในเคนสัน กรีน ส่วนเก้าอี้ที่จาคอบนั่งตอนถูกประหารยังได้รับการจัดแสดงอยู่ที่หอคอยแห่งลอนดอน

จาคอบไม่ใช่จารชนเยอรมันคนเดียวที่ถูกประหารชีวิต ยังมีจารชนอื่นๆ อีกที่ถูกประหาร แต่เนื่องจากจารชนเหล่านั้นเป็นพลเรือน จึงใช้การประหารชีวิตโดยการแขวนคอ โทษประหารโดยการยิงเป้า เป็นโทษที่สงวนไว้สำหรับทหารเท่านั้น


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 47  เมื่อ 09 ธ.ค. 14, 00:03

การประหารโดยการยิงเป้าอาจจะได้รับความนิยมในหลายๆ ประเทศ แม้แต่ไทยในอดีตก็ประหารนักโทษด้วยวิธีนี้  ต้นกำเนิดการประหารโดยการยิงเป้าในอังกฤษเป็นอย่างไรไม่มีการบันทึกไว้  มีการสันนิษฐานว่าอาจมีที่มาจากการมัดเหยื่อมนุษย์แขวนไว้ใต้ต้นไม้แล้วให้พลธนูฝึงยิง   ตำนานเล่าว่ากษัตริย์เอ็ดมุนด์แห่งมาไทร์ถูกประหารโดยวิธีนี้ในราวๆ ปี 870 โดยพวกไวกิ้ง 

การประหารโดยการยิงเป้าจริงๆ เริ่มใช้กับการประหารนักโทษทหารตั้งแต่ประมาณต้นศตวรรษที่ 17 ครั้งหนึ่งที่มีการบันทึกไว้คือในปี 1648 ระหว่างสงครามกลางเมืองอังกฤษระหว่างฝ่ายนิยมกษัตริย์นำโดยพระเช้าชาลส์ที่ 1 กับฝ่ายรัฐสภาของครอมเวลล์  เมืองโคลเชสเตอร์ถูกยึดโดยฝ่ายนิยมกษัตริย์ แต่ในที่สุดทางฝ่ายรัฐสภาโดยการนำของนายพลแฟแฟกซ์ก็ยึดเมืองได้ ฝ่ายนิยมกษัตริย์ยอมแพ้  นายพลแฟแฟกซ์ต้องการสร้างตัวอย่างให้ฝ่ายนิยมกษัตริย์เห็น จึงสั่งลงโทษประหารชีวิตนายทหารฝ่ายนิยมกษัตริย์ 4 นาย เซอร์จอร์จ ลิซเซิล เซอร์ชาลส์ ลูคัส พันเอกฟาร์ และเบอร์นาร์ด แกสคอย

แกสคอยได้รับการลดโทษ ส่วนพันเอกฟาร์หลบหนีไปได้ ดังนั้นจึงเหลือท่านเซอร์ทั้งสองเท่านั้นที่ถูกประหารโดยการยิงเป้าที่ปราสาทโคลเชสเตอร์ เมื่อวันที่ 28 สิงหาคม 1648 ปัจจุบันแท่งหินที่ลำลึกถึงนักโทษทั้งสองในจุดที่ทั้งสองถูกประหารชีวิตยังคงอยู่


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 48  เมื่อ 10 ธ.ค. 14, 06:13

จอห์น บิง (John Byng) เข้าร่วมราชนาวีอังกฤษเป็นนักเรียนนายเรือตั้งแต่อายุ 13 ปี หลังจากนั้นไต่เต้าเลื่อนระดับมาเรื่อยๆ จนเป็นนายพลเรือ (Admiral) ในปี 1756 ระหว่างสงครามที่เรียกว่าสงคราม 7 ปี  อังกฤษรบกับฝรั่งเศส  บิงได้รับคำสั่งให้นำกองเรือ 10 ลำ ไปช่วยป้องกันป้อมที่เกาะมินอร์กา กลางทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ซึ่งขณะนั้นอยู่ในการยึดครองของอังกฤษมาตั้งแต่ปี 1708


