เรือนไทย
ยินดีต้อนรับ ท่านผู้มาเยือน
กรุณา เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน
ส่งอีเมล์ยืนยันการใช้งาน?
ข่าว: การแนบไฟล์ กรุณาใช้ชื่อไฟล์ภาษาอังกฤษเท่านั้นครับ
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
อ่าน: 34147 เขาประหารกันอย่างไร ในอังกฤษ
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


 เมื่อ 20 พ.ย. 14, 17:07

เบื่อเรื่องหนักๆ ในเมืองไทย หันมาหาเรื่องประวัติศาสตร์เบาๆ แต่หนักกันบ้าง  เอ หรือประวัติศาสตร์หนักๆ แต่เบาก็ไม่รู้เหมือนกัน


เมื่อไม่กี่วันก่อน ผมไปซื้อหนังสือมาเล่มหนึ่งมาจากอเมซอน ชื่อว่า Execution: A History of Capital Punishment in Britain เขียนโดย Simon Webb เกี่ยวกับการประหารชีวิตนักโทษในอังกฤษสมัยก่อน เป็นหนังสือประวัติศาสตร์ที่อ่านสนุกมาก เพราะแม้เรื่องจะหนัก แต่คนเขียนเขียนได้ชวนอ่าน ทำให้อ่านแล้วไม่เครียดและไม่รู้สึกสยดสยองมากนัก น่าเก็บความมาเล่าสู่กันฟังยิ่งนัก


ในสมัยที่โทษประหารยังได้รับความนิยม ประเทศอังกฤษมีการประหารชีวิตกันอย่างแพร่หลายมาก  ประหารกันเยอะประหารกันบ่อยกว่าแถวสยามมากๆ  ประหารกันทุกปี ปีละหลายๆ ครั้ง บางครั้งก็ทีละหลายๆ คน  ปีสุดท้ายที่มีการประหารชีวิตก็คือปี 1964 หรือ 50 ปีที่แล้ว แต่กฏหมายที่ยกเลิกโทษประหารจริงๆ อย่างเป็นทางการ ประกาศเมื่อปี 1998 นี่เอง ปัจจุบันกฏหมายของสหภาพยุโรปบังคับให้ประเทศสมาชิกยกเลิกโทษประหารชีวิต จนทำให้ประเทศในยุโรปไม่มีการใช้โทษประหารอีกแล้ว




บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 1  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 17:26

ก่อนจะพูดถึงโทษประหาร ก็มารู้กันนิดหนึ่งว่าทำผิดฐานใดถึงจะมีสิทธิตายได้บ้างในอังฤษสมัยก่อน


ถ้าเทียบกับไทยแล้ว  โทษประหารแต่อดีตโดยทั่วไป ยกเว้นต้องโทษฐานกบฏหรือผิดอาญาศึก จะสงวนไว้ใช้กับพวกฆาตกรเป็นหลัก
แต่ในอังกฤษ  ความผิดหลายๆ สถานที่ถ้าเป็นคนไทยมองดูแล้วมันเบาหวิวดั่งปุยนุ่น ก็มีสิทธิโดนประหารได้ง่ายๆ


ความผิดข้อหาแรกที่โดนประหารแน่ๆ ก็คือข้อหากบฏ ข้อหานี้มีโทษถึงตาย  คนที่โดนข้อหานี้มีตั้งแต่พระเจ้าแผ่นดินลงมาถึงสามัญชน มีผู้ถูกประหารนับไม่ถ้วน วิธีการประหารก็หลากหลาย ขึ้นกับสถานภาพของนักโทษเองด้วย


ความผิดฐานถัดมาก็คือฆาตกรรม อันนี้ไม่แปลก


แต่ความผิดฐานอื่นๆ ที่ดูไม่น่าจะหนักหนาสาหัส เช่น ปลอมเงิน ปลอมเอกสาร ปล้น เป็นแม่มด หรือแม้แต่ศรัทธาในศาสนาคริสต์คนละนิกายกับเจ้าแผ่นดินในขณะนั้น ก็มีสิทธิถูกประหารได้
ในตลอดประวัติศาสตร์หนึ่งพันปีที่ผ่านมา มีผู้ถูกประหารชีวิตในอังกฤษด้วยข้อหาต่างๆ ทั้งหญิงและชายหลายหมื่นคน


