เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 34145 เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 30  เมื่อ 01 ธ.ค. 14, 18:57

ยุคทิวดอร์เป็นช่วงหนึ่งที่มีการใช้โทษประหารชนิดนี้เยอะ  เมื่อพระเจ้าเฮนรี่ที่ 8 ประกาศไม่ขึ้นกับคริสตจักรโรมันคาธอลิก นักบวชคาธอลิกที่ไม่ยอมเปลี่ยนไปสังกัด Church of England และไม่ยอมรับว่าพระเจ้าเฮนรี่ในฐานะประมุขคริสตจักรจะถูกตัดสินว่าเป็นกบฏและถูกประหารไปโดยวิธีลาก แขวน ผ่า   กิจกรรมการประหารชีวิตนักบวชกลายเป็นเรื่องปกติและเป็นมหกรรมที่ดึงดูดผู้สนใจเข้ามาร่วมชม  นักบวชชั้นสูงจะถูกประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะ แต่นักบวชธรรมดาจะถูกประหารด้วยวิธีที่โหดร้ายกว่าวิธีนี้

เมื่อสิ้นรัชสมัยของเฮนรี่ที่ 8 และรัชสมัยสั้นๆ ของเอ็ดเวิร์ดที่ 6 จนถึงรัชสมัยของราชีนีแมรี่ มีการฟื้นฟูคริสตจักรโรมันคาธอลิกในอังกฤษ  คราวนี้นักบวชโปรแตสแตนท์ที่ไม่ยอมเปลี่ยนไปเป็นคาธอลิกถูกประหารแทน  แต่ด้วยวิธีที่โหดน้อยกว่าหน่อย คือการเผาทั้งเป็น  เพราะถูกถือว่าเป็นพวกนอกรีต  เมื่อสิ้นรัชสมัยของราชินีแมรี่   ราชินีอลิซาเบธที่ 1 ขึ้นครองราชย์  สถานการพลิกกลับอีกครั้ง คราวนี้นักบวชคาธอลิกกลับมาเป็นฝ่ายถูกประหารแทนอีกแล้ว เพียงแต่ในรัชสมัยนี้ เห็นคล้ายๆ กับสมัยของเฮนรี่ที่ 8  คือการเป็นคาธอลิกและไม่ยอมรับสถาบันกษัตริย์ในฐานะประมุขของคริสตจักร Church of England เป็นภัยต่อความมั่นคง เป็นโทษทางการเมืองมากกว่าแค่การนอกรีต  คราวนี้นักบวชคาธอลิกที่ไม่ยอมรับสถานะประมุขคริสตจักรของพระราชินีต้องถูกตัดสินว่าเป็นกบฏและต้องประหารด้วยวิธีการที่ใช้กับกบฏ

ภาพราชินีแม่รี่และราชินีอลิซาเบธ  สองพี่น้องต่างนิกายศาสนา ที่มีโอกาศครองบัลลังก์อังกฤษทั้งคู่



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 31  เมื่อ 01 ธ.ค. 14, 19:26

ในปี 1586 กลุ่มนักบวชคาธอลิกชั้นสูง นำโดยนักบวชชื่อจอห์น บัลลาร์ดวางแผนจะโค่นล้มราชินีอลิซาเบธเพื่อจะให้ราชินีแมรี่แห่งสก็อต(คนละคนกับราชินีแมรี่ที่ 1 แห่งอังกฤษที่ครองราชย์ก่อนหน้า) ซึ่งเป็นคาธอลิกและถูกคุมขังอยู่ขึ้นครองราชย์เป็นพระราชินีแห่งอังกฤษแทน อย่างไรก็ตามแผนการล้มเหลวและคณะผู้ก่อการถูกจับกุมและดำเนินคดีข้อหากบฏ  ราชินีอลิซาเบธถึงกับปรึกษากับเซอร์วิลเลียม เซซิล ซึ่งอยู่ในคณะพิจารณาคดีว่า มีความเป็นไปได้ไหมที่จะใช้การลงโทษที่รุนแรงและเจ็บปวดให้มากที่สุด เซอร์เซซิลยืนยันกับพระนางว่าโทษลาก แขวน และผ่า นี่เป็นโทษประหารที่รุนแรงทรมานที่สุดแล้ว


