เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
อ่าน: 34273 เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12600



ความคิดเห็นที่ 15  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 07:24

เข้ามาอ่านกระทู้ครั้งแรก ตาลายเห็นชื่อกระทู้เป็น "เขารัฐประหารกันอย่างไรในอังกฤษ" ได้อย่างไรหนอ  

นั่นยังไงเล่า คุณประกอบกำลังเล่าเรื่อง "รัฐประหารในอังกฤษ" อยู่เชียว  ยิงฟันยิ้ม

ภาพ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด หัวหน้าคณะรัฐประหารของอังกฤษเมื่อ ๔๐๐ ปีมาแล้ว ชะตากรรมของเขาก็จบลงด้วยการถูกตัดศีรษะเช่นกัน (แม้ว่าจะเสียชีวิตไปแล้ว)  ตกใจ


บันทึกการเข้า
Diwali
มัจฉานุ
**
ตอบ: 96


ความคิดเห็นที่ 16  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 09:50

เข้ามาลงชื่อไว้ก่อนครับ
ผมก็ไม่ค่อยรู้เรื่องเท่าใหร่ ตอนสมัยเรียนหนังสือเรื่องนี้ก็เรียนมาแค่วิชาเดียว

รออ่านต่อนะครับ
 ยิงฟันยิ้ม ยิงฟันยิ้ม
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 17  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 19:58


นั่นยังไงเล่า คุณประกอบกำลังเล่าเรื่อง "รัฐประหารในอังกฤษ" อยู่เชียว  ยิงฟันยิ้ม


เพิ่งจะโดนไม้เรียวจากท่านอาจารย์ใหญ่ไปหยกๆ จะให้ผมโดนอีกยกแล้ว  โกรธ  โกรธ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 18  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 20:47

เนื่องจากการตัดหัวเป็นวิธีการประหารชีวิตที่สงวนไว้ใช้กับชนชั้นสูงเท่านั้น  นอกจากปัญหาเพชรฆาตมือไม่ถึงตัดไม่แม่น ต้องลงขวานหลายฉับแล้ว ตัวนักโทษเองมักไม่ค่อยจะมีปัญหา และให้ความร้วมมือเป็นอย่างดี  ทั้งนี้เนื่องจากว่าชนชั้นสูงในสมัยนั้นจะต้องหยิ่งทะนงในเกียรติและศักดิ์ศรี การแสดงความขลาดกลัวแม้แต่ต่อความตายตรงหน้าถือเป็นเรื่องที่รับไม่ได้และเสื่อมเสีย  นักโทษเองก็จะได้รับการปฏิบัติจากผู้คุมหรือเพชรฆาตอย่างดีและให้เกียรติ มีการเรียกตัวนักโทษตามสถานะและตำแหน่ง

นักโทษเองก่อนถูกประหารก็มักจะมีการกล่าวปราศรัยสั้นๆ ต่อหน้าพยาน ส่วนใหญ่จะยอมรับโทษแต่โดยดี บางครั้งมีการสรรเสริญกษัตริย์ผู้มอบโทษประหารให้แก่ตนเองด้วยซ้ำ ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นเพราะนักโทษเหล่านี้ยังมีครอบครัวและผู้สืบทอดตำแหน่งที่อาจจะได้รับภัยต่อได้ ถ้าตัวนักโทษยังแสดงความกระด้างกระเดื่อง

เซอร์โทมัส มอร์ นักรัฐศาสตร์และอดีตที่ปรึกษาของเฮนรี่ที่ 8 ถูกประหารชีวิตเนื่องจากยึดมั่นในความเป็นคาธอลิกและขัดแย้งกับเฮนรี่ จึงต้องรับโทษประหารข้อหากบฏ ก่อนการประหาร ท่านเซอร์ขยับเคราออกจากบล็อคไม้  กล่าวอย่างติดตลกว่าเท่าที่รู้เคราของท่านเซอร์ไม่ได้ร่วมก่อกบฏ จึงไม่สมควรจะรับโทษแบบเดียวกับท่านเซอร์

ภาพท่านเซอร์กับบุตรสาว เมื่อตอนที่ทราบว่าท่านเซอร์ถูกตัดสินประหาร


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 19  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 23:36

การประหารชีวิตโดยการตัดหัวนิยมใช้อย่างแพร่หลายสำหรับชนชั้นสูงเป็นเวลาหลายร้อยปี  ผู้ถูกประหารด้วยวิธ๊นี้มีทั้งชายและหญิง  แต่อย่างไรก็ตาม ผู้หญิงที่ถูกประหารด้วยวิธีนี้มีจำนวนไม่มากนัก ที่เป็นที่จดจำกันได้มักจะเป็นบุคคลสำคัญเช่นแอนน์ โบลีน   แคทรีน โฮวาร์ด  เลดี้ เจน เกรย์  ราชินีแมรี่แห่งสก็อต  