ส่วนวิธีประหารก็มีหลากหลาย เช่นตัดหัว แขวนคอ เผาทั้งเป็น ต้มในหม้อ  เอาทินทับ  ลาก แขวน ตอน ชำแหละ  ยิงเป้า  แต่ละแบบก็โหดแตกต่างกันไป จนหลังๆ มีการพัฒนาให้มีมนุษยธรรมมากขึ้น โหดน้อยลง ทำให้ผู้ถูกประหารเจ็บปวดทรมานน้อยที่สุด


นักโทษประหารที่มีสถานะสูงสุด ได้แก่พระเจ้าชาลส์ที่ 1 แห่งอังกฤษ ถูกประหารโดยการตัดศีรษะด้วยข้อหากบฏ ทุรยศต่อแผ่นดิน


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
เพ็ญชมพู
หนุมาน
********
ตอบ: 12599



ความคิดเห็นที่ 2  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 17:49

เข้ามาอ่านกระทู้ครั้งแรก ตาลายเห็นชื่อกระทู้เป็น "เขารัฐประหารกันอย่างไรในอังกฤษ" ได้อย่างไรหนอ  ยิ้มเท่ห์
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 3  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 17:53

อังกฤษโบราณนั้น เอาเป็นว่าตั้งแต่สมัยสองสามพันปีก่อน ยุคที่พวก Celt หรือชนพื้นเมืองดั้งเดิมครอบครองเกาะ นิยมใช้การตัดหัวในการปลิดชีวิตฝ่ายตรงข้าม มีวัฒนธรรมในการเก็บหัวของศัตรูเป็นที่ละลึกคล้ายๆ อีกหลายเผ่าในที่อื่นๆ ทั่วโลก การตัดหัวใช้กันเรื่อยมาจนสมัยโรมันมายึดเกาะ จนโรมันเสื่อมสลายลงเป็นพวกไวกิ้งมีอำนาจ จนกระทั่งกษัตริย์วิลเลี่ยมที่ 1 มายึดเกาะอังกฤษในปี 1066  โทษประหารโดยการตัดหัวเริ่มกลายเป็นของสงวนสำหรับชนชั้นสูง เพราะถือว่าเป็นการประหารที่มีเกียรติ  ทรมานน้อย เหยื่อตายเร็ว ส่วนอาชญากรอื่นๆ จะใช้การแขวนคอหรือประการด้วยวิธีการอื่นๆ แทน


การประหารโดยการตัดหัวนั้น แรกเริ่มเดิมทีใช้การตัดหัวด้วยดาบ แต่การตัดหัวด้วยดาบเป็นวิธีที่ต้องอาศัยปัจจัยหลายๆ อย่างร่วมด้วย  อย่างแรกได้แก่ตัวนักโทษต้องให้ความร่วมมือ นั่งคุกเข่าไม่ขยับ  ดาบที่ใช้ต้องคมและหนัก นอกจากนั้นฝีมือของเพรชฆาตต้องดีด้วย ถ้านักโทษขยับในเสี้ยววินาทีที่ลงดาบ หรือเพชรฆาตไม่แม่น ดาบไม่คม โอกาสฟันฉับเดียวหัวหลุดเป็นไปได้ยากมาก  กลายเป็นว่าฟันโดนหัวบ้างโดนตัวบ้าง แทนที่จะตายง่ายๆ กลายเป็นตายแบบทรมานไป วิธีนี้เลยเสื่อมความนิยมอย่างรวดเร็ว


คลิกที่รูปเพื่อขยาย/ย่อ
บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 4  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 17:55