วันที่ 20 กันยายน 1586 นักโทษประหารกลุ่มแรก 7 คนถูกนำตัวไปประหาที่ เซนต์ ไกล์ เซอคัส ในลอนดอน บัลลาร์ดเป็นนักโทษคนแรกที่ถูกประหาร  ด้วยคำสั่งพิเศษแก่เพชรฆาต ให้ทำการประหารแบบให้ทรมานและยืดเวลามากที่สุด เพชรฆาตจึงดำเนินการต่างๆ อย่างเชื่องช้า บัลลาร์ดถูกขวนคอจนเกือบหมดสติก่อน  จากนั้นเพชรฆาตนำตัวลงมาขึ้นเขียง  รอให้บัลลาร์ดรู้สึกตัวก่อน จากนั้นจึงทำการตอนและผ่าท้องช้าๆ อวันยวะภายในค่อยๆ ถูกชำแหละออกมาโยนใส่กองไฟช้าๆ เพราะเพชรฆาตต้องการแน่ใจว่าบัลลาร์ดยังมีชีวิตและมีโอกาสได้เห็นทุกขั้นตอน ก่อนที่สุดท้ายหัวใจจะถูกควักออกมา หัวถูกตัด และร่างถูกแยกเป็นสี่ส่วน


นักโทษคนอื่นๆ ที่เหลือถูกกระทำเช่นเดียวกับบัลลาร์ด คือค่อยๆ ประหารให้ทรมานมากที่สุด ท่ามกลางความสยดสยองและสะอิดสะเอียนของฝูงชนที่มุงดู  เมื่อรายงานการประหารครั้งนี้ถูกรายงานไปยังพระราชินี และยังมีนักโทษที่เหลือรอการประหารอีก 7 คน คราวนี้แม้แต่พระนางเองที่ตอนแรกตั้งใจให้นักโทษทรมานที่สุด  คราวนี้พระนางสั่งให้เพชรฆาตแขวนคอนักโทษทั้งหมดจนแน่ใจว่านักโทษทั้ง 7 คนสิ้นใจหมดแล้ว ถึงค่อยดำเนินการในขั้นต่อไป


ภาพราชินีแมรี่แห่งสก็อต  ตามศักดิ์และสิทธิแล้ว พระนางอยู่ในตำแหน่งรัชทายาทแห่งบัลลังก์อังกฤษถัดจากราชินีอลิซาเบธเอง  สุดท้ายพระนางถูกประหารชีวิตด้วยข้อหากบฏในปี 1587 แต่พระโอรสของพระนาง ซึ่งเป็นโปรแตสแตนท์ ขึ้นครองบัลลังก์แห่งอังกฤษต่อจากพระราชินีอลิซาเบธ เป็นพระเจ้าเจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ และที่ 6 แห่งสก็ตแลนด์


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 32  เมื่อ 01 ธ.ค. 14, 20:59

ในรัชสมัย 5 ปีของพระราชินีแมรี่ที่ 1 มีนักบวชและผู้ศรัทธาโปรแตสแตนท์ถูกเผาทั้งเป็นประมาณ 300 คน  ส่วนในรัชสมัยของพระราชินีอลิซาเบธที่ 1 มีคนถูกประหารชีวิตด้วยการลาก แขวน ผ่ามากกว่า 180 คน แต่เป็นการประหารด้วยข้อหากบฏ ไม่ใช่การนอกรีต แต่ในจำนวนนี้มากกว่า 40 คนเป็นนักบวชและสามัญชนผู้ศรัทธาคาธอลิก