ผู้หญิงคนสุดท้ายที่ถูกประหารโดยวิธ๊นี้ได้แก่ เลดี้ อลิซ  ลิสเซิล (Lady Alice Lisle) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเศร้า

อลิซ ลิสเซิล เป็นผู้หญิงมีชาติตระกูล สมรสกับจอห์น ลิสเซิล ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจจากโอลิเวอร์ ครอมเวลล์มาก จอห์นเป็นผู้หนึ่งที่มีส่วนร่วมในการพิจารณาคดีพระเจ้าชาลส์ที่ 1 ด้วย เมื่อฌอลิเวอร์ ครอมเวล์เสียชีวิต มีการสถาปนาระบบกษัตริย์ขึ้นมาใหม่  จอห์นลี้ภัยไปสวิสเซอแลนด์ ก่อนจะไปเสียชีวิตที่นั่น  ส่วนเลดี้อลิซใช้ชีวิตต่อมาในแคว้นแฮมเชียร์อย่างผาสุกตลอดช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชาลส์ที่ 2

เมื่อสิ้นรัชสมัยชาลส์ที่ 2  พระเจ้าเจมส์ที่ 2 ขึ้นครองราชย์ ดยุคแแห่งมอนมัธพยายามก่อกบฏแต่ไม่สำเร็จดังที่เล่าไปก่อนหน้า เหล่าทหารและผู้ติดตามของมอนมัธต้องพากันหลบหนี   ในบรรดาผู้หลบหนีนี้ มีทหารของมอนมอธ 2 คน ไปขออาหารและขออาศัยที่บ้านของอลิซ  ในเช้าวันรุ่งขึ้น ทหารตามไปจับคนทั้งสองและเลดี้อลิซมาด้วย ในฐานให้ที่หลบภัยแก่กบฏ

พระเจ้าเจมส์ส่งจอร์จ เจฟฟรี่ (George Jeffreys, 1st Baron Jeffreys) มาเป็นผู้พิพากษาในการดำเนินคดีเลดี้อลิซ  ผู้พิพากษาเจฟฟรี่มีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องความอคติและการตัดสินโทษที่รุนแรง จนได้สมญาว่าเจฟฟรี่นักแขวนคอ เพราะตัดสินประหารชีวิตผู้คนมากมาย รวมทั้งการเนรเทศนักโทษจำนวนมากไปยังอเมริกา

การพิจารณาคดีเป็นไปอย่างน่าเศร้า เลดี้เองอายุ 68 ปีแล้ว หูก็ตึง ทหาร 2 คนที่เลดี้อลิซให้ที่พักและอาหารเองยังไม่ได้รับพิจารณาคดี และยังไม่ได้ถูกตัดสินว่ากบฏ ดังนั้นจะหาว่าเลดี้อลิซกบฏไม่ได้ เลดี้อลิซให้การว่านางเพียงให้ที่พักพิงและอาหารแก่คนอิดโรย 2 คนด้วยความเมตตาเท่านั้น แถมบุตรชายของนางเองก็เป็นทหารอยู่ในกองทัพของพระเจ้าเจมส์   เมื่อคณะลูกขุนได้ฟังดังนั้นก็เห็นพ้องกันว่าอลิซคงไม่รู้จริงๆ ว่าทหารทั้งสองเป็๋นพวกของกบฏ   ผู้พิพากษาทราบดังนั้นเลยไม่พอใจ สั่งให้คณะลูกขุนไปทบทวนอีกรอบ คณะลูกขุนกลับมาพร้อมคำตัดสินว่าเลดี้อลิซไม่ผิด  ผู้พิพากษาไม่พอใจอีกครั้ง  สั่งให้คณะลูกขุนกลับไปพิจารณาใหม่ คราวนี้คณะลูกขุนจึงตัดสินอย่างเสียมิได้ว่าเลดี้อลิซมีความผิด   ผู้พิพากษาเจฟฟรีตัดสินโทษให้ประหารชีวิต เป็นการตัดสินอย่างอยุติธรรมและถูกประนามมาจนถึงบัดนี้

โทษของผู้หญิงสามัญที่ถูกตัดสินข้อหากบฏในขณะนั้นคือการเผาทั้งเป็น ผู้พิพากษาเจฟฟรี่ต้องการจะใช้โทษนี้ แต่พระเจ้าเจมส์ที่ 2  เปลี่ยนให้เป็นการตัดศรีษะแทน   เลดี้อลิซถูกประหารชีวิตเมื่อวันที่  2 กันยายน 1685 ที่วินเชสเตอร์ เป็นการประหารชีวิตผู้หญิงโดยการตัดศรีษะครั้งสุดท้ายในอังกฤษ