เข้ามาอ่านกระทู้ครั้งแรก ตาลายเห็นชื่อกระทู้เป็น "เขารัฐประหารกันอย่างไรในอังกฤษ" ได้อย่างไรหนอ  ยิ้มเท่ห์

ฮิฮิ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 5  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 18:17

เมื่อการประหารด้วยดาบไม่ค่อยมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเหยื่อที่โดนประหารเป็นคนชั้นสูงเป็นส่วนใหญ่ เสียงโวยวายเลยดังหน่อย  ถ้าเป็นชนชั้นอาชญากรก็คงไม่มีใครแคร์เท่าไหร่ ดังนั้นจึงต้องมีการพัฒนาหันไปใช้อุปกรณ์อื่นที่ทำให้การตัดหัวราบลื่นกว่าการใช้ดาบ


และแล้ว ขวานและบล็อกไม้ก็ถูกนำมาใช้แทน


ขวานมีข้อดีกว่าดาบคือ ตัวขวานมีน้ำหนักที่มากกว่าดาบ ทำให้มีโมเมนตั้มเยอะกว่า แรงตัดเยอะ ตัดคอได้ง่าย ไม่ต้องใช้เพรชฆาตที่มีทักษะสูงเท่าดาบ นอกจากนั้นยังมีการใช้ร่วมกับบล็อกไม้ ทำให้นักโทษไม่สามารถขยับได้มากเท่าไหร่ แค่ไปนั่งคุกเข่าเอาหัวพาดบล็อกรอ การลงขวานจึงแม่นยำกว่าดาบมาก  ทำให้วิธีนี้ได้รับความนิยม นำมาใช้ตัดหัวชนชั้นสูงโดยทั่วกัน


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 6  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 18:58

การประหารด้วยขวานที่ออกจะวุ่นวายครั้งหนึ่งเกิดขึ้นในปี 1330

Edmund, Duke of Kent เป็นโอรสของกษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่ 1 และเป็นน้องชายของเอ็ดเวิร์ดที่ 2

ใครที่ยังจำหนัง Brave heart ได้คงจำจำกษตริย์เอ็ดเวิร์ดเครายาวได่ นั่นก็คือเอ็ดเวิร์ดที่ 1 นี่แหละ ส่วนโอรสที่ไม่ได้เรื่องแถมเป็นเกย์ในหนัง ต่อมาคือเอ็ดเวิร์ดที่สอง เนื้อเรื่องต่อจากในหนังคือเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ถูกปลงประชนม์โดยมเหสี ราชินีอิสสาเบลล่าและชู้รัก โรเจอร์ มอติเมอร์ จากนั้นยกเอ็ดเวิร์ดที่ 3 โอรสวัยเยาว์ของพระนางกัลเอ็ดเวิร์ดที่ 2 ขึ้นเป็นกษัตริย์แทน

เอ็ดมุนด์ถูกจับข้อหากบฏและถูกตัดสินให้ประหารด้วยการตัดหัว  แต่ปัญหามีอยู่ว่า เอ็ดมุนด์มีเลือดของกษัตริย์ แถมเป็นอาของกษัตริย์ปัจจุบัน เพชรฆาตที่ทำการประหารชีวิตอาจถูกจับด้วยข้อหากบฏซะเองตามกฏหมายในสมัยนั้น เพรชฆาตจึงปฏิเสธที่จะลงมือ


เมื่อเพชรฆาตปฏิเสธ มอติเมอร์เลยสั่งทหารให้ลงมือแทน แต่ผลก็เป็นแบบเดิม เหล่าทหารปฏิเสธที่จะลงมือ  เอ็ดมุนด์ต้องรอการประหารอยู่นานหลายชั่วโมง จนสุดท้ายมอติเมอร์สัญญากับคนทำความสะอาดห้องน้ำ ซึ่งเป็นนักโทษประหารอีกคนที่กำลังจะถูกแขวนคอ ให้ทำหน้าที่เป็นเพชรฆาต แลกกับการอภัยโทษ  นักโทษผู้นี้เลยอาสาเป็นเพชรฆาต และสามารถลงมือได้อย่างสัมฤทธิ์ผล ตัดหัวท่านดุ๊คได้ด้วยขวานในฉับเดียว