ในวัยหนุ่ม เอ็ดมัน แคมเปียนเป็นนักศึกษาที่ออกซ์ฟอร์ดเพื่อเตรียมตัวเป็นนักบวช เป็นนักศึกษาที่มีชื่อเสียงด้านสติปัญญาสูง ขณะที่กำลังเรียนอยู่ที่ออกซ์ฟอร์ดแคมเปียนมีโอกาสพบพระราชินีอลิซาเบทครั้งหนึ่ง ผู้คนที่รู้จักต่างคาดหมายว่าในอนาคตแคมเปรียนต้องมีตำแหน่งสูงต่อไปแน่ อาจจะได้เป็นอาร์ชบิชอปแห่งแคนเทอร์เบอรี่ในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ในเวลาต่อมา แคมเปี้ยนเดินทางท่องยุโรป ไปฝรั่งเศสและโรม และเป็นนักบวชคาธอลิกในเวลาต่อมา  แคมเปียนกลับมายังอังกฤษเพื่อด้วยความตั้งใจที่จะเผยแพร่ศรัทธาคาธอลิกแก่ผู้คน ทำให้ต้องขัดแย้งกับศาสนจักรของอังกฤษที่มีพระราชินีเป็นประมุขคริสตจักร แคมเปียนถูกจับแต่ได้รับข้อเสนอจากพระราชินีให้ยอมเปลี่ยนมาเป็นพระของคริสตจักแองกลิคันและจะให้ตำแหน่งนักบวจสถานะสูงของคริสตจักรนั้นด้วย แต่แคมเปียนปฏิเสธ แคมเปียนถูกทรมานเพื่อให้เปิดเผยชื่อผู้ศรัทธาคาธอลิกอื่นๆ  สุดท้ายแคมเปียนถูกประหารชีวิตด้วยการลาก แขวน และผ่า เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 1581  แคมเปียนได้รับการประกาศเป็นนักบุญโดนสันตปาปาลีโอที่ 13 เมื่อปี 1881

การประหารคริสตศาสนิกชนคาธอลิก ซึ่งบางคนมีความผิดฐานกบฏเพียงเพราะไม่ยอมับอำนาจของสถาบันกษัตริย์เหนือคริสตจักรบางครั้งส่งผลตรงกันข้ามกับผู้คนที่ได้ชมการประหารด้วย หลายคนถึงกับเปลี่ยนไปเป็นผู้ศรัทธาคาธอลิกเลย


ภาพเอ็ดมัน  แคมเปียน


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 33  เมื่อ 01 ธ.ค. 14, 21:31

ยุคทิวดอร์ในศตวรรษที่ 16 เป็นช่วงเฟื่องฟูที่มีการประหารด้วยวิธีสุดโหดนี้มาก ในศตวรรษต่อมา ช่วงปี 1600-1699 โทษลาก แขวน ผ่ายังคงได้รับความนิยม แม้จำนวนการประหารจะลดลงบ้าง  คราวนี้ผู้ถูกประหารส่วนใหญ่ไม่ใช่เพราะเป็นคอธอลิกแบบศตรววษก่อนหน้าแล้ว

เมื่อพระเจ้าชาลส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ในปี 1660 หลังการฟื้นฟูระบบกษัตริย์  มีการอภัยโทษผู้ที่เคยมีส่วนร่วมกับฝ่ายรัฐสภาที่นำโดยโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ยกเว้นแต่เพียงผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการตัดสินประหารชีวิตพระเจ้าชาลส์ที่ 1 เท่านั้น จากจำนวน 59 คนที่ลงชื่อในเอกสารคำสั่งประหารชีวิตชีวิตพระเจ้าชาลส์ ใครที่ยังไม่ตายหรือไม่ทันหลบลี้หนีภัยไปต่างประเทศต่างถูกจับข้อหากบฏหมด ในจำนวน 59 คนนี้ 13 คนถูกประหารชีวิตโดยการลาก แขวน ผ่า อีก 1 คนโดยการแขวนคอ อีก 19 คนถูกคุมขังตลอดชีวิต