กองเรือของบิงขาดทั้งเงินและเวลาในการเตรียมการ  บิงคัดค้านคำสั่งเพราะเห็นว่ากองเรือยังไม่พร้อม แต่ก็ไม่เป็นผล สุดท้ายต้องเดินทางออกจากอังกฤษไปทั้งที่ยังไม่พร้อม เรือบางลำรั่ว  พลประจำเรือก็ได้รับการฝึกฝนไม่มากพอ  บิงมีกำลังพลประมาณ 700 คน ในขณะที่ฝ่ายฝรั่งเศสเพิ่งส่งทหาร 15000 นายยกพลขึ้นยึดเกาะมินอร์กา เมื่อบิงเดินทางไปถึงเกาะ ก่อนที่บิงจะติดต่อกับทหารอังกฤษที่รักษาการในป้อมบนเกาะ และส่งทหารขึ้นบกเพื่อช่วยป้องกันป้อม กองเรือของบิงพบกองเรือฝรั่งเศส มีการประทะกัน  กองเรือฝรั่งเศสถอยหนี ด้วยความไม่พร้อมและอุปสรรคหลายอย่าง กองเรือของบิงไม่ได้ติดตามเพื่อทำลายกองเรือฝรั่งเศส  แต่พยายามจะช่วยทหารอังกฤษที่รักษาป้อมบนเกาะ แต่สุดท้ายบิงพบว่ากองเรือของบิงไม่สามารถช่วยเหลือหรือยกพลขึ้นเกาะเพื่อช่วยทหารอังกฤษบนเกาะได้ จึงถอนกองเรือไปที่ยิบรอนต้าเพื่อซ่อมแซมเรือและรักษาทหารที่บาดเจ็บ


เมื่อไปถึงยิบรอนต้า บิงส่งจดหมายขอกำลังเพิ่มเพื่อกลับไปช่วยทหารที่ป้อม แต่ทางอังกฤษกลับปลดบิงออกจากตำแหน่งผู้บังคับการกองเรือ สั่งให้กลับอังกฤษ และสุดท้ายทหารในป้อมบนเกาะมินอร์กาต้องยอมแพ้ต่อฝรั่งเศสในปลายเดือนมิถุนายน 1756  


เมื่อกลับถึงอังกฤษ บิงถูกฟ้องต้องขึ้นศาลทหารในข้อหาขี้ขลาด ไม่ได้ทำการรบเต็มความสามารถ โดยเฉพาะที่ไม่ยอมติดตามกองเรือฝรั่งเศสไป  ทั้งที่ในทางยุทธิวิธี สิ่งที่บิงทำนับว่าถูกต้องสมควรแก่เหตุ  รายละเอียดความไม่พร้อมต่างๆ ของกองเรือกลายเป็นไม่ใช่สาระสำคัญ  ศาลตัดสินให้ประหารชีวิต  โดยขณะนั้นมีการคาดการว่าสุดท้ายคงมีการลดหย่อนโทษ


แต่เนื่องจากการพ่ายแพ้ของอังกฤษต่อฝรั่งเศสสร้างความอับอายและโกรธแค้นแก่ปวงชนชาวอังกฤษ โดยเฉพาะพระเจ้าจอร์จที่ 2 ยิ่งนัก และใครซักคนต้องรับผิดชอบเรื่องนี้  ดังนั้นฏีกาขอลดหย่อนโทษของบิงจึงถูกพระเจ้าจอร์จปฏิเสธ แม้ว่าจะมีขุนนางและทหารเรือตำแหน่งสูงหลายคนช่วยกันเข้าชื่อยื่นฏีกาก็ยังไม่เป็นผล ดังนั้นในวันที่ 14 มีนาคม 1757 นายพลเรือจอห์น บิง ซึ่งถูกคุมขังอยู่บนเรือ HMS Monarch จึงถูกนำไปที่ท้ายเรือ และถูกประหารชีวิตโดยการยิงเป้า โดยบิงเป็นผู้ส่งสัญญาณให้กับหมู่ยิงเองโดยการโบกผ้าเช็ดหน้า  จอห์น บิง นับเป็นนายทหารยศสูงสุดของอังกฤษ ที่ถูกประหารชีวิตโดยการยิงเป้า