ภาพเอ็ดมุนด์ไม่มี เอาภาพเอ็ดเวิร์ดที่ 1 พ่อของเอ็ดมุนด์ไปดูแทน

ปล กระทู้นี้ใช้ราชาศัพท์มั่งไม่ใช้มั่งเพื่อให้ง่ายต่อการเขียน กราบขออภัยทุกท่านด้วยครับ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 7  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 19:49

บางคนอาจจะสงสัยว่า เอ๊ เค้าทำอย่างไรกันถ้านักโทษดิ้นรนหรือไม่ให้ความร่วมมือกับการประหารโดยการตัดคอแบบนี้

วิธีแก้ก็คือ  บล็อกหรือเขียงไม้โดยทั่วไปจะมีสองขนาด คือแบบสูงกับแบบต่ำ

แบบสูงจะสูงประมาณ 2 ฟุต นักโทษนั่งคุกเข่าเอาคอพาดเขียงรอ  ส่วนแบบต่ำจะสูงน้อยกว่า 1 ฟุต  ใช้กับนักโทษที่ดิ้น ต้องมีการมัด วิธีนี้นักโทษจะนอนเอาคอพาดเขียง


ภาพการประหาร  Anna Månsdotter นักโทษหญิงในสวีเดนในปี 1890  จากภาพจะเห็นการใช้บล็อกแบบต่ำ   สวีเดนใช้การประหารโดยการตัดคอแบบนี้จนถึงปี 1903 ซึ่งเปลี่ยนมาใช้กิโยตินแทน
ภาพนี้ดูแล้วมันหดหู่หน่อย  ถือซะว่าเป็นส่วนหนึ่งของประวัติศาสตร์ละกันนะครับ


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 8  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 20:40

แม้การตัดหัวด้วยขวานจะง่ายดายและไม่ต้องอาศัยทักษะของเพชรฆาตมากเท่าการตัดด้วยดาบ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีปัญหา


เพชรฆาตที่ทำการประหาร จะเป็นเพชรฆาตทั่วไป ที่รับงานทั้งการประหารด้วยการแขวนคอ ต้ม เผา นักโทษด้วย ไม่ได้เป็นผู้เชียวชาญการใช้ขวานแบบมืออาชีพ ดังนั้นแม้จะใช้ขวานที่ไม่ต้องอาศัยทักษะมาก แต่การประหารก็ไม่ได้เป็นไปโดยราบลื่นทุกครั้ง


ครั้งหนึ่งที่ไม่ราบลื่น คือการประหารมากาเร็ต โพล เลดี้แห่งซาลิสเบอรี่ (Margaret Pole, Countess of Salisbury)  มากาเร็ตเป็นอดีตนางกำนัลของราชินีแคทเธอรีนแห่งอารากอน มเหสีคนแรกของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8


มากาเร็ตถูกประหารเนื่องจากนางเป็นคาโธลิก และบุตรชายของนางเป็นพระคาธอลิกมีตำแหน่งเป็นถึงคาดินาล  เมื่อเฮนรี่ที่ 8 แตกหักกับวาติกัน พระคาดินาลลูกชายนางหลบหนีออกจากอังกฤษ เคราะห์กรรมเลยตกสู่แม่ ซึ่งขณะนั้นมีอายุ 67 ปีแล้ว แถมเป็นอัลไซเมอร์ ถูกจับไปขังที่หอคอยลอนดอน และถูกประหารชีวิตเมื่อปี 1541