นักโทษคนแรกที่ถูกประหารคือพลตรีโทมัส แฮริสัน  ผู้ซึ่งไม่ได้ลี้ภัยไปก่อนหน้าเพราะคาดไม่ถึงว่าพระเจ้าชาลส์ที่ 2 จะเอาผิดตัวด้วย ในวันประหาร แฮริสันมีอาการตัวสั่นตลอดเวลา ฝุงชนที่เฝ้าดูต่างโห่ฮาดูถูกเหยียดหยามที่แฮริสันแสดงว่าขลาดกลัวเมื่อต้องเผชิญหน้ากับความตาย(แบบสุดโหด) แฮริสันซึ่งรู้สึกอับอายกับการดูถูกเหยียดหยามของฝูงชน แสดงสุทรพจน์ก่อนตายบนลานประหาร แก้ตัวว่าที่ตัวสั่นเทาไม่ใช้เป็นเพราะความกลัว แต่เนื่องมาจากอาการบาดเจ็บที่เคยได้รับสมัยที่เคยไปทำสงครามต่างหาก  แฮริสันเป็นอีกคนหนึ่งที่ถูกแขวนคอจนแค่เกือบหมดสติ แต่ยังมีสติและยังไม่ตายก่อนที่การผ่าจะเริ่มขึ้น

เอกสารที่มีการลงชื่อ คำสั่งให้ประหารชีวิตพระเจ้าชาลส์ที่ 1 และโทมัส แฮริสัน



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 34  เมื่อ 01 ธ.ค. 14, 21:53

โทษประหารโดยการลาก แขวน ผ่า ยังคงมีใช้ในศตวรรษที่ 18 และ 19  แม้การประหารชีวิตด้วยวิธีนี้จะมีน้อยลงมาก  นักโทษที่ถูกตัดสินประหารด้วยวิธีนี้มักจะถูกลดโทษผ่า คงเหลือเพียงการแขวนและตัดศีรษะเท่านั้น ตัวอย่างเช่นเจเรไม แบรนเรดท ถูกตัดสินข้อหากบฏเนื่องจากพยายามก่อจราจลเมื่อปี 1817 แต่โทษผ่าถูกยกเว้น เหลือเพียงตัดศีรษะเท่านั้น


ในช่วงกลางทศวรรษที่ 19 ผู้มีความผิดฐานกบฏอาจจะไม่ถูกประหารชีวิต แต่ถูกเนรเทศไปออสเตรเลียแทน โทษประหารชีวิตด้วยการลาก แขวน ผ่า ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในปี 1870 โดยให้ใช้การแขวนคอแทน

ภาพหัวของแบรนเดรท


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 35  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 03:21

โทษประการอีกชนิดที่ไม่ค่อยเป็นที่รับรู้กันว่าเคยมีการใช้ในอังกฤษคือการต้มทั้งเป็น

ในสมัยทิวดอร์ ปี 1531 ริชาร์ด รูส วางยาพิษในอาหารหวังจะสังหารบิชอปแห่งโรเชสเตอร์  แต่เนื่องจากท่านบิชอปมักจะมองอาหารของท่านให้แก่คนยากจนในเมือง เหยื่อผู้เคราะห์ร้ายจึงกลายเป็นหญิงชรายกจนที่ได้รับอาหารจากท่านบิชอป รวมถึงคนรับใช้ของบิชอปอีกคนด้วย  ริชาร์ด รูสถูกจับและถูกตัดสินให้ประหารชีวิต  เนื่องจากริชาร์ดทำผิดโดยวางยาพิษในอาหาร ตามกฏหมายของทิวดอร์ช่วงนั้นคนที่วางยาพิษต้องถูกประหารชีวิตโดยการต้มทั้งเป็น

วันที่ 5 เมษายน 1531 ริชาร์ด รูสถูกนำตัวมาต้มที่สมิธฟิลด์ ลอนดอน  ทางการเตรียมหม้อขนาดใหญ่ใส่น้ำไว้ ริชาร์ดถูกนำตัวไปใส่หม้อตั้งแต่น้ำยังเย็น ต้องใช้เวลาถึง 2 ชั่วโมงกว่าน้ำจะร้อนและเดือดจนริชาร์ดเสียชีวิต  ในปีเดียวกัน มีคนรับใช้หญิงอีกคนถูกต้มด้วยวิธีเดียวกันจากการวางยาพิษนายจ้าง  ในปี 1542 มีนักโทษหญิงอีกคนถูกประหารด้วยการต้มเนื่องจากวางยาพิษนายจ้าง