อย่างไรก็ตาม การประหารชีวิตบิง เป็นตัวอย่างและสร้างค่านิยมให้นายทหารเรืออังกฤษรุ่นหลังเลือกที่จะใช้การรุกรบ มากกว่าการถอยหนี ที่สุดท้ายอาจต้องขึ้นศาลทหารและถูกประหารชีวิตได้ และมีส่วนที่ทำให้กองทัพเรืออังกฤษเกรียงไกร และเป็นจ้าวโลกในเวลาต่อมา



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 49  เมื่อ 10 ธ.ค. 14, 09:42

            วันก่อนอ่านนสพ.เห็นหนังสือใหม่เล่มนี้ที่ได้รับ good reviews แล้ว
อดนึกถึงคุณชายประกอบไม่ได้

         “No need to explain why this nonfiction book made the top of my list…
Despite the ghoulish subject, this is a closely researched, indeed, scholarly study
of the bizarre customs of hunting, collecting, trading, displaying and otherwise
bonding with other people’s heads.

(Marilyn Stasio - The New York Times Book Review)


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 50  เมื่อ 10 ธ.ค. 14, 15:49

           วันก่อนอ่านนสพ.เห็นหนังสือใหม่เล่มนี้ที่ได้รับ good reviews แล้ว
อดนึกถึงคุณชายประกอบไม่ได้

 ขอบคุณมากครับที่แนะนำ สั่งไปแล้ว £13.59 แพงอยู่เหมือนกัน  ร้องไห้  ร้องไห้  ร้องไห้
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 51  เมื่อ 10 ธ.ค. 14, 17:12

           แต่แรกว่าจะสั่งให้เป็นของขวัญวันคริสต์มาสสำหรับคุณชาย ยิ้มเท่ห์ แต่เปลี่ยนใจ
เพราะเห็นว่าเรื่องราวชวนสยองไม่เข้ากับเทศกาลเฉลิมฉลอง ยิงฟันยิ้ม


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 52  เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 00:35

ช่วงเวลาที่อังกฤษมีการประหารนักโทษโดยการยิงเป้ามากที่สุดคือช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 


ในระหว่างปี 1914 - 1918  มีการนำโทษประหารชีวิตมาใช้กับทหารที่หนีทหาร หลีกเลี่ยงการรบ หรือขัดคำสั่งผู้บังคับบัญชา จำนวนทหารทั้งหมดที่ถูกยิงเป้ายังไม่มีการเปิดเผยจนกว่าจะถึงปี 2018 ซึ่งครบรอบหนึ่งร้อยปีที่ทำให้เอกสารบางอย่างที่เป็นความลับเปิดเผยได้ ซึ่งรวมถึงจำนวนที่แน่นอนของทหารที่ถูกยิงเป้า   แต่คาดการว่าอยู่ที่ 306 คน ซึ่งนับว่าไม่มาก เมื่อคิดถึงว่ามีทหารอังกฤษมากกว่า 8 ล้านคนเข้าสู่สงคราม