การประหารเต็มไปด้วยข้อผิดพลาด เพชรฆาตลงขวานฉับแรกพลาดจากคอไปโดนหัวไหล่แทน ลงขวานใหม่โดนหัวบ้าง ไม่โดนคอจังๆ บ้าง ต้องมีการลงขวานถึง 11 ครั้งกว่าจะสำเร็จโทษเลดี้มากาเร็ตได้  น่าสยดสยองมาก นับเป็นการประหารโดยขวานที่ต้องมีการลงขวานมากที่สุดในประวัติศาสตร์การประหารโดนขวานในอังกฤษ


กรณีของเลดี้มาการเร็ตดูเลวร้ายแล้ว แต่ไม่ใช่กรณีเลวร้ายที่สุด ในฝรั่งเศส ปี 1626 Henri de Chalias ถูกตัดสินประหารเนื่องจากมีส่วนร่วมแผนปลงประชนม์พระเจ้าหลุยส์ที่ 13 การประหารโดยการตัดหัวในฝรั่งเศสสมัยนั้นใช้ดาบไม่ใช่ขวาน ผู้เห็นเหตุการณ์บันทึกว่ากว่าท่านเคาท์จะเงียบเสียงก็หลังการลงดาบครั้งที่ 12 แล้ว สถิติบันทึกว่าเพชรฆาตต้องลงดาบถึง 29 ครั้งกว่าจะตัดหัวท่านเคาท์ได้

ภาพเลดี้มากาเร็ตกับท่านเคาท์ผู้เคราะห์ร้าย



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 9  เมื่อ 20 พ.ย. 14, 21:04

อีกครั้งที่ไม่ราบลื่น คือการประหารดุ๊คแห่งมอนมัธเมื่อปี 1685

James Scott, 1st Duke of Monmouth เป็นบุตรนอกสมรสของพระเจ้าชาลส์ที่ 2 แห่งอังกฤษ เมื่อพระเจ้าเจมส์ที่ 2 ครองราชย์ต่อ ท่านดุยุคก่อกบฏแต่พ่ายแพ้  จึงต้องโทษประหารชีวิต การประหารจัดขึ้นที่หอคอยลอนดอน เพชรฆาตที่ลงขวานคือแจ็ค แคทช์  เพชรฆาตมืออาชีพแต่ออกจะถนัดงานแขวนคอมากกว่าตัดหัว


ผู้เห็นเหตุการณ์เล่าว่า  วันที่ 15 กรกฎาคม 1685 ท่านดยุคเดินอย่างสง่าผ่าเผยขึ้นไปบนเวทีที่ใช้ประหารชีวิต ระหว่างนั้นเหลือบไปเห็นขวาน ท่านดยุคลองเอานิ้วมือลูบคมขวานดู แล้วก็พบว่ามันช่างทื่อเสียนี่กระไร เพชรฆาตไม่เคยลับขวานเลย  เพชรฆาตยืนยันว่าใช้การได้  แม้จะไม่แน่ใจ ท่านดยุคได้ทิปเพชรฆาตก่อนตามธรรมเนียมด้วยเงินจำนวนไม่น้อยเลย บอกกับเพชรฆาตให้ลงขวานให้แม่น เพราะถ้าต้องลงขวานครั้งที่สอง ท่านดยุคสัญญาไม่ได้ว่าจะไม่ขยับตัว   แจ็ค แคทช์ให้ความมั่นใจกับท่านดยุคอีกครั้ง รับรองว่าไม่มีปัญหา


เมื่อถึงเวลา ปรากฏว่าตาแจ็คเฟอะฟะ ลงขวานครั้งแรกโดนหลังหัวท่านดยุค ท่านดยุคหันกลับมามองด้วยสายตาตำหนิ แจ็คลงขวานครั้งที่สอง ไม่ขาด จนต้องลงขวานครั้งที่สาม ก็ยังไม่ขาด แจ็คหมดความอดทน โยนขวานทิ้ง บอกว่าทำต่อไม่ไหวแล้ว  ส่วนท่านดยุคยังมีชีวิตรอคมขวานครั้งต่อไปอยู่อย่างสงบสมสายเลือดกษัตริย์  เจ้าหน้าที่บอกให้แจ็คทำการประหารต่อให้เสร็จ  แจ็คเลยต้องกลับมาลงขวานอีกสองฉับ แต่หัวของท่านดยุคก็ยังไม่หลุดออกจากบ่า สุดท้ายเจ็คต้องใช้มีดเฉือนจนขาดออกจากกัน