การประหารด้วยการต้มนั้น นักโทษจะถูกมัดให้ขยับตัวไม่ได้ นำไปใส่หม้อซึ่งใส่น้ำเย็นไว้ จากนั้นจึงจุดไฟต้มน้ำ ซึ่งจะกินเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงกว่านักโทษจะเสียชีวิต แต่ในบางครั้งอาจมีการต้มน้ำจนเดือดก่อน นักโทษจะถูกผูกไว้เหนือหม้อ จากนั้นจะถูกหย่อนลงไปในน้ำและดึงขึ้นมาใหม่ ทำซ้ำไปเรื่อยๆ จนกว่านักโทษจะเสียชีวิต

การประหารชีวิตด้วยการต้ม ถูกใช้เพียงไม่กี่ครั้ง  และถูกยกเลิกไปในปี 1547 ในรัชสมัยของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 6

ภาพการประหารริชาร์ด รูส



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 36  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 07:16


โทษประหารชีวิตด้วยการลาก แขวน ผ่า ถูกยกเลิกอย่างเป็นทางการในปี 1870 โดยให้ใช้การแขวนคอแทน

ค.ศ.1870 ตรงกับ พ.ศ.2413 ของไทย ซึ่งเป็นสมัยรัชกาลที่ 5 แล้ว
สยามคงจะเลิกการประหารชีวิตอย่างทารุณตั้งแต่หลังทำสัญญาบาวริงในรัชกาลก่อน  เพราะฝรั่งหาว่าป่าเถื่อน

ตั้งแต่อ่านมาผมก็คิดว่ามนุษย์มีความป่าเถื่อนเหมือนๆกันในแต่ละยุค โดยไม่ต้องมีใครเอาอย่างใครเลย

บันทึกการเข้า
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 37  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 09:31

ร่วมด้วยช่วยเสริม (ความหวาดเสียว)

การประหารโดยการต้มมีมาตั้งแต่สมัยโรมัน ในภาพแกะสลักไม้ฝีมือ Albrecht Dürer ช่างเขียนภาพและแกะสลักชาวเยอรมัน เป็นภาพนักบุญจอห์นถูกต้มในน้ำมันเดือด แต่รอดชีวิตมาได้   ตกใจ


บันทึกการเข้า
NAVARAT.C
หนุมาน
********
ตอบ: 11307


ความคิดเห็นที่ 38  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 10:29

การตกกระทะทองแดงในคติไทยนี่ ผมเชื่อว่าไม่ใช่จินตนาการล้วนๆ  มันต้องเกิดจากการเห็นภาพการกระทำจริงๆที่เกิดขึ้นในภพนี้นี่แหละ


บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 39  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 13:36

คุณเพ็ญชมพูเอาการต้ม มาให้รับทราบ ผมจึงเอาการ "นึ่ง" มาให้รับรู้ครับ

ในภาพยนตร์จีนเรื่องดัง Bu Bu Jin Xing มีฉากหนึ่งเล่าถึงจักรพรรดิ์หย่งเล่อ มีการประหารบุคคลด้วยการจับใส่เข่งติ่มซำขนาดใหญ่แล้วนึ่ง ครับ  รูดซิบปาก


บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 40  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 19:11

ระหว่างหาข้อมูลและรูปภาพประกอบกระทู้  ไปเจอภาพถ่ายรูปคนโดนต้มเข้า ต้องร้องไอ้หยาด้วยความสยอง  เศร้า พอดูโทษประหารอันต่อไป การบีบอัดจนตาย (crushing  or pressing to death) ยิ่งเจอภาพถ่ายยุคใหม่ๆ ขอคนที่โดนบีบอัดจากอุบัติเหตุบ้าง หรือรถถังทับบ้าง  ยิ่งสยดสยองจนต้องร้องไอ้หยา แม้จะอยู่สตวรรษที่ 21 แล้ว โทษประหารชีวิตถูกยกเลิกไปในหลายๆ ประเทศ  แต่ความโหดเหี้ยมอำมหิตของคนบางพวกบางกลุ่มไม่ได้ลดลงตามความเจริญของสังคมเลย ร้องไห้