ผู้พิพากษาเจฟฟรีเองก็มีชะตากรรมที่ไม่ดีเท่าไหร่ เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ถูกขับไล่และต้องลี้ภัยไปฝรั่งเศส  เจฟฟรี่พยายามหลบหนีเช่นกันแต่ถูกจับได้และทำร้ายโดยฝูงชนที่เคืองแค้น จากนั้นถูกขังไว้ในคุกที่ลอนดอนเพื่อรอการรับโทษ และตายในคุกในปี 1689

ภาพ The Eclipse Inn สถานที่ที่เลดี้อลิซใช้ชีวิตในวันสุดท้าย และถูกประหารชีวิตบนตะแลงแกงหน้าโรงแรมห่งนี้ กับภาพผู้พิพากษาเจฟฟรี่



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 20  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 16:54

การประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะมีน้อยลงมากใรศตวรรษที่ 17 หรือช่วงหลังปี 1700 แต่ก็ยังคงมีผู้ดีถูกประหารชีวิตด้วยวิธีนี้กันบ้างประปราย จนกระทั่งถึงปี 1747 ลอร์ดโลแวต (Simon Fraser, 11th Lord Lovat) ขุนนางชาวสก็อต ซึ่งมีส่วนร่วมในการกบฏของบอนนี่ ปรินซ์ ชาร์ลี เพื่อล้มล้างราชวงศ์ฮันโนเวอร์ของพระเจ้าจอร์จที่ 2 และฟื้นฟูราชวงศ์สจ็วต ผู้สนใจติดตามอ่านต่อได้ที่

http://www.reurnthai.com/index.php?topic=1727.0

ภายหลังฝ่ายสก็อตพ่ายแพ้ ลอร์ดโลแวตถูกจับและนำตัวมายังลอนดอนเพื่อพิจารณาคดีข้อหากบฏ ถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการตัดศีรษะที่ทาวเวอร์ฮิลล์

เช้าวันที่ 9 เมษายน 1747 ท่านลอร์ดตื่นเมื่อเวลาประมาณ 5.00 น. หลังจากใช้เวลาสวดมนต์ชั่วครู่ ท่านลอร์ดก็มารับประทานอาหารเช้าชุดใหญ่ เป็นเนื้อลูกวัวกับไวน์  เมื่อได้เวลา ผู้คุมก็มาพาตัวท่านลอร์ดที่ต้องเดินไปหยุดพักไปเป็นช่วงๆ ไม่ใช่เพราะความขี้ขลาดแต่เพราะด้วยอายุที่มากถึง 80 ปี กับร่างกายที่อ้วนอุ้ยอ้ายทำให้ท่านลอร์ดเดินไม่ค่อยไหว ท่านลอร์ดขอบอกขอบใจเหล่าผู้คุมที่ช่วยประคองอย่างมีไมตรีจิต นอกจากผู้คุมแล้ว ยังมีบรรดาเพื่อนๆ ของท่านลอร์ดร่วมทางไปยังตะแลงแกงด้วย  ท่านลอร์ดยังหันไปปลอบใจเมื่อเห็นว่าเพื่อนคนหนึ่งสีหน้าไม่สู้จะดี

การประหารชีวิตท่านลอร์ดเป็นไปอย่างราบลื่น เพชรฆาตจอห์น ทริฟต์ (John Thrift) ตัดศีรษะท่านลอร์ดได้ในขวานเดียว  แต่นอกจากท่านลอร์ดยังมีผู้เคราะห์ร้ายอื่นๆ ด้วย  เนื่องจากการประหารชีวิตในที่สาธารณะสมัยนั้นเป็นเหมือนมหกรรมที่มีผู้ให้ความสนใจเข้ามาชมอย่างล้นหลาม มีการก่ออัฒจันทร์เพื่อให้ผู้ชมที่ยอมจ่ายเงินค่าชมสามารชมได้อย่างสะดวก ในวันประหารลอร์ดโลแวต อัฒจันทร์อันหนึ่งพังลงมา เป็นผลให้มีฝรั่งมุงตายไปอีก 20 คน

ลอร์ดโลแวตเป็นนักโทษประหารรายสุดท้ายที่ถูกใช้โทษตัดศีรษะ  หลังจากนั้นโทษประหารสำหรับนักโทษที่มีสถานะสูงหรือเป็นขุนนาง จะใช้การแขวนคอเช่นเดียวกับอาชญากรทั่วไปแทน