ภาพท่านดยุคและฉากการประหาร



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 10  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 17:01

เพราะการประหารโดยการตัดหัวอาจไม่ราบลื่นได้ การมีเพชรฆาตที่มีฝีมือดีจึงเป็นสิ่งสำคัญ

การประหารชีวิตที่โด่งดังที่สุดครั้งหนึ่ง คือการประหารชีวิตแอนน์ โบลีน มเหสีของกษัตริย์เฮนรี่ที่ 8 ด้วยข้อหาคบชู้  เพราะเฮนรี่ต้องการเปลี่ยนมเหสีใหม่
เฮนรี่และคณะที่ปรึกษาเกรงว่า การประหารชีวิตราชินีโดยให้คุกเข่าเอาหัวพาดเขียงอาจทำให้เกิดภาพลบที่ไม่น่าดูและสร้างความน่าสงสารต่อสาธารณชน
ดังนั้น  แทนที่จะใช้ขวาน  ที่ประชุมจึงตกลงว่าจะให้ประหารโดยการใช้ดาบแทน

ด้วยความเมตตาของเฮนรี่  ต้องการให้การประหารราบลื่นไร้ข้อผิดพลาด ให้แอนน์ตายอย่างรวดเร็วไร้ความเจ็บปวด  จึงมีการเลือกหานับดาบมืออาชีพมาทำหน้าที่
ขณะนั้นแคว้นคาเล่ย์ในฝรั่งเศสเป็นส่วนหนึ่งของอังกฤษ  นักดาบ Jean Rombaud ได้รับข้อเสนอให้ทำหน้าที่เพชรฆาตประหารชีวิตอดีตราชินีแห่งอังกฤษ
แต่เนื่องจากคณะกรรมการสรรหายังไม่แน่ใจฝีมือของชองนัก ดังนั้นพ่อนักดาบจึงต้องมีการสาธิตให้ดูก่อน
การสาธิตจัดขึ้น โดยการนำนักโทษประหารสองคนมาผูกตานั่งบนเก้าอี้เคียงข้างกัน   
ชองกวัดแกว่งดาบเหนือหัวเหยื่อทั้งสองสองสามรอบเป็นการอุ่นเครื่อง  ก่อนที่จะตวัดดาบตัดคอของทั้งคู่พร้อมกันได้ในดาบเดียว 


ในวันประหารแอนน์ อดีตราชินีต้องเดินมาขึ้นนั่งร้านที่ใช้ประหาร  ชองมืออาชีพมาก เอาดาบที่จะใช้ไปซ่อนไว้ไม่ให้อดีตราชินีเห็นเพราะนางอาจจะตกใจ
เมื่อแอนน์นั่งคุกเข่ารอการประหาร  ชองก็หยิบดาบที่ซ่อนไว้ขึ้นมาเงียบๆ แกล้งกระซิบถามผู้ช่วยให้หยิบดาบให้ 
แอนน์ซึ่งกำลังนั่งคุกเข่าก้มหน้าสวดมนอยู่ ได้ยินเสียงชองถามหาดาบ จึงผงกหัวขึ้นมานึดนึง  ในจังหวะนั้น ชองตวัดดาบผ่านลำคอของแอนน์อย่างรวดเร็วในดาบเดียว
ผู้เห็นเหตุการณ์บางคนเล่าว่า เมื่อเพชรฆาตชูศีรษะของแอนน์ขึ้น  ปากของแอนน์ยังคงขยับสวดมนต์อยู่เลย


ภาพฉากการประหาร และจุดที่มีการประหารชีวิตแอนน์ โบลีน ในหอคอยแห่งลอนดอน



บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
SILA
หนุมาน
********
ตอบ: 6362