การประหารโดยการบีบอัดจนตาย เป็นโทษอีกชนิดที่มีการใช้ในอังกฤษ บันทึกแรกๆ ที่กล่าวถึงการลงโทษแบบนี้มีตั้งแต่ปี 1275 และถูกใช้ต่อเนื่องมาจนถึงศตวรรษที่ 18 เมื่อมีการยกเลิกโทษนี้ไปในปี 1772 แต่โทษนี้มีการใช้ครั้งสุดท้ายจริงๆ ในปี 1741


การบีบอัดจนตายเป็นการลงโทษที่ใช้กับนักโทษที่ถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรม แต่ตัวนักโทษปฏิเสธที่จะให้มีการดำเนินคดีและให้การต่อศาล โดยทั้งไม่ยอมรับและไม่ยอมปฏิเสธในความผิดที่ถูกกล่าวหาฟ้องร้อง ทำให้การพิจารณาคดีไม่อาจดำเนินต่อไปได้ แทนที่จะขังรอไว้เฉยๆ ซึ่งไม่รู้ว่าจะต้องขังนานเท่าใด ดังนั้นจึงต้องมีการทรมานเพื่อบังคับให้นักโทษตัดสินใจว่าจะยอมรับผิดหรือจะปฏิเสธอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไป ซึ่งถ้านักโทษยอมรับหรือยอมปฏิเสธ ก็จะถูกดำเนินคดีตามขั้นตอนปกติต่อไป


คำถามตามมาคือแล้วทำไมนักโทษถึงปฏเสธที่จะให้การทั้งยอมรับหรือไม่ยอมรับความผิด  คำตอบก็คือตามกฏหมายของอังกฤษนั้น นักโทษที่ถูกตัดสินว่าผิดในความผิดอุกฉกรรจ์จะถูกริบทรัพย์เป็นของแผ่นดินด้วย เช่นถ้าใครถูกตัดสินว่าเป็นกบฏ ทางการจะยึดทรัพย์สินทุกอย่างไปด้วย  ดังนั้นครอบครัวที่อยู่ข้างหลังจะไม่เหลืออะไรเลย แต่ในทางกลับกัน ถ้าบุคคลที่ถูกกล่าวหาเสียชีวิตโดยยังไม่มีการตัดสินความผิด ทางการก็ไม่อาจจะยึดทรัพย์ของคนผู้นั้นได้ เหมือนกับว่านักโทษผู้นั้นยังบริสุทธิ์ ดังนั้นนักโทษหลายคนจึงเลือกที่จะตายโดยวิธีนี้ แทนที่จะถูกประหารชีวิตและถูกยึดทรัพย์ด้วย
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 41  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 19:16

การลงโทษโดยการบีบอีดมีขั้นตอนดังนี้คือ  นักโทษจะถูกมัดมือมัดเท้า นอนหงาย  บนหน้าอกจะมีแผ่นกระดานใหญ่ๆ วางทับไว้ จากนั้นเพชรฆาตจะค่อยๆ เอาหินหรือตุ้มน้ำหนักวางบนแผ่นกระดานไปเรื่อยๆ  จนกว่านักโทษจะทนไม่ไหว ยอมสารภาพหรือปฏิเสธความผิดที่ถูกกล่าวหา แต่ถ้านักโทษยังคงปฏิเสธจะให้การ ตุ้มน้ำหนักจะถูกเพิ่มไปเรื่อยๆ จนในที่สุดนักโทษก็สิ้นใจตายด้วยความทรมาน