ตั้งแต่ช่วยปลายศตวรรษที่ 19  มีธรรมเนียมปฏิบัติอยู่อย่างหนึ่ง คือการประหารชีวิตทหารอังกฤษโดยการยิงเป้า ต้องไม่กระทำบนผืนแผ่นดินอังกฤษ ให้กระทำเฉพาะบนแผ่นดินของประเทศอื่นเท่านั้น ทำให้ในระหว่างสงครามโลกรั้งที่ 1 ทหารที่หนีทหารแล้วถูกจับได้แม้จะในแผ่นดินอังกฤษ จะถูกส่งตัวไปขึ้นศาลทหารที่ฝรั่งเศส และถ้าต้องประหาร ก็ประหารซะที่ฝรั่งเศสเลย


ทหารนายแรกที่ถูกประหาร ได้แก่ พลทหารโธมัส ไฮท์เกต วัย 19 ปี ซึ่งหนีทหารระหว่างการรบในสมรภูมิแห่งมังส์ ในช่วงต้นของสงคราม ไฮท์เกตถูกจับได้หลังแนวรบ เจ้าตัวอ้างว่าหลงกับหน่วยและกำลังหาทางกลับหน่วยอยู่ แต่ศาลทหารไม่เชื่อ ตัดสินให้ประหารชีวิต ไฮท์เกตถูกยิงเป้าเมื่อวันที่ 8 กันยายน 1914  ระหว่างการประหาร มีทหาร 2 กองพันจากกรมทหารดอร์เส็ตและเชสเชียร์เข้าร่วมเป็นพยาน เพราะทางผู้บังคับบัญชาระดับสูงต้องการให้ทหารได้เห็นโทษของผู้ที่ขี้ขลาดและหนีทหาร


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 53  เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 02:41

เฮอร์เบิต เบอร์เดน อายุเพิ่ง 16 ตอนที่สมัครเข้าร่วมกับกองทัพในปี 1914 เฮอร์เบิตโกหกว่าอายุ 18 ปี 2 เดือนตอนสมัคร หน่วยของเฮอร์เบิตถูกส่งไปแนวหน้า วันที่ 2 กรกฏาคม 1915 เฮอร์เบิตถูกกล่าวหาว่าละทิ้งหน้าที่และหนีทหาร เมื่อหน่วยถูกส่งเข้าแนวรบ แต่ตัวเฮอร์เบิตกลับอยู่แนวหลัง  เฮอร์เบิตอ้างว่าต้องการเดินทางไปปลอบใจเพื่อนทหารในอีกหน่วยที่เพิ่งเสียพี่ชายไป  แต่เนื่องจากเฮอร์เบิตมีประวัติว่าเคยละทิ้งหน้าที่มาก่อน ศาลทหารจึงตัดสินให้ประหารชีวิต เฮอร์เบิตถูกยิงเป้าเช้าวันที่ 25 กรกฏาคม 1915 ขณะอายุได้ 17 ปี อายุยังไม่ถึงเกณฑ์ที่จะเป็นทหารได้จริงๆ ด้วยซ้ำ

ภาพเฮอร์เบิต เบอร์เดน และอนุสรณ์สถานละลึกถึงทหารที่ถูกยิงเป้า อนุสรณ์สถานนี้อยู่ที่เมืองสแตฟฟอร์ด รูปปั้นที่อนุสรณ์เชื่อว่าจำลองมาจากเฮอเบิต เบอร์เดน



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 54  เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 03:01

แม้จะมีทหารถูกประหารชีวิตมากกว่า 300 คน แต่จริงๆ แล้วอังกฤษใช้โทษประหารสำหรับทหารที่มีความผิดน้อยมาก เมื่อเทียบกับกองทัพของประเทศอื่นๆ เช่นทหารฝรั่งเศสถูกยิงเป้าฐานหนีทหารมากกว่า 600 คน 