ความคิดเห็นที่ 11  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 17:55

คลิปฉาก The Execution of Anne Boleyn จากหนัง The Other Boleyn Girl(2008)
        
          

นอกจากนี้ก็ยังมีในซีรี่ส์เรื่อง The Tudors และที่ขึ้นขั้นคลาสสิค คือ
เรื่อง Anne of the Thousand Days(1969)

          
บันทึกการเข้า
siamese
หนุมาน
********
ตอบ: 7165


หนุ่มรัตนะกับภูเขาทอง


ความคิดเห็นที่ 12  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 19:06

เท่าที่เคยดูหนังมา ก็มี

๑. ประหารด้วยการตัดคอ

๒. ประหารด้วยการเผาทั้งเป็น (พวกแม่มด)

๓. ประหารด้วยการผ่าท้อง ควักหัวใจออกมา ( Braveheart)

๔. ประหารด้วยการแขวนคอ

๕. ประหารด้วยการขังกรงเหล็กเต็มไปด้วยหนาม แล้วเผาไฟ

๖. ประหารด้วยการขังในคุกใต้น้ำ พอน้ำขึ้นก็ท่วมคุก (พบในเวนิซ และหนัง Dear Hunter)
บันทึกการเข้า
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 13  เมื่อ 21 พ.ย. 14, 20:21

เท่าที่เคยดูหนังมา ก็มี

๒. ประหารด้วยการเผาทั้งเป็น (พวกแม่มด)

๓. ประหารด้วยการผ่าท้อง ควักหัวใจออกมา ( Braveheart)


ฮิฮิ คุณหนุ่มสยามเข้าใจแบบผมตอนก่อนศึกษาศาสตร์ด้านนี้อย่างจริงจังเลย  ว่าแม่มดนี่โดนเผาทั้งป็น
จริงๆ แล้วในอังกฤษ เค้าประหารแม่มดด้วยการแขวนคอเท่านั้นครับ  แตกต่างจากที่อื่นๆ เช่นในอเมริกา
ส่วนการผ่าท้อง เป็นการประหารพวกที่รับโทษฐานกบฏ  จริงๆ ไม่ใช่แค่ผ่าท้อง แต่มีขั้นตอนมากกว่านั้นซึ่งโหดมั่กๆ  เดี๋ยวจะเล่าต่อไป


ต่อไปจะมีพาทัวร์ไปดูลานประหารในเมืองผมด้วย  เมืองตากอังกฤษไกลปืนเที่ยงที่ผมอยู่ มีประวัติศาสตร์อันยาวนานเรื่องการประหารชีวิต  สมัย 300-400 ปีก่อน เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนมากๆ  เทียบจากสถิติแล้ว ที่นี่มีการประหารชีวิตมากเป็นอันดับสองของประเทศรองจากลอนดอนเท่านั้น เมื่อผมมาอยู่เมืองนี้ เลยต้องศึกษาศาสตร์ด้านนี้ให้เชี่ยวชาญ  ยิงฟันยิ้ม


ภาพนี้เอามาจากใน internet เป็นบริเวณที่มีคนบอกว่าเคยเป็นที่ตั้งของลานประหารในเมืองไกลปืนเที่ยง ผู้คนนับร้อยจบชีวิตที่นี่  ไว้ไปอีกทีจะถ่ายรูปมาให้ดู เพราะผมเคยไปเดินสำรวจแถวนี้มาแล้ว แต่ไม่รู้ว่าเป็นจุดไหนแน่ๆ ที่เคยเป็นลานประหาร   ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นสวนสาธารณะตั้งอยู่บนยอดเขาสวยเชียว  แต่แปลกมาก ตั้งแต่ครั้งแรกที่ไปที่นี่ สมัยที่ยังไม่รู้ประวัติศาสตร์ของเมือง ไม่รู้ว่าเป็นสถานที่ประหารชีวิตเก่า ผมก็รู้สึกแปลกๆ หมองๆ  แล้ว คือบรรยากาศมันเหมือนหนังผีมากกว่าสวนสาธารณะ ดูหม่นหมองสลัวๆ มากๆ  ยังบอกกับคนที่ไปด้วยเลยว่าทำไมที่นี่มันดูน่ากลัวก็ไม่รู้  พอมารู้ตอนหลัง โป๊ะเลย


บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
ประกอบ
สุครีพ
******
ตอบ: 1342


ความคิดเห็นที่ 14  เมื่อ 23 พ.ย. 14, 00:58

อย่างที่บอกไปว่าบุคคลที่ถูกประหารชีวิตที่มีสถานะสูงที่สุดคือกษัตริย์ชาลส์ที่ 1

พระเจ้าชาลส์ที่ 1 ขัดแย้งกับรัฐสภาอังกฤษที่มีหัวหอกคือโอลิเวอร์ ครอมเวล จนในที่สุดเกิดสงครามกลางเมืองระหว่างฝ่ายรัฐสภากับฝ่ายนิยมกษัตริย์  ในที่สุดฝ่ายรัฐสภาชนะ พระเจ้าชาลส์ถูกจับและถูกตัดสินว่าเป็นกบฏต่อประชาชนชาวอังกฤษ ให้ประหารชีวิตโดยการตัดศีรษะ กำหนดการคือเช้าวันที่ 30 มกราคม 1649  หลังจากการตัดสินเพียง 3 วัน

ริชาร์ด แบรนดอน เพชรฆาตประจำลอนดอนปฏิเสธที่จะเป็นผู้ลงมือประหาร ดังนั้นหน้าที่นี้จึงตกเป็นของชาย 2 คนที่ไม่มีประสบการณ์มาก่อนแทนด้วยค่าจ้างคนละ 100 ปอนด์ และใส่หน้ากากปิดบังใบหน้า(ภายหลังแบรนดอนยอมรับบนเตียงก่อนที่จะเสียชีวิตว่า ที่จริงแล้วเค้าเป็นคนลงมือเอง)

เช้าวันประหาร พระเจ้าชาลส์เสด็จจากวังเซนต์เจมส์มายังตะแลงแกงที่ไวท์ฮอลล์ จากนั้นก็บอกเพชรฆาตว่าพระองค์จะเป็นส่งสัญญาณให่เพชรฆาตลงมือเองหลังจากสวดมนต์แล้ว  แล้วก็ถามว่าผมยาวของพระองค์จะทำให้เพชรฆาตทำงานไม่สะดวกหรือเปล่า แม้เพชรฆาตจะบอกว่าไม่มีปัญหา พระเจ้าชาลส์ก็รวบผมพระองค์ไว้ในหมวกแก็ปเล็กๆ  พระเจ้าชาลส์หันไปเห็นบล็อกไม้เป็นแบบต่ำ ก็บ่นว่าบล็อกไม้ออกจะต่ำไปหน่อย  ซึ่งที่จริงแล้วการเลือกใช้บล็อกต่ำเป็นความจงใจของฝ่ายรัฐสภา  พระองค์เป้นผู้ส่งสัญญาณโดยการขยับแขนบอกให้เพชรฆาตลงมือ

ภาพพระเจ้าชาลส์ภายหลังการประหาร และเสื้อที่เชื่อว่าพระองค์สวมในวันที่ถูกประหารชีวิต จากการตรวจสอบมีคราบเลือดอยู่ แต่ยังไม่มีการตรวจ DNA เพื่อพิสูจน์





บันทึกการเข้า

วิรุศฑ์ษมาศร์ อัฐน์อังการจณ์
หน้า: [1] 2 3 ... 5
  พิมพ์  
 
กระโดดไป:  

Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006, Simple Machines
Simple Audio Video Embedder

XHTML | CSS | Aero79 design by Bloc หน้านี้ถูกสร้างขึ้นภายในเวลา 0.07 วินาที กับ 19 คำสั่ง