ภาพลอร์ดโลแวตและบรรยากาศวันประหารชีวิตท่านลอร์ด



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 21  เมื่อ 24 พ.ย. 14, 17:51

เนื่องจากทุกๆ คนที่สนใจคงไม่อาจมีโอกาสไปชมการประหารชีวิตโดยพร้อมเพรียงกัน และเพื่อต้องการเป็นตัวอย่างแก่ผู้ที่อาจจะก่อกบฏในอนาคต  หัวของนักโทษประหารจะถูกนำไปเสียบประจานไว้ที่เหนือประตูลอนดอนบริดจ์ ซึ่งเป็นทางเข้าเมืองลอนดอน เพื่อให้เป็นตัวอย่างแก่ผู้ที่เดินผ่านประตูเมืองได้เห็นโทษของคนที่คิดกบฏ จำนวนหัวมากทีสุดที่ถูกบันทึกไว้คือมีถึง 34 หัว  ที่นี่มีเจ้าหน้าที่ตำแหน่งผู้ดูแลหัว (keeper of the heads) ซึ่งมีหน้าที่คอยระวังรักษาหัวนักโทษที่ประจานไว้ เนื่องจากบางครั้งอีกาอาจจะมาโฉบหรือจิกกินหัวที่ประจานไว้ จึงต้องมีการทาน้ำมันชะโลมไว้ด้วย   นอกจากที่ลอนดอนบริดจ์แล้ว ยังมีประตูที่เท็มเปิลบาร์เป็นอีกที่ที่นิยมนำหัวนักโทษไปประจาน

หัวแต่ละหัวจะถูกประจานไว้นานเป็นปีๆ หัวที่ถูกประจานนานที่สุดเป็นของผู้พันฟราสซิส ทาวน์เลย์ (Colonel Francis Townlay)ถูกแขวนไว้นานถึง 25 ปี  การเดินทางมาชมหัวที่ถูกประจานไว้เหนือประตู เป็นเสมือนกิจกรรมยามว่างที่ชาวเมืองนิยมกันคล้ายๆ กับที่เราไปเยืนพิพิธภัณฑ์หุ่นขี้ผึ้งทุกวันนี้ ซึ่งชาวบ้านทั่วไปมีโอกาสได้เห็นบุคคลที่ตัวเองอาจไม่มีโอกาสได้เจอในชีวิตจริง

ภาพลอนดอนบริดส์และเท็มเปิลบาร์ กับภาพหัวของโอลิเวอร์ ครอมเวลล์ ที่ถูกขุดศพขึ้นมาตัดหัวเสียบประจานเมื่อมีการฟื้นฟูระบอบกษัตริย์อีกครั้ง





บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 22  เมื่อ 25 พ.ย. 14, 17:30

ในช่วงศตวรรษที่ 18 หรือหลังปี 1700 เป็นต้นมา เริ่มมีการพัฒนาหลายๆ อย่าง โดยเฉพาะเป็นช่วงต้นของการปฏิวัติอุตสาหกรรม ทำให้การประหารชีวิตแบบเดิมๆ เช่นการตัดศีรษะ การเผาทั้งเป็น ฯลฯ ถูกมองว่าเป็นการลงโทษที่ป่าเถื่อนเกินไป

ปี 1760 เอิร์ลแห่งเฟอเรอร์ (Laurence Shirley, 4th Earl Ferrers) ซึ่งมีอาการทางประสาท ชอบใช้ความรุนแรงซึ่งอาจเป็นผลมาจากกรรมพันธุ์ ได้ใช้ปืนยิงคนรับใช้ผู้หนึ่งตาย ท่านเอิร์ลถูกตัดสินว่ามีความผิดฐานฆาตกรรมและถูกตัดสินให้ประหารชีวิต  แต่แทนที่จะเป็นการประหารโดยการตัดศีรษะ  คณะผู้ตัดสินให้ประหารชีวิตโดยการแขวนคอเช่นเดียวกับอาชญากรทั่วไปแทน ท่านเอิร์ลพยายามต่อรองให้เปลี่ยนจากการแขวนคอเป็นการตัดศีรษะเยี่ยงการประหารชีวิตขุนนางและชนชั้นสูงทั่วไป แต่ไม่เป็นผล สิ่งที่ดีที่สุดที่ทางการทำได้คือ ใช้เชือกผ้าไหมในการประหาร แทนที่จะเป็นเชือกปอแบบที่ใช้กับอาชญากรทั่วไป  ท่านเอิร์ลถูกแขวนคอเมื่อวันที่ 5 พฤศภาคม 1760