จากจำนวนทหารอังกฤษที่ทำความผิดฐานต่างๆ ที่มีความผิดถึงขั้นประหารชีวิต  มีประมาณ 3000 คนที่ถูกตัดสินให้ประหารชีวิต และในจำนวนนี้ มีเพียงประมาณ 10% หรือ 300 คนที่ถูกประหารชีวิตจริงๆ ดังนั้นโอกาสที่ทหารจะถูกยิงเป้าฐานหนีทหารนั้นนับว่าน้อยมากทำให้ทหารที่มีความผิดส่วนใหญ่มักจะมีความหวังถึงโอกาสรอดชีวิต นอกจากนั้นการประหารส่วนใหญ่นักโทษจะถูกประหารครั้งละคนเดียว น้อยครั้งมากที่มีการประหารชีวิตนักโทษพร้อมๆ กันทีละหลายๆ คน เช่นวันที่ 26 กรกฏาคม 1915 ทหาร 3 คนจากกรมทหารวูสเตอร์เชียร์ ถูกประหารชีวิตพร้อมๆ กัน

ทหารคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกประหารเพียง 4 วันก่อนสงครามยุติลง8nvพลทหารลูอิส แฮริส ถูกประหารเนื่องจากหนีทหาร
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 55  เมื่อ 11 ธ.ค. 14, 10:21

ทหารคนสุดท้ายที่ถูกประหารชีวิตในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 ถูกประหารเพียง 4 วันก่อนสงครามยุติลง8nvพลทหารลูอิส แฮริส ถูกประหารเนื่องจากหนีทหาร

"8nv" อาจเป็นรหัสลับที่ใช้ระหว่างสงคราม พยามยามถอดความเป็นภาษาไทยได้ว่า "คือ"  
.
.
.
ล้อเล่นหนา อย่าถือความ  ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 56  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 17:54

ระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 1 มีจารชนเยอรมัน 8 นายถูกยิงเป้าที่หอคอยแห่งลอนดอน จารชนคนแรกที่ถูกยิงเป้าคือคาร์ล ฮันส์ โลดี้

เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 1 เริ่มต้นขึ้น โลดี้ซึ่งทำงานเป็นไกด์ทัวร์อยู่ในฮัมบูร์ก  เนื่องจากโลดี้เคยแต่งงานกับหญิงอเมริกันและเคยอาศัยอยู่ในอเมริกา โลดี้จึงพูดภาษาอังกฤษสำเนียงอเมริกันได้ดี เมื่อสงครามเริ่มขึ้น โลดี้อาสาเป็นจารชนให้เยอรมัน  โลดี้ไปอยู่ที่เอดินเบอร์ก คอยสังเกตเรือที่เข้าออกจากท่าเรือ จากนั้นส่งโทรเลขแจ้งหน่วยเหนือในเยอรมันให้ส่งเรือดำน้ำมารอจัดการเรือเหล่านั้น

โลดี้เริ่มประมาทและส่งโทรเลขโดยไม่เข้ารหัส  แต่ในฐานะคนอเมริกัน แต่ส่งโทรเลขเป็นภาษาเยอรมันย่อมสร้างความสงสัย ในที่สุดโลดี้ถูกจับในเดือนตุลาคม 1914 และถูกตัดสินประหารชีวิตโดยการยิงเป้า

เมื่อโลดี้เดินออกจากห้องขังไปสู่ลานประหารในวันที่ 6 พฤศจิกายน 1914 โลดี้หันไปถามนายทหารที่ควบคุมตัวว่า  เค้าคิดว่านายทหารคงไม่ต้องการจะสัมผัสมือกับสายลับเยอรมันที่กำลังจะถูกประหาร  นายทหารตอบว่าแน่นอน  แต่เค้าเค้าจะสัมผัสมือกับคนกล้า แล้วก็ยื่นมือมาสัมผัสมือกับโลดี้ 








บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 57  เมื่อ 16 ธ.ค. 14, 18:14

หลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ยังมีทหารอังกฤษที่ถูกยิงเป้าอีก