บางครั้งเพชรฆาตจะเพิ่มน้ำหนักให้มากพอที่นักโทษจะทรมานอย่างแสนสาหัส แต่ไม่หนักมากพอที่นักโทษจะตายได้ โทษนี้จึงเป็นการลงโทษที่รุนแรงและทรมานมาก


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 42  เมื่อ 02 ธ.ค. 14, 19:52

กรณีที่น่าเศร้าของการบีดอัดจนตายเกิดขึ้นในปี  1586 เมื่อมากาเร็ต คลิธอโร (Margaret Clitheroe) คุณแม่ลูกสามและเป็นศาสนิกชนผู้ศรัทธาคาธอลิก ได้ให้ที่หลบซ่อนแก่นักบวชคาธอลิกที่บ้านเธอในเมืองยอร์ค การให้ที่หลบซ่อนแก่นักบวชคอธอลิกในยุคนั้นเป็นอันตรายอย่างมากเพราะถูกถือว่าเป็นความผิดฐานกบฏเลยทีเดียว ซึ่งในที่สุด มากาเร็ตก็ถูกจับกุม

มากาเร็ตรู้ดีถึงโทษที่เธอจะได้รับดี และรู้ดีว่าถ้าเธอขึ้นให้การ ไม่ว่าจะยอมรับหรือปฏิเสธ ลูกๆ ทั้งสามของเธอจะต้องถูกนำตัวมาให้การด้วยในฐานะพยาน และนั้นอาจทำให้ลูกๆ ของเธอต้องถูกกล่าวหาด้วยข้อหาเดียวกันต่อไปได้ และอาจถูกทรมานด้วย ยังไม่นับว่าถ้าถูกตัดสินว่าผิด เธอจะถูกยึดทรัพย์ทั้งหมด ดังนั้นเมื่อไม่มีทางเลือก เพื่อปกป้องลูกๆ ของเธอ เธอจึงปฏิเสธที่จะให้การ

เมื่อทั้งไม่ยอมรับผิดและไม่ยอมปฏิเสธ วันที่ 25 มีนาคม 1586 มากาเร็ตจึงถูกลงโทษด้วยการบีบอัด  ความปราณีอย่างเดียวที่เพชรฆาตมีให้เธอ คือการเอาหินแหลมๆ ก้อนขนาดกำปั้นวางไว้ที่หลังเธอตรงกับตำแหน่งหัวใจ  หวังให้หินก้อนนั้นกระแทกให้หัวใจเธอหยุดเต้นให้เร็วที่สุดเมื่อมีน้ำหนักกดทับด้านบน อย่างไรก็ตาม เธอถูกทับด้วยหินหนักมากกว่า 800 ปอนด์ และเสียชีวิตหลังจากถูกลงโทษ 15 นาที

หลังจากเสียชีวิต ร่างของมาการเร็จถูกนำไปทิ้งยังที่ทิ้งขยะ แต่มีผู้ศรัทธาคาธอลิกแอบตัดมือของเธอเก็บไว้เพื่อเป็นการละลึกถึงเธอ ปัจจุบันมือทั้งสองข้างของเธอถูกเก็บไว้ในโหลแก้ว

มากาเร็ตได้รับการประกาสเป็นนักบุญ ทุกวันนี้บ้านของเธอในยอร์คยังได้รับการอนุรักษ์ไว้

 ภาพการลงโทษ  บ้านของเธอในปัจจุบัน และมือทั้งสองที่ถูกรักษาไว้




บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 43  เมื่อ 03 ธ.ค. 14, 09:50

            อ่านแล้ว นึกถึงเหตุการณ์ในสนามฟุตบอล Hillsborough Stadium ที่ Sheffield
เมื่อวันที่ 15 เมษายน 1989
            แฟนฟุตบอลเสียชีวิตรวม 96 ราย


บันทึกการเข้า
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 44  เมื่อ 03 ธ.ค. 14, 09:52

          จากการขาดอากาศหายใจเพราะถูกอัดจนขยับทรวงอกเพื่อหายใจไม่ได้


บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 20 คำสั่ง