รูปเอิร์ลแห่งเฟอเรอร์และฉากการฆาตกรรมคนรับใช้



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 23  เมื่อ 25 พ.ย. 14, 20:15

โทษประหารอีกชนิดที่ใช้กันในอังกฤษและมักถูกเข้าใจว่าใช้กับแม่มดได้แก่ การเผาทั้งเป็น (Burning at the stake)

บันทึกโทษประหารด้วยการเผาทั้งเป็นสามารถย้อนไปได้ถึงสมัยที่จูเลียส ซีซาร์ยกทัพโรมันบุกเกาะอังกฤษเลย ยุคนั้นมีการบันทึกว่าพวกเซลต์มีการลงโทษอาชญากรด้วยการเผาแล้ว  การเผาทั้งเป็นในยุคหลัง คือตั้งแต่ยุคกลางเป็นต้นมาจะใช้สำหรับลงโทษพวกที่มีความคิดนอกรีตเป็นหลัก  เพราะเป็นเสมือนการลงโทษให้ผู้ไม่มีความศรัทธาถูกไฟนรกแผดเผา ยุคที่มีการเผาทั้งเป็นเยอะที่สุดคือช่วงวุ่นวายในสมัยศตวรรษที่ 16  ช่วงสมัยราชินีแมรี่จนถึงสมัยราชินีอลิซาเบธที่ 1 ที่มีการลงโทษเผาทั้งเป็นนักบวชและผู้ที่ศรัทธาคริสตศาสนาต่างนิกายกับพระราชินีในช่วงนั้น

นอกจากใช้ลงโทษเผานักโทษข้อหานอกรีตแล้ว โทษเผาทั้งเป็นยังใช้กับนักโทษหญิงสามัญที่ถูกตัดสินด้วยข้อหากบฏด้วย  เนื่องจากโทษประหารสำหรับข้อหากบฏถ้าเป็นสามัญชนชายจะใช้การแขวน ลาก ผ่า ซึ่งจะอุจาดตาถ้าผู้หญิงเป็นผู้ถูกลงโทษ  ดังนั้นผู้หญิงที่โดนข้อหากบฏจะถูกลงโทษโดยการเผาทั้งเป็นแทน

แต่ด้วยธรรมเนียมอังกฤษโบราณ การคบชู้สู่ชายถูกถือว่าเป็นการกบฏอย่างหนึ่งด้วย ดังนั้นผู้หญิงที่คบชู้จึงอาจถูกตัดสินประหารด้วยการเผาทั้งเป็น ทั้งที่ไม่ได้เกี่ยวข้องกับการล้มล้างกษัตริย์เลยก็ได้ ทำให้ในช่วงหลังของการใช้โทษนี้ จะเป็นการประหารนักโทษหญิงที่โดนข้อหาคบชู้เป็นส่วนใหญ่

สำหรับโทษของการเป็นแม่มดนั้น ในอังกฤษอิงแลนด์จะใช้การประหารโดยการแขวนคอเท่านั้น  แต่ในที่อื่นๆ เช่นสก็อตแลนด์มีการประหารชีวิตนักโทษฐานเป็นแม่มดด้วยการเผาบ้าง


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 24  เมื่อ 25 พ.ย. 14, 20:54

นักโทษคนแรกๆ ในยุคกลางที่มีการบันทึกไว้ถึงการลงโทษด้วยการเผาได้แก่ผู้ช่วยนักบวชคนหนึ่งในออกซ์ฟอร์ดเมื่อปี 1222 ที่เกิดไปรักกับสาวชาวยิว จึงเปลี่ยนศาสนาไปเป็นยิวเพื่อจะได้แต่งงานกับคนรักได้

ในปี 1401 รัชสมัยกษัตริย์เฮนรี่ที่ 4 มีการออกกฏหมายเกี่ยวกับการนอกรีต ให้อำนาจเจ้าพนักงานในการสอบสวนผู้ต้องสงสัยได้ เป็นจุดเริ่มต้นของการใช้โทษเผาทั้งเป็นอย่างเป็นทางการในอังกฤษ นักโทษคนแรกที่โดนตัดสินด้วยข้อหานอกรีตตามกฏหมายใหม่นี้คือนักบวชหัวก้าวหน้าชื่อวิลเลี่ยม ซอว์ทรีย์ ที่บังอาจตั้งข้อสงสัยเกี่ยวกับคำสอนของคาทอลิกในสมัยนั้น

แม้การเป็นแม่มดจะถูกประหารโดยการแขวนคอ แต่การใช้เวทมนต์อาจทำให้ถูกประหารด้วยการเผาได้  ปี 1441 มากาเร็ต จอร์ดเมนถูกตัดสินให้เผาทั้งเป็นจากการใช้เวทมนต์กับกษัตริย์เฮนรี่ที่ 6