ในระหว่างสงครามประกาศอิสรภาพของไอร์แลนด์ ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างปี 1919 - 1921 เกิดการจราจลขึ้นในหน่วยทหารไอริช แรงเจอร์ซึ่งประจำการอยู่ในอินเดีย มีทหารไอริชเข้าร่วมประมาณ 300-400 คน หลังการกบฏสิ้นสุดลง ทหาร 88 นายถูกจับกุมและต้องขึ้นศาลทหาร ทหารส่วนใหญ่ถูกตัดสินจำคุก 15 ปี  มี 14 คนถูกตัดสินประหารชีวิต แต่ 13 คนได้รับการลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต เฉพาะพลทหารเจมส์ ดาลีย์วัย 21 ปีคนเดียวที่ถูกยิงเป้า เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 1920


ในปี 1930 มีการเปลี่ยนกฏหมาย ทหารที่หนีทหาร ละทิ้งหน้าที่ ขี้ขลาด หรือหลับในเวลาเข้าเวรยามจะไม่ถูกประหารชีวิตแล้ว ยกเว้นทหารที่เป็นกบฏหรือก่อการจราจลในช่วงเวลาสงคราม  ทำให้เมื่อสงครามโลกครั้งที่ 2 เริ่มขึ้น ทหารอังกฤษไม่ต้องกลัวจะถูกยิงเป้าอีก ในสมรภูมิแอฟริกาเหนือช่วงปี 1942  รถถังของรอมเมลเปิดการรุกไล่ขนานใหญ่ ทหารอังกฤษถอยร่นอย่างรวดเร็ว เซอร์คล็อด ออชินเลก ผู้บัญญาการทหารอังกฤษในแอฟริกาเหนือ ส่งโทรเลขถึงกระทรวงสงครามในอังกฤษขอให้มีการนำโทษประหารชีวิตกลับมาใช้ใหม่กับทหารที่หนีทหารหรือละทิ้งหน้าที่ บางครั้งสารวัตรทหารอังกฤษเองถึงกับต้องยิงทหารฝ่ายเดียวกันที่กำลังละทิ้งหน้าที่    ขณะนั้น มีทหารมากกว่า 120 นายถูกฟ้องข้อหาละทิ้งหน้าที่รอการตัดสินอยู่ในอิยิปต์


กระทรวงสงครามปฏิเสธคำขอของออชินเลก ทำให้ไม่มีทหารอังกฤษนายใดถูกยิงเป้า แต่โทษประหารยังมีการใช้กับทหารจากอาณานิคม มีทหารศรีลังกาถูกประหารฐานละทิ้งหน้าที่ 1 คนในปี 1942 แต่ถูกแขวนคอแทนที่จะเป็นยิงเป้า


แม้หทารอังกฤษจะไม่ถูกประหารชีวิตอีกต่อไปแล้ว แต่ยังมีการประหารโดยการยิงเป้าเกิดขึ้นในอังกฤษระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่เป็นการประหารทหารอเมริกันในเรือนจำเชปตัน มอลเลทในซอมเมอร์เซท ซึ่งระหว่างสงครามใช้เป็นที่คุมขังทหารอเมริกัน  มีทหารอเมริกันที่ทำความผิดฐานต่างๆ ถูกตัดสินโดยศาลทหารอเมริกันให้ประหารชีวิตโดยการยิงเป้าที่นี่ เบนจามิน ไพเกต ใช้มีดแทงเพื่อนทหารนายหนึ่งเสียชีวิตจากการทะเลาะวิวาท เป็นนักโทษประการรายสุดท้ายที่ถูกยิงเป้าบนแผ่นดินอังกฤษ เมื่อวันที่ 28 พศจิกายน 1944
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 58  เมื่อ 18 ธ.ค. 14, 21:04

โทษประหารแบบต่างๆ ที่เคยใช้กันในอังกฤษก้พูดถึงไปเกือบหมดแล้ว  คราวนี้ก็ถึงเวลาของโทษประหารที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ใช้กันแพร่หลายและยาวนานที่สุด มีนักโทษถูกประหารด้วยวิธีนี้นับหมื่นคน นั่นก็คือการแขวนคอ