สำหรับในลอนดอน สถานที่ที่ใช้เป็นที่ประหารชีวิตโดยการเปาทั้งเป็นคือที่ Smithfield  ปัจจุบันเป็นตลาดค้าเนื้อ

ภาพ Smithfield สมัยที่ไม่ได้แค่เป็นตลาดค้าเนื้อ





บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 25  เมื่อ 27 พ.ย. 14, 18:00

นักโทษที่ถูกประหารด้วยการเผาทั้งเป็นจะเสียชีวิตได้จาก 3 สาเหตุหลัก ขึ้นอยู่กับความโชคดีของแต่ละคน

นักโทษที่โชคดีที่สุด จะหมดสติก่อนจากคาร์บอนมอนนอกไซด์ในควันไฟ การเสียชีวิตในลักษณะนี้จะทรมานน้อยที่สุด  สาเหตุประการถัดมาเกิดการหายใจเอาอากาศที่ร้อนเข้าไป ทำให้ปอดพอง เกิดการสำลักและหายใจไม่ออกจนเสียชีวิต แต่สาเหตุที่สองจะทรมานกว่าแบบแรก

อย่างไรก็ตาม นักโทษที่ถูกประหารโดยการเผาทั้งเป็นไม่ได้โชคดีเสียชีวิตจากสองสาเหตุข้างต้นไปทั้งหมด ตัวอย่างเช่นในปี 1555 จอห์น ฮูปเปอร์ (John Hooper) นักบวชโปรแตสแตนท์ที่ดำรงตำแหน่งบิชอปแห่งกลอสเตอร์ในรัชสมัยเอ็ดเวิร์ดที่ 6 เมื่อราชินีแมรี่ขึ้นครองราชย์และมีการฟื้นฟูนิกายคาธอลิก  คุณพ่อฮูเปอร์ถูกถอดออกจากตำแหน่งบิชอปและจับเข้าคุกฐานนอกรีต ถูกตัดสินให้ประหารชีวิตด้วยการเผาทั้งเป็น  เป็นพระระดับบิชอปองค์แรกที่ถูกตัดสินประหารในสมัยราชินีแมรี่ ซึ่งต่อมามีนักบวชและผู้ศรัทธาโปรแตสเแตนท์ถูกประหารด้วยข้อหาเดียวกันนี้เกือบ 300 คนในรัชสมัยของราชินีแมรี่

บิชอปฮูเปอร์ถูกส่งตัวจากลอนดอนมาประหารชีวิตที่กลอสเตอร์ การประหารมีขึ้นในเช้าวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 1555 ท่ามกลางผู้ชมกว่า 7000 คน ก่อนการประหารถ้าท่านบิชอปฮูเปอร์ยอมขออภัยโทษและเปลี่ยนมาเป็นคาธอลิกจะได้รับการอภัยโทษ แต่บิชอปฮูเปอร์ปฏิเสธอย่างไม่ใยดี

การประหารเป็นไปอย่างน่าสยดสยอง เนื่องจากกองไฟที่ก่อค่อยๆ ลุกขึ้นช้าๆ  ฟืนที่ใช้ไม่ก่อให้เกิดควันไฟมากพอที่จะทำให้ท่านบิชอปหมดสติ เปลวไฟค่อยๆ ลามเลียช้าๆ ไปทั่วร่างท่านบิชอปที่ระหว่างนั้นท่านยังคงสวดมนต์อยู่ แต่ไฟติดบ้างดับบ้างจนต้องเพิ่มฟืนเข้าไป ผิวหนังไหม้ละลายแต่ท่านบิชอปยังไม่เสียชีวิต  ต้องใช้เวลามากถึง 45 นาทีตั้งแต่จุดไฟกว่าท่านบิชอปจะเสียชีวิต

ภาพและฉากการประหารชีวิตบิชอปจอห์น ฮูเปอร์




บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 26  เมื่อ 27 พ.ย. 14, 18:36

ในช่วงเวลาประมาณ 5 ปีในรัชสมัยของราชินีแมรี่ ผู้คนถูกประหารโดยการเผาทั้งเป็นด้วยข้อหานอกรีตเกือบ 300 คน โดยทั่วไปก่อนการประหาร นักโทษจะได้รับข้อเสนอให้ยอมรับว่าตนเข้าใจผิดและยอมเปลี่ยนเป็นคาธอลิก จะได้รับอภัยโทษจากพระราชินี  แต่นัดโทษส่วนใหญ่เลือกที่จะตายและกลายเป็น martyrs หรือผู้ที่ยอมพลีชีพเพื่อศาสนา

วันที่ 27 มิถุนายน 1556นักโทษชาย 11 คนและหญิงอีก 2 คนซึ่งหนึ่งในนั้นกำลังตั้งครรภ์ ถูกเผาทั้งเป็นที่สเตรทฟอร์ด กรีน ชานเมืองลอนดอน  นักโทษทั้ง 13 ปฏิเสธข้อเสนอขออภัยโทษ  เฉพาะนักโทษชายถูกผูกไว้กับหลักส่วนนักโทษหญิงสามารถเดินอย่างเป็นอิสระ  แต่ทั้งหมดเสียชีวิตในกองเพลิง เป็นการเผาทั้งเป็นที่มีจำนวนนักโทษถูกเผาในคราวเดียวมากที่สุดในประวัติศาสตร์อังกฤษ การประหารชีวิตขนานใหญ่ทำให้ราชินีแมรี่ได้รับสมญาว่า บลัดดี้ แมรี่

การลงโทษอย่างรุนแรงด้วยการเผาทั้งเป็นยิ่งทำให้ชาวประชาต่อต้านฝ่ายคาธอลิกมากยิ่งขึ้นลแะทำให้ฝ่ายคาธอลิกไม่สามารถฟื้นฟูในอังกฤษได้จนถึงปัจจุบัน การเผาทั้งเป็นด้วยข้อหานอกรีตอย่างขนานใหญ่สิ้นสุดลงพร้อมกับรัชสมัยของราชินีแมรี่  ในรัชสมัยถัดมา ราชินีอลิซาเบธที่ 1 มีการเผาทั้งเป็นด้วยข้อหานอกรีตเพียงครั้งหรือ 2 ครั้ง  ครั้งสุดท้ายที่มีการใช้โทษนี้กับข้อหานอกรีตคือปี 1612


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 27  เมื่อ 27 พ.ย. 14, 19:10

อย่างที่บอกไปก่อนหน้าว่าถ้าสามัญชนชายมีความผิดฐานกบฏจะถูกแขวน ลาก ผ่า  แต่ถ้าเป็นหญิงจะใช้การเผาทั้งเป็น ตัวอย่างเช่นแอนน์ โบลีน หรือคัทธริน พาร์ เมหาสีของกษัตริย์เฮนที่ 8 ถูกตัดสินว่าคบชู้ มีความผิดฐานกบฏ ต้องถูกเผาทั้งเป็น แต่เฮนรี่เปลี่ยนจากการเผาให้เป็นการตัดศีรษะแทน เช่นเดียวกับราชีนี 17 วัน เลดี้เจน เกรย์ ที่ถูกตัดสิตให้เผาทั้งเป้นแต่ราชินีแมรี่เปลี่ยนโทษประหารเป็นการตัดศรีษะ

แม้การประหารชีวิตด้วยการเผาทั้งเป็นจะถูกเลิกใช้กับข้อหานอกรีตตั้งแต่หลังปี 1612  แต่การเผาทั้งเป็นยังถูกใช้อยู่สำหรับการประหารชีวิตผู้หญิงที่มีความผิดฐานกบฏ ทำให้หลังจากปี 1612  นักโทษที่ถูกเผาทั้งเป็นทั้งหมดเป็นผู้หญิง

ตามกฏหมาย The Treason Act 1351 บัญญัติความผิดข้อหากบฏไว้หลายประการ ไม่ใช่เพียงเฉพาะการกบฏต่อพระเจ้าแผ่นดินหรือราชวงศ์เท่านั้น ผู้หญิงที่ฆาตกรรมสามี บ่าวที่ฆาตกรรมนาย ถูกถือว่าเป็นรูปแบบหนึ่งของการกบฏด้วย นอกจากนั้นการปลอมเอกสาร ทำเงินปลอม ซึ่งถูกมองว่าเป็นภัยต่อความมั่นคงของชาติ ก็ถูกถือว่าเป็นการกบฏเช่นกัน  นักโทษฐานกบฏชายจะถูกแขวน ลาก ผ่า ส่วนผู้หญิงจะถูกเผาทั้งเป็น

ในศตวรรษที่ 17  ด้วยความเมตตา นักโทษหญิงที่ถูกประหารด้วยการเผาทั้งเป็นส่วใหญ่จะถูกเพชรฆาตรัดคอให้หมดสติก่อน เมื่อศตวรรษที่ 18 มาถึง การเผาทั้งเป็นแทบจะไม่ถูกใช้ ในช่วงปี 1700 - 1730 มีนักโทษถูกเผาทั้งเป็นประมาณ 10 ราย  9 รายผูกรัดคอให้หมดสติก่อน ยกเว้นรายเดียวที่เพชรฆาตรัดคอแล้วแต่ยังไม่หมดสติ คือแคทเธอริน เฮย์ส ที่มีความผิดฐานคบชู้และฆาตกรรมสามีในปี 1726