การแขวนคอมีใช้มานานเท่าใดไม่มีใครทราบ  แต่คาดว่ามีหลังยุคที่โรมันเข้ามายึดครองอังกฤษ  ในยุคแองโกล-แซกซอนและพวกไวกิ้งครองเกาะอังกฤษ ราวๆ ช่วงยุคมืดถึงต้นยุคกลาง การประหารชีวิตมีไม่บ่อยนัก เพราะสมัยนั้นผู้กระทำผิดสามารถชดใช้เป็นเงินแทนได้ เช่นถ้าทะลเาะกันแล้วทำให้อีกฝ่ายตาบอดก็เสียเงินเท่านี้ ถ้าอีกฝ่ายตายก็เสียอีกเท่านี้ ดังนั้นอาชญากรที่กระทำผิดก็จ่ายค่าเสียหายให้เหยื่อหรือญาติของเหยื่อเป็นเงินหรือทองเท่าไหร่ก็ว่ากันไป  เช่นในสมัยกษัตริย์อังเฟรดได้กำหนดอัตราค่าชดเชยไว้ตั้งแต่การทำให้อีกฝ่ายฟันหัก ไปจนถึงค่าชดเชยจากการสังหารพระระดับบิชอป ทุกอย่างชดใช้ด้วยเงินได้ ถ้าใช้เงินไม่ได้ค่อยเอาไปประหารแทน

ภาพกษัตริย์อัลเฟรดและเหรียญที่ใช้กันสมัยนั้น



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 59  เมื่อ 18 ธ.ค. 14, 21:21

ทุกอย่างเปลี่ยนไปเมื่อพวกนอร์มันเข้ามายึดครองอังกฤษในสมัยวิลเลียมผู้พิชิตในปี 1066  ซึ่งกษัตริย์วิลเลี่ยมที่ 2 ซึ่งครองราชย์ต่อจากวิลเลียมผู้พิชิต  ทำให้การประหารชีวิตโดยการแขวนคอเป็นมาตรฐานการลงโทษในประเทศอังกฤษ โดยแรกเริ่มเดิมที่ไม่ใช่นำมาใช้ลงโทษผู้กระทำผิดฐานฆาตกรรม  แต่ใช้ลงโทษผู้ที่บังอาจล่ากวางของพระราชา

เมื่อสิ้นสมัยของวิลเลียมที่ 2 กษัตริย์องค์ต่อมาพระเจ้าเฮนรี่ที่ 1 โทษประหารโดยการแขวนคอเริ่มเป็นมาตรฐานการลงโทษในอังกฤษ  ถูกใช้ลงโทษอาชญากรตั้งแต่ลักเล็กขโมยน้อยไปคนถึงการทำฆาตกรรม ซึ่งมีการใช้ร่วมกับการลงโทษที่ไม่ถึงกับประหารเช่นการควักลูกตาหรือตัดมือด้วย

แล้วทำไมต้องแขวนคอด้วยหละ คำตอบง่ายๆ ก็คือ ถ้าไม่ใช้การประหาร แต่ใช้การขังคุกแทน เหล่าขุนนางมองว่าจะเป็นภาระที่สิ้นเปลืองมากเกินไป เพราะต้องสร้างคุก จ้างผู้คุม จ่ายค่าอาหารนักโทษ ดังนั้นการแขวนคอนักโทษซะจึงประหยัดกว่ากันมาก ต้นทุนถูก เพชรฆาตไม่ต้องใช้ทักษะ แถมยังเป็นการขจัดปัญหา กำจัดอาชญากรประเภทต่างๆ ไปด้วยในตัว

ภาพวิลเลี่ยมที่ 2


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
หน้า: 1 2 3 [4] 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.085 วินาที กับ 20 คำสั่ง