โทษประหารด้วยการเผาทั้งเป็นถูกยุติอย่างเด็ดขาดในปี 1790 โดยให้ใช้การแขวนคอแทน





บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 28  เมื่อ 30 พ.ย. 14, 02:32

วิธีการประหารชีวิตที่รุนแรง ทรมาน เหี้ยมโหดที่สุดของอังกฤษก็คือการ แขวน ลาก และผ่า (Hanged, drawn and quartered)  โทษชนิดนี้ สงวนไว้ใช้กับนักโทษข้อหากบฏเท่านั้น เพราะในอังกฤษ การกบฏถูกถือว่าเลวร้ายยิ่งกว่าทำฆาตกรรมซะอีกดังนั้นจึงต้องลงโทษให้รุนแรงเพื่อเป็นตัวอย่างให้ผู้คนหวาดกลัวและไม่กล้ากระทำ แต่โทษนี้จะใช้กับนักโทษชายเท่านั้น นักโทษหญิงจะถูกเผาทั้งเป็นแทน ตามที่ได้เล่าไปก่อนหน้า


ขั้นตอนของการลงโทษชนิดนี้ เริ่มต้นด้วยนักโทษจะถูกผูกไว้กับหางม้า แล้วก็ให้ม้าลากจากที่คุมขังไปจนถึงตะแลงแกงหรือสถานที่ประหาร ซึ่งนักโทษจะถูกแขวนคอจนเกือบหมดสติ แต่ยังไม่ถึงกับเสียชีวิต ให้ลิ้มรสความทรมานไปก่อน ซึ่งนักโทษยังคงรู้สึกตัวอยู่  จากนั้นนักโทษจะถูกนำตัวมาขึ้นเขียง ซึ่งเพชรฆาตจะตอนนักโทษก่อน แล้วเพชรฆาตก็จะผ่าท้องนักโทษ  สาวไส้ออกมาโยนเข้ากองไฟ  จากนั้นตัดเอาหัวใจออกมา ซึ่งถึงขั้นตอนนี้นักโทษก็คงลาโลกไปเรียบร้อยแล้ว หัวก็จะตัดออกมา ร่างกายส่วนที่เหลือจะถูกผ่าออกเป็นสี่ส่วน หัวและชิ้นส่วนร่างกายจะถูกเอาไปประจาน

ปัญหาหนึ่งของโทษชนิดนี้คือ ในขั้นตอนการลาก เนื่องจากถนนที่ขรุขระและระยะทางที่ไกล หลายๆ ครั้งนักโทษที่ถูกลากจะหมดสติหรือแม้แต่เสียชีวิตไปก่อนหน้าที่จะถูกแขวนคอและผ่าแล้ว ทำให้ในเวลาต่อมาในขั้นตอนการลาก นักโทษจะถูกวางไว้บนแคร่ให้ม้าลากไป  เพื่อให้ครบวิธีการลงโทษตามชื่อว่าต้องมากการลาก และเพื่อให้นักโทษมีสติสัมปชัญญะครบถ้วนสมบูรณ์ สำหรับรอรับการลงโทษขั้นต่อไป

ภาพการประหารกาย ฟอกซ์ คนที่พยายามวางระเบิดรัฐสภาและปลงพระชนม์กษัตริย์เจมส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ จะเป็นว่านักโทษถูกลากบนแคร่



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 29  เมื่อ 30 พ.ย. 14, 02:43

นักโทษคนแรกๆ ที่ได้รับโทษนี้ที่ถูกบันทึกไว้คือเซอร์วิลเลียม วอลเลซ ผู้นำฝ่ายกบฏสก็อตสมัยพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่ 1 แห่งอังกฤษ  ถูกประหารที่ลอนดอนเมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 1305 ใครที่เคยดูหนัง Brave Heart คงจำฉากท้ายๆ เรื่องตอนที่วอลเลซถูกประหารได้ดี การประหารจริงๆ โหดกว่าในหนัง เพราะด้วยคำสั่งพิเศษสั่งให้เพชรฆาตประหารให้ยืดเวลาให้วอลเลซได้รับความทรมานให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แถมยุคนั้นนักโทษยังถูกลากจริงๆ ไม่ใช่ลากไปบนแคร่

ภาพฉากการประหารวอลเลซและโปสเตอร์หนัง



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
หน้า: 1 [2] 3 4 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.081 วินาที กับ 19 คำสั่ง